ส.โรงแรมไทย ฉะข้าราชการรัฐไม่จริงใจช่วย เตรียมเสนอคณะอนุกรรมาธิการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร เชิญปลัดกระทรวงมหาดไทยหารือ เสนอแก้กฎกระทรวง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร หวังปลดล็อกเงื่อนไขตามสมควรให้ผู้ประกอบการโรงแรมนอกรีตกว่า 4 พันราย ได้มีโอกาสเข้าสู่ระบบธุรกิจโรงแรมอย่างถูกต้อง เพื่อประโยชน์ของเศรษฐกิจชาติ เปรยหากปล่อยไว้อาจเป็นช่องทางเจ้าหน้าที่รัฐใช้หาเงินโดยมิชอบ
นายสัมพันธ์ แป้นทอง ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย สมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) และกรรมการในคณะอนุกรรมาธิการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะอนุกรรมาธิการท่องเที่ยวสัปดาห์นี้ จะเสนอถึงความเดือดร้อนของผู้ประกอบการโรงแรมที่ยังไม่สามารถจดทะเบียนประกอบธุรกิจโรงแรมได้ให้ที่ประชุมได้รับทราบ
พร้อมเสนอให้มีการเชิญปลัดกระทรวงมหาดไทยในฐานะเป็นผู้กำกับดูแล กรมโยธาธิการและผังเมือง และ กรมที่ดิน มารับฟังความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยกันพิจารณาแก้ไขกฎกระทรวงที่ว่าด้วยพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร จากนั้นจะเสนอต่อไปยังคณะกรรมาธิการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร หากทุกอย่างไม่ได้คำตอบก็จะตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นลำดับต่อไป
**ดันแก้กฎกระทรวง****
โดยสมาคมโรงแรมไทยต้องการให้มีการแก้กฎกระทรวงตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร เพื่อปลดล็อกเกณฑ์บางอย่างเพื่อเปิดทางให้ผู้ประกอบการโรงแรมที่อยู่นอกระบบ เข้ามาจดทะเบียนอยู่ระบบได้ตามกฎหมาย
ทั้งนี้เพราะจากการประกาศใช้พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฉบับใหม่ที่เริ่มมีผลบังคับใช้แล้วตั้งปี 2551 ทำให้ผู้ประกอบการกิจการโรงแรม ห้องพักรายวัน บังกะโล เซอร์วิสอพาร์ทเม้นต์ เป็นต้น ต้องมาขออนุญาตสร้างอาคาร หรือนำอาคารที่สร้างแล้วมาจดทะเบียนเพื่อเข้าระบบธุรกิจ ซึ่งอาคารที่จะผ่านกฎเกณฑ์และได้ใบอนุญาตจากกรมโยธาธิการและผังเมืองนั้น ได้แก่ ต้องมีความแข็งแรงทนทาน ต้องมีที่จอดรถ มีระบบความปลอดภัย อาทิ ระบบดังเพลิง และ บันไดหนีไฟ เป็นต้น
โดยรวมผู้ประกอบการจะติดข้อบังคับในเรื่องของความแข็งแรงทนทานของอาคาร ซึ่งทำให้โรงแรมหรือบังกะโล บางแห่ง ออกแบบการสร้างเพื่อให้เข้ากับธรรมชาติ จึงได้ใช้วัสดุที่เป็นอิฐ หรือปูน แต่จดทะเบียนอาคารไม่ได้ เพราะไม่ตรงตามกฎหมายกำหนด บ้างก็เป็นอาคาร 1-2 ชั้น จึงไม่มีบันไดหนีไฟ ก็ผิดกฎเกณฑ์เช่นกัน กลุ่มโรงแรมนอกระบบมี 4,000 แห่ง ทั่วประเทศ รวมเป็นห้องพักกว่า 200,000 ห้อง ในที่นี้กว่า 80% ต้องการเข้าระบบให้ถูกต้องจึงไม่สามารถทำได้เพราะอาจผิดกฎข้อใดข้อหนึ่ง ซึ่งวามจริงน่าจะผ่อนปรนได้ตามความเป็นจริง ความเหมาะสม โดยลูกค้าหรือนักท่องเที่ยวที่เข้าพักยังได้รับความสะดวกและปลอดภัยตามมาตรฐาน
นายสัมพันธ์ กล่าวว่า การที่ผู้ประกอบการที่อยู่นอกระบบ ต้องการเข้ามาอยู่ในระบบตามกฎหมาย หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องควรต้องดูแลและหาทางช่วยเหลือ เพื่อรัฐบาลจะได้จัดเก็บภาษี ส่วนสมาคมโรงแรมไทยก็สามารถรับผู้ประกอบการกลุ่มนี้เข้าเป็นสมาชิก ได้ก่อให้เกิดการอบรมแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่อุตสาหกรรมโรงแรมของไทย
***หวั่นเจ้าหน้าที่รัฐใช้ช่องโหว่กฎหมายรีดเงิน*****
ประเด็นที่น่าสงสัย คือ เกรงว่าเจ้าหน้าที่ภาครัฐ และ เจ้าพนักงานตรวจสอบอาคาร จะใช้ช่องโหว่ของ พ.ร.บ.ควบคุมอาคารนี้ในทางมิชอบ สังเกตจากตอนใช้กฎหมายฉบับเก่า ระบุว่า อาคารโรงแรมที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบต้องเสียค่าปรับเป็นเงิน 2,000 บาท ต่อรายต่อปีทำให้ผู้ประกอบการไม่กระตือรือร้นที่จะเข้าระบบ แต่ กฎหมายฉบับใหม่แม้จะเสียค่าปรับและโทษที่แรงกว่า คือ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท ต่อปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และจะต้องเสียค่าปรับรายวันอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตราบที่ยังฝ่าฝืน แต่กลับมีผู้ประกอบการต้องการเข้าสู่ระบบมากขึ้น สะท้อนให้เห็นว่า อาจถูกเรียกเงินแบบมิชอบเพิ่มมากขึ้น หรือเป็นอุปสรรต่อการทำธุรกิจ
“ที่ดินบางแห่งห้ามสร้างโรงแรม ซึ่งโยธาธิการและผังเมืองก็ทราบ แต่ยังปล่อยให้สร้าง บ้างก็แนะนำแบบผิดๆทั้งที่รู้ว่าถ้าสร้างแบบนี้ ขออนุญาตแบบนี้แล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนได้ ก็กลับแนะนำให้เสียค่าปรับแบบใต้โต๊ะ สมาคมโรงแรมเคยเสนอให้เปลี่ยนกฎโดยวิธีแก้กฎกระทรวง แต่ก็ไม่เป็นผล ทำเป็นธุระไม่ใช่ปล่อยไปเช่นนี้จะเหมือนกรณีซานติกาผับเจ้าหน้าที่รัฐทุกคนเอาหูไปนาเอาไปไร่ อย่าบอกว่าทำไม่ได้เปลี่ยนไม่ได้แล้วจบ เพราะเชื่อว่าไม่มีอะไรในโลกนี้ที่เปลี่ยนไม่ได้ถ้าคิดจะเปลี่ยน จึงต้องร้องขอให้ผู้ใหญ่ในกระทรวงมหาดไทยช่วยเหลือด้วย เพราะหากเราสามารถรวมเอกชนโรงแรมมาเข้าระบบอย่างถูกต้องจะเกิดการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน ประโยชน์ก็เกิดกับประเทศอย่างแท้จริง ไม่ใช่ตกเป็นของใครคนหนึ่งคนใด”
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลมีความจริงใจจัดระบบธุรกิจโรงแรมจริง ควรจะมีการผ่อนผันให้ผู้ประกอบการรายเก่าที่สร้างไปแล้วก่อนประกาศใช้กฎหมายบ้าง พร้อมกับเข้มงวดกับผู้ประกอบการรายใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น ถือเป็นการบูรณาการอุตสาหกรรมโรงแรมทั้งระบบจริงๆ ซึ่งเรื่องนี้ทางสมาคมโรงแรมไทยจ้ะองผลักดันให้ถึงที่สุด
นายสัมพันธ์ แป้นทอง ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย สมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) และกรรมการในคณะอนุกรรมาธิการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะอนุกรรมาธิการท่องเที่ยวสัปดาห์นี้ จะเสนอถึงความเดือดร้อนของผู้ประกอบการโรงแรมที่ยังไม่สามารถจดทะเบียนประกอบธุรกิจโรงแรมได้ให้ที่ประชุมได้รับทราบ
พร้อมเสนอให้มีการเชิญปลัดกระทรวงมหาดไทยในฐานะเป็นผู้กำกับดูแล กรมโยธาธิการและผังเมือง และ กรมที่ดิน มารับฟังความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยกันพิจารณาแก้ไขกฎกระทรวงที่ว่าด้วยพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร จากนั้นจะเสนอต่อไปยังคณะกรรมาธิการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร หากทุกอย่างไม่ได้คำตอบก็จะตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นลำดับต่อไป
**ดันแก้กฎกระทรวง****
โดยสมาคมโรงแรมไทยต้องการให้มีการแก้กฎกระทรวงตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร เพื่อปลดล็อกเกณฑ์บางอย่างเพื่อเปิดทางให้ผู้ประกอบการโรงแรมที่อยู่นอกระบบ เข้ามาจดทะเบียนอยู่ระบบได้ตามกฎหมาย
ทั้งนี้เพราะจากการประกาศใช้พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฉบับใหม่ที่เริ่มมีผลบังคับใช้แล้วตั้งปี 2551 ทำให้ผู้ประกอบการกิจการโรงแรม ห้องพักรายวัน บังกะโล เซอร์วิสอพาร์ทเม้นต์ เป็นต้น ต้องมาขออนุญาตสร้างอาคาร หรือนำอาคารที่สร้างแล้วมาจดทะเบียนเพื่อเข้าระบบธุรกิจ ซึ่งอาคารที่จะผ่านกฎเกณฑ์และได้ใบอนุญาตจากกรมโยธาธิการและผังเมืองนั้น ได้แก่ ต้องมีความแข็งแรงทนทาน ต้องมีที่จอดรถ มีระบบความปลอดภัย อาทิ ระบบดังเพลิง และ บันไดหนีไฟ เป็นต้น
โดยรวมผู้ประกอบการจะติดข้อบังคับในเรื่องของความแข็งแรงทนทานของอาคาร ซึ่งทำให้โรงแรมหรือบังกะโล บางแห่ง ออกแบบการสร้างเพื่อให้เข้ากับธรรมชาติ จึงได้ใช้วัสดุที่เป็นอิฐ หรือปูน แต่จดทะเบียนอาคารไม่ได้ เพราะไม่ตรงตามกฎหมายกำหนด บ้างก็เป็นอาคาร 1-2 ชั้น จึงไม่มีบันไดหนีไฟ ก็ผิดกฎเกณฑ์เช่นกัน กลุ่มโรงแรมนอกระบบมี 4,000 แห่ง ทั่วประเทศ รวมเป็นห้องพักกว่า 200,000 ห้อง ในที่นี้กว่า 80% ต้องการเข้าระบบให้ถูกต้องจึงไม่สามารถทำได้เพราะอาจผิดกฎข้อใดข้อหนึ่ง ซึ่งวามจริงน่าจะผ่อนปรนได้ตามความเป็นจริง ความเหมาะสม โดยลูกค้าหรือนักท่องเที่ยวที่เข้าพักยังได้รับความสะดวกและปลอดภัยตามมาตรฐาน
นายสัมพันธ์ กล่าวว่า การที่ผู้ประกอบการที่อยู่นอกระบบ ต้องการเข้ามาอยู่ในระบบตามกฎหมาย หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องควรต้องดูแลและหาทางช่วยเหลือ เพื่อรัฐบาลจะได้จัดเก็บภาษี ส่วนสมาคมโรงแรมไทยก็สามารถรับผู้ประกอบการกลุ่มนี้เข้าเป็นสมาชิก ได้ก่อให้เกิดการอบรมแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่อุตสาหกรรมโรงแรมของไทย
***หวั่นเจ้าหน้าที่รัฐใช้ช่องโหว่กฎหมายรีดเงิน*****
ประเด็นที่น่าสงสัย คือ เกรงว่าเจ้าหน้าที่ภาครัฐ และ เจ้าพนักงานตรวจสอบอาคาร จะใช้ช่องโหว่ของ พ.ร.บ.ควบคุมอาคารนี้ในทางมิชอบ สังเกตจากตอนใช้กฎหมายฉบับเก่า ระบุว่า อาคารโรงแรมที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบต้องเสียค่าปรับเป็นเงิน 2,000 บาท ต่อรายต่อปีทำให้ผู้ประกอบการไม่กระตือรือร้นที่จะเข้าระบบ แต่ กฎหมายฉบับใหม่แม้จะเสียค่าปรับและโทษที่แรงกว่า คือ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท ต่อปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และจะต้องเสียค่าปรับรายวันอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตราบที่ยังฝ่าฝืน แต่กลับมีผู้ประกอบการต้องการเข้าสู่ระบบมากขึ้น สะท้อนให้เห็นว่า อาจถูกเรียกเงินแบบมิชอบเพิ่มมากขึ้น หรือเป็นอุปสรรต่อการทำธุรกิจ
“ที่ดินบางแห่งห้ามสร้างโรงแรม ซึ่งโยธาธิการและผังเมืองก็ทราบ แต่ยังปล่อยให้สร้าง บ้างก็แนะนำแบบผิดๆทั้งที่รู้ว่าถ้าสร้างแบบนี้ ขออนุญาตแบบนี้แล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนได้ ก็กลับแนะนำให้เสียค่าปรับแบบใต้โต๊ะ สมาคมโรงแรมเคยเสนอให้เปลี่ยนกฎโดยวิธีแก้กฎกระทรวง แต่ก็ไม่เป็นผล ทำเป็นธุระไม่ใช่ปล่อยไปเช่นนี้จะเหมือนกรณีซานติกาผับเจ้าหน้าที่รัฐทุกคนเอาหูไปนาเอาไปไร่ อย่าบอกว่าทำไม่ได้เปลี่ยนไม่ได้แล้วจบ เพราะเชื่อว่าไม่มีอะไรในโลกนี้ที่เปลี่ยนไม่ได้ถ้าคิดจะเปลี่ยน จึงต้องร้องขอให้ผู้ใหญ่ในกระทรวงมหาดไทยช่วยเหลือด้วย เพราะหากเราสามารถรวมเอกชนโรงแรมมาเข้าระบบอย่างถูกต้องจะเกิดการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน ประโยชน์ก็เกิดกับประเทศอย่างแท้จริง ไม่ใช่ตกเป็นของใครคนหนึ่งคนใด”
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลมีความจริงใจจัดระบบธุรกิจโรงแรมจริง ควรจะมีการผ่อนผันให้ผู้ประกอบการรายเก่าที่สร้างไปแล้วก่อนประกาศใช้กฎหมายบ้าง พร้อมกับเข้มงวดกับผู้ประกอบการรายใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น ถือเป็นการบูรณาการอุตสาหกรรมโรงแรมทั้งระบบจริงๆ ซึ่งเรื่องนี้ทางสมาคมโรงแรมไทยจ้ะองผลักดันให้ถึงที่สุด