หลังจากถูกแปรรูปถูกบอนไซมาหลายปีนับแต่รัฐบาลทักษิณ ผมเพิ่งจะเห็น สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีดร.พงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี เป็นประธาน และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) นำโดย คุณสุขุม ชื่นมะนา จับมือ เคียงบ่าเคียงไหล่ต่อสู้ร่วมกัน..
..ต่อสู้ร่วมกันในศึกประมูลคลื่นความถี่ 3G โดยมีจุดยืนชัดเจนว่า ให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ชะลอการเปิดประมูลออกไปก่อน ด้วยเหตุผล 6-7 ประการ
อันที่จริงถ้าว่ากันถึงที่สุด ผมมีความเห็น มีข้อสังเกตในเชิงตั้งคำถามต่อบทบาทที่ผ่านๆ มาของ 2 สหภาพนี้ค่อนข้างมาก แต่สำหรับกรณีโทรศัพท์ 3G ผมขอชักธงเชียร์เต็มๆ ว่าเห็นด้วยและขอให้ทั้ง 2 สหภาพ จับมือกันให้เข้มแข็งและให้ถึงที่สุด อย่าได้สะดุดหรือเหี่ยวปลายเป็นอันขาด...
สรุปสาระสำคัญเหตุผลที่ชาวทีโอทีและกสท ขอให้ กทช.ชะลอการประมูลความถี่ 3G ผนวกกับความเห็นของผม แบบสั้นๆ ดั้งนี้
1) ตามมาตรา 47 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ 2550 กำหนดให้มีองค์กรที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ ซึ่งในขณะนี้องค์กรที่ว่ายังไม่เกิดเพราะรัฐสภากำลังดำเนินการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กันอยู่ (อยู่ในวาระ 2 ของสภาผู้แทนราษฎร) ดังนั้น กทช.จึงมิใช่องค์กรที่จะมาทำหน้าที่นี้
2) กทช.มีทั้งหมด 7 คน ปัจจุบันเหลือ 3 คน (ลาออก 1 จับสลากออก 3) ขณะนี้รอการพิจารณาคัดเลือกตามขั้นตอนการสรรหาจากวุฒิสภา (คาดว่าเดือนพ.ย. 52 น่าจะแล้วเสร็จ)
ดังนั้นแม้ กทช.พยายามที่จะดิ้นรนให้มีการตีความทางกฎหมายว่าตัวเองมีอำนาจ แต่เชื่อว่าหากยังคงดันทุรังเดินหน้าใช้อำนาจต่อไป จะเกิดปัญหาตามมาอย่างแน่นอน และไม่อาจจะตีความ-เข้าใจเป็นอย่างอื่นไปได้ว่าทำไม กทช.ต้องเดินหน้า นอกจากเพราะมี “วาระซ่อนเร้น”
3) ข้อกำหนด–เงื่อนไขการประมูลของ กทช.ยังไม่รัดกุมเพียงพอที่จะปกป้องคลื่นความถี่ซึ่งเป็นสมบัติชาติมิให้ตกไปอยู่ในมือของกลุ่มธุรกิจต่างชาติได้
ในขณะเดียวกันเงื่อนไขการประมูลยังกีดกันหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะบริษัททีโอที และ บริษัท กสท โทรคมนาคม ไม่ให้เข้าร่วมการประมูลอีกต่างหาก
4) การประมูลความถี่ระบบ 3G มีแนวโน้มสูงยิ่งที่บริษัทยักษ์ใหญ่ เจ้าของสัมปทานเดิมอย่างเอไอเอส ดีแทค และทรูจะได้รับการประมูลอีก ในขณะที่บริษัทเหล่านี้ยังมีธุรกิจอยู่ในสัญญาสัมปทานเดิมกับทีโอทีและกสท โทรคมนาคม ดังนั้นเมื่อกทช.มีนโยบายในการคงสิทธิ์หมายเลข (โทรศัพท์) เดิม หรือ Number Porttability หากบริษัทเหล่านี้ได้รับการประมูล ย่อมจะโอนถ่ายผู้ใช้บริการไปสู่ระบบ 3G ได้อย่างง่ายดาย
นอกจากนั้นปัญหาเกี่ยวกับทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทานเดิมจะตามมาอีกมาก และอาจนำมาซึ่งความสูญเสียรายได้ของบริษัท ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม ได้ไม่ยาก
ครับ นั่นคือเนื้อใหญ่ใจความว่าทำไม กทช.ควรที่จะชะลอการประมูลออกไปก่อน การมาอ้างว่าหากล่าช้าประเทศของเราจะล้าหลัง ตามประเทศเพื่อนบ้านไม่ทันเป็นเพียงเหตุผลที่เป็นข้ออ้างแบบสูตรสำเร็จเดิมๆ วันนี้เราต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติ ผลประโยชน์ของผู้บริโภคให้มากๆ
จริงอยู่แม้เหตุผลสำคัญประการหนึ่ง ทีโอทีและกสท คัดค้านเพราะองค์กรของตัวเองมีส่วนได้เสีย แต่ความได้เสียนี้มันเกี่ยวโยงถึงรายได้ของรัฐ รายได้ของแผ่นดิน
มันจะเป็นเรื่องน่าเศร้าและอัปยศอดสูยิ่งหากว่าผู้นำสหภาพ ผู้บริหารของทีโอทีและกสท โทรคมนาคม ปิดตาเสียข้างหนึ่งแล้วยื่นมือรับเศษเงินเศษผลประโยชน์จากบริษัทเอกชน เปิดทางเปิดโอกาสให้ กทช.กับบริษัทเอกชนไม่กี่ค่ายเอาคลื่นความถี่ 3G ไปปู้ยี่ปู้ยำทำมาหากินกันแบบสบายๆ
อย่าลืมว่า มูลค่า – ผลประโยชน์ของคลื่นความถี่ 3G มันหลายแสนล้านบาท หรือนับล้านล้านบาท...ดังนั้นแม้ในที่สุดเราต้องก้าวสู่ระบบ 3G แต่ก็ต้องก้าวสู่แบบโปร่งใส ทุกฝ่ายได้รับผลประโยชน์ได้รับความเป็นธรรม...
การประมูลคลื่นความถี่ 3G ครั้งนี้คือย่านความถี่ 1920 -1980/210-2170 MHz ในขณะที่โดยข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่งนั้นทั้งทีโอทีและกสท โทรคมนาคม ก็มีคลื่นความถี่ที่จะทำโทรศัพท์ระบบ 3G ได้อยู่แล้ว
ในกรณีของทีโอทีนั้นมีคลื่นความถี่ 3G อยู่ 15 เมกะบิต ได้ติดตั้งสถานีฐานระยะที่ 1 ซึ่งเป็นการปรับปรุงสถานีฐานเดิมของไทยโมบาย ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ 1900 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ใช้เงินลงทุนไป 1,700 ล้านบาท โดยตั้งธงเอาไว้ว่าวันที่ 3 ธ.ค. 2552 นี้จะเปิดให้บริการ ส่วนการสร้างโครงข่ายโทรศัพท์ 3G ระยะที่ 2 สมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ตั้งงบประประมาณไว้ 29,000 ล้านบาท มาถึงสมัยนี้ปรับลดเหลือ 20,000 ล้านบาท มุ่งติดตั้งสถานีฐาน 3,802 แห่ง ใช้เวลา 2 ปีคาดว่าปี 2533 จะมีลูกค้า 5 แสนเลขหมาย และเพิ่มเป็น 2.4 ล้านเลขหมาย คาดว่าปี 2556 มีรายได้จากโครงการนี้ 8,000 ล้านบาทและปี 2559 เพิ่มเป็น 18,000 ล้านบาท ลูกค้า 5 ล้านเลขหมาย...
สำหรับ กสท โทรคมนาคม นั้น ผมไม่แน่ใจว่าเขาจะพัฒนาต่อยอดจากโครงการ CDMA ย่านความถี่ 850 MHz ไปได้แค่ไหนอย่างไร
ดังที่รับทราบกันว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งในส่วนของทีโอทีและกสท ในยุครัฐบาลทักษิณภายใต้ข้ออ้างว่าทำให้สององค์กรนี้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน แต่เอาเข้าจริงๆ มันคือการบอนไซไม่ให้รัฐวิสาหกิจทั้งสองเข้มแข็ง ในขณะที่บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของระบอบทักษิณกลับเข้มแข็งขึ้น ทีโอทีและกสท กลายเป็นเสือลำบาก รายได้หดออกอาการบักโกรก แถมยังกลายเป็นแหล่งทำมาหาเงินของกลุ่มธุรกิจการเมือง.. สหภาพแรงงานฯ ก็ไม่แข็งแกร่งพอที่จะยืนต้านพายุแห่งผลประโยชน์ได้..
วันนี้จึงเป็นวันที่ชาวทีโอที และกสท โทรคมนาคม ถูกท้าทายว่าจะปกป้องผลประโยชน์ให้กับชาติและองค์กรของตัวเองได้อย่างไร และไม่แต่เท่านั้นจะต้องทำให้ผู้คนในสังคมแลเห็นว่าองค์กรโทรคมนาคมสองแห่งนี้ไม่ได้มีความสามารถแค่นั่งแบมือรับส่วนแบ่งจากค่าสัมปทาน หรือเอาคลื่น 3G ที่ตัวเองมีอยู่ในมือไปตัดแบ่งขาย ตัดแบ่งสัมปทานเป็นเพียงอย่างเดียว...
เหตุผลหรือข้ออ้างว่า..ถูกแปรรูป ถูกบอนไซ เราสามารถเข้าใจได้ด้วยความเห็นใจ แต่ก็น่าจะเป็นในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น
วันนี้ทั้งทีโอที และกสท จะต้องยกระดับจิตใจการต่อสู้ ฮึดสู้ของตัวเองใหม่ เลิกระบบสมคบคิดกับบริษัทเอกชน หันมาปกป้องผลประโยชน์ให้กับชาติบ้านเมือง..
กรณีการประมูลคลื่นความถี่ 3G จะเป็นบทเริ่มต้นใหม่แห่งการต่อสู้และทดสอบ โดยมีผลประโยชน์แห่งชาติมูลค่านับล้านล้านบาทเป็นเดิมพัน!!??
samr_rod@hotmail.com
..ต่อสู้ร่วมกันในศึกประมูลคลื่นความถี่ 3G โดยมีจุดยืนชัดเจนว่า ให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ชะลอการเปิดประมูลออกไปก่อน ด้วยเหตุผล 6-7 ประการ
อันที่จริงถ้าว่ากันถึงที่สุด ผมมีความเห็น มีข้อสังเกตในเชิงตั้งคำถามต่อบทบาทที่ผ่านๆ มาของ 2 สหภาพนี้ค่อนข้างมาก แต่สำหรับกรณีโทรศัพท์ 3G ผมขอชักธงเชียร์เต็มๆ ว่าเห็นด้วยและขอให้ทั้ง 2 สหภาพ จับมือกันให้เข้มแข็งและให้ถึงที่สุด อย่าได้สะดุดหรือเหี่ยวปลายเป็นอันขาด...
สรุปสาระสำคัญเหตุผลที่ชาวทีโอทีและกสท ขอให้ กทช.ชะลอการประมูลความถี่ 3G ผนวกกับความเห็นของผม แบบสั้นๆ ดั้งนี้
1) ตามมาตรา 47 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ 2550 กำหนดให้มีองค์กรที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ ซึ่งในขณะนี้องค์กรที่ว่ายังไม่เกิดเพราะรัฐสภากำลังดำเนินการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กันอยู่ (อยู่ในวาระ 2 ของสภาผู้แทนราษฎร) ดังนั้น กทช.จึงมิใช่องค์กรที่จะมาทำหน้าที่นี้
2) กทช.มีทั้งหมด 7 คน ปัจจุบันเหลือ 3 คน (ลาออก 1 จับสลากออก 3) ขณะนี้รอการพิจารณาคัดเลือกตามขั้นตอนการสรรหาจากวุฒิสภา (คาดว่าเดือนพ.ย. 52 น่าจะแล้วเสร็จ)
ดังนั้นแม้ กทช.พยายามที่จะดิ้นรนให้มีการตีความทางกฎหมายว่าตัวเองมีอำนาจ แต่เชื่อว่าหากยังคงดันทุรังเดินหน้าใช้อำนาจต่อไป จะเกิดปัญหาตามมาอย่างแน่นอน และไม่อาจจะตีความ-เข้าใจเป็นอย่างอื่นไปได้ว่าทำไม กทช.ต้องเดินหน้า นอกจากเพราะมี “วาระซ่อนเร้น”
3) ข้อกำหนด–เงื่อนไขการประมูลของ กทช.ยังไม่รัดกุมเพียงพอที่จะปกป้องคลื่นความถี่ซึ่งเป็นสมบัติชาติมิให้ตกไปอยู่ในมือของกลุ่มธุรกิจต่างชาติได้
ในขณะเดียวกันเงื่อนไขการประมูลยังกีดกันหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะบริษัททีโอที และ บริษัท กสท โทรคมนาคม ไม่ให้เข้าร่วมการประมูลอีกต่างหาก
4) การประมูลความถี่ระบบ 3G มีแนวโน้มสูงยิ่งที่บริษัทยักษ์ใหญ่ เจ้าของสัมปทานเดิมอย่างเอไอเอส ดีแทค และทรูจะได้รับการประมูลอีก ในขณะที่บริษัทเหล่านี้ยังมีธุรกิจอยู่ในสัญญาสัมปทานเดิมกับทีโอทีและกสท โทรคมนาคม ดังนั้นเมื่อกทช.มีนโยบายในการคงสิทธิ์หมายเลข (โทรศัพท์) เดิม หรือ Number Porttability หากบริษัทเหล่านี้ได้รับการประมูล ย่อมจะโอนถ่ายผู้ใช้บริการไปสู่ระบบ 3G ได้อย่างง่ายดาย
นอกจากนั้นปัญหาเกี่ยวกับทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทานเดิมจะตามมาอีกมาก และอาจนำมาซึ่งความสูญเสียรายได้ของบริษัท ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม ได้ไม่ยาก
ครับ นั่นคือเนื้อใหญ่ใจความว่าทำไม กทช.ควรที่จะชะลอการประมูลออกไปก่อน การมาอ้างว่าหากล่าช้าประเทศของเราจะล้าหลัง ตามประเทศเพื่อนบ้านไม่ทันเป็นเพียงเหตุผลที่เป็นข้ออ้างแบบสูตรสำเร็จเดิมๆ วันนี้เราต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติ ผลประโยชน์ของผู้บริโภคให้มากๆ
จริงอยู่แม้เหตุผลสำคัญประการหนึ่ง ทีโอทีและกสท คัดค้านเพราะองค์กรของตัวเองมีส่วนได้เสีย แต่ความได้เสียนี้มันเกี่ยวโยงถึงรายได้ของรัฐ รายได้ของแผ่นดิน
มันจะเป็นเรื่องน่าเศร้าและอัปยศอดสูยิ่งหากว่าผู้นำสหภาพ ผู้บริหารของทีโอทีและกสท โทรคมนาคม ปิดตาเสียข้างหนึ่งแล้วยื่นมือรับเศษเงินเศษผลประโยชน์จากบริษัทเอกชน เปิดทางเปิดโอกาสให้ กทช.กับบริษัทเอกชนไม่กี่ค่ายเอาคลื่นความถี่ 3G ไปปู้ยี่ปู้ยำทำมาหากินกันแบบสบายๆ
อย่าลืมว่า มูลค่า – ผลประโยชน์ของคลื่นความถี่ 3G มันหลายแสนล้านบาท หรือนับล้านล้านบาท...ดังนั้นแม้ในที่สุดเราต้องก้าวสู่ระบบ 3G แต่ก็ต้องก้าวสู่แบบโปร่งใส ทุกฝ่ายได้รับผลประโยชน์ได้รับความเป็นธรรม...
การประมูลคลื่นความถี่ 3G ครั้งนี้คือย่านความถี่ 1920 -1980/210-2170 MHz ในขณะที่โดยข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่งนั้นทั้งทีโอทีและกสท โทรคมนาคม ก็มีคลื่นความถี่ที่จะทำโทรศัพท์ระบบ 3G ได้อยู่แล้ว
ในกรณีของทีโอทีนั้นมีคลื่นความถี่ 3G อยู่ 15 เมกะบิต ได้ติดตั้งสถานีฐานระยะที่ 1 ซึ่งเป็นการปรับปรุงสถานีฐานเดิมของไทยโมบาย ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ 1900 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ใช้เงินลงทุนไป 1,700 ล้านบาท โดยตั้งธงเอาไว้ว่าวันที่ 3 ธ.ค. 2552 นี้จะเปิดให้บริการ ส่วนการสร้างโครงข่ายโทรศัพท์ 3G ระยะที่ 2 สมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ตั้งงบประประมาณไว้ 29,000 ล้านบาท มาถึงสมัยนี้ปรับลดเหลือ 20,000 ล้านบาท มุ่งติดตั้งสถานีฐาน 3,802 แห่ง ใช้เวลา 2 ปีคาดว่าปี 2533 จะมีลูกค้า 5 แสนเลขหมาย และเพิ่มเป็น 2.4 ล้านเลขหมาย คาดว่าปี 2556 มีรายได้จากโครงการนี้ 8,000 ล้านบาทและปี 2559 เพิ่มเป็น 18,000 ล้านบาท ลูกค้า 5 ล้านเลขหมาย...
สำหรับ กสท โทรคมนาคม นั้น ผมไม่แน่ใจว่าเขาจะพัฒนาต่อยอดจากโครงการ CDMA ย่านความถี่ 850 MHz ไปได้แค่ไหนอย่างไร
ดังที่รับทราบกันว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งในส่วนของทีโอทีและกสท ในยุครัฐบาลทักษิณภายใต้ข้ออ้างว่าทำให้สององค์กรนี้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน แต่เอาเข้าจริงๆ มันคือการบอนไซไม่ให้รัฐวิสาหกิจทั้งสองเข้มแข็ง ในขณะที่บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของระบอบทักษิณกลับเข้มแข็งขึ้น ทีโอทีและกสท กลายเป็นเสือลำบาก รายได้หดออกอาการบักโกรก แถมยังกลายเป็นแหล่งทำมาหาเงินของกลุ่มธุรกิจการเมือง.. สหภาพแรงงานฯ ก็ไม่แข็งแกร่งพอที่จะยืนต้านพายุแห่งผลประโยชน์ได้..
วันนี้จึงเป็นวันที่ชาวทีโอที และกสท โทรคมนาคม ถูกท้าทายว่าจะปกป้องผลประโยชน์ให้กับชาติและองค์กรของตัวเองได้อย่างไร และไม่แต่เท่านั้นจะต้องทำให้ผู้คนในสังคมแลเห็นว่าองค์กรโทรคมนาคมสองแห่งนี้ไม่ได้มีความสามารถแค่นั่งแบมือรับส่วนแบ่งจากค่าสัมปทาน หรือเอาคลื่น 3G ที่ตัวเองมีอยู่ในมือไปตัดแบ่งขาย ตัดแบ่งสัมปทานเป็นเพียงอย่างเดียว...
เหตุผลหรือข้ออ้างว่า..ถูกแปรรูป ถูกบอนไซ เราสามารถเข้าใจได้ด้วยความเห็นใจ แต่ก็น่าจะเป็นในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น
วันนี้ทั้งทีโอที และกสท จะต้องยกระดับจิตใจการต่อสู้ ฮึดสู้ของตัวเองใหม่ เลิกระบบสมคบคิดกับบริษัทเอกชน หันมาปกป้องผลประโยชน์ให้กับชาติบ้านเมือง..
กรณีการประมูลคลื่นความถี่ 3G จะเป็นบทเริ่มต้นใหม่แห่งการต่อสู้และทดสอบ โดยมีผลประโยชน์แห่งชาติมูลค่านับล้านล้านบาทเป็นเดิมพัน!!??
samr_rod@hotmail.com