ASTVผู้จัดการรายวัน – ประธานบอร์ดทีโอทียันเสียหายหนัก หากรีบประมูล 3G วอนกทช.พิจารณาให้รอบคอบ ด้านกสทชี้รัฐน่าส่งเสริม 3G ความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ ส่วนประธานกทช.พร้อมหยุดหากตีความว่าขัดรัฐธรรมนูญ ด้าน‘สุริยะใส’เลขาฯพรรคการเมืองใหม่ชี้ควรชะลอประมูล 3G ออกไปก่อนเพราะการประมูลครั้งนี้เป็นเพียงการจัดฉากเพื่อแบ่งผลประโยชน์เท่านั้น
นายธีรวุฒิ บุณยโสภณ ประธานคณะกรรมการบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) เปิดเผยถึงผลกระทบที่จะเกิดกับรัฐวิสาหกิจด้านสื่อสารโทรคมนาคมภายหลังจากการเปิดประมูลใบอนุญาต 3G ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ที่จะรายงานคณะรัฐมนตรีว่าผลกระทบจากการประมูลไลเซ่นส์ 3Gจะทำให้รัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจโทรคมนาคมอย่างทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคมเสียหายเป็นอย่างมากเนื่องจากปัจจุบันหน่วยงานทั้ง 2 แห่งยังทำงานแบบกึ่งข้าราชการ การขับเคลื่อนองค์กรเพื่อแข่งขันกับเอกชนเป็นไปอย่างยากลำบาก
ประกอบกับผู้รับสัมปทานซึ่งประกาศตัวชัดเจนว่าจะทำการโอนย้ายลูกค้าจากสัมปทานเดิมไปบนโครงข่ายใหม่ทันที ก็แสดงให้เห็นแล้วว่ารายได้ที่ทีโอทีได้รับจากสัมปทานปีละกว่า 1 หมื่นล้านบาทจะหายไปทันที
นอกจากนี้การเปิดให้ต่างชาติหรือนอมินีต่างชาติประมูลใบอนุญาต 3Gได้อย่างเสรี ก็จะทำให้ต่างชาติเหล่านั้นนำเงินที่ได้จากทรัพยากรประเทศไทยกลับไปพัฒนาประเทศตัวเองได้มากขึ้นซึ่งจากเดิมรัฐบาลยังมีรายได้จากการทีโอทีและกสทนำรายได้ส่งเข้ารัฐปีละกว่า 3 หมื่นล้านบาท
นอกจากนี้ผลกระทบจากการประมูล 3G ในด้านความมั่นคง กรณีหากอนาคตมีการใช้ระบบสื่อสาร 3G โจมตีรัฐบาล การที่รัฐจะร้องขอให้เอกชนปิดกั้นสัญญาณนั้นจะดำเนินการได้ยากแต่หากระบบสื่อสารโทรคมนาคมยังเป็นของรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่การสั่งปิดกั้นก็สามารถดำเนินการได้ทันที
‘กทช.ทุกคนเป็นคนดีและทุกคนเป็นข้าราชการ เชื่อว่าทุกท่านมีความรักต่อประเทศชาติ ผมเชื่อว่ากทช.จะทบทวนเรื่องการประมูล 3G อย่างละเอียดรอบคอบเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ’
นายกฤษดา กวีญาณ กรรมการบอร์ดบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าขณะนี้กสทกำลังอยู่ระหว่างเตรียมรายละเอียดผลกระทบที่กสท ได้รับตามคำสั่งของคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจจากการประมูลใบอนุญาต 3Gของกทช. โดยผลกระทบที่กสทจะได้รับคือรายได้จากสัญญาสัมปทานที่จะหายไปทันทีที่กทช.ให้ใบอนุญาตแก่เอกชน เพราะบริษัท โทลเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค และบริษัท ทรูมูฟ ก็จะเกิดการโอนย้ายลูกค้าจากสัมปทานเดิมไปบนโครงข่าย ใหม่จนหมด
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมากสท และทีโอที นำจ่ายส่วนแบ่งรายได้จากสัมปทานมือถือปีละ 3 หมื่นล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งรายได้ที่เอกชนต้องจ่ายให้รัฐประมาณ 25% ซึ่งสัญญาสัมปทานมีอายุเฉลี่ยเหลือประมาณ 6 ปี แต่หากกทช.ออกใบอนุญาต 3G รัฐจะมีรายได้เหลือเพียง 6 % หากคำนวณจากผู้รับสัมปทานรายใหญ่ในปัจจุบันรัฐจะมีรายได้เข้าประเทศเพียง 7,000 ล้านบาท และราคาการประมูลที่ 10,000 ล้านเป็นราคาที่เอกชนสามารถทำกำไรได้รวดเร็วเพราะเป็นราคาที่ต่ำ
ทั้งนี้หากรัฐหันมาส่งเสริมให้มีการลงทุน 3G บนความถี่ 850 MHz ของกสทซึ่งปัจจุบัน ดีแทคและทรูมูฟทดสอบให้บริการโดยสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี ก็จะทำให้รัฐยังมีเงินในการพัฒนาประเทศในปริมาณเท่าเดิม
‘ผลกระทบจากส่วนแบ่งรายได้ที่หายไปของสัมปทานมือถือกสท ก็จะส่งผลให้รายได้ที่ส่งให้รัฐหายไปด้วย ในขณะที่รายได้ที่ได้รับจากใบอนุญาต 3G ของ กทช.ก็เพียงเล็กน้อย ส่วนต่างที่หายไป ความเสียหายที่เกิดกับรัฐ ใครก็รับผิดชอบ’
นายกฤษดากล่าวว่าหากกทช.จะประมูลใบอนุญาต 3G ก็อยากให้ดำเนินการอย่างโปร่งใสชัดเจน ไม่ใช่เร่งรีบทำแต่ไม่มีความรอบคอบทำให้หน่วยงานรัฐประสบปัญหา และควรจะเปิดโอกาสให้กสท และทีโอทีมีโอกาสเข้าร่วมประมูลเช่นเดียวกับเอกชนรายอื่นๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมรัฐวิสาหกิจไทย
**ขัด รธน.ก็หยุด 3G
พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานกทช.กล่าวว่ากทช.รับฟังทุกความคิดเห็น และดูทุกประเด็นที่เป็นความห่วงใยของหลายๆฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผลกระทบที่จะเกิดกับทีโอทีและกสท ปัญหาในเรื่องความมั่นคง การเป็นบริษัทต่างชาติหรือนอมินีต่างชาติ ซึ่งจะมีการหารือกระทรวงที่เกี่ยวข้องและดูว่าในด้านกม.แล้วจะตรวจสอบลงลึกได้ในระดับไหน รวมทั้งเรื่องการกำหนดเพดานค่าบริการเพื่อไม่ให้เกิดการผลักภาระให้ผู้บริโภค
‘ผมไม่ปวดหัวหรือไม่เครียดเลย ดีเสียอีกที่ทุกๆฝ่ายแสดงความคิดเห็นเพื่อให้กระบวนการเดินหน้าไปด้วยความโปร่งใส วันนี้ในเรื่องจะประมูล 3G ได้เมื่อไหร่ ไม่ใช่ความสำคัญอันดับแรก หรือประเด็นสำคัญหลักแล้ว’
ประธาน กทช.ขยายความว่ากทช.จะประชุมบอร์ดในวันที่ 21 ต.ค.ที่จะถึงนี้เพื่อพิจารณาราคากลางที่ใบอนุญาตแต่ละใบไม่น่าจะเกินหมื่นล้านบาท หรือถ้าแพงกว่านั้นอาจเป็นใบอนุญาตที่มีความถี่ 15 เมกะเฮิรตซ์ รวมทั้งจะหารือทุกประเด็นที่เป็นคำถามจากทุกฝ่ายที่แสดงความเห็นมา หลังจากนั้นจะนำขึ้นเว็บในวันที่ 22 ต.ค.และประชาพิจารณ์อีกรอบในวันที่ 5 พ.ย. และหลังจากนั้นจะมีการหารือกลุ่มย่อยหรือโฟกัส กรุ๊ปกับทีโอที กสท และผู้ประกอบการอย่างเอไอเอส ดีแทค ทรูมูฟ เพื่อเก็บตกรายละเอียดและทำความเข้าใจให้ตรงกันอีกครั้งหนึ่ง
‘สิ่งสำคัญคือถ้าประกาศ IM (Information Memorandum)ได้ก็ถือว่าจบแล้ว ซึ่งเราคาดว่าหลังประชาพิจารณ์ประมาณ 30 วันจะได้ข้อสรุปทั้งหมด’
สำหรับการส่งเรื่องให้กฤษฎีกาตีความมาตรา 47 วรรค 2 ที่กำหนดให้องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม หรือ กสทช.ทำหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวนั้นพล.อ.ชูชาติกล่าวย้ำว่าหากกฤษฎีกาตีความกลับมาว่าขัดรัฐธรรมนูญ ก็หยุด แต่โดยส่วนตัวและเชื่อว่ากทช.มีอำนาจทำได้และไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด
‘ถ้าขัดรัฐธรรมนูญ ก็หยุดไม่ต้องประมูลก็แค่นั้นไม่ได้มีอะไรมาก’
อย่างไรก็ตามประธานกทช.เห็นว่าผลกระทบกับรัฐวิสาหกิจไม่น่ารุนแรงถึงขนาดว่าจะเสียหายเป็นแสนล้านบาท เพราะการถ่ายโอนลูกค้า เนื่องจากเงื่อนไขกำหนดไว้ว่าผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องวางโครงข่ายเสร็จและครอบคลุมประชากรเป็นระยะๆในเวลากี่ปี และกว่าจะถ่ายโอนลูกค้าเสร็จ ดีไม่ดีสัมปทานอาจหมดอายุก่อนก็เป็นได้ นอกจากนี้ทีโอทีควรรับไปทำบริการโทรคมนาคมโดยทั่วถึง (USO) อีกหลักพันล้านหรือหมื่นล้านบาทจะดีกว่าเพราะมีศักยภาพเพียงพอ
ส่วนประเด็นเรื่องความมั่นคงของ 3G นั้น ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้สิทธิในการใช้ความถี่เท่านั้น แต่ความถี่ยังถือเป็นสมบัติของชาติเหมือนเดิม รวมทั้งความมั่นคงเกี่ยวกับ 3G น่าจะเป็นความมั่นคงด้านคอนเทนต์ไม่ใช่ด้านโครงข่าย ซึ่งน่าจะเป็นหน้าที่ของกระทรวงไอซีที สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่จะบังคับใช้พรบ.คอมพ์ให้เข้มงวดมากกว่า
**กกม.ร้อง กทช.ชะลอประมูล 3G
นาย สำราญ รอดเพชร โฆษกพรรคการเมืองใหม่ แถลงว่าขอเรียกร้องให้ กทช.ชะลอการประมูลใบอนุญาต 3G ออกไปก่อน เพราะการเตรียมการประมูลเป็นไปอย่างลุกลี้ลุกลน รวบรัดตัดตอน เช่น สถานภาพของกรรมการเพียง 3 คน จากทั้งหมด 7 คน เงื่อนไขการประมูลยังกีดกันและห้ามกสทและทีโอทีเข้าร่วมนอกจากนี้กระบวนการยังไม่สามารถสร้างความมั่นใจได้ว่าเป็นไปด้วยความโปร่งใสและปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน
พรรค กกม.ของตั้งข้อสังเกตว่าการประมูลครั้งนี้มีผลประโยชน์หลายล้านล้านบาทอาจมีกลุ่มธุรกิจการเมืองบางกลุ่มได้ประโยชน์ทั้งเม็ดเงินการประมูลและการเอื้อประโยชน์ให้กับนักธุรกิจมือถือปัจจุบัน โดยเฉพาะบริษัทมือถือรายใหญ่ ที่หากชนะการประมูลจะโอนย้ายลูกค้าไปใช้โครงข่ายใหม่ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้ที่ต้องนำส่งรัฐ พรรคฯจึงขอเรียกร้องให้กทช.และกระทรวงไอซีทีให้จัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้บริโภคในวงกว้างมากกว่าจะดำเนินการโดยลำพัง
นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ กล่าวว่า การประมูลใบอนุญาตครั้งนี้มูลค่ากว่า 1.6 ล้านล้านบาท แต่การประมูลที่เกิดขึ้นกลับมีรูปแบบลุกลี้ลุกลนเหมือนการพยายามอำนวยประโยชน์กัน เนื่องจากมีการกีดกันกสทและทีโอที ประกอบกับมีการให้ใบอนุญาตเพียง 4 ใบ ซึ่งเมื่อหลับตาดูแล้วก็จะรู้ว่ามีผู้ให้บริการรายใดบ้างที่จะได้ใบอนุญาตไป การประมูลจึงเป็นเพียงการจัดฉากเพื่อแบ่งผลประโยชน์เท่านั้น
นายธีรวุฒิ บุณยโสภณ ประธานคณะกรรมการบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) เปิดเผยถึงผลกระทบที่จะเกิดกับรัฐวิสาหกิจด้านสื่อสารโทรคมนาคมภายหลังจากการเปิดประมูลใบอนุญาต 3G ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ที่จะรายงานคณะรัฐมนตรีว่าผลกระทบจากการประมูลไลเซ่นส์ 3Gจะทำให้รัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจโทรคมนาคมอย่างทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคมเสียหายเป็นอย่างมากเนื่องจากปัจจุบันหน่วยงานทั้ง 2 แห่งยังทำงานแบบกึ่งข้าราชการ การขับเคลื่อนองค์กรเพื่อแข่งขันกับเอกชนเป็นไปอย่างยากลำบาก
ประกอบกับผู้รับสัมปทานซึ่งประกาศตัวชัดเจนว่าจะทำการโอนย้ายลูกค้าจากสัมปทานเดิมไปบนโครงข่ายใหม่ทันที ก็แสดงให้เห็นแล้วว่ารายได้ที่ทีโอทีได้รับจากสัมปทานปีละกว่า 1 หมื่นล้านบาทจะหายไปทันที
นอกจากนี้การเปิดให้ต่างชาติหรือนอมินีต่างชาติประมูลใบอนุญาต 3Gได้อย่างเสรี ก็จะทำให้ต่างชาติเหล่านั้นนำเงินที่ได้จากทรัพยากรประเทศไทยกลับไปพัฒนาประเทศตัวเองได้มากขึ้นซึ่งจากเดิมรัฐบาลยังมีรายได้จากการทีโอทีและกสทนำรายได้ส่งเข้ารัฐปีละกว่า 3 หมื่นล้านบาท
นอกจากนี้ผลกระทบจากการประมูล 3G ในด้านความมั่นคง กรณีหากอนาคตมีการใช้ระบบสื่อสาร 3G โจมตีรัฐบาล การที่รัฐจะร้องขอให้เอกชนปิดกั้นสัญญาณนั้นจะดำเนินการได้ยากแต่หากระบบสื่อสารโทรคมนาคมยังเป็นของรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่การสั่งปิดกั้นก็สามารถดำเนินการได้ทันที
‘กทช.ทุกคนเป็นคนดีและทุกคนเป็นข้าราชการ เชื่อว่าทุกท่านมีความรักต่อประเทศชาติ ผมเชื่อว่ากทช.จะทบทวนเรื่องการประมูล 3G อย่างละเอียดรอบคอบเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ’
นายกฤษดา กวีญาณ กรรมการบอร์ดบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าขณะนี้กสทกำลังอยู่ระหว่างเตรียมรายละเอียดผลกระทบที่กสท ได้รับตามคำสั่งของคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจจากการประมูลใบอนุญาต 3Gของกทช. โดยผลกระทบที่กสทจะได้รับคือรายได้จากสัญญาสัมปทานที่จะหายไปทันทีที่กทช.ให้ใบอนุญาตแก่เอกชน เพราะบริษัท โทลเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค และบริษัท ทรูมูฟ ก็จะเกิดการโอนย้ายลูกค้าจากสัมปทานเดิมไปบนโครงข่าย ใหม่จนหมด
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมากสท และทีโอที นำจ่ายส่วนแบ่งรายได้จากสัมปทานมือถือปีละ 3 หมื่นล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งรายได้ที่เอกชนต้องจ่ายให้รัฐประมาณ 25% ซึ่งสัญญาสัมปทานมีอายุเฉลี่ยเหลือประมาณ 6 ปี แต่หากกทช.ออกใบอนุญาต 3G รัฐจะมีรายได้เหลือเพียง 6 % หากคำนวณจากผู้รับสัมปทานรายใหญ่ในปัจจุบันรัฐจะมีรายได้เข้าประเทศเพียง 7,000 ล้านบาท และราคาการประมูลที่ 10,000 ล้านเป็นราคาที่เอกชนสามารถทำกำไรได้รวดเร็วเพราะเป็นราคาที่ต่ำ
ทั้งนี้หากรัฐหันมาส่งเสริมให้มีการลงทุน 3G บนความถี่ 850 MHz ของกสทซึ่งปัจจุบัน ดีแทคและทรูมูฟทดสอบให้บริการโดยสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี ก็จะทำให้รัฐยังมีเงินในการพัฒนาประเทศในปริมาณเท่าเดิม
‘ผลกระทบจากส่วนแบ่งรายได้ที่หายไปของสัมปทานมือถือกสท ก็จะส่งผลให้รายได้ที่ส่งให้รัฐหายไปด้วย ในขณะที่รายได้ที่ได้รับจากใบอนุญาต 3G ของ กทช.ก็เพียงเล็กน้อย ส่วนต่างที่หายไป ความเสียหายที่เกิดกับรัฐ ใครก็รับผิดชอบ’
นายกฤษดากล่าวว่าหากกทช.จะประมูลใบอนุญาต 3G ก็อยากให้ดำเนินการอย่างโปร่งใสชัดเจน ไม่ใช่เร่งรีบทำแต่ไม่มีความรอบคอบทำให้หน่วยงานรัฐประสบปัญหา และควรจะเปิดโอกาสให้กสท และทีโอทีมีโอกาสเข้าร่วมประมูลเช่นเดียวกับเอกชนรายอื่นๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมรัฐวิสาหกิจไทย
**ขัด รธน.ก็หยุด 3G
พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานกทช.กล่าวว่ากทช.รับฟังทุกความคิดเห็น และดูทุกประเด็นที่เป็นความห่วงใยของหลายๆฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผลกระทบที่จะเกิดกับทีโอทีและกสท ปัญหาในเรื่องความมั่นคง การเป็นบริษัทต่างชาติหรือนอมินีต่างชาติ ซึ่งจะมีการหารือกระทรวงที่เกี่ยวข้องและดูว่าในด้านกม.แล้วจะตรวจสอบลงลึกได้ในระดับไหน รวมทั้งเรื่องการกำหนดเพดานค่าบริการเพื่อไม่ให้เกิดการผลักภาระให้ผู้บริโภค
‘ผมไม่ปวดหัวหรือไม่เครียดเลย ดีเสียอีกที่ทุกๆฝ่ายแสดงความคิดเห็นเพื่อให้กระบวนการเดินหน้าไปด้วยความโปร่งใส วันนี้ในเรื่องจะประมูล 3G ได้เมื่อไหร่ ไม่ใช่ความสำคัญอันดับแรก หรือประเด็นสำคัญหลักแล้ว’
ประธาน กทช.ขยายความว่ากทช.จะประชุมบอร์ดในวันที่ 21 ต.ค.ที่จะถึงนี้เพื่อพิจารณาราคากลางที่ใบอนุญาตแต่ละใบไม่น่าจะเกินหมื่นล้านบาท หรือถ้าแพงกว่านั้นอาจเป็นใบอนุญาตที่มีความถี่ 15 เมกะเฮิรตซ์ รวมทั้งจะหารือทุกประเด็นที่เป็นคำถามจากทุกฝ่ายที่แสดงความเห็นมา หลังจากนั้นจะนำขึ้นเว็บในวันที่ 22 ต.ค.และประชาพิจารณ์อีกรอบในวันที่ 5 พ.ย. และหลังจากนั้นจะมีการหารือกลุ่มย่อยหรือโฟกัส กรุ๊ปกับทีโอที กสท และผู้ประกอบการอย่างเอไอเอส ดีแทค ทรูมูฟ เพื่อเก็บตกรายละเอียดและทำความเข้าใจให้ตรงกันอีกครั้งหนึ่ง
‘สิ่งสำคัญคือถ้าประกาศ IM (Information Memorandum)ได้ก็ถือว่าจบแล้ว ซึ่งเราคาดว่าหลังประชาพิจารณ์ประมาณ 30 วันจะได้ข้อสรุปทั้งหมด’
สำหรับการส่งเรื่องให้กฤษฎีกาตีความมาตรา 47 วรรค 2 ที่กำหนดให้องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม หรือ กสทช.ทำหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวนั้นพล.อ.ชูชาติกล่าวย้ำว่าหากกฤษฎีกาตีความกลับมาว่าขัดรัฐธรรมนูญ ก็หยุด แต่โดยส่วนตัวและเชื่อว่ากทช.มีอำนาจทำได้และไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด
‘ถ้าขัดรัฐธรรมนูญ ก็หยุดไม่ต้องประมูลก็แค่นั้นไม่ได้มีอะไรมาก’
อย่างไรก็ตามประธานกทช.เห็นว่าผลกระทบกับรัฐวิสาหกิจไม่น่ารุนแรงถึงขนาดว่าจะเสียหายเป็นแสนล้านบาท เพราะการถ่ายโอนลูกค้า เนื่องจากเงื่อนไขกำหนดไว้ว่าผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องวางโครงข่ายเสร็จและครอบคลุมประชากรเป็นระยะๆในเวลากี่ปี และกว่าจะถ่ายโอนลูกค้าเสร็จ ดีไม่ดีสัมปทานอาจหมดอายุก่อนก็เป็นได้ นอกจากนี้ทีโอทีควรรับไปทำบริการโทรคมนาคมโดยทั่วถึง (USO) อีกหลักพันล้านหรือหมื่นล้านบาทจะดีกว่าเพราะมีศักยภาพเพียงพอ
ส่วนประเด็นเรื่องความมั่นคงของ 3G นั้น ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้สิทธิในการใช้ความถี่เท่านั้น แต่ความถี่ยังถือเป็นสมบัติของชาติเหมือนเดิม รวมทั้งความมั่นคงเกี่ยวกับ 3G น่าจะเป็นความมั่นคงด้านคอนเทนต์ไม่ใช่ด้านโครงข่าย ซึ่งน่าจะเป็นหน้าที่ของกระทรวงไอซีที สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่จะบังคับใช้พรบ.คอมพ์ให้เข้มงวดมากกว่า
**กกม.ร้อง กทช.ชะลอประมูล 3G
นาย สำราญ รอดเพชร โฆษกพรรคการเมืองใหม่ แถลงว่าขอเรียกร้องให้ กทช.ชะลอการประมูลใบอนุญาต 3G ออกไปก่อน เพราะการเตรียมการประมูลเป็นไปอย่างลุกลี้ลุกลน รวบรัดตัดตอน เช่น สถานภาพของกรรมการเพียง 3 คน จากทั้งหมด 7 คน เงื่อนไขการประมูลยังกีดกันและห้ามกสทและทีโอทีเข้าร่วมนอกจากนี้กระบวนการยังไม่สามารถสร้างความมั่นใจได้ว่าเป็นไปด้วยความโปร่งใสและปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน
พรรค กกม.ของตั้งข้อสังเกตว่าการประมูลครั้งนี้มีผลประโยชน์หลายล้านล้านบาทอาจมีกลุ่มธุรกิจการเมืองบางกลุ่มได้ประโยชน์ทั้งเม็ดเงินการประมูลและการเอื้อประโยชน์ให้กับนักธุรกิจมือถือปัจจุบัน โดยเฉพาะบริษัทมือถือรายใหญ่ ที่หากชนะการประมูลจะโอนย้ายลูกค้าไปใช้โครงข่ายใหม่ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้ที่ต้องนำส่งรัฐ พรรคฯจึงขอเรียกร้องให้กทช.และกระทรวงไอซีทีให้จัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้บริโภคในวงกว้างมากกว่าจะดำเนินการโดยลำพัง
นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ กล่าวว่า การประมูลใบอนุญาตครั้งนี้มูลค่ากว่า 1.6 ล้านล้านบาท แต่การประมูลที่เกิดขึ้นกลับมีรูปแบบลุกลี้ลุกลนเหมือนการพยายามอำนวยประโยชน์กัน เนื่องจากมีการกีดกันกสทและทีโอที ประกอบกับมีการให้ใบอนุญาตเพียง 4 ใบ ซึ่งเมื่อหลับตาดูแล้วก็จะรู้ว่ามีผู้ให้บริการรายใดบ้างที่จะได้ใบอนุญาตไป การประมูลจึงเป็นเพียงการจัดฉากเพื่อแบ่งผลประโยชน์เท่านั้น