ASTVผู้จัดการรายวัน - ธปท.สั่งแบงก์ออกหนังสือให้ลูกค้ากรณีปฏิเสธปล่อยกู้เพราะติดเครดิตบูโร ด้านโครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบคืบ "กรณ์" เผยหารือนายกฯแล้ว เปิดโครงการ พ.ย.นี้ ดึง "ดีเอสไอ-ปปง.-สรรพากร" ร่วมสาง
นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาการปล่อยสินเชื่อ (ศปส.) พบปัญหาร้องเรียนข้อติดขัดเจ้าหน้าที่ธนาคารพาณิชย์อ้างเป็นกฎระเบียบ ธปท.นั้นลดน้อยลง แต่ที่พบปัญหาใหม่ คือ อ้างลูกค้ารายนั้นที่ขอสินเชื่อติดปัญหาเครดิตบูโร ธปท.จึงแนะนำว่าตาม พ.ร.บ.ข้อมูลเครดิตในกรณีนี้ธนาคารพาณิชย์รายนั้นต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ลูกค้ารับทราบไม่ใช่ปฏิเสธด้วยปากเปล่าอย่างเดียวเพื่อให้ลูกค้าสามารถเอาหนังสือนั้นไปขอดูข้อมูลเครดิตได้
“สิ่งที่ ธปท.ทำอยู่ในขณะนี้ เพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหา NPL สูงขึ้นในอนาคตได้ หากมีการเจรจาระหว่างลูกค้ากับแบงก์มากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจ SME ให้มีทางออกมากขึ้น และหากเศรษฐกิจมีสัญญาณพื้นตัวมากขึ้น การปล่อยสินเชื่อก็จะเดินหน้าไปได้ตามปกติ” นายสรสิทธิ์กล่าวและว่า ได้ขยายระยะเวลาในการเปิดศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาการปล่อยสินเชื่อ (ศปส.) ไปอีก 6 เดือน สิ้นสุดเดือ นมี.ค.53 แต่หากปัญหาปล่อยสินเชื่อยังไม่คลี่คลายก็อาจพิจารณาขยายเวลาดำเนินการอีก.
**คลังเร่งแก้หนี้นอกระบบ
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ว่า ได้หารือกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แล้ว จะเปิดตัวโครงการในเดือน พ.ย.นี้ โดยมอบหมายให้ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าว หากเป็นเกษตรกรให้ ธ.ก.ส.ช่วยเหลือ หากเป็นลูกค้าทั่วไป จะให้ธนาคารออมสิน
"ขณะนี้ได้หารือในรายละเอียดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ขณะเดียวกันเตรียมดึงกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กรมสรรพากร เข้ามาร่วมเจรจา คาดว่าจะช่วยลดภาระหนี้ของประชาชนที่เป็นลูกหนี้นอกระบบ 700,000-800,000 คน"
ก่อนหน้านี้ นายพงษ์เทพ ถิฐาพันธ์ เลขานุการศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (ศอก.นส.) กระทรวงการคลัง กล่าวว่า กำลังเร่งรายละเอียดและวางกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจน เบื้องต้นการช่วยเหลือกำหนดวงเงินมูลหนี้ไว้ต่อรายไม่เกิน 2 แสนบาท เพราะเชื่อว่าหนี้นอกระบบส่วนใหญ่จะให้กู้กันวงเงินไม่มากเพราะไม่มีหลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกันเหมือนการกู้เงินจากสถาบันการเงินและต้องการช่วยเหลือประชาชนระดับล่าง.
นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาการปล่อยสินเชื่อ (ศปส.) พบปัญหาร้องเรียนข้อติดขัดเจ้าหน้าที่ธนาคารพาณิชย์อ้างเป็นกฎระเบียบ ธปท.นั้นลดน้อยลง แต่ที่พบปัญหาใหม่ คือ อ้างลูกค้ารายนั้นที่ขอสินเชื่อติดปัญหาเครดิตบูโร ธปท.จึงแนะนำว่าตาม พ.ร.บ.ข้อมูลเครดิตในกรณีนี้ธนาคารพาณิชย์รายนั้นต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ลูกค้ารับทราบไม่ใช่ปฏิเสธด้วยปากเปล่าอย่างเดียวเพื่อให้ลูกค้าสามารถเอาหนังสือนั้นไปขอดูข้อมูลเครดิตได้
“สิ่งที่ ธปท.ทำอยู่ในขณะนี้ เพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหา NPL สูงขึ้นในอนาคตได้ หากมีการเจรจาระหว่างลูกค้ากับแบงก์มากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจ SME ให้มีทางออกมากขึ้น และหากเศรษฐกิจมีสัญญาณพื้นตัวมากขึ้น การปล่อยสินเชื่อก็จะเดินหน้าไปได้ตามปกติ” นายสรสิทธิ์กล่าวและว่า ได้ขยายระยะเวลาในการเปิดศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาการปล่อยสินเชื่อ (ศปส.) ไปอีก 6 เดือน สิ้นสุดเดือ นมี.ค.53 แต่หากปัญหาปล่อยสินเชื่อยังไม่คลี่คลายก็อาจพิจารณาขยายเวลาดำเนินการอีก.
**คลังเร่งแก้หนี้นอกระบบ
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ว่า ได้หารือกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แล้ว จะเปิดตัวโครงการในเดือน พ.ย.นี้ โดยมอบหมายให้ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าว หากเป็นเกษตรกรให้ ธ.ก.ส.ช่วยเหลือ หากเป็นลูกค้าทั่วไป จะให้ธนาคารออมสิน
"ขณะนี้ได้หารือในรายละเอียดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ขณะเดียวกันเตรียมดึงกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กรมสรรพากร เข้ามาร่วมเจรจา คาดว่าจะช่วยลดภาระหนี้ของประชาชนที่เป็นลูกหนี้นอกระบบ 700,000-800,000 คน"
ก่อนหน้านี้ นายพงษ์เทพ ถิฐาพันธ์ เลขานุการศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (ศอก.นส.) กระทรวงการคลัง กล่าวว่า กำลังเร่งรายละเอียดและวางกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจน เบื้องต้นการช่วยเหลือกำหนดวงเงินมูลหนี้ไว้ต่อรายไม่เกิน 2 แสนบาท เพราะเชื่อว่าหนี้นอกระบบส่วนใหญ่จะให้กู้กันวงเงินไม่มากเพราะไม่มีหลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกันเหมือนการกู้เงินจากสถาบันการเงินและต้องการช่วยเหลือประชาชนระดับล่าง.