ASTVผู้จัดการรายวัน - ใครเป็นหนี้ต่ำกว่า 2 แสนบาทมีเฮ รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังออกเงื่อนไขช่วยเหลือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เปิดกว้างทั้งหนี้ในระบบและนอกระบบ ใช้ 6 แบงก์รัฐรีไฟแนนซ์ ลงทะเบียนตั้งแต่ 16 ต.ค.นี้ ด้านสำนักงานสถิติแห่งชาติเผยหนี้ครัวเรือน 1.33 แสนบาท ส่วนใหญ่เป็นหนี้ในระบบ
นายพงษ์เทพ ถิฐาพันธ์ เลขานุการศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (ศอก.นส.) กระทรวงการคลัง กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชน โดยเฉพาะหนี้นอกระบบที่ รมว.คลังต้องการให้ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เข้ามารับลงทะเบียนลูกหนี้แทนเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอเหมือนช่วง 5 ปีที่ผ่านมาว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างกำหนดรายละเอียดและวางกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจนคาดว่าวันที่ 16 ต.ค.นี้ ทั้ง 2 แบงก์จะเริ่มเปิดรับลงทะเบียนได้ โดยหากรับลงทะเบียนเฉพาะปัญหาหนี้สินและหนี้นอกระบบทั่วประเทศน่าจะดำเนินการการได้เร็วภายในสิ้นปีนี้จะได้ข้อมูลที่ชัดเจนทั้งจำนวนลูกหนี้และมูลหนี้ที่ต้องเข้าไปดำเนินการแก้ไข
“ธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส.จะทำหน้าที่รับจดทะเบียนลูกหนี้ เพราะมีศักยภาพเพียงพอที่จะดำเนินการได้ เนื่องจากมีสาขารวมกันกว่า 1 ,500 สาขาทั่วประเทศ จึงน่าจะดำเนินการได้เร็วภายในสิ้นปีนี้ จากนั้นคาดว่าจะเริ่มเข้าสู่กระบวนการแก้ไขปัญหานี้สินเหมือนที่ ศอก.นส.เคยทำมาก่อนหน้านี้ได้ตั้งแต่ต้นปีหน้า และครั้งนี้น่าจะใช้เวลาเร็วว่าเดิมเพราะเจ้าหน้าที่มีประสบการณ์อยู่แล้วและยังได้รับการสนับสนุนเชิงนโยบายจากนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังด้วย” นายพงษ์เทพกล่าว
ส่วนการช่วยเหลือกลุ่มลูกหนี้ในการเจรจากับเจ้าหนี้และนำเข้ามาสู่ระบบนั้นจะดำเนินการผ่านธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ 6 แห่ง คือ ธ.ก.ส. ออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยหรือไอแบงก์ ซึ่งก่อนหน้านี้มีเพียง 5 แห่งครั้งนี้จึงจะดึงไอแบงก์เข้ามาร่วมด้วยเพราะมีสินเชื่อรายย่อยและโครงการรับรีไฟแนนซ์หนี้อยู่แล้ว
***กำหนดมูลหนี้ไม่เกิน 2 แสนบาท
เลขา ศอก.นส.เปิดเผยว่า การช่วยเหลือกำหนดวงเงินมูลหนี้ไว้ต่อรายไม่เกิน 2 แสนบาท เพราะเชื่อว่าหนี้นอกระบบส่วนใหญ่จะให้กู้กันวงเงินไม่มากเพราะไม่มีหลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกันเหมือนการกู้เงินจากสถาบันการเงิน และต้องการช่วยเหลือประชาชนระดับล่างหรือรากหญ้าจริงๆ
"การช่วยหรือเจรจาหนี้นั้นต้องพิสูจน์ได้ว่าเป็นหนี้ด้วยความจำเป็นไม่ใช่หนี้จากการพนันหรือเล่นหวย ที่สำคัญต้องเข้าใจหลักการตรงกันก่อนว่าเป็นเงินกู้ใหม่เพื่อนำไปใช้หนี้เดิมที่ดอกเบี้ยสูง ไม่ใช่การแจกเงินหรือเงินให้เปล่า ดังนั้นลูกหนี้ที่เข้าโครงการจึงต้องมีรายได้หรือมีศักยภาพเพียงพอที่จะชำระเงินคืนได้ด้วย" นายพงษ์เทพกล่าวและย้ำว่า ความตั้งใจของกระทรวงการคลังอยากช่วยเหลือกลุ่มลูกหนี้ที่แบกรับภาระหนี้ดอกเบี้ยสูงๆ หรือมีหนีสินรุงรังซึ่งรวมถึงหนี้ในระบบด้วนให้มีโอกาสได้ปรับโครงสร้างหนี้ เจรจาลดหนี้เงินต้นดอกเบี้ยเพื่อจะได้มีความสามารถในการจ่ายหนี้คืนและกลับมาใช้ชีวิตปกติสุขได้ เพราะหากวันนี้ไม่ทำเมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวกลุ่มนี้ก็ไม่มีศักยภาพพอที่จะเริ่มตั้งหลักได้ โดยกับเมื่อ 5 ปีก่อนมีประชาชนลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือกว่า 8 ล้านรายมีส่วนที่ขอให้แก้ไขปัญหาหนี้สิน 5 ล้านรายและแก้ไขไปแล้วกว่า 3 แสนกว่าราย และรายที่ช่วยเหลือไปพบว่า 80% มีการชำระหนี้คืนตามปกติ
สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่จะให้การช่วยเหลือนั้นจะเปิดกว้างทั้งประชาชนทั่วไปพ่อค้า เกษตรกร ซึ่งเชื่อว่าส่วนใหญ่มีหนี้สินทั้งในระบบและนอกระบบควบคู่กันไปด้วย โดยอาจเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจ เงินเดือนไม่พอใช้จ่ายในครอบครัว หรือประสบปัญหาจากการประกอบอาชีพ
***หนี้ครัวเรือนไทย 1.33 แสนบาท
นางธนนุช ตรีทิพยบุตร เลขาธิการสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เปิดเผยว่า สสช.ได้ออกสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2552 ทั้งรายได้ ค่าใช้จ่ายเพื่อยังชีพไม่รวมเงินออม เงินสะสมและซื้อที่อยู่อาศัย หนี้สินและทรัพย์สินของครัวเรือน โดยสุ่มตัวอย่างจากครัวเรือนทั่วประเทศ 26,000 ครัวเรือน พบว่าในครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย. 52) ครัวเรือนทั่วประเทศมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 21,135 บาท มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 16,255 บาท
ผลสำรวจยังพบว่ามีครัวเรือนที่มีหนี้สินมากถึง 61.8% ของครัวเรือนทั้งหมด โดยมีหนี้สินเฉลี่ยครัวเรือนละ 133,293 บาทซึ่งเป็นจำนวนเงินที่มากขึ้นมาโดยตลอดนับตั้งแต่ปี 43 ที่มีหนี้เพียง 68,405 บาท และส่วนใหญ่ครัวเรือนเป็นหนี้สินในระบบ แยกเป็นครัวเรือนที่มีหนี้ในระบบอย่างเดียว 82.9 % และเป็นครัวเรือนที่เป็นหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ 9.7 % ส่วนครัวเรือนที่มีหนี้นอกระบบอย่างเดียว มีเพียง 7.4% ขณะที่หนี้ในระบบมีประมาณครัวเรือนละ 127,152 บาท หนี้นอกระบบ จำนวน 6,140 บาท หรือเป็นหนี้ในระบบสูงกว่านอกระบบ 21 เท่า โดยหนี้สินของครัวเรือนเป็นการก่อหนี้เพื่อใช้ในครัวเรือนคือซื้อบ้านหรือที่ดิน 36.3% รองลงมาได้แก่การบริโภคอุปโภค 29.7 % ส่วนหนี้เพื่อใช้ในการศึกษามีเพียง 2.8% เท่านั้น สำหรับหนี้เพื่อทำการเกษตร และทำธุรกิจมีใกล้เคียงกันประมาณ 14.8%
ครัวเรือนลูกจ้างที่ปฏิบัติงานวิชาชีพ นักวิชาการ นักบริหาร มีรายได้เฉลี่ยสูงสุดถึง 48,838 บาท ส่วนที่มีรายได้ต่ำสุด คือครัวเรือนผู้ทำประมง ป่าไม้ ล่าสัตว์ หาของป่า เฉลี่ย 9,073 บาท และพบว่าครัวเรือนอาชีพใดมีรายได้สูง ส่วนใหญ่จะมีค่าใช้จ่ายและจำนวนเงินที่เป็นหนี้สูงเช่นเดียวกัน และรายได้ของครัวเรือนส่วนใหญ่มาจากการทำงานมากถึง 72.2% ทั้งค่าจ้างเงินเดือน, ทำธุรกิจ, รายได้จากการทำการเกษตร ส่วนรายจ่ายส่วนใหญ่ 33.5% เป็นค่าอาหารและเครื่องดื่ม รองลงมาเป็นค่าที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ภายในบ้าน 20.5% ค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางและยานพาหนะ 17.5% เป็นต้น และยังพบว่าครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ด้านอุปโภคบริโภค ค่าภาษี ของขวัญ เบี้ยประกัน ซื้อล็อตเตอรี่และหวย สูงถึง 12.1%
เมื่อเปรียบเทียบรายได้ ค่าใช้จ่าย และหนี้สินต่อรายได้ พบว่า ครัวเรือนทั่วประเทศตั้งแต่ปี 43-52 มีรายได้เฉลี่ยมากกว่าค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการยังชีพ และพบว่าทั้งรายได้และค่าใช้จ่าย เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด โดยรายได้เพิ่มจากเดือนละ 12,150 บาท ในปี 43 เป็น 21,135 บาท ในปี 52 เช่นเดียวกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มจาก 9,848 เป็น 16,255 บาท โดยส่วนใหญ่มีรายได้สูงกว่ารายจ่ายประมาณคนละ 1,476 บาท แต่ถูกนำไปชำระหนี้ ทั้งค่าผ่อนบ้าน ค่าที่ดิน ส่วนหนี้สินต่อรายได้ครัวเรือนในปี 47 จะสูงที่สุด และมีแนวโน้มลดลงจาก 7 เท่า ในปี 43 เป็น 6.3 เท่า ในปี 50 และเริ่มทรงตัวในปี 52 ขณะที่จำนวนเงินที่เป็นหนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 43 ที่มีหนี้สินเฉลี่ย ครัวเรือนละ 68,405 บาทเป็น 133,239 บาท ในปี 52.
นายพงษ์เทพ ถิฐาพันธ์ เลขานุการศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (ศอก.นส.) กระทรวงการคลัง กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชน โดยเฉพาะหนี้นอกระบบที่ รมว.คลังต้องการให้ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เข้ามารับลงทะเบียนลูกหนี้แทนเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอเหมือนช่วง 5 ปีที่ผ่านมาว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างกำหนดรายละเอียดและวางกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจนคาดว่าวันที่ 16 ต.ค.นี้ ทั้ง 2 แบงก์จะเริ่มเปิดรับลงทะเบียนได้ โดยหากรับลงทะเบียนเฉพาะปัญหาหนี้สินและหนี้นอกระบบทั่วประเทศน่าจะดำเนินการการได้เร็วภายในสิ้นปีนี้จะได้ข้อมูลที่ชัดเจนทั้งจำนวนลูกหนี้และมูลหนี้ที่ต้องเข้าไปดำเนินการแก้ไข
“ธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส.จะทำหน้าที่รับจดทะเบียนลูกหนี้ เพราะมีศักยภาพเพียงพอที่จะดำเนินการได้ เนื่องจากมีสาขารวมกันกว่า 1 ,500 สาขาทั่วประเทศ จึงน่าจะดำเนินการได้เร็วภายในสิ้นปีนี้ จากนั้นคาดว่าจะเริ่มเข้าสู่กระบวนการแก้ไขปัญหานี้สินเหมือนที่ ศอก.นส.เคยทำมาก่อนหน้านี้ได้ตั้งแต่ต้นปีหน้า และครั้งนี้น่าจะใช้เวลาเร็วว่าเดิมเพราะเจ้าหน้าที่มีประสบการณ์อยู่แล้วและยังได้รับการสนับสนุนเชิงนโยบายจากนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังด้วย” นายพงษ์เทพกล่าว
ส่วนการช่วยเหลือกลุ่มลูกหนี้ในการเจรจากับเจ้าหนี้และนำเข้ามาสู่ระบบนั้นจะดำเนินการผ่านธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ 6 แห่ง คือ ธ.ก.ส. ออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยหรือไอแบงก์ ซึ่งก่อนหน้านี้มีเพียง 5 แห่งครั้งนี้จึงจะดึงไอแบงก์เข้ามาร่วมด้วยเพราะมีสินเชื่อรายย่อยและโครงการรับรีไฟแนนซ์หนี้อยู่แล้ว
***กำหนดมูลหนี้ไม่เกิน 2 แสนบาท
เลขา ศอก.นส.เปิดเผยว่า การช่วยเหลือกำหนดวงเงินมูลหนี้ไว้ต่อรายไม่เกิน 2 แสนบาท เพราะเชื่อว่าหนี้นอกระบบส่วนใหญ่จะให้กู้กันวงเงินไม่มากเพราะไม่มีหลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกันเหมือนการกู้เงินจากสถาบันการเงิน และต้องการช่วยเหลือประชาชนระดับล่างหรือรากหญ้าจริงๆ
"การช่วยหรือเจรจาหนี้นั้นต้องพิสูจน์ได้ว่าเป็นหนี้ด้วยความจำเป็นไม่ใช่หนี้จากการพนันหรือเล่นหวย ที่สำคัญต้องเข้าใจหลักการตรงกันก่อนว่าเป็นเงินกู้ใหม่เพื่อนำไปใช้หนี้เดิมที่ดอกเบี้ยสูง ไม่ใช่การแจกเงินหรือเงินให้เปล่า ดังนั้นลูกหนี้ที่เข้าโครงการจึงต้องมีรายได้หรือมีศักยภาพเพียงพอที่จะชำระเงินคืนได้ด้วย" นายพงษ์เทพกล่าวและย้ำว่า ความตั้งใจของกระทรวงการคลังอยากช่วยเหลือกลุ่มลูกหนี้ที่แบกรับภาระหนี้ดอกเบี้ยสูงๆ หรือมีหนีสินรุงรังซึ่งรวมถึงหนี้ในระบบด้วนให้มีโอกาสได้ปรับโครงสร้างหนี้ เจรจาลดหนี้เงินต้นดอกเบี้ยเพื่อจะได้มีความสามารถในการจ่ายหนี้คืนและกลับมาใช้ชีวิตปกติสุขได้ เพราะหากวันนี้ไม่ทำเมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวกลุ่มนี้ก็ไม่มีศักยภาพพอที่จะเริ่มตั้งหลักได้ โดยกับเมื่อ 5 ปีก่อนมีประชาชนลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือกว่า 8 ล้านรายมีส่วนที่ขอให้แก้ไขปัญหาหนี้สิน 5 ล้านรายและแก้ไขไปแล้วกว่า 3 แสนกว่าราย และรายที่ช่วยเหลือไปพบว่า 80% มีการชำระหนี้คืนตามปกติ
สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่จะให้การช่วยเหลือนั้นจะเปิดกว้างทั้งประชาชนทั่วไปพ่อค้า เกษตรกร ซึ่งเชื่อว่าส่วนใหญ่มีหนี้สินทั้งในระบบและนอกระบบควบคู่กันไปด้วย โดยอาจเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจ เงินเดือนไม่พอใช้จ่ายในครอบครัว หรือประสบปัญหาจากการประกอบอาชีพ
***หนี้ครัวเรือนไทย 1.33 แสนบาท
นางธนนุช ตรีทิพยบุตร เลขาธิการสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เปิดเผยว่า สสช.ได้ออกสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2552 ทั้งรายได้ ค่าใช้จ่ายเพื่อยังชีพไม่รวมเงินออม เงินสะสมและซื้อที่อยู่อาศัย หนี้สินและทรัพย์สินของครัวเรือน โดยสุ่มตัวอย่างจากครัวเรือนทั่วประเทศ 26,000 ครัวเรือน พบว่าในครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย. 52) ครัวเรือนทั่วประเทศมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 21,135 บาท มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 16,255 บาท
ผลสำรวจยังพบว่ามีครัวเรือนที่มีหนี้สินมากถึง 61.8% ของครัวเรือนทั้งหมด โดยมีหนี้สินเฉลี่ยครัวเรือนละ 133,293 บาทซึ่งเป็นจำนวนเงินที่มากขึ้นมาโดยตลอดนับตั้งแต่ปี 43 ที่มีหนี้เพียง 68,405 บาท และส่วนใหญ่ครัวเรือนเป็นหนี้สินในระบบ แยกเป็นครัวเรือนที่มีหนี้ในระบบอย่างเดียว 82.9 % และเป็นครัวเรือนที่เป็นหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ 9.7 % ส่วนครัวเรือนที่มีหนี้นอกระบบอย่างเดียว มีเพียง 7.4% ขณะที่หนี้ในระบบมีประมาณครัวเรือนละ 127,152 บาท หนี้นอกระบบ จำนวน 6,140 บาท หรือเป็นหนี้ในระบบสูงกว่านอกระบบ 21 เท่า โดยหนี้สินของครัวเรือนเป็นการก่อหนี้เพื่อใช้ในครัวเรือนคือซื้อบ้านหรือที่ดิน 36.3% รองลงมาได้แก่การบริโภคอุปโภค 29.7 % ส่วนหนี้เพื่อใช้ในการศึกษามีเพียง 2.8% เท่านั้น สำหรับหนี้เพื่อทำการเกษตร และทำธุรกิจมีใกล้เคียงกันประมาณ 14.8%
ครัวเรือนลูกจ้างที่ปฏิบัติงานวิชาชีพ นักวิชาการ นักบริหาร มีรายได้เฉลี่ยสูงสุดถึง 48,838 บาท ส่วนที่มีรายได้ต่ำสุด คือครัวเรือนผู้ทำประมง ป่าไม้ ล่าสัตว์ หาของป่า เฉลี่ย 9,073 บาท และพบว่าครัวเรือนอาชีพใดมีรายได้สูง ส่วนใหญ่จะมีค่าใช้จ่ายและจำนวนเงินที่เป็นหนี้สูงเช่นเดียวกัน และรายได้ของครัวเรือนส่วนใหญ่มาจากการทำงานมากถึง 72.2% ทั้งค่าจ้างเงินเดือน, ทำธุรกิจ, รายได้จากการทำการเกษตร ส่วนรายจ่ายส่วนใหญ่ 33.5% เป็นค่าอาหารและเครื่องดื่ม รองลงมาเป็นค่าที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ภายในบ้าน 20.5% ค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางและยานพาหนะ 17.5% เป็นต้น และยังพบว่าครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ด้านอุปโภคบริโภค ค่าภาษี ของขวัญ เบี้ยประกัน ซื้อล็อตเตอรี่และหวย สูงถึง 12.1%
เมื่อเปรียบเทียบรายได้ ค่าใช้จ่าย และหนี้สินต่อรายได้ พบว่า ครัวเรือนทั่วประเทศตั้งแต่ปี 43-52 มีรายได้เฉลี่ยมากกว่าค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการยังชีพ และพบว่าทั้งรายได้และค่าใช้จ่าย เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด โดยรายได้เพิ่มจากเดือนละ 12,150 บาท ในปี 43 เป็น 21,135 บาท ในปี 52 เช่นเดียวกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มจาก 9,848 เป็น 16,255 บาท โดยส่วนใหญ่มีรายได้สูงกว่ารายจ่ายประมาณคนละ 1,476 บาท แต่ถูกนำไปชำระหนี้ ทั้งค่าผ่อนบ้าน ค่าที่ดิน ส่วนหนี้สินต่อรายได้ครัวเรือนในปี 47 จะสูงที่สุด และมีแนวโน้มลดลงจาก 7 เท่า ในปี 43 เป็น 6.3 เท่า ในปี 50 และเริ่มทรงตัวในปี 52 ขณะที่จำนวนเงินที่เป็นหนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 43 ที่มีหนี้สินเฉลี่ย ครัวเรือนละ 68,405 บาทเป็น 133,239 บาท ในปี 52.