ASTVผู้จัดการรายวัน – ปชป.ซื้อใจรากหญ้าให้ลืมแม้ว ขุนคลังฟื้นชีพโครงการแก้หนี้นอกระบบ มอบออมสิน-ธ.ก.ส.รับหน้าที่อัปเดทข้อมูลก่อนเจรจาเจ้าหนี้ขอแฮร์คัท ปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำพิเศษหวังให้หลุดพ้นจากวงเวียนหนี้สินซ้ำซาก เตรียมถกกระทรวงยุติธรรมรวม กม.ทวงหนี้-กม.บัตรเครดิต เข้าด้วยกันเพื่อให้การแก้หนี้ภาคประชาชนบูรณาการ
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า ภายในสิ้นปีนี้ กระทรวงการคลังจะมีมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบแก่กลุ่มประชาชนระดับรากหญ้าครั้งใหญ่เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในกลุ่มนี้ให้ดีขึ้น โดยที่ผ่านมาได้หารือกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)และศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคประชาชน กระทรวงการคลังแล้วพบว่าขณะนี้การติดตามทวงหนี้โหดเพิ่มมากขึ้นมากและลูกหนี้นอกระบบไม่สามารถออกจากวงเวียนหนี้สินที่คิดอัตราดอกเบี้ยสูงลิ่วได้
ดังนั้นจึงได้เสนอให้จากนี้ต่อไปจะให้ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เป็นเครื่องมือของกระทรวงการคลังเข้ามาขึ้นทะเบียนลูกหนี้นอกระบบใหม่ ต่อเนื่องจากปี 49 ที่กระทรวงมหาดไทยได้ขึ้นทะเบียนคนจนไว้แล้ว ถือเป็นการอัปเดทข้อมูลที่มีการเก็บไว้นานกว่า 3 ปีซึ่งสถานการณ์ต่างๆ น่าจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
"เพื่อช่วยให้ประชาชนกลุ่มนี้ได้ลืมตาอ้าปากและหลุดพ้นจากวงเวียนหนี้สินที่คิดอัตราดอกเบี้ยแพงมาก กระทรวงการคลังจะให้มาขึ้นทะเบียนกับออมสินและธ.ก.ส.เพราะต่อจากนี้ไปทั้ง 2 แบงก์จะต้องมาสานต่อนโยบายที่จะรับรีไฟแนนซ์(ปรับโครงสร้างหนี้)หนี้ของลูกหนี้กลุ่มนี้แทน โดยมาตรการที่จะออกมาคืออาจจะตัดหนี้สูญให้บางส่วน(แฮร์คัท) และปล่อยกู้ใหม่ดอกเบี้ยต่ำมาก" นายกรณ์กล่าว
สำหรับกลไกหลักที่ธนาคารออมสินและธ.ก.ส.จะเข้ามาสานต่อนั้น จะเริ่มตั้งแต่ขึ้นทะเบียนใหม่ ซึ่งคาด 2 แบงก์จะตรวจสอบข้อมูลได้ดี เนื่องจากกลุ่มลูกค้าหลักเป็นประชาชนระดับรากหญ้าและเกษตรกรรายย่อยอยู่แล้ว จากนั้นจะรับซื้อหนี้ เจรจาต่อรองหนี้จากเจ้าหนี้ รวมถึงปล่อยสินเชื่อเพิ่มในอัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยจะประเมินความสามารถชำระหนี้ของลูกหนี้ว่าอยู่ในระดับใดซึ่งจะต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงมิให้ภายหลังเมื่อปล่อยไปแล้วจะกลายเป็นหนี้สูญและไม่กลับไปสู่การกู้หนี้นอกระบบอีก
ทั้งนี้ที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทยได้ขึ้นทะเบียนคนจนไว้แล้วตั้งแต่ปี 49 ส่วนหนึ่งเป็นปัญหาหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบที่ส่งต่อมายังศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคประชาชนจำนวน 5 ล้านราย โดยกลุ่มหนี้นอกระบบมีประมาณ 2 แสนราย หรือคิดเป็นมูลหนี้ประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ได้รับการแก้ไขแล้ว 1 แสนราย หรือ 6 พันล้านบาท ยังเหลืออีก 1 แสนรายซึ่งยังไม่รวมถึงลูกหนี้ใหม่ที่เพิ่มขึ้นจากช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในรอบปีที่ผ่านมาจึงต้องลงทะเบียนใหม่ทั้งหมด
นายกรณ์กล่าวว่า เพื่อให้การแก้ปัญหาหนี้สินของประชาชนเป็นไปอย่างรอบด้านได้มีการหารือกับกระทรวงยุติธรรมที่เป็นเจ้าของร่างพ.ร.บ.ควบคุมธุรกิจบัตรเครดิต ว่าจะสามารถนำกำหมายฉบับดังกล่าวมารวมกับร่างพ.ร.บ.การติดตามทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ของกระทรวงการคลังได้หรือไม่ เนื่องจากเนื้อหาสาระมีความใกล้เคียงกันมาก และเพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาหนี้ของประชาชนที่เกิดขึ้นในปัจจุบันด้วย หากกฎหมายมีความพร้อมก็สามารถเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ทันที คาดจะเสนอได้ในเร็วๆ นี้.
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า ภายในสิ้นปีนี้ กระทรวงการคลังจะมีมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบแก่กลุ่มประชาชนระดับรากหญ้าครั้งใหญ่เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในกลุ่มนี้ให้ดีขึ้น โดยที่ผ่านมาได้หารือกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)และศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคประชาชน กระทรวงการคลังแล้วพบว่าขณะนี้การติดตามทวงหนี้โหดเพิ่มมากขึ้นมากและลูกหนี้นอกระบบไม่สามารถออกจากวงเวียนหนี้สินที่คิดอัตราดอกเบี้ยสูงลิ่วได้
ดังนั้นจึงได้เสนอให้จากนี้ต่อไปจะให้ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เป็นเครื่องมือของกระทรวงการคลังเข้ามาขึ้นทะเบียนลูกหนี้นอกระบบใหม่ ต่อเนื่องจากปี 49 ที่กระทรวงมหาดไทยได้ขึ้นทะเบียนคนจนไว้แล้ว ถือเป็นการอัปเดทข้อมูลที่มีการเก็บไว้นานกว่า 3 ปีซึ่งสถานการณ์ต่างๆ น่าจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
"เพื่อช่วยให้ประชาชนกลุ่มนี้ได้ลืมตาอ้าปากและหลุดพ้นจากวงเวียนหนี้สินที่คิดอัตราดอกเบี้ยแพงมาก กระทรวงการคลังจะให้มาขึ้นทะเบียนกับออมสินและธ.ก.ส.เพราะต่อจากนี้ไปทั้ง 2 แบงก์จะต้องมาสานต่อนโยบายที่จะรับรีไฟแนนซ์(ปรับโครงสร้างหนี้)หนี้ของลูกหนี้กลุ่มนี้แทน โดยมาตรการที่จะออกมาคืออาจจะตัดหนี้สูญให้บางส่วน(แฮร์คัท) และปล่อยกู้ใหม่ดอกเบี้ยต่ำมาก" นายกรณ์กล่าว
สำหรับกลไกหลักที่ธนาคารออมสินและธ.ก.ส.จะเข้ามาสานต่อนั้น จะเริ่มตั้งแต่ขึ้นทะเบียนใหม่ ซึ่งคาด 2 แบงก์จะตรวจสอบข้อมูลได้ดี เนื่องจากกลุ่มลูกค้าหลักเป็นประชาชนระดับรากหญ้าและเกษตรกรรายย่อยอยู่แล้ว จากนั้นจะรับซื้อหนี้ เจรจาต่อรองหนี้จากเจ้าหนี้ รวมถึงปล่อยสินเชื่อเพิ่มในอัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยจะประเมินความสามารถชำระหนี้ของลูกหนี้ว่าอยู่ในระดับใดซึ่งจะต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงมิให้ภายหลังเมื่อปล่อยไปแล้วจะกลายเป็นหนี้สูญและไม่กลับไปสู่การกู้หนี้นอกระบบอีก
ทั้งนี้ที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทยได้ขึ้นทะเบียนคนจนไว้แล้วตั้งแต่ปี 49 ส่วนหนึ่งเป็นปัญหาหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบที่ส่งต่อมายังศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคประชาชนจำนวน 5 ล้านราย โดยกลุ่มหนี้นอกระบบมีประมาณ 2 แสนราย หรือคิดเป็นมูลหนี้ประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ได้รับการแก้ไขแล้ว 1 แสนราย หรือ 6 พันล้านบาท ยังเหลืออีก 1 แสนรายซึ่งยังไม่รวมถึงลูกหนี้ใหม่ที่เพิ่มขึ้นจากช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในรอบปีที่ผ่านมาจึงต้องลงทะเบียนใหม่ทั้งหมด
นายกรณ์กล่าวว่า เพื่อให้การแก้ปัญหาหนี้สินของประชาชนเป็นไปอย่างรอบด้านได้มีการหารือกับกระทรวงยุติธรรมที่เป็นเจ้าของร่างพ.ร.บ.ควบคุมธุรกิจบัตรเครดิต ว่าจะสามารถนำกำหมายฉบับดังกล่าวมารวมกับร่างพ.ร.บ.การติดตามทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ของกระทรวงการคลังได้หรือไม่ เนื่องจากเนื้อหาสาระมีความใกล้เคียงกันมาก และเพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาหนี้ของประชาชนที่เกิดขึ้นในปัจจุบันด้วย หากกฎหมายมีความพร้อมก็สามารถเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ทันที คาดจะเสนอได้ในเร็วๆ นี้.