ASTVผู้จัดการรายวัน - เคทีซีออกโรงแจงละเอียดพรบ.บัตรเครดิตใหม่สร้างความเดือดร้อน กรณีบังคับฟ้องลูกหนี้ภายใน 1 ปี เพิ่มภาระให้ทั้งลูกหนี้-เจ้าหนี้ จวกไม่ควรให้นักกการเมือง เข้าแทรกในเรื่องที่สามารถส่งผลกระทบระบบโดยรวม วอนกระทรวงยุติธรรมเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการบัตรเครดิตมีส่วนร่วมแก้พ.ร.บ.บัตรเครดิตใหม่ ให้เอื้อประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย
นายธวัชชัย ธิติศักดิ์สกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส สายงานธุรกิจบัตรเครดิต บริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC ในฐานะสมาชิกชมรมบัตรเครดิต กล่าวถึงร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตฉบับใหม่หรือ พ.ร.บ.บัตรเครดิตว่า อยากเรียกร้องให้กระทรวงยุติธรรมซึ่งเป็นผู้ร่างกฏหมายดังกล่าวเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการบัตรเครดิตมีส่วนร่วมในการแก้ไขเพิ่มเติมในร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว เนื่องจาก เห็นว่าในบางมาตรายังขาดความสมบูรณ์และไม่ชัดเจน และส่งผลให้ผู้ประกอบการจะมีค่าใช้จ่ายในการติดตามหนี้ที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งจะส่งผลให้ลูกค้าได้รับความเดือนร้อนมากขึ้น เนื่องจากร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวบังคับให้ผู้ประกอบการฟ้องลูกหนี้ภายใน 1 ปี ซึ่งหากไม่มีการฟ้องร้องภายในระยะเวลาดังกล่าวบริษัทจะไม่สามารถตัดหนี้สูญได้ และควรจะมีการอธิบายเพิ่มเติมในแต่ละมาตราว่าเหตุใดจึงร่างออกมาแบบนั้น เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวในการดำเนินธุรกิจได้
"บริษัทยอมรับว่าเห็นด้วยกับการมีร่าง พรบ.ฉบับดังกล่าว แต่มีบางมาตราที่ร่างออกมาแล้วไม่สอดคล้องกับนโยบายการทำธุรกิจของบริษัท เช่น ร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวให้อำนาจฝ่ายบริหาร หรือนักกการเมือง เข้ามามีบทบาทและสั่งการในเรื่องที่สามารถส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและอาจส่งผลถึงระบบการเงินทั้งระบบโดยไม่มีขั้นตอนการพิจารณาผ่านกระบวนการศาล ซึ่งจะทำให้รัฐมนตรีสามารถสั่งให้บริษัทเลิกประกอบธุรกิจในทันทีได้ หรือพรบ.ดังกล่าวบังคับให้ผู้ประกอบการฟ้องลูกหนี้ภายใน 1 ปี จากเดิมได้กำหนดอายุความไว้ 2 ปี นับจากวันผิดนัดชำระครั้งสุดท้ายซึ่งหากไม่มีการฟ้องร้องภายในระยะเวลาดังกล่าวบริษัทจะไม่สามารถตัดหนี้สูญได้ เป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ถือบัตรที่จะถูกฟ้องเร็วขึ้น" นายธวัชชัย กล่าว
ทั้งนี้ บริษัทมองว่าต้องการขยายระยะเวลาในการฟ้องร้องออกไปประมาณ 5 ปี พร้อมทั้งมองว่ากฏหมายที่บังคับใช้มีความรุนแรงเกินกว่าเหตุส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่สามารถปฏิบัติได้ในบางเรื่อง อย่างไรก็ดี ปัจจุบันมีกฏหมายบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ค่อนข้างมีความละเอียดกว่า ซึ่งผู้ประกอบการเห็นว่าน่าจะนำไปปรับใช้ได้
สำหรับสาเหตุในการออกกฏหมายดังกล่าว มองว่าน่าจะต้องการให้มีกฏหมายที่ควบคุมดูแลกับผู้ที่ใช้บัตรเครดิตโดยเฉพาะ ที่เป็นร่างกฏหมายที่นำมาตัดต่อและเพิ่มเติมเพียงไม่กี่มาตราเท่านั้น
รับยอดหนี้ค้างชำระเพิ่ม
ส่วนฐานบัตรเครดิตของบริษัทในปัจจุบันอยู่ที่ 1.63 ล้านใบ จากสิ้นปี 2551ที่ผ่านมาฐานบัตรอยู่ที่ 1.5 ล้านใบ โดยยอดสมัครบัตรใหม่ในช่วง 6 เดือนแรกมีการเติบโตไปแล้ว 6 หมื่นใบ จากเป้าหมายการเติบโตยอดบัตรเครดิตทั้งปีนี้ตั้งไว้ที่ 1.2 แสนใบ ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายดังกล่าว เนื่องจากเริ่มเห็นยอดการขอบัตรเพิ่มมีจำนวนมากขึ้น โดยในเดือนกรกฎาคมยอดสมัครบัตรใหม่เติบโตถึง 1.5 หมื่นใบ และแม้ว่าในช่วงที่ผ่านจะมีการขอยกเลิกบัตรไปแล้วประมาณ 3% แต่ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อบริษัทเนื่องจากมียอดการขออนุมัติบัตรใหม่อย่างต่อเนื่อง
ด้านยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตโดยรวมมีการเติบโตเพิ่มขึ้น 7% แต่ถ้าเป็นยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเฉลี่ยต่อรายจะลดลง 5% โดยเฉพาะในหมวดการใช้จ่ายผ่านบัตรเพื่อเติมน้ำมัน เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม อัตราค้างชำระหนี้บัตรเครดิตของบริษัทในช่วง 7 เดือนแรกของปีนั้น มียอดเพิ่มขึ้นบ้าง โดยปัจจุบันอยู่ในอัตรา 4.8% จากช่วง 6 เดือนแรกของปีที่อยู่ในระดับ 4% ขณะที่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)นั้น ก็มียอดเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยปัจจุบันมียอดเอ็นพีแอลเกิดใหม่อยู่ที่ 3% จากเดิมอยู่ที่ 2% แต่ก็ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเอ็นพีแอลของระบบที่ระดับ 7% ซึ่งคาดว่าเอ็นพีแอลของธนาคารทั้งปีนี้ คงจะทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
"เอ็นพีแอลที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้ารายย่อยและเป็นพนักงานที่มีอาชีพเกี่ยวข้องกับธุรกิจส่งออกและท่องเที่ยว ทำให้ได้รับผลกระทบด้านการเงินจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซามาตั้งแต่ปลายปีก่อน ทำให้กระทบต่อสภาพคล่องของผู้ถือบัตรบางส่วน"
นายธวัชชัย ธิติศักดิ์สกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส สายงานธุรกิจบัตรเครดิต บริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC ในฐานะสมาชิกชมรมบัตรเครดิต กล่าวถึงร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตฉบับใหม่หรือ พ.ร.บ.บัตรเครดิตว่า อยากเรียกร้องให้กระทรวงยุติธรรมซึ่งเป็นผู้ร่างกฏหมายดังกล่าวเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการบัตรเครดิตมีส่วนร่วมในการแก้ไขเพิ่มเติมในร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว เนื่องจาก เห็นว่าในบางมาตรายังขาดความสมบูรณ์และไม่ชัดเจน และส่งผลให้ผู้ประกอบการจะมีค่าใช้จ่ายในการติดตามหนี้ที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งจะส่งผลให้ลูกค้าได้รับความเดือนร้อนมากขึ้น เนื่องจากร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวบังคับให้ผู้ประกอบการฟ้องลูกหนี้ภายใน 1 ปี ซึ่งหากไม่มีการฟ้องร้องภายในระยะเวลาดังกล่าวบริษัทจะไม่สามารถตัดหนี้สูญได้ และควรจะมีการอธิบายเพิ่มเติมในแต่ละมาตราว่าเหตุใดจึงร่างออกมาแบบนั้น เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวในการดำเนินธุรกิจได้
"บริษัทยอมรับว่าเห็นด้วยกับการมีร่าง พรบ.ฉบับดังกล่าว แต่มีบางมาตราที่ร่างออกมาแล้วไม่สอดคล้องกับนโยบายการทำธุรกิจของบริษัท เช่น ร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวให้อำนาจฝ่ายบริหาร หรือนักกการเมือง เข้ามามีบทบาทและสั่งการในเรื่องที่สามารถส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและอาจส่งผลถึงระบบการเงินทั้งระบบโดยไม่มีขั้นตอนการพิจารณาผ่านกระบวนการศาล ซึ่งจะทำให้รัฐมนตรีสามารถสั่งให้บริษัทเลิกประกอบธุรกิจในทันทีได้ หรือพรบ.ดังกล่าวบังคับให้ผู้ประกอบการฟ้องลูกหนี้ภายใน 1 ปี จากเดิมได้กำหนดอายุความไว้ 2 ปี นับจากวันผิดนัดชำระครั้งสุดท้ายซึ่งหากไม่มีการฟ้องร้องภายในระยะเวลาดังกล่าวบริษัทจะไม่สามารถตัดหนี้สูญได้ เป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ถือบัตรที่จะถูกฟ้องเร็วขึ้น" นายธวัชชัย กล่าว
ทั้งนี้ บริษัทมองว่าต้องการขยายระยะเวลาในการฟ้องร้องออกไปประมาณ 5 ปี พร้อมทั้งมองว่ากฏหมายที่บังคับใช้มีความรุนแรงเกินกว่าเหตุส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่สามารถปฏิบัติได้ในบางเรื่อง อย่างไรก็ดี ปัจจุบันมีกฏหมายบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ค่อนข้างมีความละเอียดกว่า ซึ่งผู้ประกอบการเห็นว่าน่าจะนำไปปรับใช้ได้
สำหรับสาเหตุในการออกกฏหมายดังกล่าว มองว่าน่าจะต้องการให้มีกฏหมายที่ควบคุมดูแลกับผู้ที่ใช้บัตรเครดิตโดยเฉพาะ ที่เป็นร่างกฏหมายที่นำมาตัดต่อและเพิ่มเติมเพียงไม่กี่มาตราเท่านั้น
รับยอดหนี้ค้างชำระเพิ่ม
ส่วนฐานบัตรเครดิตของบริษัทในปัจจุบันอยู่ที่ 1.63 ล้านใบ จากสิ้นปี 2551ที่ผ่านมาฐานบัตรอยู่ที่ 1.5 ล้านใบ โดยยอดสมัครบัตรใหม่ในช่วง 6 เดือนแรกมีการเติบโตไปแล้ว 6 หมื่นใบ จากเป้าหมายการเติบโตยอดบัตรเครดิตทั้งปีนี้ตั้งไว้ที่ 1.2 แสนใบ ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายดังกล่าว เนื่องจากเริ่มเห็นยอดการขอบัตรเพิ่มมีจำนวนมากขึ้น โดยในเดือนกรกฎาคมยอดสมัครบัตรใหม่เติบโตถึง 1.5 หมื่นใบ และแม้ว่าในช่วงที่ผ่านจะมีการขอยกเลิกบัตรไปแล้วประมาณ 3% แต่ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อบริษัทเนื่องจากมียอดการขออนุมัติบัตรใหม่อย่างต่อเนื่อง
ด้านยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตโดยรวมมีการเติบโตเพิ่มขึ้น 7% แต่ถ้าเป็นยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเฉลี่ยต่อรายจะลดลง 5% โดยเฉพาะในหมวดการใช้จ่ายผ่านบัตรเพื่อเติมน้ำมัน เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม อัตราค้างชำระหนี้บัตรเครดิตของบริษัทในช่วง 7 เดือนแรกของปีนั้น มียอดเพิ่มขึ้นบ้าง โดยปัจจุบันอยู่ในอัตรา 4.8% จากช่วง 6 เดือนแรกของปีที่อยู่ในระดับ 4% ขณะที่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)นั้น ก็มียอดเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยปัจจุบันมียอดเอ็นพีแอลเกิดใหม่อยู่ที่ 3% จากเดิมอยู่ที่ 2% แต่ก็ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเอ็นพีแอลของระบบที่ระดับ 7% ซึ่งคาดว่าเอ็นพีแอลของธนาคารทั้งปีนี้ คงจะทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
"เอ็นพีแอลที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้ารายย่อยและเป็นพนักงานที่มีอาชีพเกี่ยวข้องกับธุรกิจส่งออกและท่องเที่ยว ทำให้ได้รับผลกระทบด้านการเงินจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซามาตั้งแต่ปลายปีก่อน ทำให้กระทบต่อสภาพคล่องของผู้ถือบัตรบางส่วน"