ASTVผู้จัดการรายวัน-ธปท.ยอมรับช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาแบงก์อนุมัติสินเชื่อน้อยลง เหตุแบงก์กังวลเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น มั่นใจเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว คาดแบงก์มีแนวโน้มปล่อยกู้ให้ผู้ประกอบการเพิ่ม ขณะที่สถานการณ์เอ็นพีแอล ล่าสุดในเดือนพ.ค.ทรงตัว ระบุแบงก์เข้ามาจัดการหนี้ของตัวเองมากขึ้นทั้งปรับโครงสร้างหนี้ ตัดหนี้สูญ และขายหนี้บางส่วนออกไป
น.ส.นวพร มหารักขกะ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา การอนุมัติสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และการยื่นขอสินเชื่อของผู้ประกอบการลดลงต่อเนื่อง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีความระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยเฉพาะความกังวลยอดเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นอาจเป็นต้นทุนของสถาบันการเงินนั้นๆได้ ซึ่งยอมรับว่าการปล่อยสินเชื่อขึ้นอยู่กับภาพรวมภาวะเศรษฐกิจเป็นสำคัญ แต่เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว ทำให้แนวโน้มการปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น
สำหรับสถานการณ์ของหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ของระบบธนาคารพาณิชย์ ล่าสุดในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา พบว่า ทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสแรกหรือเดือนมี.ค.ของปีนี้ คือ มีสัดส่วนเอ็นพีแอลอยู่ที่ระดับ 5.5%ของสินเชื่อรวม หรือ 4.21 แสนล้านบาท และเมื่อหักเงินสำรอง (เอ็นพีแอลสุทธิ) สัดส่วนเอ็นพีแอลอยู่ที่ระดับ 3.10% คิดเป็น 2.30 แสนล้านบาท
ขณะที่สินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (Delinquent loan) ซึ่งลูกหนี้ค้างชำระเกิน 1 เดือน แต่ยังไม่เกิน 3 เดือนมีสัดส่วนอยู่ที่ 3.8% จาก 4% ในเดือนมี.ค.ถือว่าลดลง ถือเป็นสัญญาณที่ดี
ทั้งนี้ หากแยกเป็นรายธุรกิจ พบว่า ภาคธุรกิจที่มีสัดส่วนเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 9.6% จากระดับ 9%ในเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา ภาคพาณิชย์สัดส่วน 6.5% จากเดิม 6.4% ภาคบริการอยู่ที่ 8% จากเดิมอยู่ที่ 7.8% สำหรับสินเชื่ออุปโภคบริโภค โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมีสัดส่วนเอ็นพีแอลอยู่ที่ 4.1% จากเดิมอยู่ที่ 4% สินเชื่อรถยนต์อยู่ที่ 2.6%
จากเดิมอยู่ที่ 2.3% บัตรเครดิตอยู่ที่ 3.2% จากเดิมอยู่ที่ 3.1% ขณะเดียวกันภาคธุรกิจที่เอ็นพีแอลลดลง ได้แก่ ภาคก่อสร้างมีสัดส่วน 12% จากเดิมอยู่ที่ 13% อสังหาริมทรัพย์มีสัดส่วน 11.2% จากเดิม 11.6% สาธารณูปโภคมีสัดส่วน 3% จากเดิมอยู่ที่ 3.3%
“ยอมรับว่าในภาพรวมยอดเอ็นพีแอลไม่ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เพราะธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งได้มีการจัดการหนี้ของตัวเองทั้งการปรับโครงสร้างหนี้ การตัดหนี้สูญ รวมถึงวิธีการขายหนี้บางส่วนออกไป สำหรับแนวโน้มของเอ็นพีแอลในระบบธนาคารพาณิชย์ตลอดทั้งปีนี้ ในขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินได้ต้องรอดูข้อมูลจากธนาคารพาณิชย์ช่วง 6
เดือนหลังของปีนี้ก่อน รวมถึงผลกำไรหรือขาดทุนของระบบธนาคารพาณิชย์ในครึ่งปีแรกมาประเมินด้วย”น.ส.นวพรกล่าว
น.ส.นวพร มหารักขกะ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา การอนุมัติสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และการยื่นขอสินเชื่อของผู้ประกอบการลดลงต่อเนื่อง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีความระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยเฉพาะความกังวลยอดเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นอาจเป็นต้นทุนของสถาบันการเงินนั้นๆได้ ซึ่งยอมรับว่าการปล่อยสินเชื่อขึ้นอยู่กับภาพรวมภาวะเศรษฐกิจเป็นสำคัญ แต่เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว ทำให้แนวโน้มการปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น
สำหรับสถานการณ์ของหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ของระบบธนาคารพาณิชย์ ล่าสุดในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา พบว่า ทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสแรกหรือเดือนมี.ค.ของปีนี้ คือ มีสัดส่วนเอ็นพีแอลอยู่ที่ระดับ 5.5%ของสินเชื่อรวม หรือ 4.21 แสนล้านบาท และเมื่อหักเงินสำรอง (เอ็นพีแอลสุทธิ) สัดส่วนเอ็นพีแอลอยู่ที่ระดับ 3.10% คิดเป็น 2.30 แสนล้านบาท
ขณะที่สินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (Delinquent loan) ซึ่งลูกหนี้ค้างชำระเกิน 1 เดือน แต่ยังไม่เกิน 3 เดือนมีสัดส่วนอยู่ที่ 3.8% จาก 4% ในเดือนมี.ค.ถือว่าลดลง ถือเป็นสัญญาณที่ดี
ทั้งนี้ หากแยกเป็นรายธุรกิจ พบว่า ภาคธุรกิจที่มีสัดส่วนเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 9.6% จากระดับ 9%ในเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา ภาคพาณิชย์สัดส่วน 6.5% จากเดิม 6.4% ภาคบริการอยู่ที่ 8% จากเดิมอยู่ที่ 7.8% สำหรับสินเชื่ออุปโภคบริโภค โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมีสัดส่วนเอ็นพีแอลอยู่ที่ 4.1% จากเดิมอยู่ที่ 4% สินเชื่อรถยนต์อยู่ที่ 2.6%
จากเดิมอยู่ที่ 2.3% บัตรเครดิตอยู่ที่ 3.2% จากเดิมอยู่ที่ 3.1% ขณะเดียวกันภาคธุรกิจที่เอ็นพีแอลลดลง ได้แก่ ภาคก่อสร้างมีสัดส่วน 12% จากเดิมอยู่ที่ 13% อสังหาริมทรัพย์มีสัดส่วน 11.2% จากเดิม 11.6% สาธารณูปโภคมีสัดส่วน 3% จากเดิมอยู่ที่ 3.3%
“ยอมรับว่าในภาพรวมยอดเอ็นพีแอลไม่ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เพราะธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งได้มีการจัดการหนี้ของตัวเองทั้งการปรับโครงสร้างหนี้ การตัดหนี้สูญ รวมถึงวิธีการขายหนี้บางส่วนออกไป สำหรับแนวโน้มของเอ็นพีแอลในระบบธนาคารพาณิชย์ตลอดทั้งปีนี้ ในขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินได้ต้องรอดูข้อมูลจากธนาคารพาณิชย์ช่วง 6
เดือนหลังของปีนี้ก่อน รวมถึงผลกำไรหรือขาดทุนของระบบธนาคารพาณิชย์ในครึ่งปีแรกมาประเมินด้วย”น.ส.นวพรกล่าว