แบงก์นครหลวงไทยหันจ้างบริษัทต่างชาติบริหารจัดการหนี้เสีย คาดไตรมาส 3 ระบายหนี้ออกไปได้ มั่นใจทั้งปียอดเอ็นพีแอลลดลงเหลือ 5.5% พร้อมติดตามลูกหนี้อย่างใกล้ชิดและผ่อนผันทุกวิธีให้ลูกหนี้ทำธุรกิจต่อไปได้ ระบุลูกค้าเอสเอ็มอีของนครหลวงได้สินเชื่อค้ำประกันไปแล้ว 30 ล้านบาท
นายสุทธิพงศ์ อิทธิพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCIB เปิดเผยว่า ขณะนี้ธนาคารได้ว่าจ้างให้บริษัท Baker Tilly (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการบริหารหนี้เสียจากประเทศออสเตรเลียเข้ามาบริหารจัดการหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) และสินทรัพย์รอการขาย (เอ็นพีเอ) ของธนาคาร จึงคาดว่าในไตรมาส 3 ของปีนี้จะสามารถขายเอ็นพีแอลนนี้ได้อย่างแน่นอนและเชื่อว่าจะช่วยให้เอ็นพีแอลลดลงเหลือ 5.5% จากปัจจุบันในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 8%
ทั้งนี้ บริษัทแห่งนี้ได้ทำการศึกษาเอ็นพีแอลและเอ็นพีเอตั้งแต่เดือนพ.ค.ที่ผ่านมา และทำหน้าที่หาผู้ซื้อด้วยการพิจารณาราคาขายเอ็นพีแอลที่เสนอเข้ามา ซึ่งปัจจุบันมีผู้ที่สนใจซื้อทั้งในและนอกประเทศ ขณะเดียวกันทรัพย์สินที่เป็นเอ็นพีแอลบางตัวได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะโรงแรมแถบภาคเหนือ จึงขึ้นอยู่กับการเจรจากับผู้ที่สนใจเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม เอ็นพีแอลดังกล่าวได้มีการตัดหนี้สูญและตั้งสำรองเรียบร้อยแล้ว อีกทั้งหนี้ส่วนใหญ่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน จึงไม่ห่วงว่าเอ็นพีแอลเหล่านี้จะสร้างปัญหาหากขายไม่ได้
“แม้ยอดเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นในช่วงในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ตามการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ แต่ธนาคารได้บริหารหนี้เสียให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยธนาคารได้ติดตามเข้าไปดูแลลูกหนี้อย่างใกล้ชิดมากขึ้นตั้งแต่เริ่มเห็นสัญญาณ โดยเฉพาะลูกหนี้ในกลุ่มโรงแรม รีสอร์ท นอกจากนี้ยังมีการขยายเวลาชำระหนี้ ยกเว้นค่าปรับการชำระหนี้ล่าช้า สำหรับลูกค้าบางรายที่ธุรกิจยังสามารถทำธุรกิจต่อไปได้เราก็จะขยายวงเงินสินเชื่อให้”
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย กล่าวว่า สำหรับโครงการค้ำประกันสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ผ่านบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มูลค่าโครงการ 3 หมื่นล้านบาทนั้น ในส่วนของธนาคารได้ส่งจำนวนลูกค้าทั้งสิ้น 100 ราย คิดเป็นวงเงินกู้ 300-400 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมประเภทโรงแรมและโรงงาน ซึ่งขณะนี้ได้รับการอนุมัติไปแล้วประมาณ 10 ราย คิดเป็นมูลค่ากว่า 30 ล้านบาท
ก่อนหน้านี้ นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทยได้กล่าวว่า ธนาคารมีแผนที่จะปรับลดหนี้เอ็นพีแอลของธนาคารลง โดยคาดว่าในช่วงต้นไตรมาส 3/52 ธนาคารมีแผนขายหนี้ด้อยคุณภาพจำนวน 7,000- 10,000 ล้านบาท แต่ยังอยู่ระหว่างการเจรจากับผู้ซื้อ ซึ่งหากสามารถดำเนินการได้ก็จะทำให้ระดับหนี้เอ็นพีแอลลดลงไปประมาณ 3% ซึ่งธนาคารได้ตั้งเป้าว่าสิ้นปีนี้จะลดลงอยู่ในระดับ 5-6% จากสิ้น มี.ค.ที่อยู่ในระดับ 7.9%
นอกจากนี้ ธนาคารเตรียมปรับเป้าสินเชื่อปีนี้อีกครั้งหลังจากไตรมาส 2 ของปีนี้ โดยคาดว่าอาจจะปรับลดลงเล็กน้อยจากเป้าหมายล่าสุดที่คาดว่าจะโต 6-7% หรือ 1.8 หมื่นล้านบาท เนื่องจากตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน อัตราการเติบโตของสินเชื่อของธนาคารมีน้อยกว่าที่คาดไว้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและสถานการณ์การเมืองที่ผันผวน แต่ยังเชื่อว่าหากรัฐบาลได้กู้เงิน 4 แสนล้านบาทเข้ามาก็อาจจะช่วยทำให้เศรษฐกิจของไทยช่วงครึ่งปีหลังกระเตื้องขึ้นได้ ซึ่งก็จะส่งผลดีต่อการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ด้วย
โดยในช่วงครึ่งหลังปีนี้บริษัทจะเน้นกลยุทธ์ในบริษัทในเครือเพื่อต่อยอดธุรกิจ ได้แก่ บล.นครหลวงไทย , บลจ.นครหลวงไทย และ บมจ.ราชธานี ลิสซิ่ง(THANI) โดยทั้ง 3 บริษัทยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก โดย THANI มีแผนเพิ่มทุนเพื่อขยายกิจการ คาดว่าจะมีรายละเอียดและดำเนินการในเดือนก.ค.นี้ ซึ่งหลังจากที่ธนาคารขายหุ้นกู้ไปแล้ว ก็จะช่วยให้บริษัทในเครือแข็งแรงขึ้น
นายสุทธิพงศ์ อิทธิพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCIB เปิดเผยว่า ขณะนี้ธนาคารได้ว่าจ้างให้บริษัท Baker Tilly (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการบริหารหนี้เสียจากประเทศออสเตรเลียเข้ามาบริหารจัดการหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) และสินทรัพย์รอการขาย (เอ็นพีเอ) ของธนาคาร จึงคาดว่าในไตรมาส 3 ของปีนี้จะสามารถขายเอ็นพีแอลนนี้ได้อย่างแน่นอนและเชื่อว่าจะช่วยให้เอ็นพีแอลลดลงเหลือ 5.5% จากปัจจุบันในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 8%
ทั้งนี้ บริษัทแห่งนี้ได้ทำการศึกษาเอ็นพีแอลและเอ็นพีเอตั้งแต่เดือนพ.ค.ที่ผ่านมา และทำหน้าที่หาผู้ซื้อด้วยการพิจารณาราคาขายเอ็นพีแอลที่เสนอเข้ามา ซึ่งปัจจุบันมีผู้ที่สนใจซื้อทั้งในและนอกประเทศ ขณะเดียวกันทรัพย์สินที่เป็นเอ็นพีแอลบางตัวได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะโรงแรมแถบภาคเหนือ จึงขึ้นอยู่กับการเจรจากับผู้ที่สนใจเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม เอ็นพีแอลดังกล่าวได้มีการตัดหนี้สูญและตั้งสำรองเรียบร้อยแล้ว อีกทั้งหนี้ส่วนใหญ่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน จึงไม่ห่วงว่าเอ็นพีแอลเหล่านี้จะสร้างปัญหาหากขายไม่ได้
“แม้ยอดเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นในช่วงในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ตามการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ แต่ธนาคารได้บริหารหนี้เสียให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยธนาคารได้ติดตามเข้าไปดูแลลูกหนี้อย่างใกล้ชิดมากขึ้นตั้งแต่เริ่มเห็นสัญญาณ โดยเฉพาะลูกหนี้ในกลุ่มโรงแรม รีสอร์ท นอกจากนี้ยังมีการขยายเวลาชำระหนี้ ยกเว้นค่าปรับการชำระหนี้ล่าช้า สำหรับลูกค้าบางรายที่ธุรกิจยังสามารถทำธุรกิจต่อไปได้เราก็จะขยายวงเงินสินเชื่อให้”
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย กล่าวว่า สำหรับโครงการค้ำประกันสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ผ่านบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มูลค่าโครงการ 3 หมื่นล้านบาทนั้น ในส่วนของธนาคารได้ส่งจำนวนลูกค้าทั้งสิ้น 100 ราย คิดเป็นวงเงินกู้ 300-400 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมประเภทโรงแรมและโรงงาน ซึ่งขณะนี้ได้รับการอนุมัติไปแล้วประมาณ 10 ราย คิดเป็นมูลค่ากว่า 30 ล้านบาท
ก่อนหน้านี้ นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทยได้กล่าวว่า ธนาคารมีแผนที่จะปรับลดหนี้เอ็นพีแอลของธนาคารลง โดยคาดว่าในช่วงต้นไตรมาส 3/52 ธนาคารมีแผนขายหนี้ด้อยคุณภาพจำนวน 7,000- 10,000 ล้านบาท แต่ยังอยู่ระหว่างการเจรจากับผู้ซื้อ ซึ่งหากสามารถดำเนินการได้ก็จะทำให้ระดับหนี้เอ็นพีแอลลดลงไปประมาณ 3% ซึ่งธนาคารได้ตั้งเป้าว่าสิ้นปีนี้จะลดลงอยู่ในระดับ 5-6% จากสิ้น มี.ค.ที่อยู่ในระดับ 7.9%
นอกจากนี้ ธนาคารเตรียมปรับเป้าสินเชื่อปีนี้อีกครั้งหลังจากไตรมาส 2 ของปีนี้ โดยคาดว่าอาจจะปรับลดลงเล็กน้อยจากเป้าหมายล่าสุดที่คาดว่าจะโต 6-7% หรือ 1.8 หมื่นล้านบาท เนื่องจากตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน อัตราการเติบโตของสินเชื่อของธนาคารมีน้อยกว่าที่คาดไว้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและสถานการณ์การเมืองที่ผันผวน แต่ยังเชื่อว่าหากรัฐบาลได้กู้เงิน 4 แสนล้านบาทเข้ามาก็อาจจะช่วยทำให้เศรษฐกิจของไทยช่วงครึ่งปีหลังกระเตื้องขึ้นได้ ซึ่งก็จะส่งผลดีต่อการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ด้วย
โดยในช่วงครึ่งหลังปีนี้บริษัทจะเน้นกลยุทธ์ในบริษัทในเครือเพื่อต่อยอดธุรกิจ ได้แก่ บล.นครหลวงไทย , บลจ.นครหลวงไทย และ บมจ.ราชธานี ลิสซิ่ง(THANI) โดยทั้ง 3 บริษัทยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก โดย THANI มีแผนเพิ่มทุนเพื่อขยายกิจการ คาดว่าจะมีรายละเอียดและดำเนินการในเดือนก.ค.นี้ ซึ่งหลังจากที่ธนาคารขายหุ้นกู้ไปแล้ว ก็จะช่วยให้บริษัทในเครือแข็งแรงขึ้น