3 รมต.คลังกดปุ่มแบงก์รัฐ 7 แห่ง อัดฉีดเงินโครงการฟาสต์แทรกเข้าสู่ระบบกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงินรวม 9.27 แสนล้านบาท ยื่นกู้ด่วนพิเศษ 3 วัน อนุมัติปั๊บ รับเงินปุ๊บ พร้อมออกมาตรการผ่อนปรนพิเศษ 14 มาตรการ เอื้อรายย่อย เอสเอ็มอีที่ประสบปัญหาเพิ่มสภาพคล่องทางธุรกิจ
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ร่วมกับ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ นพ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รมช.คลัง และผู้บริหารสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 7 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (iBank) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) แถลงข่าวเปิดตัวสินเชื่อฟาสต์แทรกไทยเข้มแข็ง ว่า สินเชื่อนี้เป็นหนึ่งในปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 เพื่อเร่งบรรลุเป้าหมายการอนุมัติสินเชื่อใหม่ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เพิ่มขึ้นอีก 3 แสนล้านบาท จากเป้าหมายเดิม 6.5 แสนล้านบาท เป็น 9.27 แสนล้านบาท เพื่อทดแทนการอนุมัติสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่ลดลง
“หากพิจารณาตั้งแต่ที่พวกผมเข้ามาทำงานในกระทรวงการคลัง หรือตั้งแต่เดือน ธ.ค.51-ก.ค.52 แบงก์รัฐได้ขยายสินเชื่อไปแล้วถึง 5% ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อติดลบ หน้าที่ต่อจากนี้จึงเป็นของแบงก์รัฐที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้าต่อไปได้" นายกรณ์ กล่าว
ทั้งนี้ สินเชื่ออนุมัติด่วนมีทั้งหมด 14 มาตรการ เพื่อแก้ปัญหา 7 ข้อของประชาชนฐานรากและผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในภาคการเกษตร ท่องเที่ยว ส่งออก และอสังหาริมทรัพย์ ที่เกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก การเมืองในประเทศ ไข้หวัดใหญ่ 2009 ประกอบด้วย 1.เร่งอนุมัติสินเชื่อของทุกธนาคารภายใน 3, 5, 7, 15 หรือ 21 วัน ตามประเภทและขนาดของวงเงินสินเชื่อ โดยกระจายอำนาจในการตัดสินใจอนุมัติสินเชื่อให้กับระดับสาขา
2.ปรับปรุงแบบฟอร์มและขั้นตอนการขออนุมัติสินเชื่อให้กระชับขึ้น 3.เพิ่มการเข้าถึงสินเชื่อ โดยยกเว้นค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน 1.75% ของ บสย.ในปีแรก 4.เพิ่มการเข้าถึงสินเชื่อ โดยขยายวงเงินจาก 20 ล้านบาทเป็น 40 ล้านบาทต่อรายต่อสถาบันการเงิน
5.ให้ธนาคารออมสินเข้าร่วมการอำนวยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยว เนื่องจากมีสาขากระจายทั่วประเทศ 6.ธพว.และ ออมสิน ผ่อนปรนเงื่อนไขในการอำนวยสินเชื่อกับผู้ประกอบการที่มีผลประกอบการดีก่อนวิกฤต 7.โครงการธนาคารประชาชนโดยออมสิน อำนวยสินเชื่อวงเงินไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย โดยมีเป้าหมาย 500,000 ราย 8.โครงการสินเชื่อห้องแถว ออมสินจะอำนวยสินเชื่อวงเงินไม่เกิน 500,000 บาทต่อราย โดยมีเป้าหมาย 50,000 ราย
9.ธสน.อำนวยสินเชื่อหมุนเวียนเพื่อเสริมสภาพคล่องให้ผู่ส่งออก โดยผ่อนปรนให้ใช้คำสั่งซื้อสินค้า หรือ Letter of Credit (L/C) เป็นเงื่อนไขประกอบการพิจารณาใช้วงเงิน 10.ให้ ธสน. พิจารณาการให้สินเชื่อแบบครบวงจรทั้งผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ หรือ ซัปพลายเออร์ 11.ธ.ก.ส.อำนวยสินเชื่อเสริมสภาพคล่องให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการระดับจุลภาค
12.ธ.ก.ส.อำนวยสินเชื่อเพื่อรองรับโครงการรับประกันราคาพืชผลทางการเกษตร ได้แก่ สินเชื่อเพื่อปรับปรุงยุ้งฉาง และจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ รวมทั้งเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนรอการขายผลผลิต 13.ธอส.อำนวยสินเชื่อสำหรับการซื้อที่ดินพร้อมอาคารหรือซื้อห้องชุดพร้อมโอน และ 14.ธอท.อำนวยสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเพื่อไถ่ถอนที่อยู่อาศัย
“คลังตั้งเป้าหมายสิ้นปีนี้ ธ.ก.ส.ออมสิน และ ธอส.จะเบิกจ่ายได้ถึง 100% ขณะที่ค่าเฉลี่ยทุกแบงก์จะเบิกจ่ายได้ 80% ซึ่งมีผลให้ประชาชนและผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงสินเชื่อเพิ่มขึ้นทั้งหมด 730,000 ราย แบ่งเป็นกลุ่มเกษตรกร 175,000 ราย ประชาชนและผู้ประกอบการรายย่อย 550,000 ราย เอสเอ็มอีและผู้ประกอบการท่องเที่ยวมากกว่า 3,000 ราย รวมทั้งผู้ส่งออกมากกว่า 1,500 ราย ซึ่งจะส่งผลให้จีดีพีปีนี้เพิ่มขึ้นประมาณ 0.5-0.9% รวมถึงต่อเนื่องไปในปีหน้าด้วย” นายกรณ์ กล่าว
นายประดิษฐ์ กล่าวว่า เพื่อติดตามหนี้เสียที่จะเกิดจากโครงการอนุมัติสินเชื่อด่วน จึงได้ให้แต่ละแบงก์ที่เห็นว่าอาจมีปัญหาเหล่านี้ได้แยกบัญชีออกมาเพื่อเป็นสินเชื่อตามนโยบายรัฐ (พีเอสเอ) ซึ่งจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติในวันที่ 1 ก.ย.นี้
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ร่วมกับ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ นพ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รมช.คลัง และผู้บริหารสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 7 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (iBank) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) แถลงข่าวเปิดตัวสินเชื่อฟาสต์แทรกไทยเข้มแข็ง ว่า สินเชื่อนี้เป็นหนึ่งในปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 เพื่อเร่งบรรลุเป้าหมายการอนุมัติสินเชื่อใหม่ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เพิ่มขึ้นอีก 3 แสนล้านบาท จากเป้าหมายเดิม 6.5 แสนล้านบาท เป็น 9.27 แสนล้านบาท เพื่อทดแทนการอนุมัติสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่ลดลง
“หากพิจารณาตั้งแต่ที่พวกผมเข้ามาทำงานในกระทรวงการคลัง หรือตั้งแต่เดือน ธ.ค.51-ก.ค.52 แบงก์รัฐได้ขยายสินเชื่อไปแล้วถึง 5% ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อติดลบ หน้าที่ต่อจากนี้จึงเป็นของแบงก์รัฐที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้าต่อไปได้" นายกรณ์ กล่าว
ทั้งนี้ สินเชื่ออนุมัติด่วนมีทั้งหมด 14 มาตรการ เพื่อแก้ปัญหา 7 ข้อของประชาชนฐานรากและผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในภาคการเกษตร ท่องเที่ยว ส่งออก และอสังหาริมทรัพย์ ที่เกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก การเมืองในประเทศ ไข้หวัดใหญ่ 2009 ประกอบด้วย 1.เร่งอนุมัติสินเชื่อของทุกธนาคารภายใน 3, 5, 7, 15 หรือ 21 วัน ตามประเภทและขนาดของวงเงินสินเชื่อ โดยกระจายอำนาจในการตัดสินใจอนุมัติสินเชื่อให้กับระดับสาขา
2.ปรับปรุงแบบฟอร์มและขั้นตอนการขออนุมัติสินเชื่อให้กระชับขึ้น 3.เพิ่มการเข้าถึงสินเชื่อ โดยยกเว้นค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน 1.75% ของ บสย.ในปีแรก 4.เพิ่มการเข้าถึงสินเชื่อ โดยขยายวงเงินจาก 20 ล้านบาทเป็น 40 ล้านบาทต่อรายต่อสถาบันการเงิน
5.ให้ธนาคารออมสินเข้าร่วมการอำนวยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยว เนื่องจากมีสาขากระจายทั่วประเทศ 6.ธพว.และ ออมสิน ผ่อนปรนเงื่อนไขในการอำนวยสินเชื่อกับผู้ประกอบการที่มีผลประกอบการดีก่อนวิกฤต 7.โครงการธนาคารประชาชนโดยออมสิน อำนวยสินเชื่อวงเงินไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย โดยมีเป้าหมาย 500,000 ราย 8.โครงการสินเชื่อห้องแถว ออมสินจะอำนวยสินเชื่อวงเงินไม่เกิน 500,000 บาทต่อราย โดยมีเป้าหมาย 50,000 ราย
9.ธสน.อำนวยสินเชื่อหมุนเวียนเพื่อเสริมสภาพคล่องให้ผู่ส่งออก โดยผ่อนปรนให้ใช้คำสั่งซื้อสินค้า หรือ Letter of Credit (L/C) เป็นเงื่อนไขประกอบการพิจารณาใช้วงเงิน 10.ให้ ธสน. พิจารณาการให้สินเชื่อแบบครบวงจรทั้งผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ หรือ ซัปพลายเออร์ 11.ธ.ก.ส.อำนวยสินเชื่อเสริมสภาพคล่องให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการระดับจุลภาค
12.ธ.ก.ส.อำนวยสินเชื่อเพื่อรองรับโครงการรับประกันราคาพืชผลทางการเกษตร ได้แก่ สินเชื่อเพื่อปรับปรุงยุ้งฉาง และจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ รวมทั้งเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนรอการขายผลผลิต 13.ธอส.อำนวยสินเชื่อสำหรับการซื้อที่ดินพร้อมอาคารหรือซื้อห้องชุดพร้อมโอน และ 14.ธอท.อำนวยสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเพื่อไถ่ถอนที่อยู่อาศัย
“คลังตั้งเป้าหมายสิ้นปีนี้ ธ.ก.ส.ออมสิน และ ธอส.จะเบิกจ่ายได้ถึง 100% ขณะที่ค่าเฉลี่ยทุกแบงก์จะเบิกจ่ายได้ 80% ซึ่งมีผลให้ประชาชนและผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงสินเชื่อเพิ่มขึ้นทั้งหมด 730,000 ราย แบ่งเป็นกลุ่มเกษตรกร 175,000 ราย ประชาชนและผู้ประกอบการรายย่อย 550,000 ราย เอสเอ็มอีและผู้ประกอบการท่องเที่ยวมากกว่า 3,000 ราย รวมทั้งผู้ส่งออกมากกว่า 1,500 ราย ซึ่งจะส่งผลให้จีดีพีปีนี้เพิ่มขึ้นประมาณ 0.5-0.9% รวมถึงต่อเนื่องไปในปีหน้าด้วย” นายกรณ์ กล่าว
นายประดิษฐ์ กล่าวว่า เพื่อติดตามหนี้เสียที่จะเกิดจากโครงการอนุมัติสินเชื่อด่วน จึงได้ให้แต่ละแบงก์ที่เห็นว่าอาจมีปัญหาเหล่านี้ได้แยกบัญชีออกมาเพื่อเป็นสินเชื่อตามนโยบายรัฐ (พีเอสเอ) ซึ่งจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติในวันที่ 1 ก.ย.นี้