แบงก์รัฐงานเข้า “กรณ์” เอาจริง คุม 6 ธนาคารเฉพาะกิจ ตั้งคณะกรรมการประเมินผลงานสนองนโยบายได้มากน้อยเพียงใด “รมช.ประดิษฐ์” รับลูกติวเข้มนายแบงก์ ลั่นปล่อยกู้เพิ่มแน่นอน คาดโทษพลาดเป้าโดนหั่นเงินเพิ่มทุน
นายตรัยรักษ์ เต็งไตรรัตน์ ที่ปรึกษา รมว.คลัง เปิดเผยว่า นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุดเพื่อวัดประสิทธิภาพการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐทั้ง 6 แห่ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าสถาบันการเงินทั้ง 6 ดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายตามที่กระทรวงการคลังได้ให้นโยบายไว้หรือไม่
ทั้งนี้ การประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในครั้งนี้ จะพิจารณารวมไปถึงการทำเกินหน้าที่จนไปแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ และด้อยกว่าหน้าที่จนไม่สามารถตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลได้หรือไม่ โดยกำหนดระยะเวลาประเมินภายในสิ้นปีนี้ จากนั้นจะสรุปเสนอรมว.คลังต่อไป
สำหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐทั้ง 6 แห่งประกอบไปด้วย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.)หรือเอสเอ็มอีแบงก์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) หรือเอ็กซิมแบงก์ และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย(ธอท.) หรือ iBank
นายตรัยรักษ์กล่าวต่อว่า จากนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้แบงก์รัฐปล่อยสินเชื่อเพิ่มเติมอีก 9.27 แสนล้านบาทก่อนสิ้นปี 52 นี้นั้น นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง ในฐานะประธานคณะทำงานติดตามการปล่อยสินเชื่อแบงก์รัฐเพิ่มเติม ได้เรียกแบงก์รัฐที่เข้าร่วมทั้ง 6 แบงก์หารือแล้วทั้งหมด ซึ่งผู้บริหารแต่ละแบงก์ที่ได้รับยอดปล่อยสินเชื่อเพิ่มยืนยันสามารถดำเนินการตามเป้าหมายใหม่ของรัฐบาลได้
โดยการปล่อยสินเชื่อเพิ่มอีก 9.27 แสนล้านบาทตามที่รมช.กำหนดเป้าหมายสินเชื่อใหม่นั้นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐไม่มีความจำเป็นต้องแยกบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (พีเอสเอ) เพียงแต่ขอเร่งเพิ่มทุนตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)ที่อนุมัติไว้ก่อนหน้านี้แล้ว เพื่อลดภาระการตั้งสำรองเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง อีกทั้งจะเร่งรัดปล่อยสินเชื่อเพิ่มเติมในโครงการที่ทำอยู่แล้ว พร้อมจะขอผ่อนเกณฑ์ระยะเวลาอนุมัติสินเชื่อในบางแบงก์ เช่น จากเดิม 45 วัน ก็จะเหลือ 30 วัน
"เกือบทุกแบงก์ไม่น่าเป็นห่วงสามารถปล่อยกู้เพิ่มได้ตามเป้าหมายใหม่ของรัฐแน่ โดยผู้บริหารแบงก์ระบุหากเพิ่มทุนให้ตามที่ขอก็เดินหน้าปล่อยกู้เพิ่มได้ทันที ยกเว้นแต่เอสเอ็มอีแบงก์ ที่ขณะนี้ยังไม่ส่งแผนสินเชื่อใหม่มา รวมถึงเอ็กซิมแบงก์ ที่ยังน่าเป็นห่วงบ้างแต่ไม่มาก"นายตรัยรักษ์ กล่าว
ทั้งนี้ การเพิ่มทุนให้แต่ละแบงก์แม้ก่อนหน้านี้ ครม.จะอนุมัติมาแล้ว แต่นโยบายใหม่ของกระทรวงการคลังคือจะไม่เพิ่มทุนให้ทั้งหมดตามที่ขอมาในคราวเดียว จะค่อยๆ เพิ่มเพื่อพิจารณาประสิทธิภาพการปล่อยกู้ตามนโยบายรัฐครั้งใหม่นี้ด้วย คาดวิธีการนี้จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยได้มากขึ้นในช่วงปลายปีนี้
นายตรัยรักษ์ เต็งไตรรัตน์ ที่ปรึกษา รมว.คลัง เปิดเผยว่า นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุดเพื่อวัดประสิทธิภาพการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐทั้ง 6 แห่ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าสถาบันการเงินทั้ง 6 ดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายตามที่กระทรวงการคลังได้ให้นโยบายไว้หรือไม่
ทั้งนี้ การประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในครั้งนี้ จะพิจารณารวมไปถึงการทำเกินหน้าที่จนไปแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ และด้อยกว่าหน้าที่จนไม่สามารถตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลได้หรือไม่ โดยกำหนดระยะเวลาประเมินภายในสิ้นปีนี้ จากนั้นจะสรุปเสนอรมว.คลังต่อไป
สำหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐทั้ง 6 แห่งประกอบไปด้วย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.)หรือเอสเอ็มอีแบงก์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) หรือเอ็กซิมแบงก์ และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย(ธอท.) หรือ iBank
นายตรัยรักษ์กล่าวต่อว่า จากนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้แบงก์รัฐปล่อยสินเชื่อเพิ่มเติมอีก 9.27 แสนล้านบาทก่อนสิ้นปี 52 นี้นั้น นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง ในฐานะประธานคณะทำงานติดตามการปล่อยสินเชื่อแบงก์รัฐเพิ่มเติม ได้เรียกแบงก์รัฐที่เข้าร่วมทั้ง 6 แบงก์หารือแล้วทั้งหมด ซึ่งผู้บริหารแต่ละแบงก์ที่ได้รับยอดปล่อยสินเชื่อเพิ่มยืนยันสามารถดำเนินการตามเป้าหมายใหม่ของรัฐบาลได้
โดยการปล่อยสินเชื่อเพิ่มอีก 9.27 แสนล้านบาทตามที่รมช.กำหนดเป้าหมายสินเชื่อใหม่นั้นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐไม่มีความจำเป็นต้องแยกบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (พีเอสเอ) เพียงแต่ขอเร่งเพิ่มทุนตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)ที่อนุมัติไว้ก่อนหน้านี้แล้ว เพื่อลดภาระการตั้งสำรองเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง อีกทั้งจะเร่งรัดปล่อยสินเชื่อเพิ่มเติมในโครงการที่ทำอยู่แล้ว พร้อมจะขอผ่อนเกณฑ์ระยะเวลาอนุมัติสินเชื่อในบางแบงก์ เช่น จากเดิม 45 วัน ก็จะเหลือ 30 วัน
"เกือบทุกแบงก์ไม่น่าเป็นห่วงสามารถปล่อยกู้เพิ่มได้ตามเป้าหมายใหม่ของรัฐแน่ โดยผู้บริหารแบงก์ระบุหากเพิ่มทุนให้ตามที่ขอก็เดินหน้าปล่อยกู้เพิ่มได้ทันที ยกเว้นแต่เอสเอ็มอีแบงก์ ที่ขณะนี้ยังไม่ส่งแผนสินเชื่อใหม่มา รวมถึงเอ็กซิมแบงก์ ที่ยังน่าเป็นห่วงบ้างแต่ไม่มาก"นายตรัยรักษ์ กล่าว
ทั้งนี้ การเพิ่มทุนให้แต่ละแบงก์แม้ก่อนหน้านี้ ครม.จะอนุมัติมาแล้ว แต่นโยบายใหม่ของกระทรวงการคลังคือจะไม่เพิ่มทุนให้ทั้งหมดตามที่ขอมาในคราวเดียว จะค่อยๆ เพิ่มเพื่อพิจารณาประสิทธิภาพการปล่อยกู้ตามนโยบายรัฐครั้งใหม่นี้ด้วย คาดวิธีการนี้จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยได้มากขึ้นในช่วงปลายปีนี้