คลังระดม 7 แบงก์รัฐถกแก้ปัญหาภาคธุรกิจขาดสภาพคล่องหลังแบงก์พาณิชย์ชะลอปล่อยกู้ ตั้งเป้าทั้งปีปล่อยสินเชื่อรวมกว่า 1.25 ล้านล้านบาท หวังแบงก์พาณิชย์ขยับปล่อยสินเชื่อตาม ระบุ ธ.ก.ส.-ออมสินจะมีบทบาทนำจากฐานลูกค้าที่มีปริมาณมาก “กรณ์” เปิดกว้างหากแบงก์ใดจะเปิดโครงการตามนโยบายรัฐและเกิดประโยชน์สามารถเสนอเข้ามาโดยแยกบัญชีเพื่อสาธารณะได้ เชื่อไม่เร่งหนี้เสียขยายตัวแน่
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมผู้บริหารสถาบันการเงินเฉพาะกิจ(แบงก์รัฐ) 6 แห่ง และธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)KTB ว่า จากปัญหาสภาพคล่องของธุรกิจปัจจุบันน่าเป็นห่วง ธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถปล่อยสินเชื่อให้ได้ จึงได้ระดมผู้บริหารจากธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย(ไอแบงก์) มาหารือเพื่อขยายเป้าสินเชื่อในปี 52 เพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้เป้าหมายการปล่อยสินเชื่อเดิมของ 6 แบงก์รัฐอยู่ที่ 625,500 ล้านบาท ก็จะขยายเพิ่มเป็น 9 แสนล้านบาท และหากรวมกับธนาคารกรุงไทยที่จะให้ขยายเพิ่มจาก 3 แสนล้านบาท เป็น 3.5 แสนล้านบาท ก็จะกลายเป็น 1.25 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้ที่ผ่านมา 6 เดือน 6 แบงก์รัฐปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 423,310 ล้านบาท ขณะที่สินเชื่อของธนาคารกรุงไทยขยายตัวดีมากถึง 5% ทั้งที่สินเชื่อทั้งระบบของธนาคารพาณิชย์ติดลบที่ 2% ดังนั้นเวลาที่เหลืออีก 6 เดือนจึงเป็นไปได้ที่รวม 7 แบงก์จะปล่อยสินเชื่อตามที่รัฐบาลให้นโยบายไว้เพราะในปีที่ผ่านมาแม้จะมีปัญหาเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 3 และ 4 แต่ 6 แบงก์รัฐที่ไม่รวมธนาคารกรุงไทยก็สามารถปล่อยสินเชื่อได้ถึง 810,576 ล้านบาท
"ที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ไม่ปล่อยสินเชื่อทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่องไปมาก แต่ขณะนี้รัฐบาลมองว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเริ่มดีขึ้น อีกทั้งมีเงินลงทุนตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งจะลงได้ในเดือนต.ค.จนปลายปีอีก 2 แสนล้านบาทจึงจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยในปลายปีนี้ดีขึ้นได้ การให้แบงก์รัฐปล่อยสินเชื่อเพิ่มก็เพื่อรองรับความต้องการของธุรกิจที่จะมีตามมา และคาดจะช่วยให้ธนาคารพาณิชย์ขยับตัว หันมาปล่อยกู้มากขึ้นด้วย เพราะหากไม่ทำลูกค้าที่มีอยู่จะหนีมาขอกู้จากแบงก์รัฐแทน" นายกอร์ปศักดิ์กล่าว
ด้านนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของเป้าสินเชื่อ ออมสินและธ.ก.ส.จะมีบทบาทมากที่สุดในฐานะที่มีฐานลูกค้าจำนวนมาก อย่างไรก็ตามธอส. ก็มีความสำคัญที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยมากขึ้น ขณะที่ธสน.ก็มีบทบาทหลักต่อภาคส่งออกที่ขณะนี้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตครั้งนี้อย่างมาก โดยจากนี้ต่อไปสัดส่วนการขยายสินเชื่อของแต่ละแบงก์จะต้องหารือและรายงานต่อนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง
ทั้งนี้การเร่งรัดปล่อยสินเชื่อเพิ่มครั้งนี้ยืนยันจะไม่เร่งให้หนี้เสียหรือเอ็นพีแอลของแบงก์รัฐเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีกฎหมายควบคุมไว้อยู่แล้ว อีกทั้งหากแบงก์ใดต้องการปล่อยสินเชื่อตามนโยบายรัฐและเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจจริงก็สามารถเสนอมาที่กระทรวงการคลังเพื่อจัดทำเป็นพีเอสเอ หรือแยกสินเชื่อเหล่านี้เป็นการให้บริการสาธารณะ
"แม้จะเร่งรัดปล่อยสินเชื่อแต่ก็มาพร้อมกับระเบียบที่มีอยู่เพื่อให้มีหนี้เสียเพิ่ม ต้องพิจารณาถึงประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ เช่นเพื่อนำไปซื้อสินค้าทุน เครื่องจักรใหม่จากต่างประเทศ ส่วนนี้จะส่งผลดีต่อค่าเงินบาท ที่ขณะนี้เมื่อนำเข้าลดกดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาก"นายกรณ์กล่าว
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมผู้บริหารสถาบันการเงินเฉพาะกิจ(แบงก์รัฐ) 6 แห่ง และธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)KTB ว่า จากปัญหาสภาพคล่องของธุรกิจปัจจุบันน่าเป็นห่วง ธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถปล่อยสินเชื่อให้ได้ จึงได้ระดมผู้บริหารจากธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย(ไอแบงก์) มาหารือเพื่อขยายเป้าสินเชื่อในปี 52 เพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้เป้าหมายการปล่อยสินเชื่อเดิมของ 6 แบงก์รัฐอยู่ที่ 625,500 ล้านบาท ก็จะขยายเพิ่มเป็น 9 แสนล้านบาท และหากรวมกับธนาคารกรุงไทยที่จะให้ขยายเพิ่มจาก 3 แสนล้านบาท เป็น 3.5 แสนล้านบาท ก็จะกลายเป็น 1.25 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้ที่ผ่านมา 6 เดือน 6 แบงก์รัฐปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 423,310 ล้านบาท ขณะที่สินเชื่อของธนาคารกรุงไทยขยายตัวดีมากถึง 5% ทั้งที่สินเชื่อทั้งระบบของธนาคารพาณิชย์ติดลบที่ 2% ดังนั้นเวลาที่เหลืออีก 6 เดือนจึงเป็นไปได้ที่รวม 7 แบงก์จะปล่อยสินเชื่อตามที่รัฐบาลให้นโยบายไว้เพราะในปีที่ผ่านมาแม้จะมีปัญหาเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 3 และ 4 แต่ 6 แบงก์รัฐที่ไม่รวมธนาคารกรุงไทยก็สามารถปล่อยสินเชื่อได้ถึง 810,576 ล้านบาท
"ที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ไม่ปล่อยสินเชื่อทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่องไปมาก แต่ขณะนี้รัฐบาลมองว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเริ่มดีขึ้น อีกทั้งมีเงินลงทุนตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งจะลงได้ในเดือนต.ค.จนปลายปีอีก 2 แสนล้านบาทจึงจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยในปลายปีนี้ดีขึ้นได้ การให้แบงก์รัฐปล่อยสินเชื่อเพิ่มก็เพื่อรองรับความต้องการของธุรกิจที่จะมีตามมา และคาดจะช่วยให้ธนาคารพาณิชย์ขยับตัว หันมาปล่อยกู้มากขึ้นด้วย เพราะหากไม่ทำลูกค้าที่มีอยู่จะหนีมาขอกู้จากแบงก์รัฐแทน" นายกอร์ปศักดิ์กล่าว
ด้านนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของเป้าสินเชื่อ ออมสินและธ.ก.ส.จะมีบทบาทมากที่สุดในฐานะที่มีฐานลูกค้าจำนวนมาก อย่างไรก็ตามธอส. ก็มีความสำคัญที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยมากขึ้น ขณะที่ธสน.ก็มีบทบาทหลักต่อภาคส่งออกที่ขณะนี้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตครั้งนี้อย่างมาก โดยจากนี้ต่อไปสัดส่วนการขยายสินเชื่อของแต่ละแบงก์จะต้องหารือและรายงานต่อนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง
ทั้งนี้การเร่งรัดปล่อยสินเชื่อเพิ่มครั้งนี้ยืนยันจะไม่เร่งให้หนี้เสียหรือเอ็นพีแอลของแบงก์รัฐเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีกฎหมายควบคุมไว้อยู่แล้ว อีกทั้งหากแบงก์ใดต้องการปล่อยสินเชื่อตามนโยบายรัฐและเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจจริงก็สามารถเสนอมาที่กระทรวงการคลังเพื่อจัดทำเป็นพีเอสเอ หรือแยกสินเชื่อเหล่านี้เป็นการให้บริการสาธารณะ
"แม้จะเร่งรัดปล่อยสินเชื่อแต่ก็มาพร้อมกับระเบียบที่มีอยู่เพื่อให้มีหนี้เสียเพิ่ม ต้องพิจารณาถึงประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ เช่นเพื่อนำไปซื้อสินค้าทุน เครื่องจักรใหม่จากต่างประเทศ ส่วนนี้จะส่งผลดีต่อค่าเงินบาท ที่ขณะนี้เมื่อนำเข้าลดกดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาก"นายกรณ์กล่าว