ผมได้อ่านบทความของคุณพิทยา ว่องกุล ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ฉบับวันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม 2552 เรื่อง “อหังการของสนธิ ลิ้มทองกุล จุดอ่อนทางยุทธศาสตร์ของพรรคการเมืองใหม่” แล้ว ก็มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
คุณพิทยาอ้างว่า คุณสนธิได้สัมภาษณ์เชิงดูหมิ่นนักรัฐศาสตร์ทั้งหมดว่านำทฤษฎีเก่ามาใช้ไม่ได้ ดังนั้นคุณพิทยาต้องการเอาทฤษฎีทางรัฐศาสตร์มาวิเคราะห์พรรคการเมืองใหม่ให้ดูเป็นตัวอย่าง ในฐานะที่เป็นนักวิชาการอิสระ และได้รับเกียรติจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งให้สอนในระดับปริญญาโท และคุณพิทยาระบุว่า ในวิชาที่เขาสอนนั้นต้องการให้นักศึกษาคิดวางแผนหัดใช้ปัญญาและข้อมูล
ว่าแล้วคุณพิทยาก็ยกเอาทฤษฎีอีรุงตุงนัง 2-3 ทฤษฎีขึ้นมาอ้างเพื่อวิเคราะห์พรรคการเมืองใหม่ เช่น Modern Authoritarianism (ลัทธิเผด็จการนิยมสมัยใหม่) ของอามอส เพิร์ลมัธเธอร์ SWOT Analysis (หลักการวิเคราะห์สว๊อต) หลักการว่าด้วยการรุก-รับทางยุทธศาสตร์ของเหมาเจ๋อตง และ On War ของ คาร์ลลอส เคลาท์วิทซ์
คุณพิทยาสรุปว่า 1. กลุ่มพันธมิตรฯ มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในการก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่ นัยที่จะบอกก็คือ มีพันธมิตรฯ เพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่เห็นด้วยกับการตั้งพรรค
2. ความคิดเห็นข้อนี้ของคุณพิทยาเชื่อมโยงกับข้อ 1 คือ อ้างว่า ยังไม่รู้ว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงไหนกับมวลชนพันธมิตรฯ ที่เห็นด้วยกับการตั้งพรรค แล้วสรุปว่า ฐานเสียงของพันธมิตรฯ อาจทับซ้อนกับพรรคประชาธิปัตย์ต้องแย่งชิงคะแนนเสียงกันเอง และทำให้พรรคอื่นและเงินเข้ามาสอดแทรกได้ง่ายขึ้น
3. เป้าหมายของการก่อตั้งพันธมิตรฯ แต่ดั้งเดิมในปี 2549 คือ การคัดค้านและปฏิเสธระบอบทักษิณ ส่วนการเมืองใหม่เป็นเป้าหมายใหม่ที่มาทีหลัง ดังนั้นจึงยังไม่รู้ว่าพันธมิตรฯ จะเอาด้วยหรือไม่
4. จำนวนสมาชิกพรรคไม่ถึงหมื่นคน เป็นอัตราส่วนน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนพันธมิตรฯ ที่ร่วมชุมนุมนับแสนคน และน้อยนักเมื่อเทียบกับประชาชนนับสิบล้านคนไม่เอาระบอบทักษิณ ทำให้เห็นว่า ยุทธศาสตร์ของพันธมิตรฯ จะไม่เป็นดังที่คาด
5. เงินบริจาคพรรคมีเพียงไม่กี่หมื่น ซึ่งน้อยนิดเมื่อเทียบกับกิจกรรมของพรรคการเมือง คุณพิทยาชี้ว่า อาจเป็นไปได้ที่คุณสนธิยังไม่ได้เป็นหัวหน้า แต่ถ้าเป็นแล้วเงินบริจาคยังไม่มากพอ ยุทธศาสตร์ของพรรคที่บอกว่าจะอยู่ได้ด้วยเงินสนับสนุนของสมาชิกและพันธมิตรฯ ก็เป็นไปไม่ได้ ยุทธศาสตร์นั้นก็จะล้มเหลว
บทสรุปตั้ง 5 ข้อของคุณพิทยานั้น ดูแล้วเป็นเพียงการคาดการณ์ที่อาจจะถูกหรือผิด เช่น บอกว่า ฟ้าครื้มฝนกำลังจะตก แต่สุดท้ายแล้วฝนอาจจะตกหรือไม่ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องอ้างทฤษฎีอะไรรองรับเลย และเราอาจได้ฟังความคิดนี้ในวงกาแฟตอนเช้าที่เบตง สุไหงโก-ลก พยัคฆภูมิพิสัย แม่สลอง ป่าโมก เกาะสมุย ฯลฯ
เท่าที่ผมอ่านดูบทสรุปของคุณพิทยาเป็นเพียงทฤษฎี “ฝนตกแดดออก” เท่านั้นเอง “หน้าฝนควรพกร่มออกจากบ้าน” หรือ “แดดออกให้กางร่ม” และผมแยกแยะไม่ได้ว่า สิ่งที่คุณพิทยาวิเคราะห์นั้นเป็นการวิเคราะห์พรรคการเมืองใหม่และพันธมิตรฯ หรือวิเคราะห์วาทกรรมของคุณสนธิกันแน่
ถ้าเราได้อ่านคำสัมภาษณ์ของไทยโพสต์ การพาดพิงนักรัฐศาสตร์ของคุณสนธิเกิดจากคำถามของไทยโพสต์ที่ว่า : นักรัฐศาสตร์มองว่า การเคลื่อนไหวไล่ระบอบทักษิณของพันธมิตรฯ เป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ Extreme พอมาเป็นพรรคการเมืองต้องปรับตัว จะต้องปรับตัวไหม
คุณสนธิตอบว่า : ผมอยากให้นักรัฐศาสตร์ทบทวนตัวเองสักนิด เพราะพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และพรรคการเมืองใหม่ ทำให้นักรัฐศาสตร์ต้องศึกษาใหม่แล้วนะ อย่าไปใช้ทฤษฎีเก่า เพราะมันไม่มีในทฤษฎี เด็กที่เรียนรัฐศาสตร์ทุกคนไม่เคยเจออันนี้ เมื่อไม่เคยเจออันนี้อาจารย์รัฐศาสตร์ที่ไม่เคยศึกษาเรื่องนี้ แต่มานั่งวิเคราะห์วิจารณ์จากภูมิปัญญาตัวเอง จากการอ่านหนังสือ...
ผมให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า คนที่สัมภาษณ์คุณสนธิ คือ เจ้าของนามปากกาว่า ใบตองแห้ง แห่งไทยโพสต์
จะยอมรับหรือไม่ก็ตามว่า ทฤษฎีที่นักรัฐศาสตร์ส่วนใหญ่นำมาจับและวิเคราะห์สังคมไทยเป็นของนักคิดตะวันตก อาจมีบ้างที่เป็นทฤษฎีของตะวันออก เช่น ของเหมาเจ๋อตง หรือเติ้งเสี่ยวผิง ซึ่งมีรากมาจากตะวันตกเช่นเดียวกัน ผมคิดว่า นัยของคุณสนธิต้องการบอกแค่ว่า ปรากฏการณ์ของพันธมิตรฯ นั้น ไม่สามารถเอาทฤษฎีแบบตะวันตกหรือกางตำรามาวิเคราะห์ได้
และผมคิดว่า คนส่วนใหญ่ก็ยอมรับว่า ปรากฎการณ์การชุมนุมของพันธมิตรฯนั้น เป็น “ปรากฎการณ์ใหม่” ที่จะต้องนำมาศึกษา แน่นอนว่า ภาวการณ์หลายอย่างอาจสอดคล้องกับทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่ง
การแสดงความเห็นของคุณสนธิจึงเป็นการกระตุกความคิดของนักรัฐศาสตร์มากกว่าการหมิ่นแคลน เหมือนที่คุณพิทยาอ้างว่า เขียนบทความนี้เพื่อกระตุกความคิดของคุณสนธิ
การก่อเกิดพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในปัจจุบันนั้น มีพื้นฐานมาจากการรวมตัวขององค์กรภาคประชาชน สหภาพแรงงาน ศิลปิน และนักวิชาการแน่นอนครับ แต่ไม่ใช่สิ่งที่คุณพิทยาพยายามทำให้เข้าใจว่า สนธิ ลิ้มทองกุล และจำลอง ศรีเมือง เป็นผู้มาเพิ่ม
แบบที่คุณพิทยา จงใจเขียนว่า “องค์กรภาคประชาชน ได้แก่ ศิลปิน นักศึกษา สหภาพแรงงาน และนักวิชาการราว 17 องค์กร ได้ก่อตั้งเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จากนั้นมีองค์กรต่างสาขาอาชีพมาร่วม มีคุณสนธิและคุณจำลองเข้ามาเพิ่ม...”
แต่ผมคิดว่า การรวมตัวครั้งนี้เป็นการรวมตัวที่มีมติรวมกัน และเมื่อมีการเลือกชื่อก็มีคนเสนอให้ใช้ชื่อ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับอีกหลายๆ ชื่อ ซึ่งไม่น่าจะซับซ้อนอะไร ส่วนคนเสนอชื่อจะมีวาระ (agenda) หรือไม่ ผมไม่รู้
อาจารย์สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ พยายามพูดบนเวทีหลายครั้งว่า เคยมีองค์กรพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมาก่อนจะมารวมตัวกับคุณสนธิ แต่ภารกิจครั้งนั้น ไม่ได้รับการสนับสนุนจากมวลชนเท่าที่ควร พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยครั้งนั้น กับปัจจุบันจึงเป็นเรื่องต่างกรรมต่างวาระ
ในการประชุมครั้งหนึ่งหลังวันที่ 5 ก.พ. 2549 คุณคำนูณ สิทธิสมาน ซึ่งทำหน้าที่คล้ายๆ กับผู้ประสานงานในตอนนั้นได้เชิญแกนนำทั้ง 5 คนเข้าประชุม ก่อนจะประชุมกับแนวร่วม คุณคำนูณไม่ได้เชิญคุณพิทยาเข้าร่วมด้วย เพราะไม่ได้เป็นแกนนำ คุณพิทยาได้เข้าไปต่อว่าคุณคำนูณอย่างรุนแรง
หลังจากนั้นคุณพิทยาก็ห่างหายจากวงใน และต่อมาก็มีบทความวิพากษ์วิจารณ์ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับแนวทางของพันธมิตรฯ เสมอมา
อย่าสรุปนะครับว่า พันธมิตรฯ ไม่ยอมรับฟังความเห็นต่าง ผมเพียงแต่อ่านแล้วรู้สึกผิดหวัง เพราะหวังเอาว่าจะได้รับข้อมูลที่ลุ่มลึกจากผู้ได้รับเชิญไปสอนปริญญาโทรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัย
คุณพิทยาบอกว่า บทความชิ้นนี้ยังไม่จบ ผมก็ได้แต่หวังว่าพรรคการเมืองใหม่และคุณสนธิจะได้รับคำชี้แนะที่ทรงคุณค่า แต่ถ้าข้อมูลไหนไม่ถูกต้องและไม่ครบถ้วนคนอ่านก็ควรได้รับรู้ประกอบการตัดสินใจด้วย
surawhisky@hotmail.com
คุณพิทยาอ้างว่า คุณสนธิได้สัมภาษณ์เชิงดูหมิ่นนักรัฐศาสตร์ทั้งหมดว่านำทฤษฎีเก่ามาใช้ไม่ได้ ดังนั้นคุณพิทยาต้องการเอาทฤษฎีทางรัฐศาสตร์มาวิเคราะห์พรรคการเมืองใหม่ให้ดูเป็นตัวอย่าง ในฐานะที่เป็นนักวิชาการอิสระ และได้รับเกียรติจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งให้สอนในระดับปริญญาโท และคุณพิทยาระบุว่า ในวิชาที่เขาสอนนั้นต้องการให้นักศึกษาคิดวางแผนหัดใช้ปัญญาและข้อมูล
ว่าแล้วคุณพิทยาก็ยกเอาทฤษฎีอีรุงตุงนัง 2-3 ทฤษฎีขึ้นมาอ้างเพื่อวิเคราะห์พรรคการเมืองใหม่ เช่น Modern Authoritarianism (ลัทธิเผด็จการนิยมสมัยใหม่) ของอามอส เพิร์ลมัธเธอร์ SWOT Analysis (หลักการวิเคราะห์สว๊อต) หลักการว่าด้วยการรุก-รับทางยุทธศาสตร์ของเหมาเจ๋อตง และ On War ของ คาร์ลลอส เคลาท์วิทซ์
คุณพิทยาสรุปว่า 1. กลุ่มพันธมิตรฯ มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในการก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่ นัยที่จะบอกก็คือ มีพันธมิตรฯ เพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่เห็นด้วยกับการตั้งพรรค
2. ความคิดเห็นข้อนี้ของคุณพิทยาเชื่อมโยงกับข้อ 1 คือ อ้างว่า ยังไม่รู้ว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงไหนกับมวลชนพันธมิตรฯ ที่เห็นด้วยกับการตั้งพรรค แล้วสรุปว่า ฐานเสียงของพันธมิตรฯ อาจทับซ้อนกับพรรคประชาธิปัตย์ต้องแย่งชิงคะแนนเสียงกันเอง และทำให้พรรคอื่นและเงินเข้ามาสอดแทรกได้ง่ายขึ้น
3. เป้าหมายของการก่อตั้งพันธมิตรฯ แต่ดั้งเดิมในปี 2549 คือ การคัดค้านและปฏิเสธระบอบทักษิณ ส่วนการเมืองใหม่เป็นเป้าหมายใหม่ที่มาทีหลัง ดังนั้นจึงยังไม่รู้ว่าพันธมิตรฯ จะเอาด้วยหรือไม่
4. จำนวนสมาชิกพรรคไม่ถึงหมื่นคน เป็นอัตราส่วนน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนพันธมิตรฯ ที่ร่วมชุมนุมนับแสนคน และน้อยนักเมื่อเทียบกับประชาชนนับสิบล้านคนไม่เอาระบอบทักษิณ ทำให้เห็นว่า ยุทธศาสตร์ของพันธมิตรฯ จะไม่เป็นดังที่คาด
5. เงินบริจาคพรรคมีเพียงไม่กี่หมื่น ซึ่งน้อยนิดเมื่อเทียบกับกิจกรรมของพรรคการเมือง คุณพิทยาชี้ว่า อาจเป็นไปได้ที่คุณสนธิยังไม่ได้เป็นหัวหน้า แต่ถ้าเป็นแล้วเงินบริจาคยังไม่มากพอ ยุทธศาสตร์ของพรรคที่บอกว่าจะอยู่ได้ด้วยเงินสนับสนุนของสมาชิกและพันธมิตรฯ ก็เป็นไปไม่ได้ ยุทธศาสตร์นั้นก็จะล้มเหลว
บทสรุปตั้ง 5 ข้อของคุณพิทยานั้น ดูแล้วเป็นเพียงการคาดการณ์ที่อาจจะถูกหรือผิด เช่น บอกว่า ฟ้าครื้มฝนกำลังจะตก แต่สุดท้ายแล้วฝนอาจจะตกหรือไม่ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องอ้างทฤษฎีอะไรรองรับเลย และเราอาจได้ฟังความคิดนี้ในวงกาแฟตอนเช้าที่เบตง สุไหงโก-ลก พยัคฆภูมิพิสัย แม่สลอง ป่าโมก เกาะสมุย ฯลฯ
เท่าที่ผมอ่านดูบทสรุปของคุณพิทยาเป็นเพียงทฤษฎี “ฝนตกแดดออก” เท่านั้นเอง “หน้าฝนควรพกร่มออกจากบ้าน” หรือ “แดดออกให้กางร่ม” และผมแยกแยะไม่ได้ว่า สิ่งที่คุณพิทยาวิเคราะห์นั้นเป็นการวิเคราะห์พรรคการเมืองใหม่และพันธมิตรฯ หรือวิเคราะห์วาทกรรมของคุณสนธิกันแน่
ถ้าเราได้อ่านคำสัมภาษณ์ของไทยโพสต์ การพาดพิงนักรัฐศาสตร์ของคุณสนธิเกิดจากคำถามของไทยโพสต์ที่ว่า : นักรัฐศาสตร์มองว่า การเคลื่อนไหวไล่ระบอบทักษิณของพันธมิตรฯ เป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ Extreme พอมาเป็นพรรคการเมืองต้องปรับตัว จะต้องปรับตัวไหม
คุณสนธิตอบว่า : ผมอยากให้นักรัฐศาสตร์ทบทวนตัวเองสักนิด เพราะพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และพรรคการเมืองใหม่ ทำให้นักรัฐศาสตร์ต้องศึกษาใหม่แล้วนะ อย่าไปใช้ทฤษฎีเก่า เพราะมันไม่มีในทฤษฎี เด็กที่เรียนรัฐศาสตร์ทุกคนไม่เคยเจออันนี้ เมื่อไม่เคยเจออันนี้อาจารย์รัฐศาสตร์ที่ไม่เคยศึกษาเรื่องนี้ แต่มานั่งวิเคราะห์วิจารณ์จากภูมิปัญญาตัวเอง จากการอ่านหนังสือ...
ผมให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า คนที่สัมภาษณ์คุณสนธิ คือ เจ้าของนามปากกาว่า ใบตองแห้ง แห่งไทยโพสต์
จะยอมรับหรือไม่ก็ตามว่า ทฤษฎีที่นักรัฐศาสตร์ส่วนใหญ่นำมาจับและวิเคราะห์สังคมไทยเป็นของนักคิดตะวันตก อาจมีบ้างที่เป็นทฤษฎีของตะวันออก เช่น ของเหมาเจ๋อตง หรือเติ้งเสี่ยวผิง ซึ่งมีรากมาจากตะวันตกเช่นเดียวกัน ผมคิดว่า นัยของคุณสนธิต้องการบอกแค่ว่า ปรากฏการณ์ของพันธมิตรฯ นั้น ไม่สามารถเอาทฤษฎีแบบตะวันตกหรือกางตำรามาวิเคราะห์ได้
และผมคิดว่า คนส่วนใหญ่ก็ยอมรับว่า ปรากฎการณ์การชุมนุมของพันธมิตรฯนั้น เป็น “ปรากฎการณ์ใหม่” ที่จะต้องนำมาศึกษา แน่นอนว่า ภาวการณ์หลายอย่างอาจสอดคล้องกับทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่ง
การแสดงความเห็นของคุณสนธิจึงเป็นการกระตุกความคิดของนักรัฐศาสตร์มากกว่าการหมิ่นแคลน เหมือนที่คุณพิทยาอ้างว่า เขียนบทความนี้เพื่อกระตุกความคิดของคุณสนธิ
การก่อเกิดพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในปัจจุบันนั้น มีพื้นฐานมาจากการรวมตัวขององค์กรภาคประชาชน สหภาพแรงงาน ศิลปิน และนักวิชาการแน่นอนครับ แต่ไม่ใช่สิ่งที่คุณพิทยาพยายามทำให้เข้าใจว่า สนธิ ลิ้มทองกุล และจำลอง ศรีเมือง เป็นผู้มาเพิ่ม
แบบที่คุณพิทยา จงใจเขียนว่า “องค์กรภาคประชาชน ได้แก่ ศิลปิน นักศึกษา สหภาพแรงงาน และนักวิชาการราว 17 องค์กร ได้ก่อตั้งเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จากนั้นมีองค์กรต่างสาขาอาชีพมาร่วม มีคุณสนธิและคุณจำลองเข้ามาเพิ่ม...”
แต่ผมคิดว่า การรวมตัวครั้งนี้เป็นการรวมตัวที่มีมติรวมกัน และเมื่อมีการเลือกชื่อก็มีคนเสนอให้ใช้ชื่อ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับอีกหลายๆ ชื่อ ซึ่งไม่น่าจะซับซ้อนอะไร ส่วนคนเสนอชื่อจะมีวาระ (agenda) หรือไม่ ผมไม่รู้
อาจารย์สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ พยายามพูดบนเวทีหลายครั้งว่า เคยมีองค์กรพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมาก่อนจะมารวมตัวกับคุณสนธิ แต่ภารกิจครั้งนั้น ไม่ได้รับการสนับสนุนจากมวลชนเท่าที่ควร พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยครั้งนั้น กับปัจจุบันจึงเป็นเรื่องต่างกรรมต่างวาระ
ในการประชุมครั้งหนึ่งหลังวันที่ 5 ก.พ. 2549 คุณคำนูณ สิทธิสมาน ซึ่งทำหน้าที่คล้ายๆ กับผู้ประสานงานในตอนนั้นได้เชิญแกนนำทั้ง 5 คนเข้าประชุม ก่อนจะประชุมกับแนวร่วม คุณคำนูณไม่ได้เชิญคุณพิทยาเข้าร่วมด้วย เพราะไม่ได้เป็นแกนนำ คุณพิทยาได้เข้าไปต่อว่าคุณคำนูณอย่างรุนแรง
หลังจากนั้นคุณพิทยาก็ห่างหายจากวงใน และต่อมาก็มีบทความวิพากษ์วิจารณ์ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับแนวทางของพันธมิตรฯ เสมอมา
อย่าสรุปนะครับว่า พันธมิตรฯ ไม่ยอมรับฟังความเห็นต่าง ผมเพียงแต่อ่านแล้วรู้สึกผิดหวัง เพราะหวังเอาว่าจะได้รับข้อมูลที่ลุ่มลึกจากผู้ได้รับเชิญไปสอนปริญญาโทรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัย
คุณพิทยาบอกว่า บทความชิ้นนี้ยังไม่จบ ผมก็ได้แต่หวังว่าพรรคการเมืองใหม่และคุณสนธิจะได้รับคำชี้แนะที่ทรงคุณค่า แต่ถ้าข้อมูลไหนไม่ถูกต้องและไม่ครบถ้วนคนอ่านก็ควรได้รับรู้ประกอบการตัดสินใจด้วย
surawhisky@hotmail.com