ASTVผู้จัดการรายวัน - สแตนชาร์ดฯชี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะสั้นยังสี่ยง มี 3 ปัจจัยต้องระมัดระวังทั้ง"การเมือง-การลงทุน-การส่งออก"ที่ไม่นิ่ง และในปีหน้าจะกลับเป็นบวกได้ คาดโต 2.8% แต่ต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มจากดอกเบี้ยที่ขยับขึ้น หลังรัฐบาลอัดฉีดจนกระเป๋าแฟ่บต้องออกพันธบัตรดูดสภาพคล่อง แนะรัฐบาลชี้แจงปัญหามาบตาพุด สร้างความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติ ด้านค่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องคาดต้นปีแตะ 32.50 บาทต่อดอลล์
นางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) (SCBT) กล่าวว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ(จีดีพี)ของไทยในปีหน้าน่าจะกลับมาเป็นบวกที่ 2.8% และจะมีการเติบโตที่ดีและแข็งแกร่งขึ้นเป็น 4.5% ในปี 2554 ซึ่งการฟื้นตัวเศรษฐกิจของไทยจะเป็นลักษณะค่อยๆเป็นค่อยๆไปมากกว่าเป็นรูปตัววีตามที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้ ส่วนอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้ก็ยังคงคาดการณ์ไว้ที่ติดลบ 3.5% เช่นเดิม แต่แนวโน้มการเติบโตในระยะสั้นยังต้องระมัดระวัง เพราะมีปัจจัยที่ต้องจับตาอยู่ 3 ประการ ได้แก่ เสถียรภาพทางการเมืองที่ยังไม่นิ่ง วัฎจักรของการลงทุนใหม่ๆ ซึ่งยังต้องใช้เวลาในฟื้นตัว และภาคการส่งออก ซึ่งโอกาสที่จะกลับมาเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจยังเป็นไปได้ยาก
แต่อย่างไรก็ตาม ในปีหน้าก็ยังมีปัญหาที่น่ากังวลอยู่คือเรื่องของต้นทุนทางการเงินที่จะเพิ่มสูงขึ้น เพราะในปัจจุบันรัฐบาลได้ใช้นโยบายขาดดุลงบประมาณที่ 3.5% ของจีดีพีในปีงบประมาณ 2553 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูงในรอบ 10 ปี ถ้ารวมถึงยอดเงินกู้พิเศษภายในพระราชบัญญัติและพระราชกำหนดกู้เงินแล้ว ตัวเลขการขาดดุลเงินสดของรัฐบาลในปีงบประมาณหน้าจะสูงถึง 6.7% ของจีดีพี ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่สูงเป็นประวัติการณ์และจะมีผลดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินในระบบธนาคารพาณิชย์ให้ลดลงอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก และจะสร้างแรงกดดันต่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดให้ขยับสูงขึ้นในปีหน้าได้
“จะเห็นได้ว่าความต้องการเงินจากทั้งภาครัฐและเอกชนที่สูงขึ้นอย่างมากในปีหน้าจะมีผลทำให้ต้นทุนการกู้ยืมแพงขึ้น เนื่องจากสภาพคล่องส่วนเกินในระบบธนาคารพาณิชย์ที่มีแนวโน้มลดลงจะเพิ่มแรงกดดันต่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดให้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในปีหน้า” นางสาวอุสรา กล่าว
นางสาวอุสรายังกล่าวถึงปัญหาของโครงการมาบตาพุดที่มีการชะลอการลงทุนตามคำสั่งศาลปกครองว่า เป็นประเด็นให้นักลงทุนต่างประเทศจับตามองว่ารัฐบาลจะมีการสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอย่างไร เพราะไม่เช่นนั้นจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุนกับไทยในอนาคตที่อาจจะมีการชะลอการลงทุนในการเปิดโรงงานออกไปหรือมีการย้ายฐานการลงทุนไปประเทศอื่นได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุนให้กลับมาให้เร็วที่สุด
ด้านนายโทมัส ฮาร์ นักวางแผนกลยุทธ์อาวุโส ด้านเงินตราต่างประเทศ กลุ่มธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ประจำประเทศสิงคโปร์ กล่าวถึงทิศทางค่าเงินบาทของไทยในต้นปี 2553 ว่า ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวแข็งค่าขึ้นอีกโดยค่าเงินบาทจะอยู่ที่ 32.50 บาทต่อดอลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นการแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากสิ้นไตรมาส 4 ของปี 2552 ที่คาดว่าค่าเงินบาทจะอยู่ที่ 32.80 บาทต่อดอลาร์สหรัฐ และเป็นการแข็งค่าที่ช้ากว่าค่าเงินสกุลอื่น ส่วนช่วงครึ่งหลังของปีหน้าค่าเงินบาทน่าจะกลับมาอ่อนค่าอยู่ที่ 33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
“การที่ค่าเงินของไทยยังมีการปรับตัวแข็งค่าขึ้นนั้นได้รับอานิสงค์มาจากเม็ดเงินต่างประเทศไทยไหลเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ในภูมิภาคเอเชียรวมถึงไทยด้วย แต่ค่าเงินบาทของไทยก็ยังถือว่ามีการแข็งค่าช้าเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นซึ่งจะเห็นได้จากตัวเลขการแข็งค่าขึ้นของสกุลเงินตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงวันที่ 12 ต.ค.52 คือค่าเงินของอินโดนิเซียมีการแข็งค่าขึ้น15% ค่าเงินของเกาหลีแข็งค่าขึ้น 8.1% ค่าเงินของอินเดียแข็งค่าขึ้น 4.7% และค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นประมาณ 4.5% ส่วนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯก็คาดว่าจะยังอ่อนค่าลงอีกในอนาคตเพราะธนาคารกลางสหรัฐฯหรือเฟดจะยังไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่น่าจะเห็นเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยช่วงต้นปี 2554 ” นายโทมัส กล่าว
นางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) (SCBT) กล่าวว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ(จีดีพี)ของไทยในปีหน้าน่าจะกลับมาเป็นบวกที่ 2.8% และจะมีการเติบโตที่ดีและแข็งแกร่งขึ้นเป็น 4.5% ในปี 2554 ซึ่งการฟื้นตัวเศรษฐกิจของไทยจะเป็นลักษณะค่อยๆเป็นค่อยๆไปมากกว่าเป็นรูปตัววีตามที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้ ส่วนอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้ก็ยังคงคาดการณ์ไว้ที่ติดลบ 3.5% เช่นเดิม แต่แนวโน้มการเติบโตในระยะสั้นยังต้องระมัดระวัง เพราะมีปัจจัยที่ต้องจับตาอยู่ 3 ประการ ได้แก่ เสถียรภาพทางการเมืองที่ยังไม่นิ่ง วัฎจักรของการลงทุนใหม่ๆ ซึ่งยังต้องใช้เวลาในฟื้นตัว และภาคการส่งออก ซึ่งโอกาสที่จะกลับมาเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจยังเป็นไปได้ยาก
แต่อย่างไรก็ตาม ในปีหน้าก็ยังมีปัญหาที่น่ากังวลอยู่คือเรื่องของต้นทุนทางการเงินที่จะเพิ่มสูงขึ้น เพราะในปัจจุบันรัฐบาลได้ใช้นโยบายขาดดุลงบประมาณที่ 3.5% ของจีดีพีในปีงบประมาณ 2553 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูงในรอบ 10 ปี ถ้ารวมถึงยอดเงินกู้พิเศษภายในพระราชบัญญัติและพระราชกำหนดกู้เงินแล้ว ตัวเลขการขาดดุลเงินสดของรัฐบาลในปีงบประมาณหน้าจะสูงถึง 6.7% ของจีดีพี ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่สูงเป็นประวัติการณ์และจะมีผลดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินในระบบธนาคารพาณิชย์ให้ลดลงอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก และจะสร้างแรงกดดันต่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดให้ขยับสูงขึ้นในปีหน้าได้
“จะเห็นได้ว่าความต้องการเงินจากทั้งภาครัฐและเอกชนที่สูงขึ้นอย่างมากในปีหน้าจะมีผลทำให้ต้นทุนการกู้ยืมแพงขึ้น เนื่องจากสภาพคล่องส่วนเกินในระบบธนาคารพาณิชย์ที่มีแนวโน้มลดลงจะเพิ่มแรงกดดันต่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดให้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในปีหน้า” นางสาวอุสรา กล่าว
นางสาวอุสรายังกล่าวถึงปัญหาของโครงการมาบตาพุดที่มีการชะลอการลงทุนตามคำสั่งศาลปกครองว่า เป็นประเด็นให้นักลงทุนต่างประเทศจับตามองว่ารัฐบาลจะมีการสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอย่างไร เพราะไม่เช่นนั้นจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุนกับไทยในอนาคตที่อาจจะมีการชะลอการลงทุนในการเปิดโรงงานออกไปหรือมีการย้ายฐานการลงทุนไปประเทศอื่นได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุนให้กลับมาให้เร็วที่สุด
ด้านนายโทมัส ฮาร์ นักวางแผนกลยุทธ์อาวุโส ด้านเงินตราต่างประเทศ กลุ่มธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ประจำประเทศสิงคโปร์ กล่าวถึงทิศทางค่าเงินบาทของไทยในต้นปี 2553 ว่า ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวแข็งค่าขึ้นอีกโดยค่าเงินบาทจะอยู่ที่ 32.50 บาทต่อดอลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นการแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากสิ้นไตรมาส 4 ของปี 2552 ที่คาดว่าค่าเงินบาทจะอยู่ที่ 32.80 บาทต่อดอลาร์สหรัฐ และเป็นการแข็งค่าที่ช้ากว่าค่าเงินสกุลอื่น ส่วนช่วงครึ่งหลังของปีหน้าค่าเงินบาทน่าจะกลับมาอ่อนค่าอยู่ที่ 33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
“การที่ค่าเงินของไทยยังมีการปรับตัวแข็งค่าขึ้นนั้นได้รับอานิสงค์มาจากเม็ดเงินต่างประเทศไทยไหลเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ในภูมิภาคเอเชียรวมถึงไทยด้วย แต่ค่าเงินบาทของไทยก็ยังถือว่ามีการแข็งค่าช้าเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นซึ่งจะเห็นได้จากตัวเลขการแข็งค่าขึ้นของสกุลเงินตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงวันที่ 12 ต.ค.52 คือค่าเงินของอินโดนิเซียมีการแข็งค่าขึ้น15% ค่าเงินของเกาหลีแข็งค่าขึ้น 8.1% ค่าเงินของอินเดียแข็งค่าขึ้น 4.7% และค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นประมาณ 4.5% ส่วนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯก็คาดว่าจะยังอ่อนค่าลงอีกในอนาคตเพราะธนาคารกลางสหรัฐฯหรือเฟดจะยังไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่น่าจะเห็นเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยช่วงต้นปี 2554 ” นายโทมัส กล่าว