วาระครบรอบปีที่ 8 ของการที่สหรัฐฯเปิดฉากปฏิบัติการทางทหารในอัฟกานิสถานเมื่อวันพุธ(7)ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ใช้เวลาจำนวนมากพอดูในวันนั้นไปกับการหารือกับพวกที่ปรึกษาระดับสูงของเขา ในเรื่องที่น่าจะกลายเป็นการตัดสินใจอันทรงความสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในวาระแห่งการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา นั่นก็คือ หลังจากนี้ไป สหรัฐฯจะเข้าไปพัวพันเกี่ยวข้องในสงครามดังกล่าวนี้ในลักษณะไหน
พวกผู้บังคับบัญชาทหารของเขา นำโดย พล.อ.สแตนลีย์ แมคคริสตัล ผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯและนาโต้ในอัฟกานิสถาน, พล.อ.เดวิด เพเทรอัส ผู้บัญชาการกองบัญชาการทหารเขตกลางของสหรัฐฯ (US Central Command) นั้น มีรายงานว่ากำลังเรียกร้องโอบามาให้เพิ่มจำนวนทหารที่ประจำการอยู่ในอัฟกานิสถาน จากระดับ 68,000 คนในเวลานี้ให้สูงขึ้นเป็นมากกว่า 100,000 คน โดยถือเป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์อันรอบด้านที่เรียกขานกันว่า ยุทธศาสตร์ "การต่อสู้เอาชนะการก่อความไม่สงบ" (counter-insurgency เรียกย่อๆ ว่า COIN))
นายทหารใหญ่เหล่านี้ตลอดจนผู้สนับสนุน กำลังหยิบยกเหตุผลต่างๆ ขึ้นมาถกเถียงอภิปรายตลอดหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า การที่พวกตอลิบานกำลังออกฤทธิ์ออกเดชเพิ่มขึ้นมาอีกในระยะหลังๆ มานี้ จะสามารถปราบปรามให้ปราชัยได้มีแต่ต้องเพิ่มทหารหน่วยสู้รบของสหรัฐฯเข้าไปเป็นจำนวนมาก บวกกับการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ใหม่ที่มุ่งเน้นเรื่องการรักษาความปลอดภัยของประชากร และการจัดหาบริการต่างๆ อันจำเป็นให้แก่ประชากร
ทว่าพวกที่ปรึกษาที่เป็นพลเรือนบางคนของโอบามา นำโดยรองประธานาธิบดีโจเซฟ ไบเดน กลับกำลังเรียกร้องให้ใช้ยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายต่ำลงมากว่านั้น และเรียกกันว่า "การต่อสู้เอาชนะการก่อการร้าย" (counter-terrorism ใช้ตัวย่อว่า CT) ซึ่งจะรักษากำลังทหารของสหรัฐฯเอาไว้ในระดับปัจจุบัน ขณะที่เพิ่มการโจมตีด้วยเครื่องบินไร้นักบินรุ่นเพรเดเตอร์ และเพิ่มการปฏิบัติการของพวกทหารหน่วยรบพิเศษที่มุ่งหมายหัวผู้นำตอลิบานคนสำคัญๆ ตลอดจนพวกอัลกออิดะห์ที่เป็นพันธมิตรของพวกเขา ทั้งในอัฟกานิสถาน และในประเทศเพื่อนบ้านอย่างปากีสถาน
พวกที่สนับสนุนยุทธศาสตร์ CT เสนอเหตุผลมาโต้แย้งว่า การเพิ่มจำนวนทหารสหรัฐฯน่าจะก่อให้เกิดผลกระทบด้านกลับขึ้นในมติมหาชนของอัฟกานิสถาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชนชาติปาชตุน (Pashtun) ซึ่งเป็นชนชาติที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศนี้ และก็เป็นกลุ่มที่ตอลิบานระดมหาพลพรรคใหม่ๆ มาเป็นนักรบของพวกเขา ในทัศนะของพวกหนุนหลังแนวทาง CT แล้ว ภารกิจทางทหารของสหรัฐฯในอัฟกานิสถานจึงควรมุ่งทุ่มเทให้แก่เรื่องการฝึกอบรม และการสร้างกองทัพแห่งชาติตลอดจนกองกำลังตำรวจของประเทศนี้
พวกที่ปรึกษาที่เป็นพลเรือนคนสำคัญๆ ของโอบามา เป็นต้นว่า ฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศ และ ริชาร์ด โฮลบรูก ผู้แทนพิเศษดูแลเรื่องอัฟกานิสถานและปากีสถาน เป็นที่เชื่อกันว่าค่อนข้างเอนเอียงไปในทางนิยมยุทธศาสตร์ COIN ขณะที่ รัฐมนตรีกลาโหม รอเบิร์ต เกตส์ ซึ่งนักวิเคราะห์จำนวนมากเชื่อว่าจะกลายเป็นเสียงที่ทรงอิทธิพลที่สุดในการอภิปรายถกเถียงเรื่องนี้นั้น เวลานี้ยังคงไม่ยอมแพร่งพรายให้อ่านกันออกเลยว่าเขามีความเห็นอย่างไรกันแน่ๆ
ในเวลาเดียวกัน ประธานเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาว ราห์ม เอมานูเอล อดีตส.ส.ผู้มีความอ่อนไหวเป็นพิเศษต่อความวิตกกังวลของพวกสมาชิกรัฐสภาพรรคเดโมแครตที่ว่า อัฟกานิสถานอาจจะกลายเป็นบ่อโคลนดูดแบบเดียวกับเวียดนาม ก็มีรายงานว่าเขากำลังโอนเอนไปสนับสนุนทัศนะของไบเดน เช่นเดียวกับ ธอมัส โดนิลอน รองที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ ผู้กำลังมีอิทธิพลต่อโอบามามากขึ้นเรื่อยๆ ส่วน พล.อ.จิม โจนส์ ผู้เป็นนายของโดนิลอนนั้น รายงานข่าวบอกว่าโดยส่วนใหญ่แล้วแสดงบทบาทเป็น "นายหน้าผู้รับฟังความเห็นของฝ่ายต่างๆ อย่างซื่อสัตย์"
สำหรับพวกพรรครีพับลิกัน นำโดยวุฒิสมาชิก จอห์น แมคเคน กำลังแสดงท่าทีหนุนหลังแมคคริสตัลอย่างแข็งขัน ส่วนคณะผู้นำพรรคเดโมแครตในรัฐสภา ยกเว้นบางผู้บางคนที่ถือเป็นข้างน้อยแล้ว พวกเขาส่วนใหญ่กำลังส่งเสียงแสดงความสงสัยข้องใจต่อยุทธศาสตร์ COIN ดังขึ้นทุกที
เสียงจากสาธารณชนที่คัดค้านยุทธศาสตร์ COIN ก็กำลังเพิ่มขึ้นเช่นกัน เมื่อปรากฏรายละเอียดมากขึ้นในเรื่องการทุจริตฉ้อโกงอย่างกว้างขวางที่กระทำไปเพื่อประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ ของอัฟกานิสถาน ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม คาร์ไซซึ่งรัฐบาลของเขาถูกมองว่ากำลังฉ้อฉลมากขึ้นทุกทีมาตั้งแต่ก่อนเลือกตั้งแล้ว เวลานี้ยิ่งถูกจับตาว่าเป็นหุ้นส่วนที่เชื่อถือไม่ได้ หากจะต้องดำเนินยุทธศาสตร์อันซับซ้อนรอบด้านชนิดที่พวกหนุนหลัง COIN เรียกร้องให้กระทำ
ในสภาพที่ทั้งรัฐสภาและพวกที่ปรึกษาของเขาเองมีความเห็นแตกแยกกันอย่างล้ำลึกถึงขนาดนี้ พวกนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จึงเชื่อว่า โอบามาคงจะพยายามหาทางรอมชอมยุทธศาสตร์ทั้ง 2 อย่างนี้ ด้วยการยอมรับส่วนประกอบต่างๆ จากทั้งสองด้าน
ทว่าทั้งพวกผู้สนับสนุน COIN และ CT กลับเห็นพ้องกันว่า วิธีการดังกล่าวจะนำไปสู่ปัญหาทางการเมืองอันร้ายแรง ไม่แตกต่างจากที่ประธานาธิบดีลินดอน จอห์นสัน เคยเผชิญระหว่างสงครามเวียดนาม
(เก็บความและตัดตอนจากเรื่อง Heads or tails, Obama loses โดย Jim Lobe แห่งสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (ไอพีเอส) เขายังทำบล็อกว่าด้วยนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ ซึ่งสามารถหาอ่านได้ที่ http://www.ips.org/blog/jimlobe/)
พวกผู้บังคับบัญชาทหารของเขา นำโดย พล.อ.สแตนลีย์ แมคคริสตัล ผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯและนาโต้ในอัฟกานิสถาน, พล.อ.เดวิด เพเทรอัส ผู้บัญชาการกองบัญชาการทหารเขตกลางของสหรัฐฯ (US Central Command) นั้น มีรายงานว่ากำลังเรียกร้องโอบามาให้เพิ่มจำนวนทหารที่ประจำการอยู่ในอัฟกานิสถาน จากระดับ 68,000 คนในเวลานี้ให้สูงขึ้นเป็นมากกว่า 100,000 คน โดยถือเป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์อันรอบด้านที่เรียกขานกันว่า ยุทธศาสตร์ "การต่อสู้เอาชนะการก่อความไม่สงบ" (counter-insurgency เรียกย่อๆ ว่า COIN))
นายทหารใหญ่เหล่านี้ตลอดจนผู้สนับสนุน กำลังหยิบยกเหตุผลต่างๆ ขึ้นมาถกเถียงอภิปรายตลอดหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า การที่พวกตอลิบานกำลังออกฤทธิ์ออกเดชเพิ่มขึ้นมาอีกในระยะหลังๆ มานี้ จะสามารถปราบปรามให้ปราชัยได้มีแต่ต้องเพิ่มทหารหน่วยสู้รบของสหรัฐฯเข้าไปเป็นจำนวนมาก บวกกับการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ใหม่ที่มุ่งเน้นเรื่องการรักษาความปลอดภัยของประชากร และการจัดหาบริการต่างๆ อันจำเป็นให้แก่ประชากร
ทว่าพวกที่ปรึกษาที่เป็นพลเรือนบางคนของโอบามา นำโดยรองประธานาธิบดีโจเซฟ ไบเดน กลับกำลังเรียกร้องให้ใช้ยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายต่ำลงมากว่านั้น และเรียกกันว่า "การต่อสู้เอาชนะการก่อการร้าย" (counter-terrorism ใช้ตัวย่อว่า CT) ซึ่งจะรักษากำลังทหารของสหรัฐฯเอาไว้ในระดับปัจจุบัน ขณะที่เพิ่มการโจมตีด้วยเครื่องบินไร้นักบินรุ่นเพรเดเตอร์ และเพิ่มการปฏิบัติการของพวกทหารหน่วยรบพิเศษที่มุ่งหมายหัวผู้นำตอลิบานคนสำคัญๆ ตลอดจนพวกอัลกออิดะห์ที่เป็นพันธมิตรของพวกเขา ทั้งในอัฟกานิสถาน และในประเทศเพื่อนบ้านอย่างปากีสถาน
พวกที่สนับสนุนยุทธศาสตร์ CT เสนอเหตุผลมาโต้แย้งว่า การเพิ่มจำนวนทหารสหรัฐฯน่าจะก่อให้เกิดผลกระทบด้านกลับขึ้นในมติมหาชนของอัฟกานิสถาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชนชาติปาชตุน (Pashtun) ซึ่งเป็นชนชาติที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศนี้ และก็เป็นกลุ่มที่ตอลิบานระดมหาพลพรรคใหม่ๆ มาเป็นนักรบของพวกเขา ในทัศนะของพวกหนุนหลังแนวทาง CT แล้ว ภารกิจทางทหารของสหรัฐฯในอัฟกานิสถานจึงควรมุ่งทุ่มเทให้แก่เรื่องการฝึกอบรม และการสร้างกองทัพแห่งชาติตลอดจนกองกำลังตำรวจของประเทศนี้
พวกที่ปรึกษาที่เป็นพลเรือนคนสำคัญๆ ของโอบามา เป็นต้นว่า ฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศ และ ริชาร์ด โฮลบรูก ผู้แทนพิเศษดูแลเรื่องอัฟกานิสถานและปากีสถาน เป็นที่เชื่อกันว่าค่อนข้างเอนเอียงไปในทางนิยมยุทธศาสตร์ COIN ขณะที่ รัฐมนตรีกลาโหม รอเบิร์ต เกตส์ ซึ่งนักวิเคราะห์จำนวนมากเชื่อว่าจะกลายเป็นเสียงที่ทรงอิทธิพลที่สุดในการอภิปรายถกเถียงเรื่องนี้นั้น เวลานี้ยังคงไม่ยอมแพร่งพรายให้อ่านกันออกเลยว่าเขามีความเห็นอย่างไรกันแน่ๆ
ในเวลาเดียวกัน ประธานเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาว ราห์ม เอมานูเอล อดีตส.ส.ผู้มีความอ่อนไหวเป็นพิเศษต่อความวิตกกังวลของพวกสมาชิกรัฐสภาพรรคเดโมแครตที่ว่า อัฟกานิสถานอาจจะกลายเป็นบ่อโคลนดูดแบบเดียวกับเวียดนาม ก็มีรายงานว่าเขากำลังโอนเอนไปสนับสนุนทัศนะของไบเดน เช่นเดียวกับ ธอมัส โดนิลอน รองที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ ผู้กำลังมีอิทธิพลต่อโอบามามากขึ้นเรื่อยๆ ส่วน พล.อ.จิม โจนส์ ผู้เป็นนายของโดนิลอนนั้น รายงานข่าวบอกว่าโดยส่วนใหญ่แล้วแสดงบทบาทเป็น "นายหน้าผู้รับฟังความเห็นของฝ่ายต่างๆ อย่างซื่อสัตย์"
สำหรับพวกพรรครีพับลิกัน นำโดยวุฒิสมาชิก จอห์น แมคเคน กำลังแสดงท่าทีหนุนหลังแมคคริสตัลอย่างแข็งขัน ส่วนคณะผู้นำพรรคเดโมแครตในรัฐสภา ยกเว้นบางผู้บางคนที่ถือเป็นข้างน้อยแล้ว พวกเขาส่วนใหญ่กำลังส่งเสียงแสดงความสงสัยข้องใจต่อยุทธศาสตร์ COIN ดังขึ้นทุกที
เสียงจากสาธารณชนที่คัดค้านยุทธศาสตร์ COIN ก็กำลังเพิ่มขึ้นเช่นกัน เมื่อปรากฏรายละเอียดมากขึ้นในเรื่องการทุจริตฉ้อโกงอย่างกว้างขวางที่กระทำไปเพื่อประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ ของอัฟกานิสถาน ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม คาร์ไซซึ่งรัฐบาลของเขาถูกมองว่ากำลังฉ้อฉลมากขึ้นทุกทีมาตั้งแต่ก่อนเลือกตั้งแล้ว เวลานี้ยิ่งถูกจับตาว่าเป็นหุ้นส่วนที่เชื่อถือไม่ได้ หากจะต้องดำเนินยุทธศาสตร์อันซับซ้อนรอบด้านชนิดที่พวกหนุนหลัง COIN เรียกร้องให้กระทำ
ในสภาพที่ทั้งรัฐสภาและพวกที่ปรึกษาของเขาเองมีความเห็นแตกแยกกันอย่างล้ำลึกถึงขนาดนี้ พวกนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จึงเชื่อว่า โอบามาคงจะพยายามหาทางรอมชอมยุทธศาสตร์ทั้ง 2 อย่างนี้ ด้วยการยอมรับส่วนประกอบต่างๆ จากทั้งสองด้าน
ทว่าทั้งพวกผู้สนับสนุน COIN และ CT กลับเห็นพ้องกันว่า วิธีการดังกล่าวจะนำไปสู่ปัญหาทางการเมืองอันร้ายแรง ไม่แตกต่างจากที่ประธานาธิบดีลินดอน จอห์นสัน เคยเผชิญระหว่างสงครามเวียดนาม
(เก็บความและตัดตอนจากเรื่อง Heads or tails, Obama loses โดย Jim Lobe แห่งสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (ไอพีเอส) เขายังทำบล็อกว่าด้วยนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ ซึ่งสามารถหาอ่านได้ที่ http://www.ips.org/blog/jimlobe/)