ASTVผู้จัดการรายวัน-เผยปมปัญหา ร.ฟ.ท. การบริหารล้มเหลว ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.ใช้ระบบพวกพ้อง เอื้อประโยชน์เฉพาะกลุ่ม สร้างความแตกแยกในองค์กร แต่งตั้งคนไม่มีคุณภาพ มือไม่ถึง ถูกสอบทุจริต ต้นเหตุทำองค์กรป่วยหนัก ชี้แก้ไม่ตรงจุดไร้หนทางเยียวยา แฉ เปลี่ยนประธานสอบรถไฟตกราง โยนผิดพนักงานฝ่ายเดียว ขณะที่ ผลประกอบการดิ่งเหว สตง.เมินรับรองงบมาหลายปีเหตุบิ๊กร.ฟ.ท.หมกเม็ดข้อมูลเช่าทรัพย์สิน ซุกตัวเลขผลประโยชน์ไม่ลงบัญชี
จากกรณีการเกิดอุบัติเหตุรถไฟขบวนที่ 84 ตรัง-กรุงเทพ ตกรางที่สถานีเขาเต่า ทำให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมาก เมื่อวันที่ 5 ต.ค.ที่ผ่านมานั้น แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า สาเหตุสำคัญเนื่องจาก ร.ฟ.ท.มีปัญหาสะสมมานานและไม่ได้รับการแก้ไข และมีข้อน่าสังเกตกรณีรถไฟตกรางที่เขาเต่าในเรื่องการสอบสวน เพราะโดยปกติ ร.ฟ.ท.จะมีคณะกรรมการเหตุอันตรายกลางมีหน้าที่ในการสอบสวนกรณีรถไฟเกิดอุบัติเหตุอยู่แล้ว มีผู้ช่วยผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการเดินรถและโยธา เป็นประธาน แต่นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ระบุว่าจะตั้งคณะกรรมการสอบสวนฯขึ้นและได้มีการเปลี่ยนประธานคณะกรรมการสอบสวนใหม่ เป็นคนที่มีประสบการด้านทรัพย์สินมาสอบสวนแทน ถือเป็นเรื่องไม่ปกติ เพราะคณะกรรมการมีอยู่แล้ว ไม่ต้องตั้งขึ้นใหม่ทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ
“หลังจากเกิดเหตุเพียง 1 วัน ผู้ว่าฯร.ฟ.ท. ระบุว่ารถไฟตกรางเพราะพนักงานขับรถหลับในโดยไม่รอผลการสอบสวนที่กำหนดใช้เวลา 5 วันเป็นการชี้นำการสอบสวนและคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นใหม่หรือไม่ และโยนความผิดให้พนักงานเพียงฝ่ายเดียวหรือไม่ ทั้งที่อุบัติเหตุครั้งนี้มีข้อสังเกตในเรื่องอุปกรณ์ประจำรถที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยไม่ทำงาน (Deadman Device)และเป็นอุบัติเหตุที่ร้ายแรงมากที่สุดที่เคยเกิดขึ้นของร.ฟ.ท. แต่ผู้บริหารกลับไม่พูดถึงความรับผิดชอบของตัวเองเลย”แหล่งข่าวกล่าว
ชี้บิ๊กร.ฟ.ท.แบ่งพรรคแบ่งพวก ทำองค์กรแตกแยก
แหล่งข่าวกล่าวว่า ปัญหาร.ฟ.ท.ที่ต้องเร่งเยียวยาขณะนี้เป็นเรื่องความแตกแยกภายในองค์กร ที่ยิ่งมากขึ้นนับจากนายยุทธนา ได้เข้ามาเป็นผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. เช่น มีการแต่งตั้งโยกย้ายที่เน้นระบบพรรคพวกมากกว่าความสามารถ ทำให้โครงสร้างด้านบุคลากรบูดเบี้ยว ซึ่งก่อนหน้านี้ร.ฟ.ท.เคยกำหนดเกณฑ์ในการแต่งตั้งตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการฝ่ายขึ้นไปว่าต้องผ่านการสรรหาภายในเพื่อให้มีการแสดงวิสัยทัศน์ในการทำงานก่อน แต่ในยุคนี้ไม่นำมาใช้ ทำให้ร.ฟ.ท.อาจจะเป็นองค์กรเดียวที่มีผู้บริหารระดับผู้อำนวยการฝ่ายที่มีระดับการศึกษาเทียบเท่า ม.6 เท่านั้น
นอกจากนี้ยังมีการรับบุคคลที่เคยถูก คตส. สอบสวนทุจริตโครงการแอร์พอร์ตลิ้งค์ และออกจากร.ฟ.ท.ไปแล้วกลับมาทำงานใหม่ในระดับผู้บริหาร แต่งตั้งบุคคลที่ถูกสอบสวนทางวินัย กรณีทุจริตตลาดซันเดย์ ขึ้นเป็นระดับผู้อำนวยการ ทั้งที่ตามปกติ บุคคลที่อยู่ระหว่างการสอบสวนวินัย ไม่ควรได้รับการแต่งตั้งจนกว่าผลการสอบสวนจะสรุปและนายยุทธนาก็เป็นหนึ่งในผู้ถูกสอบทุจริตแอร์พอร์ตลิ้งค์และยังทุจริตตลาดซันเดย์ แต่ไม่มีการดำเนินการใดๆ
แหล่งข่าวกล่าวว่า การแต่งตั้งโยกย้าย ที่เกิดขึ้นในยุคที่มีนายยุทธนา เป็นผู้ว่าฯ ทำให้ร.ฟ.ท.มีโครงสร้างที่บูดเบี้ยว เพราะมีการตั้งบุคคลที่ไม่มีความสามารถ หรือคุณภาพต่ำกว่างานที่ต้องทำ มีการตั้งในฝ่ายสำนักงานมากเกินความจำเป็นแต่ไม่มีเนื้องานรองรับ ในขณะที่ฝ่ายปฎิบัติการที่มีความจำเป็นไม่เพียงพอ กับงานที่ต้องทำ ร.ฟ.ท.มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรที่สูงขึ้นแต่เป็นการจ่ายด้านบุคลากรที่ไม่ได้เป็นกลุ่มที่สร้างรายได้ให้องค์กร
สตง.ไม่รับรองงบ 7 ปีเหตุซุกค่าเช่าทรัพย์สิน
แหล่งข่าวกล่าวว่า ร.ฟ.ท.ประสบกับปัญหาขาดทุนมาโดยตลอด โดยปี 2551 ขาดทุนสุทธิถึง 10,201 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2550 ที่ขาดทุนสุทธิ 7,864 ล้านบาท ในขณะที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ไม่รับรองงบทางการเงินของร.ฟ.ท.มาหลายปีแล้ว สาเหตุหนึ่งเพราะมีข้อมูลตัวเลขหลายเรื่องที่ไม่สามารถชี้แจงได้ โดยเฉพาะตัวเลขด้านทรัพย์สิน ที่สตง.ต้องการรายละเอียดกรณีการค้างชำระการให้เช่าพื้นที่ในสถานีหลัก ทำให้ตัวเลขทางบัญชีไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
สตง.ระบุว่า ร.ฟ.ท.ไม่ได้แยกมูลค่าที่ดินในส่วนที่ใช้ในการหาผลประโยชน์ และผังการใช้ประโยชน์จากที่ดินที่มีอยู่ไม่เป็นปัจจุบัน ทำให้ร.ฟ.ท.ไม่สามารถประมาณการรายได้จากการบริหารสินทรัพย์ในส่วนที่นำไปหาประโยชน์ได้ ด้านการซ่อมบำรุงมีการ Outsource งานซ่อมหัวรถจักร ให้เอกชน 3-4 เข้ามาดำเนินงาน ในราคาที่สูงผ่านระบบการจัดคิวแบ่งสรรผลประโยชน์จากผู้ที่มีอำนาจในร.ฟ.ท. ฯลฯ
แหล่งข่าวกล่าวว่า การทุจริตคอร์รัปชั่นภายในร.ฟ.ท.ยังมีอยู่และยิ่งมากขึ้นเพราะขณะนี้ไม่มีฝ่ายตรวจสอบซึ่งเกิดจากการรวบอำนาจของผู้บริหารแบบเบ็ดเสร็จ การที่กระทรวงคมนาคมแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น 4 ชุดเพื่อแก้ปัญหาด้านกฎหมาย โครงสร้างพื้นฐาน บุคลากร และทรัพย์สิน ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะแก้ปัญหา เพราะร.ฟ.ท.ถูกปล่อยปะละเลยมานานและการแก้ปัญหาแต่ละเรื่องต้องใช้เวลา เช่นการฝึกคนขับรถ ต้อง 3 ปี แก้กฎหมายก็เป็นปี
จากกรณีการเกิดอุบัติเหตุรถไฟขบวนที่ 84 ตรัง-กรุงเทพ ตกรางที่สถานีเขาเต่า ทำให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมาก เมื่อวันที่ 5 ต.ค.ที่ผ่านมานั้น แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า สาเหตุสำคัญเนื่องจาก ร.ฟ.ท.มีปัญหาสะสมมานานและไม่ได้รับการแก้ไข และมีข้อน่าสังเกตกรณีรถไฟตกรางที่เขาเต่าในเรื่องการสอบสวน เพราะโดยปกติ ร.ฟ.ท.จะมีคณะกรรมการเหตุอันตรายกลางมีหน้าที่ในการสอบสวนกรณีรถไฟเกิดอุบัติเหตุอยู่แล้ว มีผู้ช่วยผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการเดินรถและโยธา เป็นประธาน แต่นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ระบุว่าจะตั้งคณะกรรมการสอบสวนฯขึ้นและได้มีการเปลี่ยนประธานคณะกรรมการสอบสวนใหม่ เป็นคนที่มีประสบการด้านทรัพย์สินมาสอบสวนแทน ถือเป็นเรื่องไม่ปกติ เพราะคณะกรรมการมีอยู่แล้ว ไม่ต้องตั้งขึ้นใหม่ทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ
“หลังจากเกิดเหตุเพียง 1 วัน ผู้ว่าฯร.ฟ.ท. ระบุว่ารถไฟตกรางเพราะพนักงานขับรถหลับในโดยไม่รอผลการสอบสวนที่กำหนดใช้เวลา 5 วันเป็นการชี้นำการสอบสวนและคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นใหม่หรือไม่ และโยนความผิดให้พนักงานเพียงฝ่ายเดียวหรือไม่ ทั้งที่อุบัติเหตุครั้งนี้มีข้อสังเกตในเรื่องอุปกรณ์ประจำรถที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยไม่ทำงาน (Deadman Device)และเป็นอุบัติเหตุที่ร้ายแรงมากที่สุดที่เคยเกิดขึ้นของร.ฟ.ท. แต่ผู้บริหารกลับไม่พูดถึงความรับผิดชอบของตัวเองเลย”แหล่งข่าวกล่าว
ชี้บิ๊กร.ฟ.ท.แบ่งพรรคแบ่งพวก ทำองค์กรแตกแยก
แหล่งข่าวกล่าวว่า ปัญหาร.ฟ.ท.ที่ต้องเร่งเยียวยาขณะนี้เป็นเรื่องความแตกแยกภายในองค์กร ที่ยิ่งมากขึ้นนับจากนายยุทธนา ได้เข้ามาเป็นผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. เช่น มีการแต่งตั้งโยกย้ายที่เน้นระบบพรรคพวกมากกว่าความสามารถ ทำให้โครงสร้างด้านบุคลากรบูดเบี้ยว ซึ่งก่อนหน้านี้ร.ฟ.ท.เคยกำหนดเกณฑ์ในการแต่งตั้งตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการฝ่ายขึ้นไปว่าต้องผ่านการสรรหาภายในเพื่อให้มีการแสดงวิสัยทัศน์ในการทำงานก่อน แต่ในยุคนี้ไม่นำมาใช้ ทำให้ร.ฟ.ท.อาจจะเป็นองค์กรเดียวที่มีผู้บริหารระดับผู้อำนวยการฝ่ายที่มีระดับการศึกษาเทียบเท่า ม.6 เท่านั้น
นอกจากนี้ยังมีการรับบุคคลที่เคยถูก คตส. สอบสวนทุจริตโครงการแอร์พอร์ตลิ้งค์ และออกจากร.ฟ.ท.ไปแล้วกลับมาทำงานใหม่ในระดับผู้บริหาร แต่งตั้งบุคคลที่ถูกสอบสวนทางวินัย กรณีทุจริตตลาดซันเดย์ ขึ้นเป็นระดับผู้อำนวยการ ทั้งที่ตามปกติ บุคคลที่อยู่ระหว่างการสอบสวนวินัย ไม่ควรได้รับการแต่งตั้งจนกว่าผลการสอบสวนจะสรุปและนายยุทธนาก็เป็นหนึ่งในผู้ถูกสอบทุจริตแอร์พอร์ตลิ้งค์และยังทุจริตตลาดซันเดย์ แต่ไม่มีการดำเนินการใดๆ
แหล่งข่าวกล่าวว่า การแต่งตั้งโยกย้าย ที่เกิดขึ้นในยุคที่มีนายยุทธนา เป็นผู้ว่าฯ ทำให้ร.ฟ.ท.มีโครงสร้างที่บูดเบี้ยว เพราะมีการตั้งบุคคลที่ไม่มีความสามารถ หรือคุณภาพต่ำกว่างานที่ต้องทำ มีการตั้งในฝ่ายสำนักงานมากเกินความจำเป็นแต่ไม่มีเนื้องานรองรับ ในขณะที่ฝ่ายปฎิบัติการที่มีความจำเป็นไม่เพียงพอ กับงานที่ต้องทำ ร.ฟ.ท.มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรที่สูงขึ้นแต่เป็นการจ่ายด้านบุคลากรที่ไม่ได้เป็นกลุ่มที่สร้างรายได้ให้องค์กร
สตง.ไม่รับรองงบ 7 ปีเหตุซุกค่าเช่าทรัพย์สิน
แหล่งข่าวกล่าวว่า ร.ฟ.ท.ประสบกับปัญหาขาดทุนมาโดยตลอด โดยปี 2551 ขาดทุนสุทธิถึง 10,201 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2550 ที่ขาดทุนสุทธิ 7,864 ล้านบาท ในขณะที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ไม่รับรองงบทางการเงินของร.ฟ.ท.มาหลายปีแล้ว สาเหตุหนึ่งเพราะมีข้อมูลตัวเลขหลายเรื่องที่ไม่สามารถชี้แจงได้ โดยเฉพาะตัวเลขด้านทรัพย์สิน ที่สตง.ต้องการรายละเอียดกรณีการค้างชำระการให้เช่าพื้นที่ในสถานีหลัก ทำให้ตัวเลขทางบัญชีไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
สตง.ระบุว่า ร.ฟ.ท.ไม่ได้แยกมูลค่าที่ดินในส่วนที่ใช้ในการหาผลประโยชน์ และผังการใช้ประโยชน์จากที่ดินที่มีอยู่ไม่เป็นปัจจุบัน ทำให้ร.ฟ.ท.ไม่สามารถประมาณการรายได้จากการบริหารสินทรัพย์ในส่วนที่นำไปหาประโยชน์ได้ ด้านการซ่อมบำรุงมีการ Outsource งานซ่อมหัวรถจักร ให้เอกชน 3-4 เข้ามาดำเนินงาน ในราคาที่สูงผ่านระบบการจัดคิวแบ่งสรรผลประโยชน์จากผู้ที่มีอำนาจในร.ฟ.ท. ฯลฯ
แหล่งข่าวกล่าวว่า การทุจริตคอร์รัปชั่นภายในร.ฟ.ท.ยังมีอยู่และยิ่งมากขึ้นเพราะขณะนี้ไม่มีฝ่ายตรวจสอบซึ่งเกิดจากการรวบอำนาจของผู้บริหารแบบเบ็ดเสร็จ การที่กระทรวงคมนาคมแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น 4 ชุดเพื่อแก้ปัญหาด้านกฎหมาย โครงสร้างพื้นฐาน บุคลากร และทรัพย์สิน ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะแก้ปัญหา เพราะร.ฟ.ท.ถูกปล่อยปะละเลยมานานและการแก้ปัญหาแต่ละเรื่องต้องใช้เวลา เช่นการฝึกคนขับรถ ต้อง 3 ปี แก้กฎหมายก็เป็นปี