นายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง แถลงสรุปการสอบสวนสาเหตุรถไฟตกรางที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จากการสอบสวน พนักงานขับรถยอมรับว่า มีโรคประจำตัว คือโรคความดัน ในวันเกิดเหตุได้กินยาแก้แพ้ และยาลดไข้ แต่ไม่ได้ดื่มสุรา จึงมีอาการง่วงซึมและวูบ ขณะผ่านสถานีวังพง แต่ยอมรับว่าในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา หยุดงานเพียง 1 วัน
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการสรุปว่า พนักงานขับรถไฟมีความผิด เพราะมีการนำขบวนรถฝ่าอาณัติสัญญาณที่ให้หยุดรอรับใบเปลี่ยนหลีกทางที่สถานีวังพง จนเกิดอุบัติเหตุ จึงลงโทษไล่ นายเริงศักดิ์ พันธ์เทพ พนักงานขับรถไฟขบวนดังกล่าวออกจากงาน สำหรับช่างเครื่อง มีความผิดไม่ช่วยพนักงานขับรถปฏิบัติตามกฎการเดินรถ มีโทษปรับลดเงินเดือน 15 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 10 เดือน ส่วนพนักงานรักษาขบวนรถ มีความผิดไม่ปฏิบัติตามระเบียบการหลีกขบวนรถ มีโทษปรับเงินเดือน 15 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 10 เดือนเช่นกัน
สำหรับการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ภายในขบวนรถพบว่า อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ เนื่องจากเป็นขบวนรถใหม่ วิ่งเส้นทางระหว่างประเทศมาแล้ว และผ่านการตรวจสภาพ มีการซ่อมใหญ่ไปเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ดังนั้นผู้บริหารการรถไฟฯ จึงไม่มีความผิดกรณีนี้
ด้านสหภาพการรถไฟฯ จะยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ปลด นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟฯ เนื่องจากเห็นว่า การบริหารที่ผ่านมาล้มเหลว ทั้งเรื่องการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น การทุจริตที่ดินการรถไฟฯ รวมทั้งกรณีรถไฟตกรางที่ อ.หัวหิน โดยมองว่าผลการสอบสวนเป็นการโยนความผิดให้กับพนักงาน ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วอุปกรณ์ขบวนรถดังกล่าวชำรุดเสียหายหลายจุด ทั้งระบบควบคุมความเร็วเตือนที่ไม่ให้รถวิ่งเกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระบบห้ามล้ออัตโนมัติไม่ทำงาน โดยจะรอฟังคำตอบภายใน 7 วัน
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการสรุปว่า พนักงานขับรถไฟมีความผิด เพราะมีการนำขบวนรถฝ่าอาณัติสัญญาณที่ให้หยุดรอรับใบเปลี่ยนหลีกทางที่สถานีวังพง จนเกิดอุบัติเหตุ จึงลงโทษไล่ นายเริงศักดิ์ พันธ์เทพ พนักงานขับรถไฟขบวนดังกล่าวออกจากงาน สำหรับช่างเครื่อง มีความผิดไม่ช่วยพนักงานขับรถปฏิบัติตามกฎการเดินรถ มีโทษปรับลดเงินเดือน 15 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 10 เดือน ส่วนพนักงานรักษาขบวนรถ มีความผิดไม่ปฏิบัติตามระเบียบการหลีกขบวนรถ มีโทษปรับเงินเดือน 15 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 10 เดือนเช่นกัน
สำหรับการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ภายในขบวนรถพบว่า อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ เนื่องจากเป็นขบวนรถใหม่ วิ่งเส้นทางระหว่างประเทศมาแล้ว และผ่านการตรวจสภาพ มีการซ่อมใหญ่ไปเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ดังนั้นผู้บริหารการรถไฟฯ จึงไม่มีความผิดกรณีนี้
ด้านสหภาพการรถไฟฯ จะยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ปลด นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟฯ เนื่องจากเห็นว่า การบริหารที่ผ่านมาล้มเหลว ทั้งเรื่องการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น การทุจริตที่ดินการรถไฟฯ รวมทั้งกรณีรถไฟตกรางที่ อ.หัวหิน โดยมองว่าผลการสอบสวนเป็นการโยนความผิดให้กับพนักงาน ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วอุปกรณ์ขบวนรถดังกล่าวชำรุดเสียหายหลายจุด ทั้งระบบควบคุมความเร็วเตือนที่ไม่ให้รถวิ่งเกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระบบห้ามล้ออัตโนมัติไม่ทำงาน โดยจะรอฟังคำตอบภายใน 7 วัน