ASTVผู้จัดการรายวัน-ร.ฟ.ท.ประเมินค่าเสียหายรถไฟตกรางที่เขาเต่า มูลค่า 129 ล้านบาททั้งตัวรถและรางและรายได้จากการเดินรถ เผยสาเหตุชัด คนขับประมาท ไม่หยุดรอจึงพุ่งเข้าสถานีจนตกราง “ยุทธนา”ยัน หากพนักงานผิดมีโทษถึงไล่ออก พ่วงคดีอาญา “โสภณ”พูดชัดไม่ปลดผู้ว่า ได้ทีขอแก้มติครม. เพิ่มจำนวนคน คปภ.แจงร.ฟ.ท. ไม่มีประกันภัย เหตุมั่นใจเกินไปว่าไม่มีอุบัติเหตุ “มาร์ค”สั่งกำชับชดเชยผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเต็มที่
นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟท.) เปิดเผยถึงอุบัติเหตุรถไฟขบวนรถด่วนกันตัง-กรุงเทพฯ ซึ่งวิ่งจากจ.ตรัง มุ่งหน้าเข้ากรุงเทพฯ ได้ประสบอุบัติเหตุตกรางบริเวณสถานีเขาเต่า อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ว่า มีมูลค่าความเสียหายรวมประมาณ 129 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าความเสียหายจากขบวนรถไฟ 14 ตู้ ซึ่งเสียหายอย่างหนัก 7 ตู้ มูลค่า 120 ล้านบาท และค่าความเสียหายจากการเดินรถ ที่ต้องหยุดการเดินรถให้บริการในเส้นทางภาคใต้จำนวน 28 ขบวน มูลค่า 5 ล้านบาท ผู้โดยสารคืนบัตรโดยสารมูลค่า 2 ล้านบาท รายได้จากค่าขนสัมภาระ 1 ล้านบาท และการหยุดเดินขบวนรถขนส่งสินค้าอีก 5 ขบวน มูลค่า 1 ล้านบาท
สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ จากการพิจารณาเบื้องต้นของร.ฟ.ท.พบว่า เกิดจากความประมาทของพนักงานขับรถ เนื่องจากขบวนรถคันดังกล่าวจะต้องหยุดจอดเพื่อรอรับใบเปลี่ยนหลีกที่สถานีวังพง ซึ่งเป็นสถานีก่อนที่จะถึงสถานีเขาเต่าระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร ซึ่งใบเปลี่ยนหลีกเป็นหนังสือแจ้งให้พนักงานขับรถทราบว่ามีขบวนรถไฟอีกขบวนหนึ่งกำลังรอหลีกอยู่ที่สถานีหน้า แต่ขบวนรถคันดังกล่าวไม่หยุดรอ โดยฝ่าสัญญาณไฟ และวิ่งด้วยความเร็วจนถึงสถานีเขาเต่า ซึ่งในจุดดังกล่าวเจ้าหน้าที่ได้ทำการเตรียมรางรอหลีกรถขนส่งสินค้าอีกคันที่จอดรอดอยู่ แต่เมื่อรถขบวนดังกล่าวได้วิ่งเข้ามายังจุดเกิดเหตุ และเกิดพลิกตกรางขึ้น ทำให้เกิดความเสียหาย
“ขั้นตอนต่อไป ร.ฟ.ท.จะทำการสอบสวนหาสาเหตุให้แน่ชัดอีกครั้ง ก่อนสรุปผลส่งให้กระทรวงคมนาคม แต่ขณะนี้การสอบสวนผู้ที่เกี่ยวข้องนั้นยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากช่างเครื่องประจำรถ ได้รับบาดเจ็บสาหัส หากผลสอบสวนออกมาว่าพนักงานมีความผิดจริง ร.ฟ.ท.จะดำเนินการในขั้นเด็ดขาด คือไล่ออก และต้องโทษคดีอาญาด้วย เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวมีคามสูญเสียต่อชีวิต และทรัพย์สิน”นายยุทธนากล่าว
ทั้งนี้ ร.ฟ.ท. ขอแสดงความเสียใจต่อผู้ที่เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และผู้ที่เสียหายต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งรับดูแลเรื่องของค่าชดเชยทั้งหมด โดยผู้ที่เสียชีวิตจะชดเชยให้เบื้องต้นก่อนรายละ 80,000 บาท ส่วนผู้ที่บาดเจ็บจะชดเชยให้ตามความเหมาะสม
นายยุทธนากล่าวว่า มาตรการแก้ไขปัญหาได้แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ ระยะสั้นประกอบด้วย จะเสนอให้แก้มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 ก.ค.2541 ที่กำหนดให้ร.ฟ.ท.รับพนักงานเพิ่มได้เพียงร้อยละ 5 ของอัตราพนักงานที่เกษียณอายุในปีนั้น และจัดอบรมให้พนักงานที่เกี่ยวข้องกับการเดินรถทั้งหมดเข้าอบรม เข้มงวดเรื่องกฎระเบียบ พร้อมทั้งตั้งคณะกรรมการตั้งคณะกรรมการฝ่ายช่าง ฝ่ายเดินรถ ตรวจสอบสาเหตุที่เกิดขึ้นในแล้วเสร็จภายใน 5 วัน
“จะเสนอให้ครม.พิจารณาบรรจุนักเรียนวิศวกรรมการรถไฟ 111 คน ทำงานที่การรถไฟฯ ในด้านช่างเครื่อง จากนั้นจะได้มีการฝึกอบรมเพื่อให้เป็นพนักงานขับรถ ซึ่งภายในกลางเดือนต.ค.นี้ จะเสนอที่ประชุมคณะกรรมการร.ฟ.ท.พิจารณาก่อนนำเสนอครม.อีกครั้ง” นายยุทธนากล่าว
ส่วนระยะยาวนั้น จะเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบรางและระบบล้อเลื่อนให้แข็งแรง เพราะจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า ปัจจุบันอุปกรณ์ดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการใช้งานได้เพียง 50% เท่านั้น โดยจะใช้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 ซึ่งร.ฟ.ท.ได้รับมา 800 ล้านบาท แบ่งเป็นในปีแรก 400 ล้านบาทจะเริ่มดำเนินการในเส้นทางภาคเหนือก่อน จากนั้นปีที่ 2 อีก 400 ล้านบาทจะเน้นเส้นทางภาคใต้ และบริหารจัดการบุคลากรให้มีมาตรฐานและประสิทธิภาพ ซึ่งยอมรับว่าบุคลากรของร.ฟ.ท.เป็นคนเก่ามีประสิทธิไม่เต็ม100% รวมทั้งต้องสร้างเรื่องจิตสำนึกของความปลอดภัย และความรักองค์กร
นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุมครม. วานนี้ (6 ต.ค.) ได้กำชับให้กระทรวงคมนาคม ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลร.ฟ.ท. พิจารณาถึงมาตรการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นอีกในอนาคต ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้น ร.ฟ.ท.จะต้องแบกรับภาระไปก่อน รัฐบาลจะช่วยเมื่อมีการปรับปรุงองค์กรแล้ว
ส่วนการหารือกับนายยุทธนานั้น ได้กำชับและให้นโยบายร.ฟ.ท. ให้เร่งรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความบกพร่องทั้งในส่วนของระบบว่ามีส่วนใดบ้างที่ต้องการการแก้ไขปรับปรุง และบุคลากรที่ต้องกลับไปรวบรวมข้อมูลชั่วโมงการทำงานของพนักงานว่า เกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ แล้วให้ส่งข้อมูลเสนอมายังกระทรวงฯ เพื่อพิจารณาภายในวันพรุ่งนี้ (7 ต.ค.) ก่อนที่จะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมครม.เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาร่วมกันอีกครั้ง
“เรื่องปลดผู้ว่าร.ฟ.ท. ยังไม่มีสิ่งใดชี้ชัดว่าเป็นความผิดชอบผู้ว่าการฯ จึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปลดออกจากตำแหน่ง แต่ได้ให้แนวทางไปว่าจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจะต้องมีการสอบหาคนรับผิดชอบ โดยได้มีการคาดโทษผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับตั้งแต่รัฐบาลไปจนถึงเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการว่าหากมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้จะต้องรับผิดชอบ”นายโสภณกล่าว
สำหรับการแก้ไขปัญหาในระยะยาว จะต้องทบทวนมติ ครม.ปี 2541 ที่มีการระบุว่าให้ รฟท. สามารถบรรจุพนักงานเข้าแทนที่พนักงานที่ลาออกหรือเกษียณอายุการทำงานได้เพียงร้อยละ 5 ซึ่งจากมติดังกล่าวส่งผลให้ รฟท. ประสบปัญหาการขาดแคลนพนักงาน ทั้งในส่วนของพนักงานขับรถ และพนักงานฝ่ายช่าง ที่ขณะนี้มีความต้องการพนักงานทั้ง 2 ฝ่าย ฝ่ายละ 1,300 คน แต่ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีพนักงานฝ่ายละ 1,000 คนเท่านั้น ทำให้พนักงาน มีชั่วโมงการทำงานหนักเกินกว่ารัฐวิสาหกิจอื่น ซึ่งแนวทางที่ ร.ฟ.ท.เสนอขอเพิ่มบุคลากร 171 คน จากนักเรียนวิศวกรรมการรถไฟที่จบการศึกษาแล้ว ก็เป็นสิ่งที่ต้องเร่งพิจารณา รวมไปถึงการให้ ร.ฟ.ท.ทำประกันภัยบุคคลที่ 3 ก็ไม่ขัดข้อง
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม รักษาการปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะกรรมการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า สำหรับงานดูแลสภาพรางและปรับปรุงรางรถไฟนั้น ร.ฟ.ท.จะมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสภาพรางรถไฟอยู่เป็นประจำทุกวัน โดยใช้รถตรวจการขนาดเล็กตรวจสอบ และหากพบว่าบริเวณใดที่ชำรุด จะประสานงานไปยังเจ้าหน้าที่ฝ่ายซ่อมบำรุง เข้ามาดำเนินการ เช่น การเปลี่ยนไม้หมอนรางรถไฟใหม่ เสริมบริเวณรางหิน เพื่อให้บริเวณดังกล่าวอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า คปภ.ได้ตรวจสอบไปยังร.ฟ.ท. แล้ว พบว่า รถไฟขบวนดังกล่าว ไม่ได้ทำประกันภัยกับบริษัทใดๆ ทั้งสิ้น แม้ว่าก่อนหน้านี้ บริษัท วิริยะประกันภัยได้เสนอรายละเอียดเกี่ยวกับประกันอุบัติเหตุต่างๆ ไปแล้ว แต่ทางร.ฟ.ท.เห็นว่าการเดินทางด้วยรถไฟมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ จึงไม่ได้ทำประกันภัยไว้
อย่างไรก็ตาม แม้ไม่ได้ทำประกัน ในส่วนของ คปภ.อยู่ระหว่างตรวจข้อมูลจากฐานระบบไปยังผู้ที่เสียชีวิตทั้ง 7 ราย และผู้ประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บว่ามีการทำประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ หรือประกันการเดินทางกับบริษัทประกันใดบ้าง เพื่อจะได้ประสานไปยังบริษัทประกันภัยเรียกค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ ทั้งนี้ หากผู้ได้รับบาดเจ็บและญาติผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุครั้งนี้ มีข้อมูลสามารถติดต่อสายด่วนประกันภัย 1186 เพื่อ คปภ.จะได้เร่งรัดดำเนินการต่อไป
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ในการประชุมครม. นายโสภณได้ขอเวลา 5 วันในการให้กระทรวงคมนาคมสอบสวนข้อเท็จจริงว่ารถไฟตกรางเป็นที่คนหรืออุปกรณ์ และนายโสภณยังได้ยืนยันว่าแม้เกิดเหตุการณ์นี้ก็จะไม่มีการแปรรูปร.ฟ.ท. และไม่มีการปลดผู้ว่าการฯ ดังที่เป็นข่าว
ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความห่วงใยกับประชาชนที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ โดยนายกฯ ได้สั่งให้หามาตรการช่วยเหลือเหยื่อโดยยึดหลักมนุษยธรรม ให้มากที่สุดโดยไม่มีตัวเลขเป็นกรอบ เพราะ 8 หมื่นบาทที่ช่วยถือว่าน้อยมาก
นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟท.) เปิดเผยถึงอุบัติเหตุรถไฟขบวนรถด่วนกันตัง-กรุงเทพฯ ซึ่งวิ่งจากจ.ตรัง มุ่งหน้าเข้ากรุงเทพฯ ได้ประสบอุบัติเหตุตกรางบริเวณสถานีเขาเต่า อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ว่า มีมูลค่าความเสียหายรวมประมาณ 129 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าความเสียหายจากขบวนรถไฟ 14 ตู้ ซึ่งเสียหายอย่างหนัก 7 ตู้ มูลค่า 120 ล้านบาท และค่าความเสียหายจากการเดินรถ ที่ต้องหยุดการเดินรถให้บริการในเส้นทางภาคใต้จำนวน 28 ขบวน มูลค่า 5 ล้านบาท ผู้โดยสารคืนบัตรโดยสารมูลค่า 2 ล้านบาท รายได้จากค่าขนสัมภาระ 1 ล้านบาท และการหยุดเดินขบวนรถขนส่งสินค้าอีก 5 ขบวน มูลค่า 1 ล้านบาท
สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ จากการพิจารณาเบื้องต้นของร.ฟ.ท.พบว่า เกิดจากความประมาทของพนักงานขับรถ เนื่องจากขบวนรถคันดังกล่าวจะต้องหยุดจอดเพื่อรอรับใบเปลี่ยนหลีกที่สถานีวังพง ซึ่งเป็นสถานีก่อนที่จะถึงสถานีเขาเต่าระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร ซึ่งใบเปลี่ยนหลีกเป็นหนังสือแจ้งให้พนักงานขับรถทราบว่ามีขบวนรถไฟอีกขบวนหนึ่งกำลังรอหลีกอยู่ที่สถานีหน้า แต่ขบวนรถคันดังกล่าวไม่หยุดรอ โดยฝ่าสัญญาณไฟ และวิ่งด้วยความเร็วจนถึงสถานีเขาเต่า ซึ่งในจุดดังกล่าวเจ้าหน้าที่ได้ทำการเตรียมรางรอหลีกรถขนส่งสินค้าอีกคันที่จอดรอดอยู่ แต่เมื่อรถขบวนดังกล่าวได้วิ่งเข้ามายังจุดเกิดเหตุ และเกิดพลิกตกรางขึ้น ทำให้เกิดความเสียหาย
“ขั้นตอนต่อไป ร.ฟ.ท.จะทำการสอบสวนหาสาเหตุให้แน่ชัดอีกครั้ง ก่อนสรุปผลส่งให้กระทรวงคมนาคม แต่ขณะนี้การสอบสวนผู้ที่เกี่ยวข้องนั้นยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากช่างเครื่องประจำรถ ได้รับบาดเจ็บสาหัส หากผลสอบสวนออกมาว่าพนักงานมีความผิดจริง ร.ฟ.ท.จะดำเนินการในขั้นเด็ดขาด คือไล่ออก และต้องโทษคดีอาญาด้วย เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวมีคามสูญเสียต่อชีวิต และทรัพย์สิน”นายยุทธนากล่าว
ทั้งนี้ ร.ฟ.ท. ขอแสดงความเสียใจต่อผู้ที่เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และผู้ที่เสียหายต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งรับดูแลเรื่องของค่าชดเชยทั้งหมด โดยผู้ที่เสียชีวิตจะชดเชยให้เบื้องต้นก่อนรายละ 80,000 บาท ส่วนผู้ที่บาดเจ็บจะชดเชยให้ตามความเหมาะสม
นายยุทธนากล่าวว่า มาตรการแก้ไขปัญหาได้แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ ระยะสั้นประกอบด้วย จะเสนอให้แก้มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 ก.ค.2541 ที่กำหนดให้ร.ฟ.ท.รับพนักงานเพิ่มได้เพียงร้อยละ 5 ของอัตราพนักงานที่เกษียณอายุในปีนั้น และจัดอบรมให้พนักงานที่เกี่ยวข้องกับการเดินรถทั้งหมดเข้าอบรม เข้มงวดเรื่องกฎระเบียบ พร้อมทั้งตั้งคณะกรรมการตั้งคณะกรรมการฝ่ายช่าง ฝ่ายเดินรถ ตรวจสอบสาเหตุที่เกิดขึ้นในแล้วเสร็จภายใน 5 วัน
“จะเสนอให้ครม.พิจารณาบรรจุนักเรียนวิศวกรรมการรถไฟ 111 คน ทำงานที่การรถไฟฯ ในด้านช่างเครื่อง จากนั้นจะได้มีการฝึกอบรมเพื่อให้เป็นพนักงานขับรถ ซึ่งภายในกลางเดือนต.ค.นี้ จะเสนอที่ประชุมคณะกรรมการร.ฟ.ท.พิจารณาก่อนนำเสนอครม.อีกครั้ง” นายยุทธนากล่าว
ส่วนระยะยาวนั้น จะเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบรางและระบบล้อเลื่อนให้แข็งแรง เพราะจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า ปัจจุบันอุปกรณ์ดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการใช้งานได้เพียง 50% เท่านั้น โดยจะใช้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 ซึ่งร.ฟ.ท.ได้รับมา 800 ล้านบาท แบ่งเป็นในปีแรก 400 ล้านบาทจะเริ่มดำเนินการในเส้นทางภาคเหนือก่อน จากนั้นปีที่ 2 อีก 400 ล้านบาทจะเน้นเส้นทางภาคใต้ และบริหารจัดการบุคลากรให้มีมาตรฐานและประสิทธิภาพ ซึ่งยอมรับว่าบุคลากรของร.ฟ.ท.เป็นคนเก่ามีประสิทธิไม่เต็ม100% รวมทั้งต้องสร้างเรื่องจิตสำนึกของความปลอดภัย และความรักองค์กร
นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุมครม. วานนี้ (6 ต.ค.) ได้กำชับให้กระทรวงคมนาคม ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลร.ฟ.ท. พิจารณาถึงมาตรการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นอีกในอนาคต ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้น ร.ฟ.ท.จะต้องแบกรับภาระไปก่อน รัฐบาลจะช่วยเมื่อมีการปรับปรุงองค์กรแล้ว
ส่วนการหารือกับนายยุทธนานั้น ได้กำชับและให้นโยบายร.ฟ.ท. ให้เร่งรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความบกพร่องทั้งในส่วนของระบบว่ามีส่วนใดบ้างที่ต้องการการแก้ไขปรับปรุง และบุคลากรที่ต้องกลับไปรวบรวมข้อมูลชั่วโมงการทำงานของพนักงานว่า เกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ แล้วให้ส่งข้อมูลเสนอมายังกระทรวงฯ เพื่อพิจารณาภายในวันพรุ่งนี้ (7 ต.ค.) ก่อนที่จะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมครม.เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาร่วมกันอีกครั้ง
“เรื่องปลดผู้ว่าร.ฟ.ท. ยังไม่มีสิ่งใดชี้ชัดว่าเป็นความผิดชอบผู้ว่าการฯ จึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปลดออกจากตำแหน่ง แต่ได้ให้แนวทางไปว่าจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจะต้องมีการสอบหาคนรับผิดชอบ โดยได้มีการคาดโทษผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับตั้งแต่รัฐบาลไปจนถึงเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการว่าหากมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้จะต้องรับผิดชอบ”นายโสภณกล่าว
สำหรับการแก้ไขปัญหาในระยะยาว จะต้องทบทวนมติ ครม.ปี 2541 ที่มีการระบุว่าให้ รฟท. สามารถบรรจุพนักงานเข้าแทนที่พนักงานที่ลาออกหรือเกษียณอายุการทำงานได้เพียงร้อยละ 5 ซึ่งจากมติดังกล่าวส่งผลให้ รฟท. ประสบปัญหาการขาดแคลนพนักงาน ทั้งในส่วนของพนักงานขับรถ และพนักงานฝ่ายช่าง ที่ขณะนี้มีความต้องการพนักงานทั้ง 2 ฝ่าย ฝ่ายละ 1,300 คน แต่ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีพนักงานฝ่ายละ 1,000 คนเท่านั้น ทำให้พนักงาน มีชั่วโมงการทำงานหนักเกินกว่ารัฐวิสาหกิจอื่น ซึ่งแนวทางที่ ร.ฟ.ท.เสนอขอเพิ่มบุคลากร 171 คน จากนักเรียนวิศวกรรมการรถไฟที่จบการศึกษาแล้ว ก็เป็นสิ่งที่ต้องเร่งพิจารณา รวมไปถึงการให้ ร.ฟ.ท.ทำประกันภัยบุคคลที่ 3 ก็ไม่ขัดข้อง
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม รักษาการปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะกรรมการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า สำหรับงานดูแลสภาพรางและปรับปรุงรางรถไฟนั้น ร.ฟ.ท.จะมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสภาพรางรถไฟอยู่เป็นประจำทุกวัน โดยใช้รถตรวจการขนาดเล็กตรวจสอบ และหากพบว่าบริเวณใดที่ชำรุด จะประสานงานไปยังเจ้าหน้าที่ฝ่ายซ่อมบำรุง เข้ามาดำเนินการ เช่น การเปลี่ยนไม้หมอนรางรถไฟใหม่ เสริมบริเวณรางหิน เพื่อให้บริเวณดังกล่าวอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า คปภ.ได้ตรวจสอบไปยังร.ฟ.ท. แล้ว พบว่า รถไฟขบวนดังกล่าว ไม่ได้ทำประกันภัยกับบริษัทใดๆ ทั้งสิ้น แม้ว่าก่อนหน้านี้ บริษัท วิริยะประกันภัยได้เสนอรายละเอียดเกี่ยวกับประกันอุบัติเหตุต่างๆ ไปแล้ว แต่ทางร.ฟ.ท.เห็นว่าการเดินทางด้วยรถไฟมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ จึงไม่ได้ทำประกันภัยไว้
อย่างไรก็ตาม แม้ไม่ได้ทำประกัน ในส่วนของ คปภ.อยู่ระหว่างตรวจข้อมูลจากฐานระบบไปยังผู้ที่เสียชีวิตทั้ง 7 ราย และผู้ประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บว่ามีการทำประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ หรือประกันการเดินทางกับบริษัทประกันใดบ้าง เพื่อจะได้ประสานไปยังบริษัทประกันภัยเรียกค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ ทั้งนี้ หากผู้ได้รับบาดเจ็บและญาติผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุครั้งนี้ มีข้อมูลสามารถติดต่อสายด่วนประกันภัย 1186 เพื่อ คปภ.จะได้เร่งรัดดำเนินการต่อไป
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ในการประชุมครม. นายโสภณได้ขอเวลา 5 วันในการให้กระทรวงคมนาคมสอบสวนข้อเท็จจริงว่ารถไฟตกรางเป็นที่คนหรืออุปกรณ์ และนายโสภณยังได้ยืนยันว่าแม้เกิดเหตุการณ์นี้ก็จะไม่มีการแปรรูปร.ฟ.ท. และไม่มีการปลดผู้ว่าการฯ ดังที่เป็นข่าว
ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความห่วงใยกับประชาชนที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ โดยนายกฯ ได้สั่งให้หามาตรการช่วยเหลือเหยื่อโดยยึดหลักมนุษยธรรม ให้มากที่สุดโดยไม่มีตัวเลขเป็นกรอบ เพราะ 8 หมื่นบาทที่ช่วยถือว่าน้อยมาก