ASTVผู้จัดการรายวัน-โสภณ” อ้างรถไฟตกราง เดินหน้ายกเครื่องร.ฟ.ท.ตั้งกรรมการ 4 ชุดล้วงลึกข้อมูลที่เป็นอุปสรรค ทั้งกฎหมาย,ระบบโครงสร้างพื้นฐาน,พัฒนาบุคลากร,ทรัพย์สิน แยกส่วนจากแผนฟื้นฟู สั่งสรุปในสิ้นต.ค.ก่อนชงครม. เปิดปมเหตุตกราง อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยประจำรถชำรุด หรือไม่ เหตุไม่เตือนพนักงานปล่อยหลับยาว ชี้บิ๊กร.ฟ.ท.ต้องรับผิดชอบโดยตรงแต่โยนบาปพนักงานทั้งที่เป็นอุปกรณ์สำคัญ เผย ชำรุดเพียบไม่สนใจซ่อมแซม
นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การเกิดอุบัติเหตุรถไฟตกรางที่ สถานีเขาเต่าอำเภอหัวหินนั้นทำให้เห็นว่า ควรรยกเครื่องการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ขนานใหญ่ โดยได้ตั้งคณะกรรมการ 4 ชุด เพื่อดูปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ในการบริหารงานอย่างละเอียดและสรุปแนวทางปรับปรุงแก้ไขเสนอกระทรวงคมนาคมภายใน 31ต.ค.นี้เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป โดยคณะกรรมการ 4 ชุด ประกอบด้วย 1. ด้านกฎหมายและระเบียบ มีนายจุฬา สุขมานพ รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นประธาน 2.ด้านโครงสร้างพื้นฐานรถไฟ ทั้งหัวจักร ราง อาณัติสัญญาณ มีนายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน 3.ด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล มีนายประณต สุริยะรองผอ.สนข.เป็นประธาน และ 4. ด้านการบริหารทรัพย์สิน มีนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผอ.สนข.เป็นประธาน
“คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นจะสแกนรถไฟทั้งระบบแบบละเอียด มีเป้าหมายที่จะต้องยกเครื่องรถไฟทั้งระบบเพื่อให้องค์กรอยู่ได้ ไม่เป็นภาระของประเทศ ที่แยกเป็น 4 เรื่องหลักก็เพื่อดูว่ามีปัญหาอุปสรรคตรงไหน อย่างไร ต้องแก้ไขอย่างไรปัญหาคนต้องพัฒนาอย่างไร ดูตั้งแต่เงินเดือนการทำงาน ฯลฯ ซึ่งเป็นคนละส่วนกับแผนฟื้นฟูร.ฟ.ท. ที่เป็นนโยบายเดิม”นายโสภณกล่าว
ปูดอุปกรณ์ปลอดภัยประจำรถชำรุด
แหล่งข่าวจากร.ฟ.ท.กล่าวว่า กรณีรถไฟตกรางที่สถานีเขาเต่านั้น ฝ่ายบริหารและฝ่ายนโยบายมุ่งไปที่คนขับประมาท ผิดพลาด หลับใน โดยไม่รอผลการสอบสวนของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้น เป็นการชี้สาเหตุที่ไม่เป็นธรรมกับพนักงาน และไม่ให้ความสำคัญกับอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยประจำรถที่อาจชำรุดและส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ คือ Dead man device หรือ Vigilanceเป็นปุ่มที่พนักงานขับรถต้องเหยียบเป็นระยะๆ หากคนขับไม่เหยียบหรือเหยียบค้างซึ่งถือเป็นสถานการณ์ผิดปกติ เช่น คนขับหลับ เป็นลม เป็นต้น จะมีเสียงเตือน ครั้งแรก 8 วินาที หากไม่มีการตอบสนอง อีก 4 วินาทีต่อมา ระบบห้ามล้อจะทำงานอัตโนมัติและ Power ระบบการจ่ายไฟจะตัด เครื่องยนต์จะลดรอบการทำงาน นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ OverSpeed Protectionจะส่งเสียงเตือนเมื่อรถมีความเร็วเกินกำหนด ซึ่งมีส่วนสำคัญในการทำงานของพนักงานขับรถ
แหล่งข่าวกล่าวว่า รถไฟทุกคันติดตั้งเป็นอุปกรณ์หลักเพื่อความปลอดภันในการเดินรถ ภายหลังจากเหตุการณ์รถไฟพุ่งเข้าชนที่สถานีหัวลำโพง แต่ปัญหาคือ อุปกรณ์มักเกิดการชำรุดและไม่ได้รับการซ่อมบำรุงให้อยู่ในสภาพปกติเมื่อนำไปให้บริการ ซึ่งรถไฟตกรางที่เกิดขึ้นมีข้อสังเกตุ 2 กรณีคือ 1. รถไฟวิ่งด้วยความเร็วสูงกว่าที่กำหนดในช่วงดังกล่าว เหตุใดอุปกรณ์ควบคุมความเร็วไม่เตือนคนขับรถ 2. ระยะทางจากสถานีวังพงถึงเขาเต่า วิ่งปกติใช้เวลา 9 นาที แต่รายงานที่เกิดตกราง รถวิ่งเพียง 6 นาที ช่วง 6 นาที ถ้าคนขับหลับ เหตุใด Dead man device หรือ Vigilanceไม่ส่งเสียงเตือน
แหล่งข่าวกล่าวว่า แสดงว่าอุปกรณ์ดังกล่าวไม่ทำงานเพราะชำรุดหรือไม่ หากชำรุดถือว่าสภาพรถไม่สมบูรณ์แล้วนำออกมาใช้งานได้อย่างไร เป็นการย่อหย่อนทั้งระบบอุปกรณ์ที่สำคัญมากต่อความปลอดภัยเสียแต่ไม่ซ่อม เรื่องนี้ไม่ใช่เฉพาะพนักงานที่ต้องรับผิดชอบ ผู้บริหารต้องรับผิดชอบด้วย แต่ผู้บริหารร.ฟ.ท.ไม่พูดถึงเลยว่า อุปกรณ์ที่สำคัญเหล่านี้ทำงานหรือไม่เพราะผู้บริหารร.ฟ.ท.ไม่รับผิดชอบและต้องการโยนความผิดให้พนักงานฝ่ายเดียว
“รถไฟตกรางมีคนเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก เป็นเรื่องที่คนรถไฟทุกคนหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบร่วมกันไม่ได้ แต่ผู้บริหารรถไฟกลับไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆ พูดแต่ว่าคนขับหลับใน ประมาท แต่ไม่พูดถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดเรื่อง ว่า เครื่องมืออุปกรณ์ไม่พร้อม พนักงานทำงานหนักเกินไป เรื่องเหล่านี้ เป็นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้บริหารรถไฟ”แหล่งข่าวกล่าว
นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การเกิดอุบัติเหตุรถไฟตกรางที่ สถานีเขาเต่าอำเภอหัวหินนั้นทำให้เห็นว่า ควรรยกเครื่องการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ขนานใหญ่ โดยได้ตั้งคณะกรรมการ 4 ชุด เพื่อดูปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ในการบริหารงานอย่างละเอียดและสรุปแนวทางปรับปรุงแก้ไขเสนอกระทรวงคมนาคมภายใน 31ต.ค.นี้เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป โดยคณะกรรมการ 4 ชุด ประกอบด้วย 1. ด้านกฎหมายและระเบียบ มีนายจุฬา สุขมานพ รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นประธาน 2.ด้านโครงสร้างพื้นฐานรถไฟ ทั้งหัวจักร ราง อาณัติสัญญาณ มีนายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน 3.ด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล มีนายประณต สุริยะรองผอ.สนข.เป็นประธาน และ 4. ด้านการบริหารทรัพย์สิน มีนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผอ.สนข.เป็นประธาน
“คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นจะสแกนรถไฟทั้งระบบแบบละเอียด มีเป้าหมายที่จะต้องยกเครื่องรถไฟทั้งระบบเพื่อให้องค์กรอยู่ได้ ไม่เป็นภาระของประเทศ ที่แยกเป็น 4 เรื่องหลักก็เพื่อดูว่ามีปัญหาอุปสรรคตรงไหน อย่างไร ต้องแก้ไขอย่างไรปัญหาคนต้องพัฒนาอย่างไร ดูตั้งแต่เงินเดือนการทำงาน ฯลฯ ซึ่งเป็นคนละส่วนกับแผนฟื้นฟูร.ฟ.ท. ที่เป็นนโยบายเดิม”นายโสภณกล่าว
ปูดอุปกรณ์ปลอดภัยประจำรถชำรุด
แหล่งข่าวจากร.ฟ.ท.กล่าวว่า กรณีรถไฟตกรางที่สถานีเขาเต่านั้น ฝ่ายบริหารและฝ่ายนโยบายมุ่งไปที่คนขับประมาท ผิดพลาด หลับใน โดยไม่รอผลการสอบสวนของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้น เป็นการชี้สาเหตุที่ไม่เป็นธรรมกับพนักงาน และไม่ให้ความสำคัญกับอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยประจำรถที่อาจชำรุดและส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ คือ Dead man device หรือ Vigilanceเป็นปุ่มที่พนักงานขับรถต้องเหยียบเป็นระยะๆ หากคนขับไม่เหยียบหรือเหยียบค้างซึ่งถือเป็นสถานการณ์ผิดปกติ เช่น คนขับหลับ เป็นลม เป็นต้น จะมีเสียงเตือน ครั้งแรก 8 วินาที หากไม่มีการตอบสนอง อีก 4 วินาทีต่อมา ระบบห้ามล้อจะทำงานอัตโนมัติและ Power ระบบการจ่ายไฟจะตัด เครื่องยนต์จะลดรอบการทำงาน นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ OverSpeed Protectionจะส่งเสียงเตือนเมื่อรถมีความเร็วเกินกำหนด ซึ่งมีส่วนสำคัญในการทำงานของพนักงานขับรถ
แหล่งข่าวกล่าวว่า รถไฟทุกคันติดตั้งเป็นอุปกรณ์หลักเพื่อความปลอดภันในการเดินรถ ภายหลังจากเหตุการณ์รถไฟพุ่งเข้าชนที่สถานีหัวลำโพง แต่ปัญหาคือ อุปกรณ์มักเกิดการชำรุดและไม่ได้รับการซ่อมบำรุงให้อยู่ในสภาพปกติเมื่อนำไปให้บริการ ซึ่งรถไฟตกรางที่เกิดขึ้นมีข้อสังเกตุ 2 กรณีคือ 1. รถไฟวิ่งด้วยความเร็วสูงกว่าที่กำหนดในช่วงดังกล่าว เหตุใดอุปกรณ์ควบคุมความเร็วไม่เตือนคนขับรถ 2. ระยะทางจากสถานีวังพงถึงเขาเต่า วิ่งปกติใช้เวลา 9 นาที แต่รายงานที่เกิดตกราง รถวิ่งเพียง 6 นาที ช่วง 6 นาที ถ้าคนขับหลับ เหตุใด Dead man device หรือ Vigilanceไม่ส่งเสียงเตือน
แหล่งข่าวกล่าวว่า แสดงว่าอุปกรณ์ดังกล่าวไม่ทำงานเพราะชำรุดหรือไม่ หากชำรุดถือว่าสภาพรถไม่สมบูรณ์แล้วนำออกมาใช้งานได้อย่างไร เป็นการย่อหย่อนทั้งระบบอุปกรณ์ที่สำคัญมากต่อความปลอดภัยเสียแต่ไม่ซ่อม เรื่องนี้ไม่ใช่เฉพาะพนักงานที่ต้องรับผิดชอบ ผู้บริหารต้องรับผิดชอบด้วย แต่ผู้บริหารร.ฟ.ท.ไม่พูดถึงเลยว่า อุปกรณ์ที่สำคัญเหล่านี้ทำงานหรือไม่เพราะผู้บริหารร.ฟ.ท.ไม่รับผิดชอบและต้องการโยนความผิดให้พนักงานฝ่ายเดียว
“รถไฟตกรางมีคนเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก เป็นเรื่องที่คนรถไฟทุกคนหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบร่วมกันไม่ได้ แต่ผู้บริหารรถไฟกลับไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆ พูดแต่ว่าคนขับหลับใน ประมาท แต่ไม่พูดถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดเรื่อง ว่า เครื่องมืออุปกรณ์ไม่พร้อม พนักงานทำงานหนักเกินไป เรื่องเหล่านี้ เป็นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้บริหารรถไฟ”แหล่งข่าวกล่าว