ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติลุ้นยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเดือนสิงหาฯกระเตื้อง เพิ่มจากเดือนก่อนหน้าและระยะเดียวกันปีก่อน 1.76 พันล้าน และ3.14 พันล้าน ชี้เป็นผลจ่ายการใช้จ่ายในประเทศเป็นหลัก แต่ยอดการเบิกเงินสดล่วงหน้ายังลด ระบุผู้ถือบัตรระวังการใช้จ่าย ขณะที่ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลจำนวนบัญชีลดลงต่อเนื่องล่าสุดลดลง 20.80% หรือ 2.35 ล้านบัญชี
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงินของธปท.ได้ประกาศตัวเลขสำคัญของธุรกิจบัตรเครดิตล่าสุดในเดือนส.ค.ของปีนี้ พบว่า ปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมของธุรกิจบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าและระยะเดียวกันปีก่อน โดยเกิดจากการใช้จ่ายในประเทศเป็นสำคัญ ส่วนยอดการเบิกเงินสดล่วงหน้าลดลง สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนมีความระมัดระวังในการนำเงินอนาคตมาใช้จ่าย ขณะที่จำนวนบัตรเครดิตและยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นด้วย
ทั้งนี้ ปริมาณการใช้จ่ายรวมบัตรเครดิตของสถาบันการเงินในระบบมีทั้งสิ้น 7.74 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 2.33% หรือเพิ่มขึ้น 1.76 พันล้านบาท และเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน 4.22% เพิ่มขึ้น 3.14 พันล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในส่วนธนาคารพาณิชย์ 2.12 พันล้านบาท สาขาธนาคารต่างชาติ 364 ล้านบาท และบริษัทประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน(นอนแบงก์) 648 ล้านบาท
โดยหากพิจารณาการใช้จ่ายในแต่ละประเภทของบัตรเครดิต พบว่าปริมาณการใช้จ่ายในประเทศมีทั้งสิ้น 5.85 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 3.82% หรือในวงเงิน 2.15 พันล้านบาท และเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน 6.60% หรือเพิ่มขึ้น 3.63 พันล้านบาท แบ่งเป็นยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตธนาคารพาณิชย์ 2.13 พันล้านบาท รองมาเป็นนอนแบงก์ 1.02 พันล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 476 ล้านบาท
ด้านปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศมีทั้งสิ้น 2.75 พันล้านบาท เทียบจากเดือนก่อนลดลง 8.86% หรือลดลง 267 ล้านบาท ซึ่งสถาบันการเงินทุกประเภทมียอดการใช้จ่ายบัตรเครดิตในต่างประเทศลดลง แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนกลับเพิ่มขึ้น 4.34% หรือเพิ่มขึ้น 114 ล้านบาทโดยธนาคารพาณิชย์และนอนแบงก์เพิ่มขึ้น 149 ล้านบาท และ 25 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนสาขาธนาคารต่างชาติกลับลดลง 60 ล้านบาท
ส่วนการเบิกเงินสดล่วงหน้าในเดือนส.ค.มียอดทั้งสิ้น 1.61 หมื่นล้านบาท เทียบกับเดือนก่อนหน้าและระยะเดียวกันปีก่อนลดลง โดยเดือนก่อนหน้าลดลง 0.75% หรือลดลง 122 ล้านบาท และระยะเดียวกันปีก่อนลดลง 3.62% หรือลดลง 605 ล้านบาท โดยนอนแบงก์มียอดการเบิกเงินสดล่วงหน้าผ่านบัตรเครดิตลดลงมากที่สุด 399 ล้านบาท รองลงมาเป็นธนาคารพาณิชย์ 154 ล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 52 ล้านบาท
สำหรับยอดคงค้างสินเชื่อมีทั้งสิ้น 1.83 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและระยะเดียวกันปีก่อน 1.45 พันล้านบาท และ 3.63 พันล้านบาท ตามลำดับ ด้านจำนวนบัตรเครดิตในระบบมีทั้งสิ้น 13.17 ล้านใบเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน 2.7 หมื่นใบ และ 6 แสนใบ ตามลำดับ
สายนโยบายสถาบันการเงินธปท.ระบุว่า ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลล่าสุดในเดือนส.ค.ของปีนี้มียอดคงค้างสินเชื่อทั้งสิ้น 2.18 แสนล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าและระยะเดียวกันปีก่อน โดยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 0.66% หรือลดลง 1.44 พันล้านบาท และลดลง 3.41% หรือลดลง 7.71 พันล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นการลดลงของสถาบันการเงินทุกประเภทนอนแบงก์มากที่สุด 4.67 พันล้านบาทสาขาธนาคารต่างชาติ 2.43 พันล้านบาท และธนาคารพาณิชย์ 604 ล้านบาท
ส่วนจำนวนบัญชีในเดือนนี้มีทั้งสิ้น 8.94 ล้านบัญชี เทียบกับเดือนก่อนลดลง 0.84% หรือลดลง 7.58 หมื่นบัญชี และระยะเดียวกันปีก่อนลดลงในสัดส่วนถึง 20.80% ลดลง 2.35 ล้านบัญชี โดยนอนแบงก์จำนวนบัญชีลดลงมากที่สุด 2.18 ล้านบัญชี ธนาคารพาณิชย์ 1.38 แสนบัญชี และสาขาธนาคารต่างชาติ 3.31 หมื่นบัญชี
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงินของธปท.ได้ประกาศตัวเลขสำคัญของธุรกิจบัตรเครดิตล่าสุดในเดือนส.ค.ของปีนี้ พบว่า ปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมของธุรกิจบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าและระยะเดียวกันปีก่อน โดยเกิดจากการใช้จ่ายในประเทศเป็นสำคัญ ส่วนยอดการเบิกเงินสดล่วงหน้าลดลง สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนมีความระมัดระวังในการนำเงินอนาคตมาใช้จ่าย ขณะที่จำนวนบัตรเครดิตและยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นด้วย
ทั้งนี้ ปริมาณการใช้จ่ายรวมบัตรเครดิตของสถาบันการเงินในระบบมีทั้งสิ้น 7.74 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 2.33% หรือเพิ่มขึ้น 1.76 พันล้านบาท และเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน 4.22% เพิ่มขึ้น 3.14 พันล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในส่วนธนาคารพาณิชย์ 2.12 พันล้านบาท สาขาธนาคารต่างชาติ 364 ล้านบาท และบริษัทประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน(นอนแบงก์) 648 ล้านบาท
โดยหากพิจารณาการใช้จ่ายในแต่ละประเภทของบัตรเครดิต พบว่าปริมาณการใช้จ่ายในประเทศมีทั้งสิ้น 5.85 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 3.82% หรือในวงเงิน 2.15 พันล้านบาท และเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน 6.60% หรือเพิ่มขึ้น 3.63 พันล้านบาท แบ่งเป็นยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตธนาคารพาณิชย์ 2.13 พันล้านบาท รองมาเป็นนอนแบงก์ 1.02 พันล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 476 ล้านบาท
ด้านปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศมีทั้งสิ้น 2.75 พันล้านบาท เทียบจากเดือนก่อนลดลง 8.86% หรือลดลง 267 ล้านบาท ซึ่งสถาบันการเงินทุกประเภทมียอดการใช้จ่ายบัตรเครดิตในต่างประเทศลดลง แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนกลับเพิ่มขึ้น 4.34% หรือเพิ่มขึ้น 114 ล้านบาทโดยธนาคารพาณิชย์และนอนแบงก์เพิ่มขึ้น 149 ล้านบาท และ 25 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนสาขาธนาคารต่างชาติกลับลดลง 60 ล้านบาท
ส่วนการเบิกเงินสดล่วงหน้าในเดือนส.ค.มียอดทั้งสิ้น 1.61 หมื่นล้านบาท เทียบกับเดือนก่อนหน้าและระยะเดียวกันปีก่อนลดลง โดยเดือนก่อนหน้าลดลง 0.75% หรือลดลง 122 ล้านบาท และระยะเดียวกันปีก่อนลดลง 3.62% หรือลดลง 605 ล้านบาท โดยนอนแบงก์มียอดการเบิกเงินสดล่วงหน้าผ่านบัตรเครดิตลดลงมากที่สุด 399 ล้านบาท รองลงมาเป็นธนาคารพาณิชย์ 154 ล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 52 ล้านบาท
สำหรับยอดคงค้างสินเชื่อมีทั้งสิ้น 1.83 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและระยะเดียวกันปีก่อน 1.45 พันล้านบาท และ 3.63 พันล้านบาท ตามลำดับ ด้านจำนวนบัตรเครดิตในระบบมีทั้งสิ้น 13.17 ล้านใบเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน 2.7 หมื่นใบ และ 6 แสนใบ ตามลำดับ
สายนโยบายสถาบันการเงินธปท.ระบุว่า ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลล่าสุดในเดือนส.ค.ของปีนี้มียอดคงค้างสินเชื่อทั้งสิ้น 2.18 แสนล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าและระยะเดียวกันปีก่อน โดยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 0.66% หรือลดลง 1.44 พันล้านบาท และลดลง 3.41% หรือลดลง 7.71 พันล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นการลดลงของสถาบันการเงินทุกประเภทนอนแบงก์มากที่สุด 4.67 พันล้านบาทสาขาธนาคารต่างชาติ 2.43 พันล้านบาท และธนาคารพาณิชย์ 604 ล้านบาท
ส่วนจำนวนบัญชีในเดือนนี้มีทั้งสิ้น 8.94 ล้านบัญชี เทียบกับเดือนก่อนลดลง 0.84% หรือลดลง 7.58 หมื่นบัญชี และระยะเดียวกันปีก่อนลดลงในสัดส่วนถึง 20.80% ลดลง 2.35 ล้านบัญชี โดยนอนแบงก์จำนวนบัญชีลดลงมากที่สุด 2.18 ล้านบัญชี ธนาคารพาณิชย์ 1.38 แสนบัญชี และสาขาธนาคารต่างชาติ 3.31 หมื่นบัญชี