ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติเผยไตรมาส 2 ผู้ถือบัตรเครดิตก่อหนี้เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 6.37% และเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้น 7.48% ยอดการเบิกเงินสดล่วงหน้าเทียบไตรมาสก่อนลดลงถึง 14.52% เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงินได้ประกาศตัวเลขการให้บริการบัตรเครดิตแยกตามประเภทบัตรเครดิตล่าสุดในเดือน มิ.ย.หรือไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ พบว่า ในระบบมียอดค้างชำระเกิน 3 เดือน (เอ็นพีแอล) ของธุรกิจบัตรเครดิตจากไตรมาสก่อน 6.37% และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 7.48% จากปัจจุบันที่มียอดคงค้างเอ็นพีแอลในระบบทั้งสิ้น 5.91 พันล้านบาท แบ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ไทย 2.57 พันล้านบาท บริษัทประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน(นอนแบงก์) 2.41 พันล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 935 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในปัจจุบันจำนวนบัตรเครดิตมีทั้งสิ้น 13.10 ล้านใบ ลดลงจากไตรมาสก่อน 3.30 หมื่นใบ คิดเป็น 0.25% ซึ่งมีเพียงนอนแบงก์เท่านั้นที่เพิ่มขึ้น 6.22 หมื่นใบ และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนกลับเพิ่มขึ้น 7.45 แสนใบ หรือเพิ่มขึ้น 6.03% ซึ่งมีเพียงสาขาธนาคารต่างชาติเท่านั้นที่ลดลง 1.68 หมื่นใบ ส่วนยอดคงค้างสินเชื่อมีทั้งสิ้น 1.83 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 1.63 พันล้านบาท คิดเป็น 0.90% ซึ่งผู้ประกอบการทุกประเภทต่างมียอดเพิ่มขึ้น และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้น 3.71 พันล้านบาท คิดเป็น 2.07% ซึ่งมีเพียงสาขาธนาคารต่างชาติเท่านั้นที่ลดลง
สำหรับใช้จ่ายโดยรวมผ่านบัตรเครดิตทั้งสิ้น 7.46 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นผู้ประกอบการในส่วนของธนาคารพาณิชย์ 4.0 หมื่นล้านบาท นอนแบงก์ 2.44 หมื่นล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 1.02 หมื่นล้านบาท ทำให้ลดลงจากไตรมาสก่อน 5.49 พันล้านบาท หรือลดลง 6.85% และลดลง 729 ล้านบาท หรือลดลง 0.97%
โดยในเดือน มิ.ย.มีปริมาณการใช้จ่ายในประเทศทั้งสิ้น 5.93 หมื่นล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน 2.6 พันล้านบาท คิดเป็น 4.42% ซึ่งผู้ประกอบการทุกประเภทมียอดลดลง แต่ธนาคารพาณิชย์ลดลงมากที่สุด 2.09 พันล้านบาท และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนกลับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 712 ล้านบาท คิดเป็น 1.27% ด้านปริมาณการใช้จ่ายในประเทศ 2.92 พันล้านบาท ผู้ประกอบการทุกประเภทมียอดลดลงทั้งเทียบกับไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันปีก่อน โดยลดลงจากไตรมาสก่อนถึง 9.52% และลดลงช่วงเดียวกันปีก่อน 10.90%
ส่วนการเบิกเงินสดล่วงหน้ามียอดทั้งสิ้น 1.78 หมื่นล้านบาท ลดลงทั้งเทียบกับไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงของผู้ประกอบการทุกประเภท โดยไตรมาสก่อนลดลง 2.59 พันล้านบาท ในสัดส่วน 14.52% ซึ่งเฉพาะธนาคารพาณิชย์ลดลงถึง 2.38 พันล้านบาท และเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนลดลง 1.12 พันล้านบาท คิดเป็น 6.84%
สายนโยบายสถาบันการเงินธปท.กล่าวว่า ส่วนตัวเลขสินเชื่อบุคคลภายใต้กำกับดูแลของธปท.ล่าสุดในเดือนมิ.ย.หรือไตรมาส 2 ของปีนี้ พบว่า ในระบบมีจำนวนบัญชีนี้ทั้งสิ้น 9.15 ล้านบัญชี ลดลงต่อเนื่องทั้งเทียบกับไตรมาสก่อน 3.07 แสนบัญชี ลดลง 2.75% และเมื่อช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลง 2.05 ล้านบัญชี ลดลง 18.31% ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลมีทั้งสิ้น2.22 แสนล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน 2.52 พันล้านบาท ลดลง 1.14% แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนกลับเพิ่มขึ้น 1.20 พันล้านบาท คิดเป็น 0.54%
สำหรับยอดเอ็นพีแอลในส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคลมีทั้งสิ้น 8.46 พันล้านบาท แบ่งเป็นนอนแบงก์ 8.46 พันล้านบาท ธนาคารพาณิชย์ 3.33 พันล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 869 ล้านบาท ทำให้เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.68% คิดเป็น 157 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนกลับลดลง 9.60% ลดลง 898 ล้านบาท.
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงินได้ประกาศตัวเลขการให้บริการบัตรเครดิตแยกตามประเภทบัตรเครดิตล่าสุดในเดือน มิ.ย.หรือไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ พบว่า ในระบบมียอดค้างชำระเกิน 3 เดือน (เอ็นพีแอล) ของธุรกิจบัตรเครดิตจากไตรมาสก่อน 6.37% และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 7.48% จากปัจจุบันที่มียอดคงค้างเอ็นพีแอลในระบบทั้งสิ้น 5.91 พันล้านบาท แบ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ไทย 2.57 พันล้านบาท บริษัทประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน(นอนแบงก์) 2.41 พันล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 935 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในปัจจุบันจำนวนบัตรเครดิตมีทั้งสิ้น 13.10 ล้านใบ ลดลงจากไตรมาสก่อน 3.30 หมื่นใบ คิดเป็น 0.25% ซึ่งมีเพียงนอนแบงก์เท่านั้นที่เพิ่มขึ้น 6.22 หมื่นใบ และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนกลับเพิ่มขึ้น 7.45 แสนใบ หรือเพิ่มขึ้น 6.03% ซึ่งมีเพียงสาขาธนาคารต่างชาติเท่านั้นที่ลดลง 1.68 หมื่นใบ ส่วนยอดคงค้างสินเชื่อมีทั้งสิ้น 1.83 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 1.63 พันล้านบาท คิดเป็น 0.90% ซึ่งผู้ประกอบการทุกประเภทต่างมียอดเพิ่มขึ้น และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้น 3.71 พันล้านบาท คิดเป็น 2.07% ซึ่งมีเพียงสาขาธนาคารต่างชาติเท่านั้นที่ลดลง
สำหรับใช้จ่ายโดยรวมผ่านบัตรเครดิตทั้งสิ้น 7.46 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นผู้ประกอบการในส่วนของธนาคารพาณิชย์ 4.0 หมื่นล้านบาท นอนแบงก์ 2.44 หมื่นล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 1.02 หมื่นล้านบาท ทำให้ลดลงจากไตรมาสก่อน 5.49 พันล้านบาท หรือลดลง 6.85% และลดลง 729 ล้านบาท หรือลดลง 0.97%
โดยในเดือน มิ.ย.มีปริมาณการใช้จ่ายในประเทศทั้งสิ้น 5.93 หมื่นล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน 2.6 พันล้านบาท คิดเป็น 4.42% ซึ่งผู้ประกอบการทุกประเภทมียอดลดลง แต่ธนาคารพาณิชย์ลดลงมากที่สุด 2.09 พันล้านบาท และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนกลับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 712 ล้านบาท คิดเป็น 1.27% ด้านปริมาณการใช้จ่ายในประเทศ 2.92 พันล้านบาท ผู้ประกอบการทุกประเภทมียอดลดลงทั้งเทียบกับไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันปีก่อน โดยลดลงจากไตรมาสก่อนถึง 9.52% และลดลงช่วงเดียวกันปีก่อน 10.90%
ส่วนการเบิกเงินสดล่วงหน้ามียอดทั้งสิ้น 1.78 หมื่นล้านบาท ลดลงทั้งเทียบกับไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงของผู้ประกอบการทุกประเภท โดยไตรมาสก่อนลดลง 2.59 พันล้านบาท ในสัดส่วน 14.52% ซึ่งเฉพาะธนาคารพาณิชย์ลดลงถึง 2.38 พันล้านบาท และเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนลดลง 1.12 พันล้านบาท คิดเป็น 6.84%
สายนโยบายสถาบันการเงินธปท.กล่าวว่า ส่วนตัวเลขสินเชื่อบุคคลภายใต้กำกับดูแลของธปท.ล่าสุดในเดือนมิ.ย.หรือไตรมาส 2 ของปีนี้ พบว่า ในระบบมีจำนวนบัญชีนี้ทั้งสิ้น 9.15 ล้านบัญชี ลดลงต่อเนื่องทั้งเทียบกับไตรมาสก่อน 3.07 แสนบัญชี ลดลง 2.75% และเมื่อช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลง 2.05 ล้านบัญชี ลดลง 18.31% ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลมีทั้งสิ้น2.22 แสนล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน 2.52 พันล้านบาท ลดลง 1.14% แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนกลับเพิ่มขึ้น 1.20 พันล้านบาท คิดเป็น 0.54%
สำหรับยอดเอ็นพีแอลในส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคลมีทั้งสิ้น 8.46 พันล้านบาท แบ่งเป็นนอนแบงก์ 8.46 พันล้านบาท ธนาคารพาณิชย์ 3.33 พันล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 869 ล้านบาท ทำให้เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.68% คิดเป็น 157 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนกลับลดลง 9.60% ลดลง 898 ล้านบาท.