นายชาญชัย อิสระเสนรักษ์ ส.ส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการทุจริตโครงการแอร์พอร์ทลิงก์ และ การสร้างอุโมงค์ภายใต้สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งอยู่ในโครงการเดียวกันว่า กรณีเรื่อง อุโมงค์ต้องให้การรถไฟเป็นผู้ชี้แจงว่า ไปยอมให้การท่าอากาศยาน ประมูลจัดซื้อจัดจ้างทุจริตถึง 2 พันล้านบาทได้อย่างไร และการรถไฟจะทำอย่างไร
ส่วนโครงการแอร์พอร์ทลิงก์ จากการสอบถามพบว่ามีการทุจริตในเรื่องของการ จ่ายค่าธรรมเนียม 1.2 พันล้านบาท โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมา ยืนยันว่า ค่าธรรมเนียมจริงๆ ที่ได้รับ พร้อมทั้งออกใบเสร็จให้ไปทั้งสิ้น 471 ล้านบาท เงินที่ทุจริตไปนั้น ดำเนินการกันอย่างไร ถึงได้มียอดเงินมากถึงขนาดนั้น และขณะนี้ตนได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่ตรวจสอบเส้นทางการเงินว่าเงินจำนวนดังกล่าวไปสู่กระบวนการและอยู่กับใครที่ไหน ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าไปอยู่ที่ 2 บริษัท คือ บริษัท บิกินส์ ผู้ที่เข้าประกวดราคาได้พร้อมกับ บริษัท ชิโนทัย จำกัด
นายชาญชัย กล่าวว่า ซึ่ง 2 บริษัท ดังกล่าว ได้มีการทำเส้นทางการเงินและบัญชีให้ทราบว่า ได้มีการเบิกเงินที่ทุจริตไปใส่กระเป๋าใคร และจะมีการขอสอบสวน ในเรื่องดังกล่าวกับทั้ง 2 บริษัท ว่าโยงใยกับตัวนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล ก่อนที่จะเข้าดำรงตำแหน่งรมว.กระทรวงมหาดไทย หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย รวมทั้งนายอนุทิน ชาญวีรกูล บุตรชายหรือไม่ ซึ่งจะมีการเชิญตัวมาให้รายละเอียดในสัปดาห์หน้าต่อไป และเอกสารในเรื่องดังกล่าวได้มีการตรวจสอบจาก ธปท. เพราะเรื่องดังกล่าว เป็นการ กระทำการที่ร่วมกับกระทรวงการคลัง และเมื่อวันที่ 7 ต.ค. ที่ผ่านมา ได้ให้การรถไฟฯ ไปจัดทำข้อมูล และเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่มีรายชื่อในเอกสารมาร่วมชี้แจง
นายชาญชัย กล่าวว่า ส่วนเรื่องการพิจารณาโครงการโฮปเวลล์ ในการสร้าง รถไฟสายสีแดง บนเสาตอม่อของโฮปเวลล์ ที่มีอยู่นั้น ซึ่งพบปัญหาว่าได้มีการร้องต่อ คณะอนุญาโตตุลาการ ซึ่งเป็นผลให้การรถไฟแพ้คดีถึง 2 ครั้ง ทั้งชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์ ซึ่งคณะนี้เรื่องดังกล่าวมีการมองว่าจะบานปลาย และรัฐบาลไทยกำลังจะเสียค่าโง่ ซึ่งการแพ้คดีจะต้องชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด 1.2 หมื่นล้านบาท และมีปัญหาว่า ในการจัดประกวดราคา ผู้ที่ได้สัญญาจะไปสร้างทันทีแต่โฮปเวลล์กับไม่ยอม ก็จะมีการบังคับคดีให้ชดใช้ค่าเสียหาย ถ้าหากสร้างไม่ได้ ผู้ที่ได้สัญญาจะเรียกร้องค่าเสียหายกับการรถไฟทันที และจะมีปัญหาตามมาคือไปกู้เงินจากประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า) ซึ่งหาก ไม่ใช้เงินตรงตามเวลา จะถูกปรับวันละ 10.1 % หากรวมทั้งหมดถึงมูลค่า ความเสียหาย ถึงจะสร้างเสร็จหรือไม่ก็ตาม จะเสียหายถึง 2-3 หมื่นล้านบาท
นายชาญชัย กล่าว่า จะให้อัยการสูงสุดที่เคยไปร้องศาลปกครองว่าคำสั่งของ อนุญาโตตุลาการไม่ชอบด้วยเหตุผลอะไร รวมทั้งจะเชิญคณะอนุญาโตตุลาการ มาสอบสวนในเรื่องดังกล่าวด้วย เพราะมีเรื่องไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นในการ พิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการ และคนที่เกี่ยวข้องสมัยนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตรมว.คมนาคม ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ขัดต่อมติครม. ไม่ให้เข้าสู่กระบวนการคณะอนุญาโตตุลาการ แต่ให้เข้าสู่ศาลแพ่งเลย เมื่อมติครม.ปี 41 มีมติครม.ให้กระบวนการเข้าสู่ศาลแพ่ง ต่อมามติ ครม.ปี 47 การรถไฟฯและรมว.คนมนาคมในขณะนั้นไม่ปฏิบัติตาม
ส่วนการที่รัฐสภาพิจารณาผ่านร่างพ.ร.บ.ป.ป.ช.นั้น นายชาญชัย กล่าวว่า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริต ตาม มาตรา 103/6 โดยให้หน่วยงานของรัฐจัดทำรายละเอียดในการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเฉพาะราคากลางและการประมูลราคากลาง ไว้ในระบบข้อมูลอีเล็คโทรนิคส์ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าดูได้ โดยให้รัฐบาลสั่งหน่วยงานของรัฐบาลทั้งหมดบรรจุข้อมูลเข้าสู่เว็ปไซด์ ตั้งแต่โครงการ เงิน และเงื่อนไขว่าให้บุคคลใดเข้าประกวดราคา รวมทั้งหากมีการประกวดราคาเสร็จจะทำอย่างไร โดยหากผู้ประกวดราคาได้ต้องเปิดสมุดบัญชีขึ้นมาอีกเล่มหนึ่ง และเงินที่ได้มาต้องไปเข้าบัญชีเล่มนั้น ส่วนเรื่องค่าใช้จ่าย ค่าแรงงาน ออกจากบัญชีไหนไม่ได้นอกจากที่เปิดไว้เท่านั้น แล้วให้บรรจุอยู่ในเว็ปไซด์
ส่วนโครงการแอร์พอร์ทลิงก์ จากการสอบถามพบว่ามีการทุจริตในเรื่องของการ จ่ายค่าธรรมเนียม 1.2 พันล้านบาท โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมา ยืนยันว่า ค่าธรรมเนียมจริงๆ ที่ได้รับ พร้อมทั้งออกใบเสร็จให้ไปทั้งสิ้น 471 ล้านบาท เงินที่ทุจริตไปนั้น ดำเนินการกันอย่างไร ถึงได้มียอดเงินมากถึงขนาดนั้น และขณะนี้ตนได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่ตรวจสอบเส้นทางการเงินว่าเงินจำนวนดังกล่าวไปสู่กระบวนการและอยู่กับใครที่ไหน ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าไปอยู่ที่ 2 บริษัท คือ บริษัท บิกินส์ ผู้ที่เข้าประกวดราคาได้พร้อมกับ บริษัท ชิโนทัย จำกัด
นายชาญชัย กล่าวว่า ซึ่ง 2 บริษัท ดังกล่าว ได้มีการทำเส้นทางการเงินและบัญชีให้ทราบว่า ได้มีการเบิกเงินที่ทุจริตไปใส่กระเป๋าใคร และจะมีการขอสอบสวน ในเรื่องดังกล่าวกับทั้ง 2 บริษัท ว่าโยงใยกับตัวนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล ก่อนที่จะเข้าดำรงตำแหน่งรมว.กระทรวงมหาดไทย หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย รวมทั้งนายอนุทิน ชาญวีรกูล บุตรชายหรือไม่ ซึ่งจะมีการเชิญตัวมาให้รายละเอียดในสัปดาห์หน้าต่อไป และเอกสารในเรื่องดังกล่าวได้มีการตรวจสอบจาก ธปท. เพราะเรื่องดังกล่าว เป็นการ กระทำการที่ร่วมกับกระทรวงการคลัง และเมื่อวันที่ 7 ต.ค. ที่ผ่านมา ได้ให้การรถไฟฯ ไปจัดทำข้อมูล และเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่มีรายชื่อในเอกสารมาร่วมชี้แจง
นายชาญชัย กล่าวว่า ส่วนเรื่องการพิจารณาโครงการโฮปเวลล์ ในการสร้าง รถไฟสายสีแดง บนเสาตอม่อของโฮปเวลล์ ที่มีอยู่นั้น ซึ่งพบปัญหาว่าได้มีการร้องต่อ คณะอนุญาโตตุลาการ ซึ่งเป็นผลให้การรถไฟแพ้คดีถึง 2 ครั้ง ทั้งชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์ ซึ่งคณะนี้เรื่องดังกล่าวมีการมองว่าจะบานปลาย และรัฐบาลไทยกำลังจะเสียค่าโง่ ซึ่งการแพ้คดีจะต้องชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด 1.2 หมื่นล้านบาท และมีปัญหาว่า ในการจัดประกวดราคา ผู้ที่ได้สัญญาจะไปสร้างทันทีแต่โฮปเวลล์กับไม่ยอม ก็จะมีการบังคับคดีให้ชดใช้ค่าเสียหาย ถ้าหากสร้างไม่ได้ ผู้ที่ได้สัญญาจะเรียกร้องค่าเสียหายกับการรถไฟทันที และจะมีปัญหาตามมาคือไปกู้เงินจากประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า) ซึ่งหาก ไม่ใช้เงินตรงตามเวลา จะถูกปรับวันละ 10.1 % หากรวมทั้งหมดถึงมูลค่า ความเสียหาย ถึงจะสร้างเสร็จหรือไม่ก็ตาม จะเสียหายถึง 2-3 หมื่นล้านบาท
นายชาญชัย กล่าว่า จะให้อัยการสูงสุดที่เคยไปร้องศาลปกครองว่าคำสั่งของ อนุญาโตตุลาการไม่ชอบด้วยเหตุผลอะไร รวมทั้งจะเชิญคณะอนุญาโตตุลาการ มาสอบสวนในเรื่องดังกล่าวด้วย เพราะมีเรื่องไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นในการ พิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการ และคนที่เกี่ยวข้องสมัยนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตรมว.คมนาคม ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ขัดต่อมติครม. ไม่ให้เข้าสู่กระบวนการคณะอนุญาโตตุลาการ แต่ให้เข้าสู่ศาลแพ่งเลย เมื่อมติครม.ปี 41 มีมติครม.ให้กระบวนการเข้าสู่ศาลแพ่ง ต่อมามติ ครม.ปี 47 การรถไฟฯและรมว.คนมนาคมในขณะนั้นไม่ปฏิบัติตาม
ส่วนการที่รัฐสภาพิจารณาผ่านร่างพ.ร.บ.ป.ป.ช.นั้น นายชาญชัย กล่าวว่า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริต ตาม มาตรา 103/6 โดยให้หน่วยงานของรัฐจัดทำรายละเอียดในการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเฉพาะราคากลางและการประมูลราคากลาง ไว้ในระบบข้อมูลอีเล็คโทรนิคส์ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าดูได้ โดยให้รัฐบาลสั่งหน่วยงานของรัฐบาลทั้งหมดบรรจุข้อมูลเข้าสู่เว็ปไซด์ ตั้งแต่โครงการ เงิน และเงื่อนไขว่าให้บุคคลใดเข้าประกวดราคา รวมทั้งหากมีการประกวดราคาเสร็จจะทำอย่างไร โดยหากผู้ประกวดราคาได้ต้องเปิดสมุดบัญชีขึ้นมาอีกเล่มหนึ่ง และเงินที่ได้มาต้องไปเข้าบัญชีเล่มนั้น ส่วนเรื่องค่าใช้จ่าย ค่าแรงงาน ออกจากบัญชีไหนไม่ได้นอกจากที่เปิดไว้เท่านั้น แล้วให้บรรจุอยู่ในเว็ปไซด์