ASTVผู้จัดการรายวัน-เตือนลูกค้ารับสร้างบ้าน ระวังกลุ่มบริษัทนอกรีต อาศัยช่องหลอกลวงเงินลูกค้า สร้างบ้านแล้วไม่ได้บ้าน บอสใหญ่พีดีเฮ้าส์ฯ รับปีนี้ รับสร้างบ้านฉาวมากที่สุด เผย 8 ผู้ประกอบการรับสร้างบ้าน มีรายได้ทะลุ 100 ล้าน ชี้มี 27 บริษัทมีผลขาดทุน หวังเร่งปรับปรุงงบดุลให้ถูกต้อง สร้างมาตรฐาน แนะรายเล็กเร่งปรับตัว เชื่อ 5-7 ปี เป็นตลาดของรายใหญ่
นายสิทธิพร สุวรรณสุต ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ปทุมดีไซน์ ดีเวลลอป จำกัด หรือ พีดีเฮ้าส์ กล่าวถึงตลาดรับสร้างในปี 2552 ว่า เป็นปีที่มีเรื่องฉาวในวงการรับสร้างบ้านมากที่สุด เพราะมีกลุ่มลูกค้าที่โดนหลอกลวงและได้รับเดือดร้อนรวมตัวกัน ออกมาแฉพฤติกรรมกับสื่อมวลชนและแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ประกอบการนอกรีต หรือมิจฉาชีพที่แฝงตัวเข้ามาในธุรกิจรับสร้างบ้าน คิดเป็นมูลค่าความเสียหายนับร้อยล้านบาท
จากข้อมูลพบว่า ผู้บริโภคที่ตกเป็นเหยื่อก็เพราะโดนจูงใจด้วยเงื่อนไขราคาต่ำเกินจริง อีกทั้งโปรโม ชัน ส่วนลดของแถมมากมายที่นำมาล่อใจ สุดท้ายไม่เพียงแค่สร้างบ้านไม่ได้มาตรฐาน แต่กลายเป็นสร้างบ้าน ไม่ได้บ้าน ทั้งนี้ได้สร้างความเดือดร้อนแสนสาหัสแก่ผู้บริโภคที่ตกเป็นเหยื่อ เพราะต้องสูญเสียเงินทองที่อดออมไป
“ เชื่อว่าเรื่องเลวร้ายเช่นนี้ จะยังคงเกิดขึ้นอีกในอนาคต ตราบใดที่ยังไม่มีกฎหมายออกมาควบคุมอาชีพนี้ ผู้บริโภคเองต้องมีความระมัดระวังและอย่าหลงเชื่อหรือโลภมากจนตกเป็นเหยื่อ เพราะว่าในปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานของเอกชน สามารถควบคุมผู้ประกอบการนอกรีตได้ ”นายสิทธิพรกล่าว
8ผู้ประกอบการรายได้เกิน100ล้าน
แนะเร่งปรับงบดุลให้ถูกต้อง!
นายสิทธิพรกล่าวว่า แนวโน้มปริมาณบ้านสร้างเองในต่างจังหวัดจะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งผลการศึกษาข้อมูลพบว่า สถิติการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่ออยู่อาศัยอาคารแนวราบทั่วประเทศในช่วงปี 2549-2551 เฉลี่ยปีละประมาณ 2แสนหน่วยเศษ (ประมาณการครึ่งปี 52 อยู่ที่ 90,000 หน่วย) ทั้งนี้บริษัทฯประเมินว่าปริมาณบ้านสร้างเองทั่วประเทศ ประเภทบ้านเดี่ยวพักอาศัย (ไม่นับรวมประเภทบ้านจัดสรร) จะมีจำนวนเฉลี่ย 74,000-75,000 หน่วยต่อปี แยกเป็นปริมาณบ้านสร้างเองในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลเฉลี่ย 18,000-20,000 หน่วยต่อปี และในพื้นที่ต่างจังหวัดประมาณ 55,000-56,000 หน่วยต่อปี ซึ่งจากตัวเลขดังกล่าว จะเห็นว่าโอกาสและตลาดรับสร้างบ้านในต่างจังหวัดยังเปิดกว้างอีกมาก
ฝ่ายวิจัยและพัฒนาธุรกิจ บริษัท ปทุมดีไซน์ ดีเวลลอป จำกัด ยังได้ทำการสำรวจข้อมูลผู้ประกอบการกลุ่มตัวอย่างจำนวน 36 ราย ที่เป็นสมาชิกสมาคมฯ พบว่าปี51 ผู้ประกอบการที่มีรายได้เกิน 100 ล้านบาท มีจำนวนเพียง 8 รายเท่านั้น (เช่น บางกอกเฮ้าส์บิวเดอร์ ,รอแยล เฮ้าส์ , แลนดี้ โฮมฯ, ปทุมดีไซน์ฯ และบีคอมพลีส คอนสตรัคชั่น เป็นต้น ) โดยผู้ประกอบการจำนวน 18 รายในกลุ่มตัวอย่างมีรายได้ระหว่าง 10-99 ล้านบาทเศษ และในขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างจำนวนถึง 10 ราย มีรายได้ต่ำกว่า 10 ล้านบาท (เช่น ทรี.ดี.เฮ้าซิ่ง, แฮปปี้ โฮม บิวเดอร์ , เนเชอรัล โฮม และ ทรอปิคอลซีรี่ย์ เฮ้าส์ จำกัด เป็นต้น)
ที่สำคัญ ยังพบว่าผู้ประกอบการมีกำไรจากผลดำเนินงานเพียง 19 รายเท่านั้น (ผู้ประกอบการจำนวน 27 ราย มีผลดำเนินงานขาดทุน) จากข้อมูลดังกล่าวมีนัยสำคัญคือ 1.ส่วนแบ่งตลาดในกลุ่มบริษัทรับสร้างบ้านยังมีขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณบ้านสร้างเอง 2.ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่เข้มแข็งพอ และ 3.ผู้ประกอบการควรปรับปรุงมาตรฐานทางบัญชีและแสดงงบดุลให้ถูกต้อง
ระวังรายใหญ่ผูกขาดตลาด
ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยฯได้ประเมินว่า ในอีก 5-7 ปีข้างหน้า มีความเป็นไปได้ที่จะกลายเป็นอุตฯสร้างบ้านเหมือนในต่างประเทศ โดยเฉพาะปัจจุบันมีผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างรายใหญ่อย่าง SCG ประกาศตัวที่จะขยายเข้ามาสู่ธุรกิจรับสร้างบ้านแล้ว (บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตทฯ มีแผนที่ขยายสู่ตลาดรับสร้างบ้าน ) เชื่อว่าจะมีรายใหญ่รายอื่นเข้ามาเพิ่มอีกในเร็วๆนี้
“ มองอีกด้าน คาดว่าจะเกิดปัญหากับผู้ประกอบการรายเดิมที่มีขนาดเล็ก อาจไม่สามารถแข่งขันกับรายใหญ่ได้และจำเป็นต้องถอยออกไปจากเวทีแข่งขันในธุรกิจนี้ ”
ดังนั้น ผู้ประกอบการรายเล็กควรเร่งปรับตัวเพื่อความอยู่รอด เช่น เน้นหาลูกค้าและค้าขายบน Internet ให้มากขึ้น (E-Commerce) , ดึงเรื่องภาวะโลกร้อนตามกระแสที่ผู้บริโภคตื่นตัวเข้ามาอยู่ในตราสินค้า หรือโฆษณาของเรา (Green Logo) ,เน้นบริหารเพื่อเพิ่มคุณค่าให้สินค้าและบริการ , เน้นให้ความสำคัญด้านดีไซน์และความทันสมัยหรือก้าวล้ำคู่แข่ง เป็นต้น
ทั้งนี้ ในแผนธุรกิจของบริษัท ได้กำหนดเป้าหมายที่จะขยายแฟรนไชส์ให้ครบ 50 สาขาภายใน 5 ปี หรือภายในปี 2556 เพื่อให้บริการสร้างบ้านครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศมากที่สุด.
นายสิทธิพร สุวรรณสุต ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ปทุมดีไซน์ ดีเวลลอป จำกัด หรือ พีดีเฮ้าส์ กล่าวถึงตลาดรับสร้างในปี 2552 ว่า เป็นปีที่มีเรื่องฉาวในวงการรับสร้างบ้านมากที่สุด เพราะมีกลุ่มลูกค้าที่โดนหลอกลวงและได้รับเดือดร้อนรวมตัวกัน ออกมาแฉพฤติกรรมกับสื่อมวลชนและแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ประกอบการนอกรีต หรือมิจฉาชีพที่แฝงตัวเข้ามาในธุรกิจรับสร้างบ้าน คิดเป็นมูลค่าความเสียหายนับร้อยล้านบาท
จากข้อมูลพบว่า ผู้บริโภคที่ตกเป็นเหยื่อก็เพราะโดนจูงใจด้วยเงื่อนไขราคาต่ำเกินจริง อีกทั้งโปรโม ชัน ส่วนลดของแถมมากมายที่นำมาล่อใจ สุดท้ายไม่เพียงแค่สร้างบ้านไม่ได้มาตรฐาน แต่กลายเป็นสร้างบ้าน ไม่ได้บ้าน ทั้งนี้ได้สร้างความเดือดร้อนแสนสาหัสแก่ผู้บริโภคที่ตกเป็นเหยื่อ เพราะต้องสูญเสียเงินทองที่อดออมไป
“ เชื่อว่าเรื่องเลวร้ายเช่นนี้ จะยังคงเกิดขึ้นอีกในอนาคต ตราบใดที่ยังไม่มีกฎหมายออกมาควบคุมอาชีพนี้ ผู้บริโภคเองต้องมีความระมัดระวังและอย่าหลงเชื่อหรือโลภมากจนตกเป็นเหยื่อ เพราะว่าในปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานของเอกชน สามารถควบคุมผู้ประกอบการนอกรีตได้ ”นายสิทธิพรกล่าว
8ผู้ประกอบการรายได้เกิน100ล้าน
แนะเร่งปรับงบดุลให้ถูกต้อง!
นายสิทธิพรกล่าวว่า แนวโน้มปริมาณบ้านสร้างเองในต่างจังหวัดจะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งผลการศึกษาข้อมูลพบว่า สถิติการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่ออยู่อาศัยอาคารแนวราบทั่วประเทศในช่วงปี 2549-2551 เฉลี่ยปีละประมาณ 2แสนหน่วยเศษ (ประมาณการครึ่งปี 52 อยู่ที่ 90,000 หน่วย) ทั้งนี้บริษัทฯประเมินว่าปริมาณบ้านสร้างเองทั่วประเทศ ประเภทบ้านเดี่ยวพักอาศัย (ไม่นับรวมประเภทบ้านจัดสรร) จะมีจำนวนเฉลี่ย 74,000-75,000 หน่วยต่อปี แยกเป็นปริมาณบ้านสร้างเองในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลเฉลี่ย 18,000-20,000 หน่วยต่อปี และในพื้นที่ต่างจังหวัดประมาณ 55,000-56,000 หน่วยต่อปี ซึ่งจากตัวเลขดังกล่าว จะเห็นว่าโอกาสและตลาดรับสร้างบ้านในต่างจังหวัดยังเปิดกว้างอีกมาก
ฝ่ายวิจัยและพัฒนาธุรกิจ บริษัท ปทุมดีไซน์ ดีเวลลอป จำกัด ยังได้ทำการสำรวจข้อมูลผู้ประกอบการกลุ่มตัวอย่างจำนวน 36 ราย ที่เป็นสมาชิกสมาคมฯ พบว่าปี51 ผู้ประกอบการที่มีรายได้เกิน 100 ล้านบาท มีจำนวนเพียง 8 รายเท่านั้น (เช่น บางกอกเฮ้าส์บิวเดอร์ ,รอแยล เฮ้าส์ , แลนดี้ โฮมฯ, ปทุมดีไซน์ฯ และบีคอมพลีส คอนสตรัคชั่น เป็นต้น ) โดยผู้ประกอบการจำนวน 18 รายในกลุ่มตัวอย่างมีรายได้ระหว่าง 10-99 ล้านบาทเศษ และในขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างจำนวนถึง 10 ราย มีรายได้ต่ำกว่า 10 ล้านบาท (เช่น ทรี.ดี.เฮ้าซิ่ง, แฮปปี้ โฮม บิวเดอร์ , เนเชอรัล โฮม และ ทรอปิคอลซีรี่ย์ เฮ้าส์ จำกัด เป็นต้น)
ที่สำคัญ ยังพบว่าผู้ประกอบการมีกำไรจากผลดำเนินงานเพียง 19 รายเท่านั้น (ผู้ประกอบการจำนวน 27 ราย มีผลดำเนินงานขาดทุน) จากข้อมูลดังกล่าวมีนัยสำคัญคือ 1.ส่วนแบ่งตลาดในกลุ่มบริษัทรับสร้างบ้านยังมีขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณบ้านสร้างเอง 2.ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่เข้มแข็งพอ และ 3.ผู้ประกอบการควรปรับปรุงมาตรฐานทางบัญชีและแสดงงบดุลให้ถูกต้อง
ระวังรายใหญ่ผูกขาดตลาด
ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยฯได้ประเมินว่า ในอีก 5-7 ปีข้างหน้า มีความเป็นไปได้ที่จะกลายเป็นอุตฯสร้างบ้านเหมือนในต่างประเทศ โดยเฉพาะปัจจุบันมีผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างรายใหญ่อย่าง SCG ประกาศตัวที่จะขยายเข้ามาสู่ธุรกิจรับสร้างบ้านแล้ว (บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตทฯ มีแผนที่ขยายสู่ตลาดรับสร้างบ้าน ) เชื่อว่าจะมีรายใหญ่รายอื่นเข้ามาเพิ่มอีกในเร็วๆนี้
“ มองอีกด้าน คาดว่าจะเกิดปัญหากับผู้ประกอบการรายเดิมที่มีขนาดเล็ก อาจไม่สามารถแข่งขันกับรายใหญ่ได้และจำเป็นต้องถอยออกไปจากเวทีแข่งขันในธุรกิจนี้ ”
ดังนั้น ผู้ประกอบการรายเล็กควรเร่งปรับตัวเพื่อความอยู่รอด เช่น เน้นหาลูกค้าและค้าขายบน Internet ให้มากขึ้น (E-Commerce) , ดึงเรื่องภาวะโลกร้อนตามกระแสที่ผู้บริโภคตื่นตัวเข้ามาอยู่ในตราสินค้า หรือโฆษณาของเรา (Green Logo) ,เน้นบริหารเพื่อเพิ่มคุณค่าให้สินค้าและบริการ , เน้นให้ความสำคัญด้านดีไซน์และความทันสมัยหรือก้าวล้ำคู่แข่ง เป็นต้น
ทั้งนี้ ในแผนธุรกิจของบริษัท ได้กำหนดเป้าหมายที่จะขยายแฟรนไชส์ให้ครบ 50 สาขาภายใน 5 ปี หรือภายในปี 2556 เพื่อให้บริการสร้างบ้านครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศมากที่สุด.