ASTV ผู้จัดการรายวัน – ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชี้นักลงทุนต่างประเทศมั่นใจตลาดหุ้นไทย หลังนายกฯ เดินสายโรดโชว์นิวยอร์กด้วยตนเอง แย้มบางกองทุนเตรียมเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นไทยเป็น 5% สูงกว่าดัชนี MSCI ที่ระดับ 2% ด้านสำนักงาน ก.ล.ต. เร่งพิจารณากรอบการยื่นไฟลิ่งบจ.แบบใหม่ ให้ทันประกาศใช้กลางปี 54 พร้อมหนุนเอกชนเข้าจดทะเบียนภายในปีนี้ เพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ขณะเดียวกันเตรียมขยายบทบาทสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย มุ่งปกป้องประโยชน์รายย่อย
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า จากการเดินทางไปนำเสนอข้อมูลประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่นายกฯ เดินทางไปชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายการดำเนินของรัฐบาลด้วยตนเอง โดยครั้งนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้พบกับกองทุนจำนวน 25 กองทุน 60 ราย และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
ทั้งนี้ หลังจากการนำเสนอข้อมูลให้แก่นักลงทุน พบว่า กองทุนบางแห่งเตรียมเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในประเทศไทย เพิ่มเป็น 5% จากปัจจุบันที่มีน้ำหนักการลงทุนในดัชนี MSCI อยู่ที่ 2% และกองทุนอีกหลายแห่งอยู่ระหว่างการพิจารณาเพิ่มน้ำหนักการลงทุนมากขึ้น ขณะที่กองทุนบางแห่งที่ยังไม่เคยเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เริ่มที่จะพิจารณาการลงทุนในตลาดหุ้นไทยแล้ว โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการที่เศรษฐกิจไทยมีการฟื้นตัว และราคาหุ้นยังไม่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ทำให้ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดี
“ส่วนตัวเชื่อว่าเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศจะไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย หลังจากเศรษฐกิจในประเทศแถบเอเชียเริ่มฟื้นตัว ซึ่งที่ผ่านมาเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิ 52,000 ล้านบาท แม้ภาวะตลาดหุ้นไทยจะมีลักษณะผันผวนบ้าง”
นางภัทรียา กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการเดินทางไปเยี่ยมตลาดหุ้นนิวยอร์กครั้งนี้ ทางตลาดหุ้นนิวยอร์กจะให้ความช่วยเหลือเรื่องการทำระบบการซื้อขายกระดานหุ้นอาเซียน (อาเซียนลิ้งค์เกจ) โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ คาดว่าจะสามารถเลือกผู้พัฒนาระบบการเชื่อมโยงการซื้อขายหุ้นระหว่าง 5 ประเทศภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้การซื้อขายในกระดานหุ้นอาเซียนต้องเลื่อนออกไป
สำหรับแผนการเดิมนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ คาดว่าภายในสิ้นปี 2552 นี้จะสามารถเปิดซื้อขายหุ้นระหว่างกันในกระดานอาเซียน 1 คู่ คือ ตลาดหุ้นไทย กับมาเลเซีย แต่ต้องเลื่อนออกไปเป็นปี 2553 เนื่องจากขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกผู้ทำระบบตลาดหุ้น 5 ประเทศ ให้สามารถซื้อขายหุ้นระหว่างกันได้ จากปัจจุบันตลาดหุ้น 5 ประเทศมีระบบการซื้อขายที่แตกต่างกัน
เร่งวางกรอบยื่นไฟลิ่งแบบใหม่
นายวสันต์ เทียนหอม ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวถึง ความคืบหน้าในเรื่องการใช้รูปแบบเปิดเผยข้อมูล (Disclosure Based) ของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) โดยให้บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ดูแลในเรื่องการเปิดเผยข้อมูล ว่า ขณะนี้ ก.ล.ต. อยู่ระหว่างการหารือรายละเอียดกับทางชมรมวาณิชธกิจ เพราะบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินจะเป็นผู้ที่ทราบข้อมูลของบริษัทเป็นอย่างดี ซึ่งคาดว่าจะสามารถประกาศใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวประมาณกลางปี 2554
“ระบบ Disclosure Based นี้ ที่ปรึกษาทางการเงินจะต้องดูแลเรื่องการเปิดเผยและตรวจสอบข้อมูลของบจ.ที่จะมาเข้าจดทะเบียนแทนจากเดิมที่ก.ล.ต.จะเป็นผู้ดูแล แต่ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ จะยังคงติดตามข้อมูล(มอนิเตอร์) และมีบทลงโทษ (Sanction) อยู่ตลอดเวลา แม้ว่า ก.ล.ต. จะใช้ดุลพินิจในการพิจารณารับบจ. เข้าจดทะเบียนน้อยลง”นายวสันต์ กล่าว
สำหรับ การใช้ระบบ Disclosure Based นี้ ก.ล.ต. ต้องการช่วยลดระยะเวลาในการรับบจ.เข้าจดทะเบียนได้รวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น จากเดิมที่บริษัทที่ต้องการเข้าจดทะเบียนต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลของก.ล.ต. ที่อาจต้องใช้เวลาหลายเดือน หรือบริษัทที่มีความพร้อมด้านข้อมูลจะต้องใช้เวลาถึง 45 วัน ตามระบบการตรวจสอบเดิมของ ก.ล.ต.
อย่างไรก็ตาม สำหรับ บจ.ที่จะเข้าจดทะเบียนในช่วงปีนี้ ยังคงต้องผ่านระบบการตรวจสอบข้อมูลของ ก.ล.ต. อยู่ โดยขณะนี้มีบจ.ที่อยู่ในกระบวนการพิจารณาประมาณกว่า 10 บริษัท เพื่อที่จะเข้าให้ทันภายในปีนี้ เพื่อที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นปีสุดท้าย
ก.ล.ต.หนุนป้องสิทธิรายย่อย
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวเพิ่มเติมถึง ผลการประชุมรายไตรมาสระหว่าง ก.ล.ต. กับสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 52 ว่า ที่ประชุมเห็นร่วมกันที่จะขยายบทบาทหน้าที่ของสมาคมในการปกป้องประโยชน์ของผู้ลงทุนให้ครอบคลุมถึงการลงทุนในสินค้าทางการเงินประเภทอื่นและหลักทรัพย์ต่างประเทศ นอกเหนือจากหุ้นในประเทศที่ทำอยู่ในปัจจุบัน เพื่อเป็นการถ่วงดุลการบริหารงานของบจ. และเป็นการยกระดับการกำกับดูแลกิจการที่ดีของตลาดทุนทั้งระบบ
ทั้งนี้ ก.ล.ต.และสมาคมจะปรับปรุงบทบาทในการรับมอบอำนาจจากผู้ถือหุ้นเพื่อใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การออกข่าวแสดงจุดยืนและความเห็นที่ชัดเจนให้ผู้ลงทุนทั่วไปได้รับทราบในกรณีที่มีข้อสังเกตในการทำรายการของบริษัทจดทะเบียนที่อาจทำให้ผู้ถือหุ้นเสียประโยชน์ รวมทั้งเป็นตัวแทนของผู้ลงทุนรายย่อยใช้สิทธิเรียกร้องทางกฎหมายเมื่อเกิดข้อพิพาทและความเสียหายจากการปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นต้น
นายสรรเสริญ นิลรัตน์ นายกสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย กล่าวว่า สมาคมมีความตั้งใจที่จะขยายบทบาทและการทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนของผู้ถือหุ้นให้เป็นไปในเชิงรุกมากขึ้น โดยสมาคมได้ศึกษาการดำเนินงานของสมาคมผู้ลงทุนของต่างประเทศไว้เป็นแนวทาง และจะเสนอแผนการปรับบทบาทการดำเนินงานของสมาคมให้ ก.ล.ต. พิจารณาต่อไป
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า จากการเดินทางไปนำเสนอข้อมูลประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่นายกฯ เดินทางไปชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายการดำเนินของรัฐบาลด้วยตนเอง โดยครั้งนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้พบกับกองทุนจำนวน 25 กองทุน 60 ราย และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
ทั้งนี้ หลังจากการนำเสนอข้อมูลให้แก่นักลงทุน พบว่า กองทุนบางแห่งเตรียมเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในประเทศไทย เพิ่มเป็น 5% จากปัจจุบันที่มีน้ำหนักการลงทุนในดัชนี MSCI อยู่ที่ 2% และกองทุนอีกหลายแห่งอยู่ระหว่างการพิจารณาเพิ่มน้ำหนักการลงทุนมากขึ้น ขณะที่กองทุนบางแห่งที่ยังไม่เคยเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เริ่มที่จะพิจารณาการลงทุนในตลาดหุ้นไทยแล้ว โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการที่เศรษฐกิจไทยมีการฟื้นตัว และราคาหุ้นยังไม่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ทำให้ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดี
“ส่วนตัวเชื่อว่าเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศจะไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย หลังจากเศรษฐกิจในประเทศแถบเอเชียเริ่มฟื้นตัว ซึ่งที่ผ่านมาเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิ 52,000 ล้านบาท แม้ภาวะตลาดหุ้นไทยจะมีลักษณะผันผวนบ้าง”
นางภัทรียา กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการเดินทางไปเยี่ยมตลาดหุ้นนิวยอร์กครั้งนี้ ทางตลาดหุ้นนิวยอร์กจะให้ความช่วยเหลือเรื่องการทำระบบการซื้อขายกระดานหุ้นอาเซียน (อาเซียนลิ้งค์เกจ) โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ คาดว่าจะสามารถเลือกผู้พัฒนาระบบการเชื่อมโยงการซื้อขายหุ้นระหว่าง 5 ประเทศภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้การซื้อขายในกระดานหุ้นอาเซียนต้องเลื่อนออกไป
สำหรับแผนการเดิมนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ คาดว่าภายในสิ้นปี 2552 นี้จะสามารถเปิดซื้อขายหุ้นระหว่างกันในกระดานอาเซียน 1 คู่ คือ ตลาดหุ้นไทย กับมาเลเซีย แต่ต้องเลื่อนออกไปเป็นปี 2553 เนื่องจากขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกผู้ทำระบบตลาดหุ้น 5 ประเทศ ให้สามารถซื้อขายหุ้นระหว่างกันได้ จากปัจจุบันตลาดหุ้น 5 ประเทศมีระบบการซื้อขายที่แตกต่างกัน
เร่งวางกรอบยื่นไฟลิ่งแบบใหม่
นายวสันต์ เทียนหอม ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวถึง ความคืบหน้าในเรื่องการใช้รูปแบบเปิดเผยข้อมูล (Disclosure Based) ของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) โดยให้บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ดูแลในเรื่องการเปิดเผยข้อมูล ว่า ขณะนี้ ก.ล.ต. อยู่ระหว่างการหารือรายละเอียดกับทางชมรมวาณิชธกิจ เพราะบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินจะเป็นผู้ที่ทราบข้อมูลของบริษัทเป็นอย่างดี ซึ่งคาดว่าจะสามารถประกาศใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวประมาณกลางปี 2554
“ระบบ Disclosure Based นี้ ที่ปรึกษาทางการเงินจะต้องดูแลเรื่องการเปิดเผยและตรวจสอบข้อมูลของบจ.ที่จะมาเข้าจดทะเบียนแทนจากเดิมที่ก.ล.ต.จะเป็นผู้ดูแล แต่ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ จะยังคงติดตามข้อมูล(มอนิเตอร์) และมีบทลงโทษ (Sanction) อยู่ตลอดเวลา แม้ว่า ก.ล.ต. จะใช้ดุลพินิจในการพิจารณารับบจ. เข้าจดทะเบียนน้อยลง”นายวสันต์ กล่าว
สำหรับ การใช้ระบบ Disclosure Based นี้ ก.ล.ต. ต้องการช่วยลดระยะเวลาในการรับบจ.เข้าจดทะเบียนได้รวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น จากเดิมที่บริษัทที่ต้องการเข้าจดทะเบียนต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลของก.ล.ต. ที่อาจต้องใช้เวลาหลายเดือน หรือบริษัทที่มีความพร้อมด้านข้อมูลจะต้องใช้เวลาถึง 45 วัน ตามระบบการตรวจสอบเดิมของ ก.ล.ต.
อย่างไรก็ตาม สำหรับ บจ.ที่จะเข้าจดทะเบียนในช่วงปีนี้ ยังคงต้องผ่านระบบการตรวจสอบข้อมูลของ ก.ล.ต. อยู่ โดยขณะนี้มีบจ.ที่อยู่ในกระบวนการพิจารณาประมาณกว่า 10 บริษัท เพื่อที่จะเข้าให้ทันภายในปีนี้ เพื่อที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นปีสุดท้าย
ก.ล.ต.หนุนป้องสิทธิรายย่อย
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวเพิ่มเติมถึง ผลการประชุมรายไตรมาสระหว่าง ก.ล.ต. กับสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 52 ว่า ที่ประชุมเห็นร่วมกันที่จะขยายบทบาทหน้าที่ของสมาคมในการปกป้องประโยชน์ของผู้ลงทุนให้ครอบคลุมถึงการลงทุนในสินค้าทางการเงินประเภทอื่นและหลักทรัพย์ต่างประเทศ นอกเหนือจากหุ้นในประเทศที่ทำอยู่ในปัจจุบัน เพื่อเป็นการถ่วงดุลการบริหารงานของบจ. และเป็นการยกระดับการกำกับดูแลกิจการที่ดีของตลาดทุนทั้งระบบ
ทั้งนี้ ก.ล.ต.และสมาคมจะปรับปรุงบทบาทในการรับมอบอำนาจจากผู้ถือหุ้นเพื่อใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การออกข่าวแสดงจุดยืนและความเห็นที่ชัดเจนให้ผู้ลงทุนทั่วไปได้รับทราบในกรณีที่มีข้อสังเกตในการทำรายการของบริษัทจดทะเบียนที่อาจทำให้ผู้ถือหุ้นเสียประโยชน์ รวมทั้งเป็นตัวแทนของผู้ลงทุนรายย่อยใช้สิทธิเรียกร้องทางกฎหมายเมื่อเกิดข้อพิพาทและความเสียหายจากการปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นต้น
นายสรรเสริญ นิลรัตน์ นายกสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย กล่าวว่า สมาคมมีความตั้งใจที่จะขยายบทบาทและการทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนของผู้ถือหุ้นให้เป็นไปในเชิงรุกมากขึ้น โดยสมาคมได้ศึกษาการดำเนินงานของสมาคมผู้ลงทุนของต่างประเทศไว้เป็นแนวทาง และจะเสนอแผนการปรับบทบาทการดำเนินงานของสมาคมให้ ก.ล.ต. พิจารณาต่อไป