ASTVผู้จัดการรายวัน -นักวิชาการติง ร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีก ฯยังหลวม หวั่นไม่นิยามประเภทธุรกิจ เปิดช่องให้เอื้อทุจริตตอนจดทะเบียน
ดร.ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ที่ปรึกษาสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวถึงเนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าฯของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ที่มีการนำมาประชาพิจารณ์อยู่ในขณะนี้นั้น ตนเห็นว่ายังมีข้อบกพร่องอยู่มาก และควรจะมีการพิจารณาในเรื่องของข้อกฎหมายและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติก่อนมีการบังคับใช้ เพราะเจตนารมณ์ที่แท้จริงของการออกกฎหมายนี้ ควรจะเป็นไปเพื่อให้ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งทั้งระบบของไทยที่มีมูลค่ามากกว่าแสนล้านนี้ สามารถทำธุรกิจร่วมกันได้ มากกว่าจะเอื้อประโยชน์ให้เพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ด้วยการกีดกันกลุ่มอื่นให้ออกนอกระบบไป อันเป็นลักษณะของการกีดกันทางการค้าที่ทั่วโลกไม่ยอมรับกันแล้ว
ประเด็นที่ ที่ปรึกษาสมาคมผู้ค้าปลีกไทยเห็นว่ายังไม่เหมะสม คือ การแบ่งประเภทของห้างเพื่อขอใบอนุญาตเอาไว้ 4 ประเภท คือห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ห้างค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่ ซุปเปอร์มาร์เกต ร้านสะดวกซื้อ โดยไม่มีการกำหนดคำนิยามให้ชัดเจนว่าแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร ทำให้เกิดช่องว่างสำหรับผู้ปฎิบัติ รวมทั้งอาจเป็นช่องโหว่ให้มีการทุจริตขั้นตอนการขออนุญาตได้ เนื่องจากมีการให้สิทธิและกำหนดหน้าที่ของผู้ประกอบการทั้ง 4 ประเภทนี้ต่างกัน ผู้ประกอบการทุกคนก็ต้องการให้ธุรกิจของตนอยู่ในประเภทที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายสูงสุด
“สมมุติว่าถ้าผมจะเปิดร้านค้าปลีกสักแห่ง แล้วผมจะรู้ได้ไงว่าธุรกิจของผมจะจัดอยู่ในประเภทอะไร เพราะถ้าจะเป็น ซุปเปอร์มาร์เกตก็ต้องมีการจำหน่ายอาหารสด แต่ถ้าร้านของผมมีขนาด 1,000 ตารางเมตรแต่ไม่มีอาหารสด จะขออนุญาตจดทะเบียนเป็นซุปเปอร์มาร์เกตได้หรือไม่ หรือการแบ่งเป็นค้าปลีกอย่างเดียว กับค้าปลีกและค้าส่ง ทำไมต้องแยก ค้าปลีกอย่างเดียวไม่ค้าส่งหรืออย่างไร ด้วย “ ดร.ฉัตรชัย กล่าว
นอกจากนี้ ยังกล่าวด้วยว่า การให้คำนิยามประเภทธุรกิจเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเมื่อนำไปบังคับใช้แล้ว จะเกิดข้อโต้แย้งมาก รวมทั้งต้องคิดเผื่อไว้สำหรับการพัฒนารูปแบบทางธุรกิจใหม่ ๆ ด้วย เรื่องสำคัญแบบนี้ อย่าไปรอกำหนดในประกาศกระทรวง ต้องเอาให้ชัดตั้งแต่ พระราชบัญญัติเลย เพราะมิเช่นนั้นจะเป็นการเปิดช่องให้เกิดการทุจริตหรือเรียกรับผลประโยชน์ในขั้นตอนการปฏิบัติได้ ” ดร.ฉัตรชัย กล่าว
ดร.ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ที่ปรึกษาสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวถึงเนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าฯของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ที่มีการนำมาประชาพิจารณ์อยู่ในขณะนี้นั้น ตนเห็นว่ายังมีข้อบกพร่องอยู่มาก และควรจะมีการพิจารณาในเรื่องของข้อกฎหมายและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติก่อนมีการบังคับใช้ เพราะเจตนารมณ์ที่แท้จริงของการออกกฎหมายนี้ ควรจะเป็นไปเพื่อให้ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งทั้งระบบของไทยที่มีมูลค่ามากกว่าแสนล้านนี้ สามารถทำธุรกิจร่วมกันได้ มากกว่าจะเอื้อประโยชน์ให้เพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ด้วยการกีดกันกลุ่มอื่นให้ออกนอกระบบไป อันเป็นลักษณะของการกีดกันทางการค้าที่ทั่วโลกไม่ยอมรับกันแล้ว
ประเด็นที่ ที่ปรึกษาสมาคมผู้ค้าปลีกไทยเห็นว่ายังไม่เหมะสม คือ การแบ่งประเภทของห้างเพื่อขอใบอนุญาตเอาไว้ 4 ประเภท คือห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ห้างค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่ ซุปเปอร์มาร์เกต ร้านสะดวกซื้อ โดยไม่มีการกำหนดคำนิยามให้ชัดเจนว่าแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร ทำให้เกิดช่องว่างสำหรับผู้ปฎิบัติ รวมทั้งอาจเป็นช่องโหว่ให้มีการทุจริตขั้นตอนการขออนุญาตได้ เนื่องจากมีการให้สิทธิและกำหนดหน้าที่ของผู้ประกอบการทั้ง 4 ประเภทนี้ต่างกัน ผู้ประกอบการทุกคนก็ต้องการให้ธุรกิจของตนอยู่ในประเภทที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายสูงสุด
“สมมุติว่าถ้าผมจะเปิดร้านค้าปลีกสักแห่ง แล้วผมจะรู้ได้ไงว่าธุรกิจของผมจะจัดอยู่ในประเภทอะไร เพราะถ้าจะเป็น ซุปเปอร์มาร์เกตก็ต้องมีการจำหน่ายอาหารสด แต่ถ้าร้านของผมมีขนาด 1,000 ตารางเมตรแต่ไม่มีอาหารสด จะขออนุญาตจดทะเบียนเป็นซุปเปอร์มาร์เกตได้หรือไม่ หรือการแบ่งเป็นค้าปลีกอย่างเดียว กับค้าปลีกและค้าส่ง ทำไมต้องแยก ค้าปลีกอย่างเดียวไม่ค้าส่งหรืออย่างไร ด้วย “ ดร.ฉัตรชัย กล่าว
นอกจากนี้ ยังกล่าวด้วยว่า การให้คำนิยามประเภทธุรกิจเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเมื่อนำไปบังคับใช้แล้ว จะเกิดข้อโต้แย้งมาก รวมทั้งต้องคิดเผื่อไว้สำหรับการพัฒนารูปแบบทางธุรกิจใหม่ ๆ ด้วย เรื่องสำคัญแบบนี้ อย่าไปรอกำหนดในประกาศกระทรวง ต้องเอาให้ชัดตั้งแต่ พระราชบัญญัติเลย เพราะมิเช่นนั้นจะเป็นการเปิดช่องให้เกิดการทุจริตหรือเรียกรับผลประโยชน์ในขั้นตอนการปฏิบัติได้ ” ดร.ฉัตรชัย กล่าว