ASTVผู้จัดการรายวัน-ร.ฟ.ท.เพิ่งเซ็นสัญญาจ้าง DBI บริษัทเดินรถไฟเยอรมัน วงเงิน 85 ล้านบาท ฝึกพนักงานเดินรถแอร์พอร์ตลิ้งค์ จับตา ฝึกไม่ทัน เปิดเดินรถ 5 ธ.ค.52 แม้จะวิ่งไม่เต็มระบบ เหตุเหลือเวลาแค่ 3 เดือน แถมระบบตรวจจับวัตถุระเบิด ยังไม่ได้เริ่มติดตั้ง “ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.”เผยเปิดให้ประชาชนทดลอง 1 ต.ค.เป็นต้นไป ไม่สนระบบความปลอดภัยไม่พร้อม
วานนี้ ( 28 ก.ย.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ลงนามสัญญาจ้างบริษัท Deutsche Bahn International (DBI) ซึ่งเป็นบริษัทเดินรถไฟจากประเทศเยอรมัน วงเงิน 85 ล้านบาท โดยมีระยะเวลา 9 เดือน เพื่อเป็นที่ปรึกษาในส่วนของการเดินรถโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือแอร์พอร์ตลิ้งค์ รวมทั้งเป็นผู้ฝึกอบรมบุคลากรเพื่อการเดินรถในโครงการ
โดยนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า DBI จะใช้เวลา 9 เดือน ในการเป็นที่ปรึกษาและฝึกอบรม โดยจะเร่งรัดให้เสร็จสิ้นตามกำหนดการทั้งหมด เนื่องจากขณะนี้โครงการล่าช้ามากแล้ว ซึ่งบริษัท DBI จะรับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านการเดินรถและจะฝึกอบรมบุคลากรในด้านการเดินรถที่ปลอดภัยและระบบที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการทั้งหมด ส่วนงานก่อสร้างโครงสร้างงานโยธาและการติดตั้งระบบรางและระบบไฟฟ้าเครื่องกล (E&M) รวมถึงการทดสอบการใช้งานของระบบ ความปลอดภัยของระบบ การเชื่อมต่อระบบ กลุ่มกิจการร่วมค้า บี.กริมม์ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งมีบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้ดำเนินการ
สำหรับสัญญา กำหนดว่าโครงการจะต้องก่อสร้างและทดสอบระบบเสร็จสมบูรณ์ภายในวันที่ 5 พ.ย. 2552 และต้องรอการตรวจสอบและรับรองความสมบูรณ์จากที่ปรึกษาวิศวกรอิสระ (Independent safety and system Certification Engineer : ICE) ก่อน จึงจะสามารถเปิดให้บริการเดินรถแบบเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งตามแผนเดิมนั้น ร.ฟ.ท.จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการได้ในเดือนม.ย. 2553
อย่างไรก็ตามในส่วนของวันที่ 1 ต.ค. 2552 นี้ ร.ฟ.ท.จะเริ่มเปิดให้ประชาชนทดลองนั่งสัปดาห์ละ 1 วัน ถึงวันที่ 5 ธ.ค. 2552 ซึ่งกำหนดเปิดเดินรถแบบไม่เป็นทางการ โดยประชาชนสามารถขอรับตั๋วโดยสารที่สำนักงานบริหารโครงการที่มักกะสัน หรือฝ่ายประชาสัมพันธ์ ร.ฟ.ท. ซึ่งคาดว่าจะมีคนใช้บริการประมาณ 2 พันคนต่อวัน
“การเปิดบริการในวันที่ 5 ธ.ค. 2552 แบบไม่เต็มรูปแบบนั้น เนื่องจากในส่วนเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดยังไม่ได้ติดตั้งเลย ซึ่งร.ฟ.ท.จะเร่งดำเนินการอย่างรวดเร็วให้ทันกำหนด ส่วนกรณีที่นายกอร์ปศักดิ์ สภาวศุ รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาตรวจสอบความพร้อมโครงการเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
และได้สั่งการให้ร.ฟ.ท.เร่งรัดในเรื่องของการจัดเตรียมบุคลากรให้ทันกำหนดเปิดนั้น ร.ฟ.ท.จะรับนโยบายไปเร่งดำเนินการทันที” นายยุทธนา กล่าว
นอกจากนี้ร.ฟ.ท.ยังได้จัดรณรงค์ลดอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดรถไฟเสมอระดับรถยนต์ ในโครงการ “1+1=0 รถไฟไทยปลอดภัยทุกเส้นทาง” เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนได้มีความเข้าใจ และร.ฟ.ท.จะจัดกิจกรรมและนิทรรศการ ในแต่ละภาคพื้นที่บริเวณจุดตัดทางรถไฟที่เกิดอุบัติเหตุ และจะหารือองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ที่มีเส้นทางรถไฟ รวมทั้งเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Work Shop) เพื่อหาทางออกร่วมกัน
นายยุทธนา กล่าวว่า การแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟนั้น ขณะนี้ ร.ฟ.ท.ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในการจัดสรรงบประมาณตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 วงเงิน 400 ล้านบาท เพื่อสร้างเครื่องกั้นจุดตัดถนนกับรางรถไฟล็อตแรก 100 จุดทั่วประเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับรายงานการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด
โดยขั้นตอนต่อจากนี้อยู่ระหว่างที่กระทรวงคมนาคมจัดทำคำของบประมาณเสนอต่อสำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาความเหมาะสม รวมทั้งเสนอแผนจัดซื้อหัวรถจักรอีก 8 คัน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอรัฐบาล เพื่อพิจารณา
วานนี้ ( 28 ก.ย.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ลงนามสัญญาจ้างบริษัท Deutsche Bahn International (DBI) ซึ่งเป็นบริษัทเดินรถไฟจากประเทศเยอรมัน วงเงิน 85 ล้านบาท โดยมีระยะเวลา 9 เดือน เพื่อเป็นที่ปรึกษาในส่วนของการเดินรถโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือแอร์พอร์ตลิ้งค์ รวมทั้งเป็นผู้ฝึกอบรมบุคลากรเพื่อการเดินรถในโครงการ
โดยนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า DBI จะใช้เวลา 9 เดือน ในการเป็นที่ปรึกษาและฝึกอบรม โดยจะเร่งรัดให้เสร็จสิ้นตามกำหนดการทั้งหมด เนื่องจากขณะนี้โครงการล่าช้ามากแล้ว ซึ่งบริษัท DBI จะรับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านการเดินรถและจะฝึกอบรมบุคลากรในด้านการเดินรถที่ปลอดภัยและระบบที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการทั้งหมด ส่วนงานก่อสร้างโครงสร้างงานโยธาและการติดตั้งระบบรางและระบบไฟฟ้าเครื่องกล (E&M) รวมถึงการทดสอบการใช้งานของระบบ ความปลอดภัยของระบบ การเชื่อมต่อระบบ กลุ่มกิจการร่วมค้า บี.กริมม์ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งมีบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้ดำเนินการ
สำหรับสัญญา กำหนดว่าโครงการจะต้องก่อสร้างและทดสอบระบบเสร็จสมบูรณ์ภายในวันที่ 5 พ.ย. 2552 และต้องรอการตรวจสอบและรับรองความสมบูรณ์จากที่ปรึกษาวิศวกรอิสระ (Independent safety and system Certification Engineer : ICE) ก่อน จึงจะสามารถเปิดให้บริการเดินรถแบบเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งตามแผนเดิมนั้น ร.ฟ.ท.จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการได้ในเดือนม.ย. 2553
อย่างไรก็ตามในส่วนของวันที่ 1 ต.ค. 2552 นี้ ร.ฟ.ท.จะเริ่มเปิดให้ประชาชนทดลองนั่งสัปดาห์ละ 1 วัน ถึงวันที่ 5 ธ.ค. 2552 ซึ่งกำหนดเปิดเดินรถแบบไม่เป็นทางการ โดยประชาชนสามารถขอรับตั๋วโดยสารที่สำนักงานบริหารโครงการที่มักกะสัน หรือฝ่ายประชาสัมพันธ์ ร.ฟ.ท. ซึ่งคาดว่าจะมีคนใช้บริการประมาณ 2 พันคนต่อวัน
“การเปิดบริการในวันที่ 5 ธ.ค. 2552 แบบไม่เต็มรูปแบบนั้น เนื่องจากในส่วนเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดยังไม่ได้ติดตั้งเลย ซึ่งร.ฟ.ท.จะเร่งดำเนินการอย่างรวดเร็วให้ทันกำหนด ส่วนกรณีที่นายกอร์ปศักดิ์ สภาวศุ รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาตรวจสอบความพร้อมโครงการเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
และได้สั่งการให้ร.ฟ.ท.เร่งรัดในเรื่องของการจัดเตรียมบุคลากรให้ทันกำหนดเปิดนั้น ร.ฟ.ท.จะรับนโยบายไปเร่งดำเนินการทันที” นายยุทธนา กล่าว
นอกจากนี้ร.ฟ.ท.ยังได้จัดรณรงค์ลดอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดรถไฟเสมอระดับรถยนต์ ในโครงการ “1+1=0 รถไฟไทยปลอดภัยทุกเส้นทาง” เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนได้มีความเข้าใจ และร.ฟ.ท.จะจัดกิจกรรมและนิทรรศการ ในแต่ละภาคพื้นที่บริเวณจุดตัดทางรถไฟที่เกิดอุบัติเหตุ และจะหารือองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ที่มีเส้นทางรถไฟ รวมทั้งเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Work Shop) เพื่อหาทางออกร่วมกัน
นายยุทธนา กล่าวว่า การแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟนั้น ขณะนี้ ร.ฟ.ท.ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในการจัดสรรงบประมาณตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 วงเงิน 400 ล้านบาท เพื่อสร้างเครื่องกั้นจุดตัดถนนกับรางรถไฟล็อตแรก 100 จุดทั่วประเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับรายงานการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด
โดยขั้นตอนต่อจากนี้อยู่ระหว่างที่กระทรวงคมนาคมจัดทำคำของบประมาณเสนอต่อสำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาความเหมาะสม รวมทั้งเสนอแผนจัดซื้อหัวรถจักรอีก 8 คัน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอรัฐบาล เพื่อพิจารณา