เมื่อเวลา 13.30 น. วานนี้ (28 ก.ย.) ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานแถลงข่าวการจัดการประชุมนานาชาติ ว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ครั้งที่ 14 ซึ่งประเทศไทย โดยสำนักงาน ป.ป.ช. และกระทรวงยุติธรรม เป็นเจ้าภาพ ในระหว่างวันที่ 10-13 พ.ย. 52 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การทุจริตเป็นภัยใหญ่หลวงต่อความมั่นคง และการพัฒนาทุกมิติ ทั้งเสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในขณะที่โลกกำลังเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจ และการเงินนั้น บุคคลที่ทำงานทั้งในภาครัฐ เอกชน ประชาสังคมต่างตระหนักว่า ถ้าไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นได้ การแก้ปัญหาทั้งเฉพาะหน้า และระยะยาวก็เป็นเรื่องยาก และไม่ยั่งยืน
ในสังคมที่มีการทุจริตอย่างกว้างขวาง ได้ประมาณการณ์กันว่าการสูญเสียทรัพยากร อาจจะถึงร้อยละ 20-40 หรือมากกว่านั้นที่รั่วไหลออกไป หากคิดออกมาเป็นตัวเงินก็จะมีมูลค่ามากมายมหาศาล และส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
"ในทางการเมืองก็เช่นกัน ระหว่างที่ผมเดินทางกลับจากสหรัฐฯได้อ่านหนังสือชื่อ democracy kill ซึ่งวิเคราะห์ถึงความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตย ในหลายภูมิภาค โดยสาเหตุสำคัญมาจากเรื่องผลประโยชน์การทุจริต และการแย่งชิงอำนาจ จนทำให้ขบวนการประชาธิปไตยที่ควรจะศักดิ์สิทธิ์ ถูกบั่นทอน นำไปสู่ความขัดแย้ง และความรุนแรงในหลายสังคม การทุจริตคอร์รัปชั่น จึงถือเป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการพัฒนาประชาธิปไตย ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นในทุกประเทศ เพียงแต่อาจมีความหนักเบาต่างกัน และแต่ละประเทศก็มีมาตรการป้องกันที่ต่างกัน การประชุมครั้งนี้น่าจะช่วยจุดประกายความใสสะอาดให้กับประเทศไทย และประชาคมโลก และทำให้ทุกฝ่ายมีจิตสำนึก ตื่นตัวในการต่อต้านการทุจริตอย่างจริงจัง" นายกรัฐมนตรี กล่าว
ด้านนายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงการจัดการประชุมครั้งนี้ว่า นับเป็นความสำเร็จของประเทศไทย ที่ได้รับความไว้วางใจให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งนี้ เกิดขึ้นจากมติของที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในการให้สำนักงานป.ป.ช. เสนอตัวขอรับการพิจารณาคัดเลือกจากองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ในระหว่างการประชุมครั้งที่ 13 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ เมื่อปี 2551 ที่ผ่านมา
การประชุมที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ จะเป็นเวทีการประชุมว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตที่ใหญ่ที่สุดในระดับนานาชาติ ที่จัดให้มีขึ้นทุก 2 ปี โดยจะมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 1,500 คน จาก 140 ประเทศทั่วโลก ที่จะมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในการดำเนินการเพื่อต่อต้านการทุจริต ตลอดจนนำเสนอวิธีการที่จะรับมือการทุจริต และร่วมพัฒนาเครือข่ายระหว่างองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น
สาระสำคัญในการนำมาหารือร่วมกันภายใต้หัวข้อการประชุมเรื่องการฟื้นฟูความเชื่อมั่น การปฏิบัติการ และความโปร่งใสนานาชาติในครั้งนี้ จะครอบคลุมแนวทางการฟื้นฟูความเชื่อมั่นภายหลังวิกฤติการณ์การเงินโลก รวมทั้งการจัดระเบียบระบบธรรมาภิบาลใหม่ ภายใต้สภาพแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อพัฒนาไปสู่การสร้างกลยุทธ์และแนวทางการแก้ไขปัญหาการทุจริตในระดับสากล โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความตระหนักและความตื่นตัวเรื่องการต่อต้านการทุจริต และเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ในด้านเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง เพราะปัญหาการทุจริตถือเป็นมะเร็งร้ายของสังคม ที่หยั่งรากลึกและลุกลามไปทั่ว จึงจำเป็นจะต้องกำจัดออกไปจากสังคมโลก ก่อนที่จะเป็นภัยคุกคาม ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเสถียรภาพทางการเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งนานาประเทศต้องเข้ามามีส่วนร่วม
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การทุจริตเป็นภัยใหญ่หลวงต่อความมั่นคง และการพัฒนาทุกมิติ ทั้งเสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในขณะที่โลกกำลังเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจ และการเงินนั้น บุคคลที่ทำงานทั้งในภาครัฐ เอกชน ประชาสังคมต่างตระหนักว่า ถ้าไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นได้ การแก้ปัญหาทั้งเฉพาะหน้า และระยะยาวก็เป็นเรื่องยาก และไม่ยั่งยืน
ในสังคมที่มีการทุจริตอย่างกว้างขวาง ได้ประมาณการณ์กันว่าการสูญเสียทรัพยากร อาจจะถึงร้อยละ 20-40 หรือมากกว่านั้นที่รั่วไหลออกไป หากคิดออกมาเป็นตัวเงินก็จะมีมูลค่ามากมายมหาศาล และส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
"ในทางการเมืองก็เช่นกัน ระหว่างที่ผมเดินทางกลับจากสหรัฐฯได้อ่านหนังสือชื่อ democracy kill ซึ่งวิเคราะห์ถึงความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตย ในหลายภูมิภาค โดยสาเหตุสำคัญมาจากเรื่องผลประโยชน์การทุจริต และการแย่งชิงอำนาจ จนทำให้ขบวนการประชาธิปไตยที่ควรจะศักดิ์สิทธิ์ ถูกบั่นทอน นำไปสู่ความขัดแย้ง และความรุนแรงในหลายสังคม การทุจริตคอร์รัปชั่น จึงถือเป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการพัฒนาประชาธิปไตย ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นในทุกประเทศ เพียงแต่อาจมีความหนักเบาต่างกัน และแต่ละประเทศก็มีมาตรการป้องกันที่ต่างกัน การประชุมครั้งนี้น่าจะช่วยจุดประกายความใสสะอาดให้กับประเทศไทย และประชาคมโลก และทำให้ทุกฝ่ายมีจิตสำนึก ตื่นตัวในการต่อต้านการทุจริตอย่างจริงจัง" นายกรัฐมนตรี กล่าว
ด้านนายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงการจัดการประชุมครั้งนี้ว่า นับเป็นความสำเร็จของประเทศไทย ที่ได้รับความไว้วางใจให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งนี้ เกิดขึ้นจากมติของที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในการให้สำนักงานป.ป.ช. เสนอตัวขอรับการพิจารณาคัดเลือกจากองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ในระหว่างการประชุมครั้งที่ 13 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ เมื่อปี 2551 ที่ผ่านมา
การประชุมที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ จะเป็นเวทีการประชุมว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตที่ใหญ่ที่สุดในระดับนานาชาติ ที่จัดให้มีขึ้นทุก 2 ปี โดยจะมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 1,500 คน จาก 140 ประเทศทั่วโลก ที่จะมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในการดำเนินการเพื่อต่อต้านการทุจริต ตลอดจนนำเสนอวิธีการที่จะรับมือการทุจริต และร่วมพัฒนาเครือข่ายระหว่างองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น
สาระสำคัญในการนำมาหารือร่วมกันภายใต้หัวข้อการประชุมเรื่องการฟื้นฟูความเชื่อมั่น การปฏิบัติการ และความโปร่งใสนานาชาติในครั้งนี้ จะครอบคลุมแนวทางการฟื้นฟูความเชื่อมั่นภายหลังวิกฤติการณ์การเงินโลก รวมทั้งการจัดระเบียบระบบธรรมาภิบาลใหม่ ภายใต้สภาพแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อพัฒนาไปสู่การสร้างกลยุทธ์และแนวทางการแก้ไขปัญหาการทุจริตในระดับสากล โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความตระหนักและความตื่นตัวเรื่องการต่อต้านการทุจริต และเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ในด้านเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง เพราะปัญหาการทุจริตถือเป็นมะเร็งร้ายของสังคม ที่หยั่งรากลึกและลุกลามไปทั่ว จึงจำเป็นจะต้องกำจัดออกไปจากสังคมโลก ก่อนที่จะเป็นภัยคุกคาม ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเสถียรภาพทางการเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งนานาประเทศต้องเข้ามามีส่วนร่วม