ข่าวครึกโครมข้ามสัปดาห์เห็นจะเป็นข่าว ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษายกฟ้องรัฐมนตรี ข้าราชการ และผู้ประกอบธุรกิจรวม 44 คนในคดีกล้ายางพารา 90 ล้านต้น มูลค่า 1,440 ล้านบาท
เพราะหลังจากที่ศาลได้พิพากษา ประธานศาลฎีกาได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนหาข้อเท็จจริงว่า คำพิพากษารั่วหรือไม่ อย่างไร
และที่ครึกโครมเอามากๆ ก็คือ การที่นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดห้องตั้งโต๊ะแถลงข่าวว่า คณะทำงานของนายชัยเกษม นิติศิริ อัยการสูงสุดแจ้งความไม่สมบูรณ์ในสำนวนให้คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ทราบแล้ว โดยให้ คตส.สอบพยานเพิ่มเติมรวม 3 ข้อใหญ่ และอีก 4-5 ข้อย่อย แต่ปรากฏว่า คตส.ใจร้อน ไม่ยอมฟังอัยการ ไม่สอบสวนเพิ่มเติมเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนว่า สมควรฟ้องหรือไม่ ถ้าสมควรฟ้องจะฟ้องใครบ้าง จนที่สุดผลออกมาศาลฎีกายกฟ้อง
นายธนพิชญ์ แถลงอีกว่า คดีนี้อัยการสูงสุดยังไม่ได้มีคำสั่งว่าจะฟ้องหรือไม่ ซึ่งหากมองดูแล้วเสมือน คตส.ไม่ร่วมมือกับอัยการทำงานตามกระบวนการยุติธรรม ซึ่งจะต้องแสวงหาข้อเท็จจริงให้ครบถ้วน เมื่อศาลฎีกายกฟ้องทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐที่จะต้องเสียเงินว่าจ้างทนายความ จำเลยบางคนที่ไม่สมควรถูกฟ้องต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงเกียรติประวัติและเสียเงินจ้างทนาย เรื่องนี้สำนักงานอัยการสูงสุดได้ตระหนักเป็นพิเศษที่จะต้องให้ความยุติธรรมแก่คู่ความ และหากจะฟ้องใครต้องมีหลักฐานเพียงพอให้ศาลลงโทษได้
นี่น่าจะเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีสำนักงานอัยการเกิดขึ้นในประเทศไทยที่มีอัยการออกมาแถลงถึงผลของคดี แต่ไหนแต่ไรมายังไม่เคยมีนักกฎหมายคนใดไร้มารยาท ดังที่โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดกระทำในครั้งนี้
คณะกรรมการ คตส.ที่ฟังจากโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดแถลงเป็นไปในทำนองที่ว่า แสวงหาข้อเท็จจริงไม่ครบถ้วน ไม่ตระหนักเป็นพิเศษที่จะให้ความยุติธรรมแก่คู่ความ หรือไม่พิจารณาให้รอบคอบว่าควรฟ้องใคร ไม่ควรฟ้องใคร ไม่ทำให้บางคนเสื่อมเสียชื่อเสียง เสียเงินจ้างทนายความอย่างน้อยที่สุดก็มี 2 ท่านที่เคยเป็นอัยการมาก่อน คือ นายนาม ยิ้มแย้ม นายอุดม เฟื่องฟุ้ง
ก่อนที่ท่านทั้งสองจะผันตัวเองไปเป็นผู้พิพากษา ท่านไม่ได้ตระหนักในอุดมการณ์ อุดมคติของอัยการเลยละหรือ อัยการรุ่นหลังๆ อย่างนายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ จึงออกมาเหน็บเอาได้
แต่ก็นั่นแหละ เรื่องมารยาท เรื่องความเป็นผู้ดี หรือเรื่องทะลึ่งย่อมเป็นเรื่องของแต่ละคนอยู่ที่สภาพแวดล้อม พื้นฐานการศึกษา หรือแม้กระทั่งนิสัยสันดาน
สิ่งที่สังคมฟังคำแถลงของโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดแล้วเกิดความสงสัยก็คือ สำนักงานอัยการสูงสุดมั่นใจละหรือว่า หากจะฟ้องใครต้องมีหลักฐานเพียงพอให้ศาลลงโทษได้
โดยตรรกะดังกล่าวนี้ คดีที่อัยการฟ้องแล้ว ศาลยกฟ้อง จะให้เข้าใจว่าอย่างไร?
กระบวนการยุติธรรมของเรานั้นเริ่มตั้งแต่ตำรวจ อัยการไปจนถึงศาล ศาลเองก็มีถึง 3 ศาล คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา คำพิพากษาของศาลแต่ละศาลนั้นอาจจะเหมือนกันหรืออาจจะแตกต่างกัน นั่นก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจที่ศาลพิจารณาจากพยานหลักฐาน
ศาลเดียวกัน ตุลาการที่พิจารณาก็อาจจะมีความเห็นแตกต่างกัน ซึ่งในที่สุดก็เอาเสียงข้างมาก
ความแตกต่างในดุลพินิจนั้นเขาไม่เอามาเยาะเย้ยถากถางกันอย่างที่โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดออกมาพูดในกรณีนี้
การเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาอาจจะวิพากษ์วิจารณ์ได้ในเชิงวิชาการ แต่มิใช่ออกมาบอกว่า ฟ้องทั้งๆ ที่แสวงหาข้อเท็จจริงไม่สมบูรณ์
มีหลายคดีที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง ญาติพี่น้องของเจ้าทุกข์เอาไปฟ้องเอง ศาลตัดสินลงโทษ ก็ไม่เคยมีใครออกมาเยาะเย้ยถากถางวิจารณญาณ หรือตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมอัยการจึงมีความเห็นว่า ไม่ฟ้อง ทั้งที่หลักฐานออกชัดแจ้งอย่างนั้น คดีฆ่าแพทย์หญิงผัสพร คดีเสริม สาครราษฎร์ อัยการจำได้หรือไม่เล่า
คดีที่อัยการมั่นอกมั่นใจว่าสามารถที่จะทำให้ศาลเชื่อว่า จำเลยผิดจริง แต่ในที่สุดศาลท่านก็ยกฟ้องก็มีให้เห็นอยู่บ่อยไป จำคดีลูกเหลิมได้หรือไม่เล่า
ก็ไม่มีใครออกมาเปิดห้องตั้งโต๊ะแถลงข่าว เยาะเย้ยถากถางอัยการแต่อย่างใด
การออกมาแถลงข่าวของโฆษกอัยการหนนี้ นายธนพิชญ์ แถลงในวันต่อมาว่า “ผมไม่อยากเป็นข่าวอีก ที่แถลงข่าวเกี่ยวกับศาลฎีกายกฟ้องคดีทุจริตกล้ายางไปนั้น มีจุดมุ่งหมายเพียงต้องการให้ทราบว่า คดีนี้อัยการไม่ได้เป็นผู้ยื่นฟ้องคดี”
ถึงนายธนพิชญ์ไม่ได้ออกมาตั้งโต๊ะแถลงในเรื่องนี้ เขาก็รู้กันทั้งบ้านทั้งเมืองว่า คดีนี้อัยการไม่ได้ฟ้องเองอยู่แล้ว เพราะเป็นข่าวครึกโครม คตส.หรือ ป.ป.ช.ไม่ได้มุบมิบฟ้องหรือแอบทำ
เช่นเดียวกับที่ประชาชนเขาก็รู้ว่า คดีซีทีเอ็กซ์ 9000 ซึ่ง คตส.ตรวจสอบมีอัยการสูงสุดเกี่ยวข้องอยู่ด้วยในฐานะที่เป็นหนึ่งในบอร์ดของการท่าอากาศยานฯ มาถึงอัยการ อัยการจะมีความเห็นสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องก็ยังไม่รู้ คตส.หมดหน้าที่ไปแล้ว ป.ป.ช.เอามาทำต่อ ก็คงจะฟ้องเอง หากอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง
การออกมาแถลงของโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด แม้จะบอกว่า เพื่อจะบอกกล่าวให้สังคมรู้ว่า คดีทุจริตกล้ายาง อัยการไม่ได้เป็นผู้ยื่นฟ้อง (ซึ่งประชาชน สังคมทั่วไปเขารู้อยู่แล้ว) ไม่มีทางที่จะให้เข้าใจเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากเป็นการลดทอนความน่าเชื่อถือของ คตส.นั่นเอง
ผู้ที่ได้ประโยชน์เต็มๆ ก็คือ ทักษิณ ชินวัตร ทันทีที่คดีนี้ตัดสิน พวกเขาก็เรียกร้องเอาสมบัติคืนหรือใช้ตรรกะอย่างผิดๆ เช่น เมื่อศาลยกฟ้องคดีนี้ก็แสดงว่า รัฐบาลทักษิณบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีการทุจริตแต่อย่างใด ทั้งที่เป็นคนละเรื่อง คนละประเด็น
เพราะที่ศาลตัดสินจำคุกไปแล้วละ ที่หนีหัวซุกหัวซุนอยู่ขณะนี้ล่ะ?
เพราะหลังจากที่ศาลได้พิพากษา ประธานศาลฎีกาได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนหาข้อเท็จจริงว่า คำพิพากษารั่วหรือไม่ อย่างไร
และที่ครึกโครมเอามากๆ ก็คือ การที่นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดห้องตั้งโต๊ะแถลงข่าวว่า คณะทำงานของนายชัยเกษม นิติศิริ อัยการสูงสุดแจ้งความไม่สมบูรณ์ในสำนวนให้คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ทราบแล้ว โดยให้ คตส.สอบพยานเพิ่มเติมรวม 3 ข้อใหญ่ และอีก 4-5 ข้อย่อย แต่ปรากฏว่า คตส.ใจร้อน ไม่ยอมฟังอัยการ ไม่สอบสวนเพิ่มเติมเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนว่า สมควรฟ้องหรือไม่ ถ้าสมควรฟ้องจะฟ้องใครบ้าง จนที่สุดผลออกมาศาลฎีกายกฟ้อง
นายธนพิชญ์ แถลงอีกว่า คดีนี้อัยการสูงสุดยังไม่ได้มีคำสั่งว่าจะฟ้องหรือไม่ ซึ่งหากมองดูแล้วเสมือน คตส.ไม่ร่วมมือกับอัยการทำงานตามกระบวนการยุติธรรม ซึ่งจะต้องแสวงหาข้อเท็จจริงให้ครบถ้วน เมื่อศาลฎีกายกฟ้องทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐที่จะต้องเสียเงินว่าจ้างทนายความ จำเลยบางคนที่ไม่สมควรถูกฟ้องต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงเกียรติประวัติและเสียเงินจ้างทนาย เรื่องนี้สำนักงานอัยการสูงสุดได้ตระหนักเป็นพิเศษที่จะต้องให้ความยุติธรรมแก่คู่ความ และหากจะฟ้องใครต้องมีหลักฐานเพียงพอให้ศาลลงโทษได้
นี่น่าจะเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีสำนักงานอัยการเกิดขึ้นในประเทศไทยที่มีอัยการออกมาแถลงถึงผลของคดี แต่ไหนแต่ไรมายังไม่เคยมีนักกฎหมายคนใดไร้มารยาท ดังที่โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดกระทำในครั้งนี้
คณะกรรมการ คตส.ที่ฟังจากโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดแถลงเป็นไปในทำนองที่ว่า แสวงหาข้อเท็จจริงไม่ครบถ้วน ไม่ตระหนักเป็นพิเศษที่จะให้ความยุติธรรมแก่คู่ความ หรือไม่พิจารณาให้รอบคอบว่าควรฟ้องใคร ไม่ควรฟ้องใคร ไม่ทำให้บางคนเสื่อมเสียชื่อเสียง เสียเงินจ้างทนายความอย่างน้อยที่สุดก็มี 2 ท่านที่เคยเป็นอัยการมาก่อน คือ นายนาม ยิ้มแย้ม นายอุดม เฟื่องฟุ้ง
ก่อนที่ท่านทั้งสองจะผันตัวเองไปเป็นผู้พิพากษา ท่านไม่ได้ตระหนักในอุดมการณ์ อุดมคติของอัยการเลยละหรือ อัยการรุ่นหลังๆ อย่างนายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ จึงออกมาเหน็บเอาได้
แต่ก็นั่นแหละ เรื่องมารยาท เรื่องความเป็นผู้ดี หรือเรื่องทะลึ่งย่อมเป็นเรื่องของแต่ละคนอยู่ที่สภาพแวดล้อม พื้นฐานการศึกษา หรือแม้กระทั่งนิสัยสันดาน
สิ่งที่สังคมฟังคำแถลงของโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดแล้วเกิดความสงสัยก็คือ สำนักงานอัยการสูงสุดมั่นใจละหรือว่า หากจะฟ้องใครต้องมีหลักฐานเพียงพอให้ศาลลงโทษได้
โดยตรรกะดังกล่าวนี้ คดีที่อัยการฟ้องแล้ว ศาลยกฟ้อง จะให้เข้าใจว่าอย่างไร?
กระบวนการยุติธรรมของเรานั้นเริ่มตั้งแต่ตำรวจ อัยการไปจนถึงศาล ศาลเองก็มีถึง 3 ศาล คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา คำพิพากษาของศาลแต่ละศาลนั้นอาจจะเหมือนกันหรืออาจจะแตกต่างกัน นั่นก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจที่ศาลพิจารณาจากพยานหลักฐาน
ศาลเดียวกัน ตุลาการที่พิจารณาก็อาจจะมีความเห็นแตกต่างกัน ซึ่งในที่สุดก็เอาเสียงข้างมาก
ความแตกต่างในดุลพินิจนั้นเขาไม่เอามาเยาะเย้ยถากถางกันอย่างที่โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดออกมาพูดในกรณีนี้
การเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาอาจจะวิพากษ์วิจารณ์ได้ในเชิงวิชาการ แต่มิใช่ออกมาบอกว่า ฟ้องทั้งๆ ที่แสวงหาข้อเท็จจริงไม่สมบูรณ์
มีหลายคดีที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง ญาติพี่น้องของเจ้าทุกข์เอาไปฟ้องเอง ศาลตัดสินลงโทษ ก็ไม่เคยมีใครออกมาเยาะเย้ยถากถางวิจารณญาณ หรือตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมอัยการจึงมีความเห็นว่า ไม่ฟ้อง ทั้งที่หลักฐานออกชัดแจ้งอย่างนั้น คดีฆ่าแพทย์หญิงผัสพร คดีเสริม สาครราษฎร์ อัยการจำได้หรือไม่เล่า
คดีที่อัยการมั่นอกมั่นใจว่าสามารถที่จะทำให้ศาลเชื่อว่า จำเลยผิดจริง แต่ในที่สุดศาลท่านก็ยกฟ้องก็มีให้เห็นอยู่บ่อยไป จำคดีลูกเหลิมได้หรือไม่เล่า
ก็ไม่มีใครออกมาเปิดห้องตั้งโต๊ะแถลงข่าว เยาะเย้ยถากถางอัยการแต่อย่างใด
การออกมาแถลงข่าวของโฆษกอัยการหนนี้ นายธนพิชญ์ แถลงในวันต่อมาว่า “ผมไม่อยากเป็นข่าวอีก ที่แถลงข่าวเกี่ยวกับศาลฎีกายกฟ้องคดีทุจริตกล้ายางไปนั้น มีจุดมุ่งหมายเพียงต้องการให้ทราบว่า คดีนี้อัยการไม่ได้เป็นผู้ยื่นฟ้องคดี”
ถึงนายธนพิชญ์ไม่ได้ออกมาตั้งโต๊ะแถลงในเรื่องนี้ เขาก็รู้กันทั้งบ้านทั้งเมืองว่า คดีนี้อัยการไม่ได้ฟ้องเองอยู่แล้ว เพราะเป็นข่าวครึกโครม คตส.หรือ ป.ป.ช.ไม่ได้มุบมิบฟ้องหรือแอบทำ
เช่นเดียวกับที่ประชาชนเขาก็รู้ว่า คดีซีทีเอ็กซ์ 9000 ซึ่ง คตส.ตรวจสอบมีอัยการสูงสุดเกี่ยวข้องอยู่ด้วยในฐานะที่เป็นหนึ่งในบอร์ดของการท่าอากาศยานฯ มาถึงอัยการ อัยการจะมีความเห็นสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องก็ยังไม่รู้ คตส.หมดหน้าที่ไปแล้ว ป.ป.ช.เอามาทำต่อ ก็คงจะฟ้องเอง หากอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง
การออกมาแถลงของโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด แม้จะบอกว่า เพื่อจะบอกกล่าวให้สังคมรู้ว่า คดีทุจริตกล้ายาง อัยการไม่ได้เป็นผู้ยื่นฟ้อง (ซึ่งประชาชน สังคมทั่วไปเขารู้อยู่แล้ว) ไม่มีทางที่จะให้เข้าใจเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากเป็นการลดทอนความน่าเชื่อถือของ คตส.นั่นเอง
ผู้ที่ได้ประโยชน์เต็มๆ ก็คือ ทักษิณ ชินวัตร ทันทีที่คดีนี้ตัดสิน พวกเขาก็เรียกร้องเอาสมบัติคืนหรือใช้ตรรกะอย่างผิดๆ เช่น เมื่อศาลยกฟ้องคดีนี้ก็แสดงว่า รัฐบาลทักษิณบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีการทุจริตแต่อย่างใด ทั้งที่เป็นคนละเรื่อง คนละประเด็น
เพราะที่ศาลตัดสินจำคุกไปแล้วละ ที่หนีหัวซุกหัวซุนอยู่ขณะนี้ล่ะ?