ที่รัฐสภา วานนี้ (24 ก.ย.) มีการประชุมวิป 3 ฝ่าย ประกอบด้วย นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ ประธานวิปรัฐบาล นายวิทยา บุรณศิริ ส.ส.อยุธยา พรรคเพื่อไทย ประธานวิปฝ่ายค้าน พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว.สรรหา ในฐานะตัวแทนวิปวุฒิสภา นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี ในฐานะประธานคณะกรรมการสมานฉันท์ เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เข้าร่วมประชุม
นายชินวรณ์ แถลงหลังการประชุมว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เป็นผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็น ตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯเสนอ โดยให้ส.ส.และส.ว.ร่วมกันเสนอญัตติ ส่วนวิธีการยกร่างฯ ว่าจะเสนอรวมเป็น 1 ร่าง หรือแยกเป็น 6 ร่างรวมถึงแนวทางของการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้นยังไม่มีข้อสรุป ซึ่งที่ประชุมได้มอบหมายให้ตัวแทนของแต่ละฝ่ายไปหารือกันเองแล้วนำมาเสนอ ต่อที่ประชุมอีกครั้งในวันที่ 1 ต.ค. โดยจะพูดถึงกรอบเวลาในการดำเนินการด้วย เมื่อได้ข้อสรุปแล้วจะนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อประชุมร่วมกันเพื่อหาข้อสรุปต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่าการร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกังวลว่าจะขัดรัฐธรรมนูญ ม. 122 หรือไม่ นายวิทยา ตอบว่า เราจะปฏิบัติตามกรอบของกฎหมายทุกประกาศ ทั้งนี้ ฝ่ายค้านยืนยันว่า ร่างแก้ไขจะต้องเป็นร่างเดียวเท่านั้น และเชื่อว่า ทุกฝ่ายก็จะเห็นด้วย ซึ่งที่ประชุมก็มีเสียงตอบรับที่ดี ส่วนเรื่อง ส.ส.ร.3นั้นคงไม่สามารถทำได้เพราะไม่มีรัฐธรรมนูญรองรับ รวมทั้งการทำประชามติก็มีแต่จะสิ้นเปลือง
ขณะที่นายดิเรก กล่าวว่า การที่จะแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดความสมานฉันท์นั้น ในเมื่อทั้ง 3 ฝ่ายเห็นพ้องที่จะแก้ทั้ง 6 ประเด็นก็ควรที่จะยกร่างแก้ไขเป็นร่างเดียว เนื่องจากหากทำเป็น 6 ร่างอาจมี ส.ส.และส.ว.ที่ไม่เห็นด้วยซึ่งอาจจะไม่ยกมือโหวตให้ จนไม่สามารถแก้ไขปัญหาความสมานฉันท์ได้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อสรุป คงต้องรอการประชุมหารือร่วมกับนายกรัฐมนตรีก่อน หากผลออกมาเป็นอย่างไร คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ก็น้อมรับ เชื่อว่า การยกร่างจะใช้เวลาไม่นาน เพราะในคณะกรรมการฯ มีบุคคลที่ศึกษาเรื่องนี้อยู่แล้ว
ส่วนการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนทั้งการทำประชามติหรือประชาวิจารณ์นั้นก็ต้องหารือกันอีก ส่วนการไม่เห็นด้วยของกลุ่ม 40 ส.ว.ต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ไม่เป็นปัญหา กลุ่ม 40 ส.ว.สามารถแก้ไขในชั้นแปรญัตติได้ แต่หากเขาจะไม่ลงชื่อใน ร่างแก้ไขก็ไม่เป็นไร ขอแค่ส.ส.และส.ว.ลงชื่อให้ครบตามจำนวนคือ 1 ใน 5 ก็พอแล้ว ส่วนการฟ้องร้องกรณีส.ส.และส.ว.ร่วมลงชื่อว่าอาจจะขัดรัฐธรรมนูญนั้น ขอร้องให้ทุกฝ่ายเลิกทิฐิเพื่อเห็นแก่บ้านเมือง
นายพีระพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ขอฝากไปยังส.ส.และส.ว.ทุกคนว่า การที่มีผู้ร้องให้ถอดถอนส.ส.และส.ว.ในการเข้าชื่อเพื่อยื่นญัตติแก้รัฐธรรมนูญว่าอาจะเข้าข่ายเพื่อประโยชน์ของตนเองนั้น คงต้องรอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย แต่จากการศึกษารัฐธรรมนูญพบว่าในมาตรา 23 ห้ามส.ส.และส.ว. เข้าชื่อแก้กฎหมายเพื่อประโยชน์ส่วนตัว แต่ในมาตรา 291 เปิดให้ส.ส.และส.ว.แก้ไขรัฐธรรมนูญได้ จึงขอบอกไปยัง ส.ส.และส.ว.ว่า การแก้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นการทำ เพื่อประโยชน์ส่วนรวม จึงขอให้ส.ส.และส.ว.เลิกวิตกกังวล
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคไม่ได้ปฏิเสธการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่กระบวนการแก้ไขจะต้องผ่านความเห็นชอบของประชาชนทุกภาคส่วนเท่านั้นเอง ไม่ว่านักการเมือง หรือองค์กรภาคประชาชน ที่ต้องเห็นชอบสอดคล้องกันตามแนวทางที่นายกรัฐมนตรี ที่ประกาศไว้
ส่วนที่นายกฯได้พูดเรื่องนี้บ่อยครั้งเป็นการยืนยันในจุดยืนให้สังคมรับรู้ว่า มีความพร้อมที่จะสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ได้เป็นเงื่อนไขในการจัดตั้งรัฐบาลแต่อย่างใด เพราะการตั้งรัฐบาลนี้เพราะนักการเมืองส่วนใหญ่วิตกต่อวิกฤตการเมืองที่จะทำให้การเมืองเกิดทางตันและอาจเกิดวงจรอุบาทว์ทำให้ระบอบประชาธิปไตยถอยหลังเข้าคลองจึงมีการแยกขั้วมาจับมือกันเพื่อนำชาติบ้านเมืองออกจากวิกฤตครั้งนั้น
ที่มากล่าวอ้างว่า พรรคภูมิใจไทยต้องการแก้ในเรื่องเขตเลือกตั้งมาใช้แบบ เขตเดียวเบอร์เดียวก็ไม่มีเฉพาะพรรคภูมิใจไทยเท่านั้น ส.ส.ส่วนใหญ่ก็ต้องการที่จะให้กลับมาใช้แบบเขตเล็กเพื่อความสะดวกในการลงพื้นที่ แต่ก็ยังไม่เป็นข้อสรุป จึงอยากถามว่า เขตเลือกตั้งเล็ก ส.ส.ได้ประโยชน์จริงแต่ประชาชนส่วนใหญ่จะได้ประโยชน์อะไรจากการเลือกตั้งแบบเขตเล็ก ศักดิ์ศรีและเกียรติยศในการเป็นส.ส.เขตใหญ่ หรือแบบแบ่งเขตเรียงเบอร์มีความสง่างามกว่า
นางสดศรี สัตยธรรม กกต. ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวว่า ส่วนตัวคิดว่า การทำประชามติไม่สามารถทำให้เกิดความสมานฉันท์หรือลดความขัดแย้งลงได้ เพราะแม้จะแก้ไขก็ยังมีสีเหลืองสีแดงเหมือนเดิม อีกทั้งๆ 6 ประเด็นที่จะแก้ก็เป็นการแก้เพื่อตัวของนักการเมืองเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับประชาชนเลย ซึ่งการทำประชามติก็เพื่อต้องการให้ประชาชนรับรองความถูกต้องของตัวเองเท่านั้น
การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ส่วนตัวเห็นด้วยกับการแก้ไขเพียงประเด็นเดียว คือมาตรา 190 แต่เรื่องอื่นเช่นจะแก้มาตรา 237 ไม่เห็นด้วย เพราะ พรรคการเมือง เมื่อมีคนทำความผิด กรรมการบริหารพรรคก็ควรรับผิดชอบ มิเช่นนั้นต่างคนก็ต่างไม่สนใจ หากกรรมการบริหารพรรคไม่ต้องรับผิดชอบ ก็จะทำให้พรรคอ่อนแอ การที่มีกฎดูแล ทำให้มีความระมัดระวังเหมือนมีครูใหญ่ คอยควบคุมพฤติกรรม
นายชินวรณ์ แถลงหลังการประชุมว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เป็นผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็น ตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯเสนอ โดยให้ส.ส.และส.ว.ร่วมกันเสนอญัตติ ส่วนวิธีการยกร่างฯ ว่าจะเสนอรวมเป็น 1 ร่าง หรือแยกเป็น 6 ร่างรวมถึงแนวทางของการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้นยังไม่มีข้อสรุป ซึ่งที่ประชุมได้มอบหมายให้ตัวแทนของแต่ละฝ่ายไปหารือกันเองแล้วนำมาเสนอ ต่อที่ประชุมอีกครั้งในวันที่ 1 ต.ค. โดยจะพูดถึงกรอบเวลาในการดำเนินการด้วย เมื่อได้ข้อสรุปแล้วจะนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อประชุมร่วมกันเพื่อหาข้อสรุปต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่าการร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกังวลว่าจะขัดรัฐธรรมนูญ ม. 122 หรือไม่ นายวิทยา ตอบว่า เราจะปฏิบัติตามกรอบของกฎหมายทุกประกาศ ทั้งนี้ ฝ่ายค้านยืนยันว่า ร่างแก้ไขจะต้องเป็นร่างเดียวเท่านั้น และเชื่อว่า ทุกฝ่ายก็จะเห็นด้วย ซึ่งที่ประชุมก็มีเสียงตอบรับที่ดี ส่วนเรื่อง ส.ส.ร.3นั้นคงไม่สามารถทำได้เพราะไม่มีรัฐธรรมนูญรองรับ รวมทั้งการทำประชามติก็มีแต่จะสิ้นเปลือง
ขณะที่นายดิเรก กล่าวว่า การที่จะแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดความสมานฉันท์นั้น ในเมื่อทั้ง 3 ฝ่ายเห็นพ้องที่จะแก้ทั้ง 6 ประเด็นก็ควรที่จะยกร่างแก้ไขเป็นร่างเดียว เนื่องจากหากทำเป็น 6 ร่างอาจมี ส.ส.และส.ว.ที่ไม่เห็นด้วยซึ่งอาจจะไม่ยกมือโหวตให้ จนไม่สามารถแก้ไขปัญหาความสมานฉันท์ได้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อสรุป คงต้องรอการประชุมหารือร่วมกับนายกรัฐมนตรีก่อน หากผลออกมาเป็นอย่างไร คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ก็น้อมรับ เชื่อว่า การยกร่างจะใช้เวลาไม่นาน เพราะในคณะกรรมการฯ มีบุคคลที่ศึกษาเรื่องนี้อยู่แล้ว
ส่วนการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนทั้งการทำประชามติหรือประชาวิจารณ์นั้นก็ต้องหารือกันอีก ส่วนการไม่เห็นด้วยของกลุ่ม 40 ส.ว.ต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ไม่เป็นปัญหา กลุ่ม 40 ส.ว.สามารถแก้ไขในชั้นแปรญัตติได้ แต่หากเขาจะไม่ลงชื่อใน ร่างแก้ไขก็ไม่เป็นไร ขอแค่ส.ส.และส.ว.ลงชื่อให้ครบตามจำนวนคือ 1 ใน 5 ก็พอแล้ว ส่วนการฟ้องร้องกรณีส.ส.และส.ว.ร่วมลงชื่อว่าอาจจะขัดรัฐธรรมนูญนั้น ขอร้องให้ทุกฝ่ายเลิกทิฐิเพื่อเห็นแก่บ้านเมือง
นายพีระพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ขอฝากไปยังส.ส.และส.ว.ทุกคนว่า การที่มีผู้ร้องให้ถอดถอนส.ส.และส.ว.ในการเข้าชื่อเพื่อยื่นญัตติแก้รัฐธรรมนูญว่าอาจะเข้าข่ายเพื่อประโยชน์ของตนเองนั้น คงต้องรอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย แต่จากการศึกษารัฐธรรมนูญพบว่าในมาตรา 23 ห้ามส.ส.และส.ว. เข้าชื่อแก้กฎหมายเพื่อประโยชน์ส่วนตัว แต่ในมาตรา 291 เปิดให้ส.ส.และส.ว.แก้ไขรัฐธรรมนูญได้ จึงขอบอกไปยัง ส.ส.และส.ว.ว่า การแก้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นการทำ เพื่อประโยชน์ส่วนรวม จึงขอให้ส.ส.และส.ว.เลิกวิตกกังวล
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคไม่ได้ปฏิเสธการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่กระบวนการแก้ไขจะต้องผ่านความเห็นชอบของประชาชนทุกภาคส่วนเท่านั้นเอง ไม่ว่านักการเมือง หรือองค์กรภาคประชาชน ที่ต้องเห็นชอบสอดคล้องกันตามแนวทางที่นายกรัฐมนตรี ที่ประกาศไว้
ส่วนที่นายกฯได้พูดเรื่องนี้บ่อยครั้งเป็นการยืนยันในจุดยืนให้สังคมรับรู้ว่า มีความพร้อมที่จะสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ได้เป็นเงื่อนไขในการจัดตั้งรัฐบาลแต่อย่างใด เพราะการตั้งรัฐบาลนี้เพราะนักการเมืองส่วนใหญ่วิตกต่อวิกฤตการเมืองที่จะทำให้การเมืองเกิดทางตันและอาจเกิดวงจรอุบาทว์ทำให้ระบอบประชาธิปไตยถอยหลังเข้าคลองจึงมีการแยกขั้วมาจับมือกันเพื่อนำชาติบ้านเมืองออกจากวิกฤตครั้งนั้น
ที่มากล่าวอ้างว่า พรรคภูมิใจไทยต้องการแก้ในเรื่องเขตเลือกตั้งมาใช้แบบ เขตเดียวเบอร์เดียวก็ไม่มีเฉพาะพรรคภูมิใจไทยเท่านั้น ส.ส.ส่วนใหญ่ก็ต้องการที่จะให้กลับมาใช้แบบเขตเล็กเพื่อความสะดวกในการลงพื้นที่ แต่ก็ยังไม่เป็นข้อสรุป จึงอยากถามว่า เขตเลือกตั้งเล็ก ส.ส.ได้ประโยชน์จริงแต่ประชาชนส่วนใหญ่จะได้ประโยชน์อะไรจากการเลือกตั้งแบบเขตเล็ก ศักดิ์ศรีและเกียรติยศในการเป็นส.ส.เขตใหญ่ หรือแบบแบ่งเขตเรียงเบอร์มีความสง่างามกว่า
นางสดศรี สัตยธรรม กกต. ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวว่า ส่วนตัวคิดว่า การทำประชามติไม่สามารถทำให้เกิดความสมานฉันท์หรือลดความขัดแย้งลงได้ เพราะแม้จะแก้ไขก็ยังมีสีเหลืองสีแดงเหมือนเดิม อีกทั้งๆ 6 ประเด็นที่จะแก้ก็เป็นการแก้เพื่อตัวของนักการเมืองเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับประชาชนเลย ซึ่งการทำประชามติก็เพื่อต้องการให้ประชาชนรับรองความถูกต้องของตัวเองเท่านั้น
การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ส่วนตัวเห็นด้วยกับการแก้ไขเพียงประเด็นเดียว คือมาตรา 190 แต่เรื่องอื่นเช่นจะแก้มาตรา 237 ไม่เห็นด้วย เพราะ พรรคการเมือง เมื่อมีคนทำความผิด กรรมการบริหารพรรคก็ควรรับผิดชอบ มิเช่นนั้นต่างคนก็ต่างไม่สนใจ หากกรรมการบริหารพรรคไม่ต้องรับผิดชอบ ก็จะทำให้พรรคอ่อนแอ การที่มีกฎดูแล ทำให้มีความระมัดระวังเหมือนมีครูใหญ่ คอยควบคุมพฤติกรรม