นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตร ีด้านความมั่นคง กล่าว วานนี้ (22 ก.ย.) ปฏิเสธกระแสข่าวที่ระบุว่ารัฐบาลยื้อและไม่จริงใจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยยืนยันว่าไม่มีอะไรที่ไม่จริงใจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประกาศต่อรัฐสภาแล้วว่า หลังเดินทาง กลับมาจากประเทศสหรัฐฯ ในวันที่ 27 ก.ย.นี้จะเชิญวุฒิสภา ฝ่ายค้า และพรรคร่วมรัฐบาลหารือกัน
ทั้งนี้ทุกอย่างที่พูดไว้กับพรรคร่วมรัฐบาลยังเหมือนเดิมที่ได้ตกลงกันที่จะแก้ไขใน 2 ประเด็น คือ ม.190 และมาตราที่เกี่ยวกับการแบ่งเขตเลือกตั้งให้เป็นแบบเขนเดียวเบอร์เดียว ส่วนจะเสร็จเมื่อไหร่ไม่สามารถบอกได้ แต่ระดับแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลได้หารือกันแล้วและให้วิปรัฐบาลไปพิจารณา 2 ประเด็นดังกล่าว โดยจะยกร่างแยกเป็น 2 ประเด็นต่างหาก ซึ่งไม่ได้ขัดกับความคิดของนายกรัฐมนตรีที่ได้กราบเรียนต่อรัฐสภาไปแล้ว
นายกฯ ได้เสนอต่อรัฐสภาไว้ว่า ประเด็นแก้รัฐธรรมนูญให้ยกร่างแยกเป็นประเด็นละหนึ่งฉบับ เมื่อผ่านรัฐสภาแล้วก็ทำประชามติ ถ้าประเด็นไหนที่ประชาชนไม่เห็นด้วยก็ให้ตกไป
สำหรับการตั้งส.ส.ร.3 นั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ยังไม่ได้สรุป ฉะนั้นอย่าเพิ่มตีตนไปก่อนเข้ เสียงส่วนใหญ่ในพรรคร่วมเห็นอย่างไรพรรคประชาธิปัตย์ก็เอาอย่างนั้น
ส่วนที่ไม่ยุบสภาเพื่อคืนอำนาจให้ประชาชนนั้น รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่พร้อมที่จะยุบสภา เราต้องทำให้ทุกฝ่ายเย็นลง และ ยอมรับในกฎเกณฑ์และกติกาด้วยกันเสียก่อน เพราะหากยุบสภาตอนนี้ไปก็จะยุ่ง เช่น ในการขึ้นเวทีปราศรัยหากยังมีอารมณ์ความรู้สึกแบบนี้อยู่ก็จะวุ่นวาย ฉะนั้นการยุบสภาต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นที่ยอมรับกันทุกฝ่าย และ ปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเมือง และ เศรษฐกิจ เบาบางลง
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม รองโฆษกพรรคประชิปัตย์ แถลงภายหลังการประชุมส.ส.พรรคประชิปัตย์ว่า พรรคเห็นด้วยกับข้อสรุปของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปการเมืองและศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และไม่ข้ดข้องไม่ว่าจะเป็นการตั้ง ส.ส.ร.3 การตั้งคณะกรรมการอิสระ หรือการทำประชามติ ซึ่งทางพรรคก็ไม่ติดใจเพียงแต่กระบวนการแก้ไขต้องมีเหตุผล 2 ข้อคือ 1.ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม และ 2.ให้ประชาชนพอใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะขณะนี้เรามาไกลเกินไปที่ฝ่ายการเมืองเจะเข้ามาแก้ไขด้วยตนเองโดยไม่สนใจฟังเสียงของชาชน
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ข้อกล่าวหาพรรคประชาธิปัตย์ยื้อแก้รัฐธรรมนูญไม่เป็นธรรมกับพรรค เพราะพรรคเราไม่มีเงื่อนไขใดๆ ในเรื่องนี้ แต่พรรคกังวลว่าว่าถ้าการแก้ไขไม่เป็นที่ยอมรับ ไม่ตกผนึกจากทุดภาคส่วนในสังคม อาจกลายเป็นเงื่อนไขความขัดแย้งทางการเมืองรอบใหม่
นายเทพไท กล่าวว่า พรรคไม่ได้กลัวว่าจะเสียเปรียบหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามที่ถูกกล่าวหาแต่ตระหนักว่าแม้รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะมาจาก คมช.ก็ตาม แต่ต้องยอมรับว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับเดียวที่ผ่านการทำประชามติโดยเสียงส่วนใหญ่ ของประเทศ ดังนั้นจึงควรให้ความเคารพและรับฟังความคิดเห็น จนกว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะมีความเปลี่ยนแปลง
นายเทพไท กล่าวว่าที่หลายฝ่ายต้องการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จใน 2-3 เดือน ตนคิดว่าเป็นการเร่งรีบ อาจมีข้อบกพร่อง และไม่รอบคอบ สภาฯชุดนี้ยังมีเวลาอีก 2 ปี การดำเนินการโดยใช้เวลา 6 เดือนถึง 1 ปี จะรอบคอบกว่า ไม่น่ามีอะไรเสียหาย และหากเกรงว่าจะยุบสภาก่อนที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จนั้น จนถึงขณะนี้ยังไม่มีสถานการณ์อะไรที่จะนำไปสู่การยุบสภาฯ นายกรัฐมนตรีก็ยังไม่ได้แสดงท่าทีดังกล่าว
ส่วนที่พรรคเพื่อไทยประกาศไม่เอาด้วยกับการตั้ง ส.ส.ร.นั้น นายเทพไท กล่าวว่า ไม่อยากให้ตั้งป้อมทางการเมืมองว่าเมื่อพรรคใดเสนอแล้วอีกฝ่ายหนึ่งคัดค้าน แต่อยากให้ทุกฝ่ายรับฟังเพื่อสร้างความเห็นพ้อง รวมทั้งปรับท่าทีเพื่อนำมาสู่ ความเห็นที่สอดคล้องกัน
นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษก พรรคภูมิใจไทย แถลงหลังการประชุมพรรคว่า พรรคไม่เห็นด้วยกับแนวทางของนายกรัฐมนตรีที่เสนอให้ตั้ง ส.ส.ร.3 ขึ้นมาพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยได้มอบหมายให้ นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รองหัวหน้าพรรค เป็นตัวแทนในการเข้าร่วมประชุมหารือถึงข้อเสนอในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กับพรรคร่วมรัฐบาลในวันนี้ (23 ก.ย.)
ทั้งนี้ ยังย้ำจุดยืนของพรรคที่สนับสนุนการแก้ไข มาตรา 190 และประเด็นที่มาของ ส.ส. ให้กลับเป็นเขตเดียวเบอร์เดียว ที่เห็นว่า สามารถดำเนินการได้ทันที อย่างไรก็ตาม มองว่า ข้อเสนอให้ตั้ง ส.ส.ร.3 ของ นายกรัฐมนตรี น่าจะหมายถึงกรณี ที่มีการเสนอแก้ไขในประเด็นอื่นที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย อาทิ มาตรา 237 เรื่องการยุบพรรค และการเพิกถอนสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคที่ยังมีความเห็นที่ แตกต่าง ซึ่งควรให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไข
วันเดียวกัน มีการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค และส.ส.พรรคเพื่อไทย โดยมีอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย และอดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน มาร่วมสังเกตุการณ์ด้วย โดยใช้เวลาประชุม 2 ชั่วโมงเศษในการหารือถึงประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่เห็นด้วยกับคณะกรรมการสมานฉันท์ฯที่เสนอให้แก้ไขใน 6 ประเด็น แต่ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการตั้งส.ส.ร.3 หรือทำประชามติ เนื่องจากเห็นว่า ส.ส.ที่อยู่ในสภาก็เป็นผู้แทนราษฎรของประชาชนอยู่แล้ว ดังนั้นควรให้กระบวนการจบ ที่สภาได้เลย ซึ่งใช้เวลาไม่นานนัก คาดว่าไม่เกินสิ้นปีก็น่าจะมีการยุบสภาเลือกตั้งใหม่ได้
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมเห็นว่าปัญหาอยู่ที่พรรคประชาธิปัตย์ว่าจะมีความ จริงใจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือว่าจะเล่นเกมซื้อเวลาต่อไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าพรรคประชาธิปัตย์จะไม่ยอมยุบสภาง่ายๆ และจะซื้อเวลาออกไปเรื่อยๆ
ขณะเดียวกัน นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ อาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เดินทางมายื่นหนังสือถึงคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อให้ดำเนินการ ถอดถอน ส.ส.และ ส.ว.152 คน ที่ร่วมลงนามเสนอแก้ไขรัธรรมนูญ 6 ประเด็น ข้อหาใช้ตำแหน่งหน้าที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
นพ.ตุลย์ กล่าวว่า การลงนามเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็นตามข้อเสนอ ของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ของ ส.ส.และ ส.ว.152 คน เป็นการทำเพื่อผลประโยชน์ตัวเองและพวกพ้อง เพื่อให้ผู้กระทำผิดพ้นผิด เช่น การเสนอยกเลิกรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 เพื่อยกเลิกการยุบพรรค และตัดสิทธิ์ทางการเมืองของ อดีตกรรมการบริหารพรรค การเพิ่มจำนวน ส.ส.สัดส่วนและการแบ่งเขตเลือกตั้งเล็กลง ให้มี ส.ส.1 คน การให้ ส.ว.สรรหาอยู่ในตำแหน่งนานขึ้น และแม้จะมีการถอนญัตติการ แก้รัฐธรรมนูญดังกล่าวออกไปแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีความพยายามดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น หาก ส.ส.และ ส.ว.ยังใช้ตำแหน่งหน้าที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ ภาคประชาชนก็ขอใช้สิทธิถอดถอนออกจากตำแหน่ง และดำเนินการข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อส่งเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ทุกอย่างที่พูดไว้กับพรรคร่วมรัฐบาลยังเหมือนเดิมที่ได้ตกลงกันที่จะแก้ไขใน 2 ประเด็น คือ ม.190 และมาตราที่เกี่ยวกับการแบ่งเขตเลือกตั้งให้เป็นแบบเขนเดียวเบอร์เดียว ส่วนจะเสร็จเมื่อไหร่ไม่สามารถบอกได้ แต่ระดับแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลได้หารือกันแล้วและให้วิปรัฐบาลไปพิจารณา 2 ประเด็นดังกล่าว โดยจะยกร่างแยกเป็น 2 ประเด็นต่างหาก ซึ่งไม่ได้ขัดกับความคิดของนายกรัฐมนตรีที่ได้กราบเรียนต่อรัฐสภาไปแล้ว
นายกฯ ได้เสนอต่อรัฐสภาไว้ว่า ประเด็นแก้รัฐธรรมนูญให้ยกร่างแยกเป็นประเด็นละหนึ่งฉบับ เมื่อผ่านรัฐสภาแล้วก็ทำประชามติ ถ้าประเด็นไหนที่ประชาชนไม่เห็นด้วยก็ให้ตกไป
สำหรับการตั้งส.ส.ร.3 นั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ยังไม่ได้สรุป ฉะนั้นอย่าเพิ่มตีตนไปก่อนเข้ เสียงส่วนใหญ่ในพรรคร่วมเห็นอย่างไรพรรคประชาธิปัตย์ก็เอาอย่างนั้น
ส่วนที่ไม่ยุบสภาเพื่อคืนอำนาจให้ประชาชนนั้น รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่พร้อมที่จะยุบสภา เราต้องทำให้ทุกฝ่ายเย็นลง และ ยอมรับในกฎเกณฑ์และกติกาด้วยกันเสียก่อน เพราะหากยุบสภาตอนนี้ไปก็จะยุ่ง เช่น ในการขึ้นเวทีปราศรัยหากยังมีอารมณ์ความรู้สึกแบบนี้อยู่ก็จะวุ่นวาย ฉะนั้นการยุบสภาต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นที่ยอมรับกันทุกฝ่าย และ ปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเมือง และ เศรษฐกิจ เบาบางลง
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม รองโฆษกพรรคประชิปัตย์ แถลงภายหลังการประชุมส.ส.พรรคประชิปัตย์ว่า พรรคเห็นด้วยกับข้อสรุปของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปการเมืองและศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และไม่ข้ดข้องไม่ว่าจะเป็นการตั้ง ส.ส.ร.3 การตั้งคณะกรรมการอิสระ หรือการทำประชามติ ซึ่งทางพรรคก็ไม่ติดใจเพียงแต่กระบวนการแก้ไขต้องมีเหตุผล 2 ข้อคือ 1.ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม และ 2.ให้ประชาชนพอใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะขณะนี้เรามาไกลเกินไปที่ฝ่ายการเมืองเจะเข้ามาแก้ไขด้วยตนเองโดยไม่สนใจฟังเสียงของชาชน
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ข้อกล่าวหาพรรคประชาธิปัตย์ยื้อแก้รัฐธรรมนูญไม่เป็นธรรมกับพรรค เพราะพรรคเราไม่มีเงื่อนไขใดๆ ในเรื่องนี้ แต่พรรคกังวลว่าว่าถ้าการแก้ไขไม่เป็นที่ยอมรับ ไม่ตกผนึกจากทุดภาคส่วนในสังคม อาจกลายเป็นเงื่อนไขความขัดแย้งทางการเมืองรอบใหม่
นายเทพไท กล่าวว่า พรรคไม่ได้กลัวว่าจะเสียเปรียบหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามที่ถูกกล่าวหาแต่ตระหนักว่าแม้รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะมาจาก คมช.ก็ตาม แต่ต้องยอมรับว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับเดียวที่ผ่านการทำประชามติโดยเสียงส่วนใหญ่ ของประเทศ ดังนั้นจึงควรให้ความเคารพและรับฟังความคิดเห็น จนกว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะมีความเปลี่ยนแปลง
นายเทพไท กล่าวว่าที่หลายฝ่ายต้องการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จใน 2-3 เดือน ตนคิดว่าเป็นการเร่งรีบ อาจมีข้อบกพร่อง และไม่รอบคอบ สภาฯชุดนี้ยังมีเวลาอีก 2 ปี การดำเนินการโดยใช้เวลา 6 เดือนถึง 1 ปี จะรอบคอบกว่า ไม่น่ามีอะไรเสียหาย และหากเกรงว่าจะยุบสภาก่อนที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จนั้น จนถึงขณะนี้ยังไม่มีสถานการณ์อะไรที่จะนำไปสู่การยุบสภาฯ นายกรัฐมนตรีก็ยังไม่ได้แสดงท่าทีดังกล่าว
ส่วนที่พรรคเพื่อไทยประกาศไม่เอาด้วยกับการตั้ง ส.ส.ร.นั้น นายเทพไท กล่าวว่า ไม่อยากให้ตั้งป้อมทางการเมืมองว่าเมื่อพรรคใดเสนอแล้วอีกฝ่ายหนึ่งคัดค้าน แต่อยากให้ทุกฝ่ายรับฟังเพื่อสร้างความเห็นพ้อง รวมทั้งปรับท่าทีเพื่อนำมาสู่ ความเห็นที่สอดคล้องกัน
นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษก พรรคภูมิใจไทย แถลงหลังการประชุมพรรคว่า พรรคไม่เห็นด้วยกับแนวทางของนายกรัฐมนตรีที่เสนอให้ตั้ง ส.ส.ร.3 ขึ้นมาพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยได้มอบหมายให้ นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รองหัวหน้าพรรค เป็นตัวแทนในการเข้าร่วมประชุมหารือถึงข้อเสนอในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กับพรรคร่วมรัฐบาลในวันนี้ (23 ก.ย.)
ทั้งนี้ ยังย้ำจุดยืนของพรรคที่สนับสนุนการแก้ไข มาตรา 190 และประเด็นที่มาของ ส.ส. ให้กลับเป็นเขตเดียวเบอร์เดียว ที่เห็นว่า สามารถดำเนินการได้ทันที อย่างไรก็ตาม มองว่า ข้อเสนอให้ตั้ง ส.ส.ร.3 ของ นายกรัฐมนตรี น่าจะหมายถึงกรณี ที่มีการเสนอแก้ไขในประเด็นอื่นที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย อาทิ มาตรา 237 เรื่องการยุบพรรค และการเพิกถอนสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคที่ยังมีความเห็นที่ แตกต่าง ซึ่งควรให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไข
วันเดียวกัน มีการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค และส.ส.พรรคเพื่อไทย โดยมีอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย และอดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน มาร่วมสังเกตุการณ์ด้วย โดยใช้เวลาประชุม 2 ชั่วโมงเศษในการหารือถึงประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่เห็นด้วยกับคณะกรรมการสมานฉันท์ฯที่เสนอให้แก้ไขใน 6 ประเด็น แต่ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการตั้งส.ส.ร.3 หรือทำประชามติ เนื่องจากเห็นว่า ส.ส.ที่อยู่ในสภาก็เป็นผู้แทนราษฎรของประชาชนอยู่แล้ว ดังนั้นควรให้กระบวนการจบ ที่สภาได้เลย ซึ่งใช้เวลาไม่นานนัก คาดว่าไม่เกินสิ้นปีก็น่าจะมีการยุบสภาเลือกตั้งใหม่ได้
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมเห็นว่าปัญหาอยู่ที่พรรคประชาธิปัตย์ว่าจะมีความ จริงใจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือว่าจะเล่นเกมซื้อเวลาต่อไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าพรรคประชาธิปัตย์จะไม่ยอมยุบสภาง่ายๆ และจะซื้อเวลาออกไปเรื่อยๆ
ขณะเดียวกัน นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ อาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เดินทางมายื่นหนังสือถึงคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อให้ดำเนินการ ถอดถอน ส.ส.และ ส.ว.152 คน ที่ร่วมลงนามเสนอแก้ไขรัธรรมนูญ 6 ประเด็น ข้อหาใช้ตำแหน่งหน้าที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
นพ.ตุลย์ กล่าวว่า การลงนามเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็นตามข้อเสนอ ของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ของ ส.ส.และ ส.ว.152 คน เป็นการทำเพื่อผลประโยชน์ตัวเองและพวกพ้อง เพื่อให้ผู้กระทำผิดพ้นผิด เช่น การเสนอยกเลิกรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 เพื่อยกเลิกการยุบพรรค และตัดสิทธิ์ทางการเมืองของ อดีตกรรมการบริหารพรรค การเพิ่มจำนวน ส.ส.สัดส่วนและการแบ่งเขตเลือกตั้งเล็กลง ให้มี ส.ส.1 คน การให้ ส.ว.สรรหาอยู่ในตำแหน่งนานขึ้น และแม้จะมีการถอนญัตติการ แก้รัฐธรรมนูญดังกล่าวออกไปแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีความพยายามดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น หาก ส.ส.และ ส.ว.ยังใช้ตำแหน่งหน้าที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ ภาคประชาชนก็ขอใช้สิทธิถอดถอนออกจากตำแหน่ง และดำเนินการข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อส่งเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองดำเนินการต่อไป