นับตั้งแต่มีรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ที่มาจากพรรคการเมืองในระบอบเลือกตั้งในปี 2531 เป็นต้นมา การเมืองไทยก็เข้าสู่รูปแบบของ การเมืองสองหน้า หรือการเมืองแบบสองนคราประชาธิปไตยอย่างเต็มตัว และได้กลายเป็นปัญหาหลักของประชาธิปไตยตั้งแต่นั้นมาไปโดยปริยาย โดยที่ชนชั้นกลางไทยในเมืองหลวงและหัวเมืองใหญ่กับชาวนาชาวไร่ไทยในชนบท ได้มอง “ประชาธิปไตย” ไม่เหมือนกัน เพราะพวกเขามี ระดับจิตสำนึก ที่ต่างกัน จึงทำให้เกิดสภาพปมขัดแย้งที่ชนชั้นกลางเป็นเพียง ฐานนโยบาย ของพรรคการเมือง แต่ไม่ได้เป็น ฐานเสียง ของพรรคการเมืองในการจัดตั้งรัฐบาล
ในขณะที่ชาวไร่ชาวนาในชนบทก็เป็นเพียง ฐานเสียง ของพรรคการเมือง แต่ยังไม่ได้เป็น ฐานนโยบาย ของพรรคการเมืองในขณะนั้น สิ่งนี้เป็นจริงเหลือเกินก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬในปี 2535 ซึ่ง ชนชั้นกลางไทย ได้ปรากฏตัวขึ้นมาทำหน้าที่ ล้ม รัฐบาล แทนขบวนการนักศึกษาในปี 2516 แต่ชนชั้นกลางไทยก็ทำได้อย่างมาก แค่ ล้ม รัฐบาล โดยหวังว่าจะได้เห็นประชาธิปไตยในแบบที่พวกตนต้องการเท่านั้น โดยที่ในความเป็นจริงแล้ว ชนชั้นชาวนาชาวไร่ในชนบทซึ่งมีจำนวนมหาศาล คือ ผู้กำหนดชัยชนะในการเลือกตั้งที่แท้จริง คุณลักษณะของพรรคการเมืองและนักการเมืองที่ได้อำนาจ จึงเป็นไปตามความเข้าใจและความต้องการต่อ “ประชาธิปไตย” ของชาวชนบท ในขณะที่เสียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลในเรื่องทุจริตคอร์รัปชัน ก็เป็นแค่ปฏิกิริยาต่อต้านของชนชั้นกลางในเมืองต่อ “ประชาธิปไตยจอมปลอม” ที่ชาวชนบทเป็นผู้ให้กำเนิดเท่านั้น
อย่างไรก็ดี พลังในการโค่นล้มรัฐบาลของชนชั้นกลางไทย ก็เป็นสิ่งที่มิอาจจะดูเบาดูแคลนได้เป็นอันขาด เพราะแม้แต่กองทัพที่ทรงพลังก็ยังต้องยำเกรงต่อพลังของชนชั้นกลางไทยที่ได้สำแดงออกมาอย่างชัดแจ้งเป็นครั้งแรกในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535
* * *
ทันทีที่พล.อ.สุจินดา คราประยูร รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 เขาก็ต้องเผชิญกับการประท้วงจากประชาชนอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง โดยเริ่มจาก ร.ต.ฉลาด วรฉัตร ได้ทำการอดอาหารประท้วงเรียกร้องให้ พล.อ.สุจินดา ลาออกตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2535 ด้วยการนั่งประท้วงอยู่ที่หน้ารัฐสภา จากนั้นก็มีพรรคการเมืองบางพรรคที่ออกมาแสดงการคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา อย่างเปิดเผยคือ พรรคความหวังใหม่ พรรคพลังธรรม พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคเอกภาพ
เหตุที่รัฐบาล พล.อ.สุจินดา เป็นที่รังเกียจของสังคมทันทีตั้งแต่แรกตั้ง มิใช่เพียงเพราะการตระบัดสัตย์ของ พล.อ.สุจินดา แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะลักษณะของรัฐบาลชุดนี้ที่ยังมีลักษณะที่เป็น “การเมืองเก่า” อย่างชัดเจน เพราะรัฐมนตรีหลายคนไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม วันที่ 20 เมษายน ฝ่ายค้านและภาคประชาชนได้นัดชุมนุมประท้วงใหญ่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า โดยมีประชาชนเข้าร่วมการชุมนุมเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นการชุมนุมประท้วงก็ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องทุกวัน ผู้ที่เข้ามาชุมนุมประท้วงส่วนใหญ่ เป็นชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ที่เรียกกันในตอนนั้นว่า “ม็อบมือถือ” พวกเขาคือตัวแทนหลักของพลังทางสังคมที่เรียกร้อง “โครงการปฏิรูปเสรีนิยม” (The Liberal Reform Project) ในประเทศนี้
ขณะที่ขุมพลังอีกส่วนหนึ่งที่กระโดดเข้ามาร่วมชุมนุมต่อต้านด้วยคือ ขบวนการการเมืองภาคประชาชนที่เป็นตัวแทนหลักของพลังสังคมที่เรียกร้อง “โครงการปฏิรูปประชาธิปไตย” (The Democratic Reform Project) ในประเทศนี้ ขุมพลังทั้งสองพลังนี้ล้วนมีความเห็นพ้องต้องกันว่า จะช่วยกัน ต่อต้านการสืบทอดอำนาจของกองทัพหรือคณะ รสช.อย่างถึงที่สุด
หลังจากนั้น การชุมนุมประท้วงของประชาชนได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องทุกวัน จนกระทั่งวันที่ 29 เมษายน ร.ต.ฉลาด วรฉัตร เป็นลมหมดสติ หลังจากที่อดอาหารประท้วงมานานถึง 21 วันเต็ม จึงถูกนำเข้าโรงพยาบาล แต่เมื่อ ร.ต.ฉลาด ฟื้นตัวก็กลับมาอดอาหารประท้วงต่อ แต่รัฐบาล พล.อ.สุจินดา มิได้แสดงท่าทีใส่ใจการประท้วงของประชาชนแต่อย่างใดเลย จึงทำให้สถานการณ์ยิ่งตึงเครียดมากขึ้นเรื่อยๆ การประท้วงของประชาชนลุกลามขยายตัวออกไปอีก ภายหลังจากที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ได้ประกาศว่า จะขออดข้าวและอดน้ำด้วยจนตายภายใน 7 วัน เป้าหมายหลักในการเรียกร้องของ พล.ต.จำลอง คือ การคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร กับต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น
พล.ต.จำลอง ได้ประกาศว่า จะใช้การต่อสู้แบบอหิงสาและสันติวิธี ขอเพียง พล.อ.สุจินดา ประกาศว่าจะลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อมาเป็นนายกรัฐมนตรีให้ถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย ก็จะเลิกประท้วง แต่รัฐบาลสุจินดาไม่สนใจข้อเรียกร้องของ พล.ต.จำลอง แต่กลับโจมตีว่า พล.ต.จำลอง กำลังเล่นเกมนอกสภาฯ ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่อาจยอมรับได้
เหตุการณ์เริ่มตึงเครียดมากขึ้น เพราะประชาชนที่มาชุมนุมต่อต้านรัฐบาลมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกที นักวิชาการจำนวนหนึ่งนำโดย นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ได้ถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสนอคำแนะนำให้นายกรัฐมนตรียุบสภาฯ เพื่อแก้วิกฤตทางการเมืองและให้ พล.อ.สุจินดา ลงสมัครรับเลือกตั้งตามขั้นตอน แต่คณะ รสช.ได้นัดประชุมกับ พล.อ.สุจินดา และได้ข้อสรุปว่า จะต้องสลายการชุมนุมอย่างเด็ดขาดด้วยแผนไพรีพินาศ ขณะที่ฝ่ายพรรครัฐบาลคือพรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย และพรรคราษฎรได้พยายามแก้วิกฤต โดยแถลงว่าจะผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะประเด็นให้นายกฯ มาจากการเลือกตั้ง
วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ขอประชามติเพื่อเลิกอดอาหารประท้วง เพราะจะออกมานำมวลชนสู้ต่อ และได้ลาออกจากหัวหน้าพรรคพลังธรรมเพื่อแสดงว่า ไม่ได้เป็นการต่อสู้เพื่อให้ได้อำนาจ ในคืนวันที่ 10 พฤษภาคม เมื่อประธานสภาฯ ได้แถลงว่า พรรคฝ่ายรัฐบาลรับหลักการในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว พล.ต.จำลอง จึงตัดสินใจสลายการชุมนุมชั่วคราว เพื่อเปิดโอกาสในการแก้รัฐธรรมนูญ และประกาศจะชุมนุมใหม่ภายใน 7 วัน
แต่เมื่อฝ่ายประชาชนสลายการชุมนุมไปแล้ว ฝ่ายพรรครัฐบาลกลับคืนวาจา เรื่องที่จะแก้รัฐธรรมนูญ ทำให้ในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ฝ่ายประชาชนจึงนัดชุมนุมใหญ่อีกครั้งที่ท้องสนามหลวง และมีการก่อตั้งสมาพันธ์ประชาธิปไตยขึ้นมาเพื่อชี้นำการชุมนุมให้เป็นเอกภาพในราว 3 ทุ่มของคืนวันที่ 17 พฤษภาคม ผู้ชุมนุมเรือนแสนได้เคลื่อนขบวนจากสนามหลวงมุ่งหน้าไปยังทำเนียบรัฐบาล แต่ถูกฝ่ายทหาร ตำรวจตรึงไว้ที่สะพานผ่านฟ้า ทั้งสองฝ่ายจึงเผชิญหน้ากันที่บริเวณนั้น ขณะที่ฝ่ายประชาชนก็ปักหลักชุมนุมอยู่ที่นั่น
เหตุการณ์บานปลายเป็นความรุนแรงในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 เมื่อมีการยิงปืนของฝ่ายทหารในตอนดึก แต่การชุมนุมก็ยังคงอยู่จนถึงเวลาบ่ายสามโมง เมื่อพล.อ.สุจินดา คราประยูร ได้สั่งให้กองทหารเข้าสลายการชุมนุม และจับกุมผู้ร่วมชุมนุมจำนวนมากไปขังไว้ที่โรงเรียนพลตำรวจบางเขน รวมทั้ง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ก็ถูกจับกุมด้วย แต่การสลายการชุมนุมครั้งนั้น ไม่อาจหยุดยั้งการชุมนุมครั้งใหม่ของประชาชนในส่วนที่เหลืออีกหลายหมื่นคนได้ โดนที่การชุมนุมครั้งใหม่นี้ ไม่มีผู้นำแต่อย่างใด เหตุการณ์จึงลุกลามบานปลายกลายเป็นการจลาจล เมื่อฝ่ายประชาชนใช้กำลังรถมอเตอร์ไซค์ตอบโต้ การปราบปรามของฝ่ายทหาร ตำรวจ การปราบปรามถึงขั้นนองเลือดโดยกองทัพเกิดขึ้นในกลางดึกของคืนวันที่ 18 พฤษภาคม นั่นเอง
เมื่อฝ่ายประชาชนได้ยึดเอาโรงแรมรัตนโกสินทร์เป็นฐานที่มั่น และเป็นโรงพยาบาล ฝ่ายทหารจึงส่งกำลังเข้าสลายด้วยอาวุธ และจับกุมประชาชนที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ ในช่วงเช้ามืดของวันที่ 19 พฤษภาคม ซึ่งตลอดทั้งวันของวันนั้น ความตึงเครียดยังคงปกคลุมไปทั่วกรุงเทพฯ ขณะที่ฝ่ายประชาชนก็ได้นัดรวมตัวกันใหม่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง และตั้งเวทีขับไล่พล.อ.สุจินดา ที่นั่น
การชุมนุมที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ดำเนินข้ามวันมาถึงวันที่ 20 พฤษภาคม เวลาห้าทุ่มจึงได้มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ทั่วประเทศ เรื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเรียก พล.อ.สุจินดา คราประยูร และพล.ต.จำลอง ศรีเมือง เข้าเฝ้าฯ เป็นกรณีพิเศษ และทรงขอให้สองคนหันหน้าเข้าหากันเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาบ้านเมือง ทั้งสองคนตกลงรับคำทำให้การชุมนุมที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงยุติลง และความสงบของบ้านเมืองได้กลับคืนมาอีกครั้ง
หลังจากนั้น พล.อ.สุจินดาได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ แต่ก่อนที่จะลาออก พล.อ.สุจินดา คราประยูร ได้ออกพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการในเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น หรือเพื่อให้ตนเองและพรรคพวกของตนเองพ้นจากความผิดในการใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชนจนถึงขั้นนองเลือด
ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ประธานสภาผู้แทนฯ ได้นำชื่อผู้ได้รับการเสนอเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ขึ้นทูลเกล้าฯ ซึ่งปรากฏว่าเกิดการพลิกโผคือแทนที่จะเป็น พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ หัวหน้าพรรคชาติไทย ซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนในสภาฯ มากที่สุด แต่กลับกลายเป็น นายอานันท์ ปันยารชุน ได้รับพระบรมราชโองการให้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน ซึ่งสร้างความพอใจให้แก่ประชาชนชนชั้นกลางเป็นอย่างมาก นายกรัฐมนตรีอานันท์ได้ตั้งคณะรัฐมนตรีชุดเดิมของเขาเป็นส่วนใหญ่ และได้ออกพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2535 เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่
ในระหว่างนั้น นายกฯ อานันท์ ได้ถอดชนวนความขัดแย้งกับกองทัพ โดยปลดตำแหน่ง พล.อ.อิสระพงษ์ หนุนภักดี หนึ่งในคณะ รสช.ออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก แล้วแต่งตั้ง พล.อ.วิมล วงศ์วานิช ให้มารับตำแหน่งแทน ขณะเดียวกัน ก็ได้ย้าย พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล หนึ่งในคณะ รสช.ออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารอากาศ โดยให้ พล.อ.อ.วรนาถ อภิจารี เข้ามารับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และให้ พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์ เข้ามารับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศแทน ถือเป็นการปิดฉากการเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองของกองทัพไปอีกนาน หลังจากนั้นถึงสิบกว่าปีเลยทีเดียว
* * *
การที่ทหารใช้อาวุธสงครามปราบปรามประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตยจนถึงขั้นนองเลือดในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 แสดงให้เห็นชัดว่า สังคมไทยและกองทัพไทยแทบไม่ได้เรียนรู้บทเรียนจากการใช้ความรุนแรงแบบไร้สติในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เลย สังคมไทยยังคงปล่อยให้เหตุการณ์นองเลือดเหล่านั้นจบไปโดยไม่มีการสอบสวนหาความถูกผิด ไม่มีการลงโทษผู้ที่ใช้กำลังปราบปรามประชาชนอย่างรุนแรง แต่ใช้วาทกรรมที่บิดเบือน โดยอ้างว่าขอให้ลืมกันไป และเลิกแล้วต่อกันเพื่อความสมานฉันท์ของบ้านเมือง มิหนำซ้ำสังคมยังไม่ยอมศึกษาหาความจริง ให้ความรู้ ให้บทเรียนแก่ประชาชน ขณะที่ “ฆาตกรมือเปื้อนเลือด” ทั้งหลายก็ยังตะแบงความเชื่อว่าตนเองได้ทำสิ่งที่ถูกต้องแล้ว แม้เหตุการณ์นองเลือดนั้นจะผ่านมากี่ปีแล้วก็ตาม
เพราะฉะนั้น ถ้าคนรุ่นหลังไม่สนใจประวัติศาสตร์ และไม่เข้าใจประวัติศาสตร์การต่อสู้ของภาคประชาชน อีกทั้งไม่สนใจศึกษาจิตวิญญาณแห่งการเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคมที่ดีกว่า และเพื่อการเมืองที่ดีกว่า รวมทั้งไม่มีความตื่นตัวต่อปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจสังคมที่กำลังรุมเร้าบ้านเมืองนี้อยู่ บ้านเมืองนี้จะไปรอดได้อย่างไรกัน (ยังมีต่อ)
www.suvinai-dragon.com
ในขณะที่ชาวไร่ชาวนาในชนบทก็เป็นเพียง ฐานเสียง ของพรรคการเมือง แต่ยังไม่ได้เป็น ฐานนโยบาย ของพรรคการเมืองในขณะนั้น สิ่งนี้เป็นจริงเหลือเกินก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬในปี 2535 ซึ่ง ชนชั้นกลางไทย ได้ปรากฏตัวขึ้นมาทำหน้าที่ ล้ม รัฐบาล แทนขบวนการนักศึกษาในปี 2516 แต่ชนชั้นกลางไทยก็ทำได้อย่างมาก แค่ ล้ม รัฐบาล โดยหวังว่าจะได้เห็นประชาธิปไตยในแบบที่พวกตนต้องการเท่านั้น โดยที่ในความเป็นจริงแล้ว ชนชั้นชาวนาชาวไร่ในชนบทซึ่งมีจำนวนมหาศาล คือ ผู้กำหนดชัยชนะในการเลือกตั้งที่แท้จริง คุณลักษณะของพรรคการเมืองและนักการเมืองที่ได้อำนาจ จึงเป็นไปตามความเข้าใจและความต้องการต่อ “ประชาธิปไตย” ของชาวชนบท ในขณะที่เสียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลในเรื่องทุจริตคอร์รัปชัน ก็เป็นแค่ปฏิกิริยาต่อต้านของชนชั้นกลางในเมืองต่อ “ประชาธิปไตยจอมปลอม” ที่ชาวชนบทเป็นผู้ให้กำเนิดเท่านั้น
อย่างไรก็ดี พลังในการโค่นล้มรัฐบาลของชนชั้นกลางไทย ก็เป็นสิ่งที่มิอาจจะดูเบาดูแคลนได้เป็นอันขาด เพราะแม้แต่กองทัพที่ทรงพลังก็ยังต้องยำเกรงต่อพลังของชนชั้นกลางไทยที่ได้สำแดงออกมาอย่างชัดแจ้งเป็นครั้งแรกในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535
* * *
ทันทีที่พล.อ.สุจินดา คราประยูร รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 เขาก็ต้องเผชิญกับการประท้วงจากประชาชนอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง โดยเริ่มจาก ร.ต.ฉลาด วรฉัตร ได้ทำการอดอาหารประท้วงเรียกร้องให้ พล.อ.สุจินดา ลาออกตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2535 ด้วยการนั่งประท้วงอยู่ที่หน้ารัฐสภา จากนั้นก็มีพรรคการเมืองบางพรรคที่ออกมาแสดงการคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา อย่างเปิดเผยคือ พรรคความหวังใหม่ พรรคพลังธรรม พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคเอกภาพ
เหตุที่รัฐบาล พล.อ.สุจินดา เป็นที่รังเกียจของสังคมทันทีตั้งแต่แรกตั้ง มิใช่เพียงเพราะการตระบัดสัตย์ของ พล.อ.สุจินดา แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะลักษณะของรัฐบาลชุดนี้ที่ยังมีลักษณะที่เป็น “การเมืองเก่า” อย่างชัดเจน เพราะรัฐมนตรีหลายคนไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม วันที่ 20 เมษายน ฝ่ายค้านและภาคประชาชนได้นัดชุมนุมประท้วงใหญ่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า โดยมีประชาชนเข้าร่วมการชุมนุมเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นการชุมนุมประท้วงก็ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องทุกวัน ผู้ที่เข้ามาชุมนุมประท้วงส่วนใหญ่ เป็นชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ที่เรียกกันในตอนนั้นว่า “ม็อบมือถือ” พวกเขาคือตัวแทนหลักของพลังทางสังคมที่เรียกร้อง “โครงการปฏิรูปเสรีนิยม” (The Liberal Reform Project) ในประเทศนี้
ขณะที่ขุมพลังอีกส่วนหนึ่งที่กระโดดเข้ามาร่วมชุมนุมต่อต้านด้วยคือ ขบวนการการเมืองภาคประชาชนที่เป็นตัวแทนหลักของพลังสังคมที่เรียกร้อง “โครงการปฏิรูปประชาธิปไตย” (The Democratic Reform Project) ในประเทศนี้ ขุมพลังทั้งสองพลังนี้ล้วนมีความเห็นพ้องต้องกันว่า จะช่วยกัน ต่อต้านการสืบทอดอำนาจของกองทัพหรือคณะ รสช.อย่างถึงที่สุด
หลังจากนั้น การชุมนุมประท้วงของประชาชนได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องทุกวัน จนกระทั่งวันที่ 29 เมษายน ร.ต.ฉลาด วรฉัตร เป็นลมหมดสติ หลังจากที่อดอาหารประท้วงมานานถึง 21 วันเต็ม จึงถูกนำเข้าโรงพยาบาล แต่เมื่อ ร.ต.ฉลาด ฟื้นตัวก็กลับมาอดอาหารประท้วงต่อ แต่รัฐบาล พล.อ.สุจินดา มิได้แสดงท่าทีใส่ใจการประท้วงของประชาชนแต่อย่างใดเลย จึงทำให้สถานการณ์ยิ่งตึงเครียดมากขึ้นเรื่อยๆ การประท้วงของประชาชนลุกลามขยายตัวออกไปอีก ภายหลังจากที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ได้ประกาศว่า จะขออดข้าวและอดน้ำด้วยจนตายภายใน 7 วัน เป้าหมายหลักในการเรียกร้องของ พล.ต.จำลอง คือ การคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร กับต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น
พล.ต.จำลอง ได้ประกาศว่า จะใช้การต่อสู้แบบอหิงสาและสันติวิธี ขอเพียง พล.อ.สุจินดา ประกาศว่าจะลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อมาเป็นนายกรัฐมนตรีให้ถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย ก็จะเลิกประท้วง แต่รัฐบาลสุจินดาไม่สนใจข้อเรียกร้องของ พล.ต.จำลอง แต่กลับโจมตีว่า พล.ต.จำลอง กำลังเล่นเกมนอกสภาฯ ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่อาจยอมรับได้
เหตุการณ์เริ่มตึงเครียดมากขึ้น เพราะประชาชนที่มาชุมนุมต่อต้านรัฐบาลมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกที นักวิชาการจำนวนหนึ่งนำโดย นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ได้ถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสนอคำแนะนำให้นายกรัฐมนตรียุบสภาฯ เพื่อแก้วิกฤตทางการเมืองและให้ พล.อ.สุจินดา ลงสมัครรับเลือกตั้งตามขั้นตอน แต่คณะ รสช.ได้นัดประชุมกับ พล.อ.สุจินดา และได้ข้อสรุปว่า จะต้องสลายการชุมนุมอย่างเด็ดขาดด้วยแผนไพรีพินาศ ขณะที่ฝ่ายพรรครัฐบาลคือพรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย และพรรคราษฎรได้พยายามแก้วิกฤต โดยแถลงว่าจะผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะประเด็นให้นายกฯ มาจากการเลือกตั้ง
วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ขอประชามติเพื่อเลิกอดอาหารประท้วง เพราะจะออกมานำมวลชนสู้ต่อ และได้ลาออกจากหัวหน้าพรรคพลังธรรมเพื่อแสดงว่า ไม่ได้เป็นการต่อสู้เพื่อให้ได้อำนาจ ในคืนวันที่ 10 พฤษภาคม เมื่อประธานสภาฯ ได้แถลงว่า พรรคฝ่ายรัฐบาลรับหลักการในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว พล.ต.จำลอง จึงตัดสินใจสลายการชุมนุมชั่วคราว เพื่อเปิดโอกาสในการแก้รัฐธรรมนูญ และประกาศจะชุมนุมใหม่ภายใน 7 วัน
แต่เมื่อฝ่ายประชาชนสลายการชุมนุมไปแล้ว ฝ่ายพรรครัฐบาลกลับคืนวาจา เรื่องที่จะแก้รัฐธรรมนูญ ทำให้ในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ฝ่ายประชาชนจึงนัดชุมนุมใหญ่อีกครั้งที่ท้องสนามหลวง และมีการก่อตั้งสมาพันธ์ประชาธิปไตยขึ้นมาเพื่อชี้นำการชุมนุมให้เป็นเอกภาพในราว 3 ทุ่มของคืนวันที่ 17 พฤษภาคม ผู้ชุมนุมเรือนแสนได้เคลื่อนขบวนจากสนามหลวงมุ่งหน้าไปยังทำเนียบรัฐบาล แต่ถูกฝ่ายทหาร ตำรวจตรึงไว้ที่สะพานผ่านฟ้า ทั้งสองฝ่ายจึงเผชิญหน้ากันที่บริเวณนั้น ขณะที่ฝ่ายประชาชนก็ปักหลักชุมนุมอยู่ที่นั่น
เหตุการณ์บานปลายเป็นความรุนแรงในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 เมื่อมีการยิงปืนของฝ่ายทหารในตอนดึก แต่การชุมนุมก็ยังคงอยู่จนถึงเวลาบ่ายสามโมง เมื่อพล.อ.สุจินดา คราประยูร ได้สั่งให้กองทหารเข้าสลายการชุมนุม และจับกุมผู้ร่วมชุมนุมจำนวนมากไปขังไว้ที่โรงเรียนพลตำรวจบางเขน รวมทั้ง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ก็ถูกจับกุมด้วย แต่การสลายการชุมนุมครั้งนั้น ไม่อาจหยุดยั้งการชุมนุมครั้งใหม่ของประชาชนในส่วนที่เหลืออีกหลายหมื่นคนได้ โดนที่การชุมนุมครั้งใหม่นี้ ไม่มีผู้นำแต่อย่างใด เหตุการณ์จึงลุกลามบานปลายกลายเป็นการจลาจล เมื่อฝ่ายประชาชนใช้กำลังรถมอเตอร์ไซค์ตอบโต้ การปราบปรามของฝ่ายทหาร ตำรวจ การปราบปรามถึงขั้นนองเลือดโดยกองทัพเกิดขึ้นในกลางดึกของคืนวันที่ 18 พฤษภาคม นั่นเอง
เมื่อฝ่ายประชาชนได้ยึดเอาโรงแรมรัตนโกสินทร์เป็นฐานที่มั่น และเป็นโรงพยาบาล ฝ่ายทหารจึงส่งกำลังเข้าสลายด้วยอาวุธ และจับกุมประชาชนที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ ในช่วงเช้ามืดของวันที่ 19 พฤษภาคม ซึ่งตลอดทั้งวันของวันนั้น ความตึงเครียดยังคงปกคลุมไปทั่วกรุงเทพฯ ขณะที่ฝ่ายประชาชนก็ได้นัดรวมตัวกันใหม่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง และตั้งเวทีขับไล่พล.อ.สุจินดา ที่นั่น
การชุมนุมที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ดำเนินข้ามวันมาถึงวันที่ 20 พฤษภาคม เวลาห้าทุ่มจึงได้มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ทั่วประเทศ เรื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเรียก พล.อ.สุจินดา คราประยูร และพล.ต.จำลอง ศรีเมือง เข้าเฝ้าฯ เป็นกรณีพิเศษ และทรงขอให้สองคนหันหน้าเข้าหากันเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาบ้านเมือง ทั้งสองคนตกลงรับคำทำให้การชุมนุมที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงยุติลง และความสงบของบ้านเมืองได้กลับคืนมาอีกครั้ง
หลังจากนั้น พล.อ.สุจินดาได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ แต่ก่อนที่จะลาออก พล.อ.สุจินดา คราประยูร ได้ออกพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการในเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น หรือเพื่อให้ตนเองและพรรคพวกของตนเองพ้นจากความผิดในการใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชนจนถึงขั้นนองเลือด
ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ประธานสภาผู้แทนฯ ได้นำชื่อผู้ได้รับการเสนอเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ขึ้นทูลเกล้าฯ ซึ่งปรากฏว่าเกิดการพลิกโผคือแทนที่จะเป็น พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ หัวหน้าพรรคชาติไทย ซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนในสภาฯ มากที่สุด แต่กลับกลายเป็น นายอานันท์ ปันยารชุน ได้รับพระบรมราชโองการให้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน ซึ่งสร้างความพอใจให้แก่ประชาชนชนชั้นกลางเป็นอย่างมาก นายกรัฐมนตรีอานันท์ได้ตั้งคณะรัฐมนตรีชุดเดิมของเขาเป็นส่วนใหญ่ และได้ออกพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2535 เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่
ในระหว่างนั้น นายกฯ อานันท์ ได้ถอดชนวนความขัดแย้งกับกองทัพ โดยปลดตำแหน่ง พล.อ.อิสระพงษ์ หนุนภักดี หนึ่งในคณะ รสช.ออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก แล้วแต่งตั้ง พล.อ.วิมล วงศ์วานิช ให้มารับตำแหน่งแทน ขณะเดียวกัน ก็ได้ย้าย พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล หนึ่งในคณะ รสช.ออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารอากาศ โดยให้ พล.อ.อ.วรนาถ อภิจารี เข้ามารับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และให้ พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์ เข้ามารับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศแทน ถือเป็นการปิดฉากการเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองของกองทัพไปอีกนาน หลังจากนั้นถึงสิบกว่าปีเลยทีเดียว
* * *
การที่ทหารใช้อาวุธสงครามปราบปรามประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตยจนถึงขั้นนองเลือดในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 แสดงให้เห็นชัดว่า สังคมไทยและกองทัพไทยแทบไม่ได้เรียนรู้บทเรียนจากการใช้ความรุนแรงแบบไร้สติในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เลย สังคมไทยยังคงปล่อยให้เหตุการณ์นองเลือดเหล่านั้นจบไปโดยไม่มีการสอบสวนหาความถูกผิด ไม่มีการลงโทษผู้ที่ใช้กำลังปราบปรามประชาชนอย่างรุนแรง แต่ใช้วาทกรรมที่บิดเบือน โดยอ้างว่าขอให้ลืมกันไป และเลิกแล้วต่อกันเพื่อความสมานฉันท์ของบ้านเมือง มิหนำซ้ำสังคมยังไม่ยอมศึกษาหาความจริง ให้ความรู้ ให้บทเรียนแก่ประชาชน ขณะที่ “ฆาตกรมือเปื้อนเลือด” ทั้งหลายก็ยังตะแบงความเชื่อว่าตนเองได้ทำสิ่งที่ถูกต้องแล้ว แม้เหตุการณ์นองเลือดนั้นจะผ่านมากี่ปีแล้วก็ตาม
เพราะฉะนั้น ถ้าคนรุ่นหลังไม่สนใจประวัติศาสตร์ และไม่เข้าใจประวัติศาสตร์การต่อสู้ของภาคประชาชน อีกทั้งไม่สนใจศึกษาจิตวิญญาณแห่งการเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคมที่ดีกว่า และเพื่อการเมืองที่ดีกว่า รวมทั้งไม่มีความตื่นตัวต่อปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจสังคมที่กำลังรุมเร้าบ้านเมืองนี้อยู่ บ้านเมืองนี้จะไปรอดได้อย่างไรกัน (ยังมีต่อ)
www.suvinai-dragon.com