ประชาธิปไตยจะไม่มีวันเกิด และเติบโตในสังคมที่ พลเมือง (citizen) ของสังคมนั้นไม่เข้มแข็ง เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จึงสามารถมองได้ว่าเป็น การปรากฏตัวของพลเมืองที่เข้มแข้ง ในคราบนักศึกษาจำนวนมากเป็นเรือนแสนอย่างพร้อมเพรียงกันครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ก็เห็นจะไม่ผิดนัก แต่อะไรคือ ความเป็นพลเมือง ที่เรากำลังกล่าวถึงอยู่นี้?
ความเป็นพลเมือง (citizenship) มิได้ถือกำเนิดโดยอัตโนมัติ พร้อมๆ กับการมีบัตรประชาชน แต่ความเป็นพลเมืองจักบังเกิดกับคนผู้นั้นก็ต่อเมื่อ คนผู้นั้นในฐานะที่เป็นปัจเจกได้เข้าไปมีส่วนร่วมในชุมนุมการเมืองหรือบ้านเมือง รวมทั้งเข้าไปปกป้องบ้านเมืองนั้นอย่างมีจิตสำนึกด้วยคุณธรรม เพราะฉะนั้น ความเป็นพลเมืองจึงเป็นเรื่องของการออกไปปฏิบัติการทางการเมืองเพื่อบ้านเมือง นั่นเอง ความเป็นพลเมืองจึงเป็นเรื่องของการปลูกฝังอบรมบ่มเพาะคุณธรรมเพื่อส่วนรวมให้มีขึ้นในปัจเจก ความเป็นพลเมืองกับระบบสังคมจึงแยกจากกันไม่ได้ เพราะการนำของรัฐและระบบการศึกษาของรัฐ ย่อมนำพาผู้คนไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งที่แน่นอนเสมอ
รัฐที่เป็นเผด็จการ ก็ย่อมฝึกฝนอบรมครอบงำประชาชนของตนไปในทิศทางที่สยบจำนนต่ออำนาจนิยม ด้วยเหตุนี้ การให้ปัญญา และการให้การศึกษาความรู้ที่แท้จริงแก่ประชาชน จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งในการที่ประชาชนจะปลดปล่อยตัวเองให้เป็นไท และการมาเป็น พลเมืองที่สมบูรณ์ (perfect citizen) โดยที่สุดยอดหรือที่สุดของพลเมืองที่สมบูรณ์คือ พลเมืองที่สามารถสละชีพเพื่ออุดมคติของตัวเองได้
พวกเขาและพวกเธอคือบุตรธิดาที่ดีเลิศของแผ่นดิน และเป็นผู้ที่ยืนแถวหน้าสุดในการต่อสู้เพื่อบ้านเมืองอย่างสุดจิตสุดใจ อย่างไม่หวั่นเกรงสิ่งใดทั้งสิ้น พวกเขาและพวกเธอจึงยินดีทอดตัวลงเป็นกรวดหินดินทรายถมเป็นทางเพื่อให้ผู้คนที่ยังอยู่ และคนรุ่นหลังได้ก้าวเดินไปสู่เป้าหมายที่สูงส่งได้สะดวกง่ายดายยิ่งขึ้นกว่าเดิม
เพราะเหตุนี้เอง พวกเขาและพวกเธอจึงกลายเป็น “ตำนาน” ของพลเมืองที่ดีเลิศของบ้านเมืองนั้น ประวัติศาสตร์จึงมักบอกพวกเราอยู่เสมอว่า การเปลี่ยนแปลงสังคมครั้งใหญ่ในแต่ละครั้งนั้น จะมีคนบางคนหรือคนกลุ่มหนึ่งที่มาต่อสู้เสียสละยืนอยู่แถวหน้าสุดในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงสังคมเสมอ โดยที่พวกเขาและพวกเธอเหล่านั้นได้ทุ่มเทผลักดันอย่างสุดกำลังที่มีอยู่ยืนหยัดฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ นานาอย่างไม่สะทกสะท้าน และไม่ลังเล หากจะต้องสละแม้แต่ชีวิตของตนเอง...เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 คือการเปลี่ยนแปลงสังคม เช่นที่ว่านั่น
* * *
“ตื่นเถิดเสรีชน อย่ายอมทนก้มหน้าฝืน
ดาบหอกกระบอกปืน หรือทนคลื่นกระแสเรา”
รวี โดมพระจันทร์
ขบวนการนักศึกษาได้เริ่มเคลื่อนไหวคัดค้านรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร อย่างชัดแจ้งตั้งแต่เกิด กรณีทุ่งใหญ่ ในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2516 เมื่อเฮลิคอปเตอร์ของทางราชการลำหนึ่งกลับจากป่าทุ่งใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี แต่มาตกที่บางเลน จังหวัดนครปฐม โดยที่ในซากเฮลิคอปเตอร์มีเนื้อสัตว์จำพวกกระทิง เก้ง กวาง ที่เป็นสัตว์อนุรักษ์จำนวนมาก มิหนำซ้ำยังมีดาราภาพยนตร์สตรีร่วมเดินทางไปในภารกิจที่รัฐบาลอ้างว่าเป็น “ราชการลับชายแดน” นี้ด้วย ครั้นต่อมาเมื่อมีนักศึกษารามคำแหงกลุ่มหนึ่งออกหนังสือเสียดสีจอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร ที่เพิ่งได้ต่ออายุราชการในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 มีข้อความตอนหนึ่งว่า
“สภาสัตว์ป่าแห่งทุ่งใหญ่ มีมติให้ต่ออายุสัตว์ป่าอีก 1 ปี เนื่องจากสถานการณ์ภายในและภายนอกไม่เป็นใจ” แต่กลับถูกอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหงลงโทษ โดยสั่งให้ลบชื่อนักศึกษา 9 คนออกจากสภาพความเป็นนักศึกษาในข้อหา “หมิ่นผู้นำประเทศ” ทำให้ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ ซึ่งเป็นแกนนำของขบวนการนักศึกษาในขณะนั้น ต้องออกมาจัดการชุมนุมประท้วงที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์ ในวันที่ 21 มิถุนายน แล้วเดินขบวนมาที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อเรียกร้องสิทธิของนักศึกษาที่ถูกลบชื่อ และขับไล่อธิการบดี ปรากฏว่ามีนักศึกษาและประชาชนเข้าร่วมการเคลื่อนไหวเป็นจำนวนหลายหมื่นคน นับเป็นการชุมนุมทางการเมืองของประชาชนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่กรณีเลือกตั้งสกปรก พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา มิหนำซ้ำยังเป็นการชุมนุมข้ามคืนครั้งแรกอีกด้วย แม้จะเป็นคืนเดียวก็ตาม
การชุมนุมประท้วงครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เพราะมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ยอมรับนักศึกษาทั้ง 9 คนกลับเข้าศึกษาตามเดิม และอธิการบดีก็ยอมลาออกจากตำแหน่ง การเคลื่อนไหวครั้งนี้ จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการมวลชนเต็มรูปแบบที่มีขบวนการนักศึกษาเป็นแกนกลาง และมีเป้าหมายต่อต้านเผด็จการอย่างชัดเจน มิหนำซ้ำเมื่อศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ได้เคลื่อนไหวต่อโดยยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายใน 6 เดือน จึงทำให้เรื่องนี้กลายมาเป็นชนวนให้เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ในที่สุด
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 นั้น เริ่มต้นจากธีรยุทธ บุญมี ซึ่งเพิ่งพ้นวาระตำแหน่งเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ได้ออกมาผลักดันให้มีการตั้งกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ เพื่อเรียกร้องรัฐบาลให้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรแก่ประชาชน ขณะนั้นเป็นช่วงต้นเดือนตุลาคม ขณะที่สมาชิกของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญกำลังแจกใบปลิวอยู่ที่ประตูน้ำ ปรากฏว่าตำรวจได้เข้ามาจับกุมสมาชิกของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญจำนวน 10 คน ซึ่งรวมทั้งธีรยุทธ บุญมี ด้วย นอกจากนี้ทางการตำรวจยังได้จับกุมเพิ่มอีก 3 คน หนึ่งในนั้นคือ อดีต ส.ส.ไขแสง สุกใส เพื่อที่จะสร้างเรื่องให้กรณีนี้มีเบื้องหลังทางการเมือง มิใช่การเรียกร้องอย่างบริสุทธิ์ใจของนักศึกษา
ด้วยเหตุนี้เอง ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม เป็นต้นมา จึงเกิดการชุมนุมของนักศึกษาเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยองค์การนักศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกลุ่มอิสระต่างๆ เป็นผู้ดำเนินการให้มีการงดสอบปลายภาค และจัดการชุมนุมนักศึกษาที่บริเวณลานโพธิ์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มผู้ชุมนุมได้เรียกร้องต่อรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ให้ปล่อยตัวนักศึกษาประชาชน 13 คนที่ถูกจับกุมโดยไม่มีเงื่อนไข และให้รัฐธรรมนูญแก่ประชาชนภายใน 6 เดือน การชุมนุมได้มีนักศึกษาและประชาชนหลั่งไหลเข้ามาร่วมการชุมนุมเพิ่มมากขึ้นทุกที โดยมีเสกสรรค์ ประเสริฐกุล จากกลุ่มอิสระของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการนำการชุมนุม
ขณะที่ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย นำโดย สมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ เลขาธิการคนใหม่ได้เข้ามาร่วมการชุมนุมด้วยในวันที่ 10 ตุลาคม เมื่อการชุมนุมประท้วงดำเนินต่อไปจนถึงวันที่ 13 ตุลาคม ปรากฏว่าได้มีทั้งนักเรียน นักศึกษาจากสถาบันต่างๆ รวมทั้งประชาชนกลุ่มต่างๆ กระโจนเข้ามาร่วมการชุมนุมด้วยเป็นจำนวนมาก กลุ่มแกนนำการชุมนุมจึงตัดสินใจให้มีการเดินขบวนใหญ่ไปตามถนนราชดำเนินเพื่อแสดงพลังต่อต้านรัฐบาล
นับเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่มีนักเรียน นักศึกษา ประชาชนมาเข้าร่วมชุมนุมและเดินขบวนเป็นจำนวนหลายแสนคน เมื่อเป็นเช่นนี้ รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ก็จำต้องยอมจำนนโดยยอมปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้ง 13 คนในตอนเย็นวันที่ 13 ตุลาคม และฝ่ายรัฐบาลรับปากข้อเสนอที่จะประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายใน 1 ปี แต่เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการประสานงานระหว่างกรรมการศูนย์นิสิตนักศึกษาฯ ที่เป็นตัวแทนเจรจากับรัฐบาลกลุ่มแกนนำการชุมนุมที่นำโดยกลุ่มอิสระของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงทำให้กว่าจะสลายการชุมนุมได้ก็ล่วงเวลาไปถึงตอนตีห้าของวันที่ 14 ตุลาคม
แต่แทนที่ทุกอย่างจะยุติลงด้วยดี กลับปรากฏว่าหลังจากที่กลุ่มผู้ชุมนุมได้สลายการชุมนุมแล้ว และนักศึกษาประชาชนกำลังทยอยเดินทางกลับบ้าน ฝ่ายตำรวจกลับใช้ระเบิดแก๊สน้ำตาโยนใส่ประชาชน และใช้กระบองตีเพื่อสลายนักศึกษาประชาชนที่กำลังกลับบ้านบริเวณข้างพระราชวังสวนจิตรลดา เหตุการณ์ปะทะกันระหว่างตำรวจกับนักศึกษาประชาชนบริเวณนั้น ได้เป็นจุดเริ่มต้นที่ลุกลามบานปลายจนกลายมาเป็นการลุกขึ้นสู้ของนักศึกษาประชาชน โดยมีการปะทะกันระหว่างนักศึกษาประชาชนกับอำนาจรัฐในวงกว้าง
แม้รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ได้สั่งให้มีการปราบปรามประชาชน โดยเคลื่อนกำลังทหารออกมารักษาสถานการณ์ แต่การต่อสู้ต่อต้านของนักศึกษาประชาชนกลับยิ่งขยายตัวออกไปอีก จนในที่สุด ฝ่ายรัฐบาลไม่อาจจะควบคุมสถานการณ์ได้ และที่สำคัญที่สุด รัฐบาลไม่สามารถสั่งให้กองทัพบกเข้ามาร่วมปราบปรามจลาจลได้ เพราะพล.อ.กฤษณ์ สีวะรา ผู้บัญชาการทหารบก และพล.ท.ประเสริฐ ธรรมศิริ แม่ทัพภาคที่ 1 ไม่ยอมออกคำสั่งเคลื่อนกำลังทหารตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ดังนั้นจอมพลถนอม กิตติขจร จึงต้องยินยอมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในตอนเย็นของวันที่ 14 ตุลาคม แต่สถานการณ์การต่อสู้ก็ยังไม่ยุติ จนกระทั่งตอนเย็นของวันที่ 15 ตุลาคม เมื่อได้มีการประกาศว่า จอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และพ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ได้เดินทางหลบหนีออกจากประเทศไทยไปแล้ว เหตุการณ์จึงค่อยสงบลง
ผลจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ที่จบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายประชาชน มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ 65 คน โดยที่เหตุการณ์ 14 ตุลาคมนี้ ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ขบวนการของประชาชนที่อยู่นอกกลุ่มชนชั้นนำสามารถทำการต่อสู้จนประสบชัยชนะทางการเมืองได้ และทำให้อำนาจเผด็จการทหารของกองทัพบกที่สืบเนื่องมาตั้งแต่การรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใน พ.ศ. 2501 ต้องยุติลงเป็นการชั่วคราว เพื่อเปิดหน้าใหม่ไปสู่การเมืองที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และภาคประชาชนมีบทบาทมากขึ้น
ผลสะเทือนของเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ทำให้มีการตั้งรัฐบาลรักษาการ โดยมีนายสัญญา ธรรมศักดิ์ องคมนตรีและอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญ และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ จะเห็นได้ว่า เหตุการณ์ 14 ตุลาคม ไม่ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองที่เป็นแบบรวมศูนย์อำนาจอยู่ในมือชนชั้นนำกลุ่มน้อยสักเท่าไหร่นัก แต่มันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองจากเผด็จการทหารมาเป็นประชาธิปไตยแบบรัฐสภาผ่านผู้แทน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากชนชั้นสูงและชนชั้นกลางเป็นสำคัญ
ด้วยเหตุนี้เอง พลวัตของขบวนการนักศึกษาไทยที่ตื่นตัวขึ้นมาหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม จึงเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่เริ่มวิพากษ์โจมตีโครงสร้างของสังคม และโครงสร้างอำนาจที่ถูกครอบงำโดยกลุ่มอภิสิทธิ์ชนมากยิ่งขึ้นทุกที หรือกล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้นก็คือ ขบวนการนักศึกษาไทยได้เริ่มหันมาสนใจแนวคิดสังคมนิยมอย่างจริงจัง ทั้งๆ ที่แนวคิดสังคมนิยมนี้เคยเป็นแนวคิดต้องห้ามในสังคมไทยตั้งแต่เกิด “กบฏสันติภาพ” ใน พ.ศ. 2495 เป็นต้นมา
ภายในเวลาอันรวดเร็ว แนวคิดสังคมนิยมได้ค่อยๆ กลายมาเป็นอุดมการณ์หลักของขบวนการนักศึกษาไทยในช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม โดยที่แนวคิดแบบสังคมนิยมนี้ ได้ปลูกฝังการมองโลกแบบฝ่ายซ้าย หรือแบบลัทธิมาร์กซ์-เลนิน ให้แก่ผู้ที่อยู่ในขบวนการนักศึกษาไทยขณะนั้นว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่มีชนชั้น มีการกดขี่ขูดรีด ชนชั้นปกครองไทยได้สมคบกับจักรวรรดินิยมอเมริกาทำการกดขี่ขูดรีดประชาชนไทยอย่างหนัก เพราะฉะนั้น หนทางในการแก้ไขจึงต้อง “ปฏิวัติ” ประเทศไทยไปสู่สังคมนิยมโดยการโค่นล้มชนชั้นปกครองที่กดขี่อันได้แก่ กลุ่มนายทุน กลุ่มขุนศึก และกลุ่มศักดินา พร้อมกันนั้นก็ต้องสร้างโลกใหม่ของกรรมกรและชาวนาขึ้นในประเทศนี้แทน
ไม่ต้องเป็นที่สงสัยเลยว่า แนวโน้มที่เริ่ม “เอียงซ้าย” และ “หัวรุนแรง” ของขบวนการนักศึกษาไทยหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ที่หันมาเคลื่อนไหวสนับสนุนการต่อสู้ของกรรมกร ชาวนา และคนยากจน ต่อต้านการดำรงอยู่ของฐานทัพอเมริกาในประเทศไทย รวมทั้งการขยายตัวของอุดมการณ์สังคม และการเกิดพรรคการเมืองแนวทางสังคมนิยมที่ต่อสู้ทางรัฐสภา และการขยายตัวของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่เคลื่อนไหวใต้ดินอย่างคึกคักในการเข้าไป “จัดตั้ง” ขบวนการนักศึกษาในขณะนั้น ได้ทำให้เกิดความหวาดวิตกเป็นอย่างมากในหมู่ผู้มีอำนาจ และกลุ่มอนุรักษนิยม จนคิดหาทางใช้ความรุนแรงเข้ายุติบทบาทของขบวนการนักศึกษา อันนำไปสู่เหตุการณ์สังหารหมู่ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ในที่สุด (ยังมีต่อ)
www.suvinai-dragon.com
ความเป็นพลเมือง (citizenship) มิได้ถือกำเนิดโดยอัตโนมัติ พร้อมๆ กับการมีบัตรประชาชน แต่ความเป็นพลเมืองจักบังเกิดกับคนผู้นั้นก็ต่อเมื่อ คนผู้นั้นในฐานะที่เป็นปัจเจกได้เข้าไปมีส่วนร่วมในชุมนุมการเมืองหรือบ้านเมือง รวมทั้งเข้าไปปกป้องบ้านเมืองนั้นอย่างมีจิตสำนึกด้วยคุณธรรม เพราะฉะนั้น ความเป็นพลเมืองจึงเป็นเรื่องของการออกไปปฏิบัติการทางการเมืองเพื่อบ้านเมือง นั่นเอง ความเป็นพลเมืองจึงเป็นเรื่องของการปลูกฝังอบรมบ่มเพาะคุณธรรมเพื่อส่วนรวมให้มีขึ้นในปัจเจก ความเป็นพลเมืองกับระบบสังคมจึงแยกจากกันไม่ได้ เพราะการนำของรัฐและระบบการศึกษาของรัฐ ย่อมนำพาผู้คนไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งที่แน่นอนเสมอ
รัฐที่เป็นเผด็จการ ก็ย่อมฝึกฝนอบรมครอบงำประชาชนของตนไปในทิศทางที่สยบจำนนต่ออำนาจนิยม ด้วยเหตุนี้ การให้ปัญญา และการให้การศึกษาความรู้ที่แท้จริงแก่ประชาชน จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งในการที่ประชาชนจะปลดปล่อยตัวเองให้เป็นไท และการมาเป็น พลเมืองที่สมบูรณ์ (perfect citizen) โดยที่สุดยอดหรือที่สุดของพลเมืองที่สมบูรณ์คือ พลเมืองที่สามารถสละชีพเพื่ออุดมคติของตัวเองได้
พวกเขาและพวกเธอคือบุตรธิดาที่ดีเลิศของแผ่นดิน และเป็นผู้ที่ยืนแถวหน้าสุดในการต่อสู้เพื่อบ้านเมืองอย่างสุดจิตสุดใจ อย่างไม่หวั่นเกรงสิ่งใดทั้งสิ้น พวกเขาและพวกเธอจึงยินดีทอดตัวลงเป็นกรวดหินดินทรายถมเป็นทางเพื่อให้ผู้คนที่ยังอยู่ และคนรุ่นหลังได้ก้าวเดินไปสู่เป้าหมายที่สูงส่งได้สะดวกง่ายดายยิ่งขึ้นกว่าเดิม
เพราะเหตุนี้เอง พวกเขาและพวกเธอจึงกลายเป็น “ตำนาน” ของพลเมืองที่ดีเลิศของบ้านเมืองนั้น ประวัติศาสตร์จึงมักบอกพวกเราอยู่เสมอว่า การเปลี่ยนแปลงสังคมครั้งใหญ่ในแต่ละครั้งนั้น จะมีคนบางคนหรือคนกลุ่มหนึ่งที่มาต่อสู้เสียสละยืนอยู่แถวหน้าสุดในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงสังคมเสมอ โดยที่พวกเขาและพวกเธอเหล่านั้นได้ทุ่มเทผลักดันอย่างสุดกำลังที่มีอยู่ยืนหยัดฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ นานาอย่างไม่สะทกสะท้าน และไม่ลังเล หากจะต้องสละแม้แต่ชีวิตของตนเอง...เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 คือการเปลี่ยนแปลงสังคม เช่นที่ว่านั่น
* * *
“ตื่นเถิดเสรีชน อย่ายอมทนก้มหน้าฝืน
ดาบหอกกระบอกปืน หรือทนคลื่นกระแสเรา”
รวี โดมพระจันทร์
ขบวนการนักศึกษาได้เริ่มเคลื่อนไหวคัดค้านรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร อย่างชัดแจ้งตั้งแต่เกิด กรณีทุ่งใหญ่ ในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2516 เมื่อเฮลิคอปเตอร์ของทางราชการลำหนึ่งกลับจากป่าทุ่งใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี แต่มาตกที่บางเลน จังหวัดนครปฐม โดยที่ในซากเฮลิคอปเตอร์มีเนื้อสัตว์จำพวกกระทิง เก้ง กวาง ที่เป็นสัตว์อนุรักษ์จำนวนมาก มิหนำซ้ำยังมีดาราภาพยนตร์สตรีร่วมเดินทางไปในภารกิจที่รัฐบาลอ้างว่าเป็น “ราชการลับชายแดน” นี้ด้วย ครั้นต่อมาเมื่อมีนักศึกษารามคำแหงกลุ่มหนึ่งออกหนังสือเสียดสีจอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร ที่เพิ่งได้ต่ออายุราชการในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 มีข้อความตอนหนึ่งว่า
“สภาสัตว์ป่าแห่งทุ่งใหญ่ มีมติให้ต่ออายุสัตว์ป่าอีก 1 ปี เนื่องจากสถานการณ์ภายในและภายนอกไม่เป็นใจ” แต่กลับถูกอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหงลงโทษ โดยสั่งให้ลบชื่อนักศึกษา 9 คนออกจากสภาพความเป็นนักศึกษาในข้อหา “หมิ่นผู้นำประเทศ” ทำให้ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ ซึ่งเป็นแกนนำของขบวนการนักศึกษาในขณะนั้น ต้องออกมาจัดการชุมนุมประท้วงที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์ ในวันที่ 21 มิถุนายน แล้วเดินขบวนมาที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อเรียกร้องสิทธิของนักศึกษาที่ถูกลบชื่อ และขับไล่อธิการบดี ปรากฏว่ามีนักศึกษาและประชาชนเข้าร่วมการเคลื่อนไหวเป็นจำนวนหลายหมื่นคน นับเป็นการชุมนุมทางการเมืองของประชาชนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่กรณีเลือกตั้งสกปรก พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา มิหนำซ้ำยังเป็นการชุมนุมข้ามคืนครั้งแรกอีกด้วย แม้จะเป็นคืนเดียวก็ตาม
การชุมนุมประท้วงครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เพราะมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ยอมรับนักศึกษาทั้ง 9 คนกลับเข้าศึกษาตามเดิม และอธิการบดีก็ยอมลาออกจากตำแหน่ง การเคลื่อนไหวครั้งนี้ จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการมวลชนเต็มรูปแบบที่มีขบวนการนักศึกษาเป็นแกนกลาง และมีเป้าหมายต่อต้านเผด็จการอย่างชัดเจน มิหนำซ้ำเมื่อศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ได้เคลื่อนไหวต่อโดยยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายใน 6 เดือน จึงทำให้เรื่องนี้กลายมาเป็นชนวนให้เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ในที่สุด
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 นั้น เริ่มต้นจากธีรยุทธ บุญมี ซึ่งเพิ่งพ้นวาระตำแหน่งเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ได้ออกมาผลักดันให้มีการตั้งกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ เพื่อเรียกร้องรัฐบาลให้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรแก่ประชาชน ขณะนั้นเป็นช่วงต้นเดือนตุลาคม ขณะที่สมาชิกของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญกำลังแจกใบปลิวอยู่ที่ประตูน้ำ ปรากฏว่าตำรวจได้เข้ามาจับกุมสมาชิกของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญจำนวน 10 คน ซึ่งรวมทั้งธีรยุทธ บุญมี ด้วย นอกจากนี้ทางการตำรวจยังได้จับกุมเพิ่มอีก 3 คน หนึ่งในนั้นคือ อดีต ส.ส.ไขแสง สุกใส เพื่อที่จะสร้างเรื่องให้กรณีนี้มีเบื้องหลังทางการเมือง มิใช่การเรียกร้องอย่างบริสุทธิ์ใจของนักศึกษา
ด้วยเหตุนี้เอง ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม เป็นต้นมา จึงเกิดการชุมนุมของนักศึกษาเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยองค์การนักศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกลุ่มอิสระต่างๆ เป็นผู้ดำเนินการให้มีการงดสอบปลายภาค และจัดการชุมนุมนักศึกษาที่บริเวณลานโพธิ์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มผู้ชุมนุมได้เรียกร้องต่อรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ให้ปล่อยตัวนักศึกษาประชาชน 13 คนที่ถูกจับกุมโดยไม่มีเงื่อนไข และให้รัฐธรรมนูญแก่ประชาชนภายใน 6 เดือน การชุมนุมได้มีนักศึกษาและประชาชนหลั่งไหลเข้ามาร่วมการชุมนุมเพิ่มมากขึ้นทุกที โดยมีเสกสรรค์ ประเสริฐกุล จากกลุ่มอิสระของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการนำการชุมนุม
ขณะที่ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย นำโดย สมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ เลขาธิการคนใหม่ได้เข้ามาร่วมการชุมนุมด้วยในวันที่ 10 ตุลาคม เมื่อการชุมนุมประท้วงดำเนินต่อไปจนถึงวันที่ 13 ตุลาคม ปรากฏว่าได้มีทั้งนักเรียน นักศึกษาจากสถาบันต่างๆ รวมทั้งประชาชนกลุ่มต่างๆ กระโจนเข้ามาร่วมการชุมนุมด้วยเป็นจำนวนมาก กลุ่มแกนนำการชุมนุมจึงตัดสินใจให้มีการเดินขบวนใหญ่ไปตามถนนราชดำเนินเพื่อแสดงพลังต่อต้านรัฐบาล
นับเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่มีนักเรียน นักศึกษา ประชาชนมาเข้าร่วมชุมนุมและเดินขบวนเป็นจำนวนหลายแสนคน เมื่อเป็นเช่นนี้ รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ก็จำต้องยอมจำนนโดยยอมปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้ง 13 คนในตอนเย็นวันที่ 13 ตุลาคม และฝ่ายรัฐบาลรับปากข้อเสนอที่จะประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายใน 1 ปี แต่เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการประสานงานระหว่างกรรมการศูนย์นิสิตนักศึกษาฯ ที่เป็นตัวแทนเจรจากับรัฐบาลกลุ่มแกนนำการชุมนุมที่นำโดยกลุ่มอิสระของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงทำให้กว่าจะสลายการชุมนุมได้ก็ล่วงเวลาไปถึงตอนตีห้าของวันที่ 14 ตุลาคม
แต่แทนที่ทุกอย่างจะยุติลงด้วยดี กลับปรากฏว่าหลังจากที่กลุ่มผู้ชุมนุมได้สลายการชุมนุมแล้ว และนักศึกษาประชาชนกำลังทยอยเดินทางกลับบ้าน ฝ่ายตำรวจกลับใช้ระเบิดแก๊สน้ำตาโยนใส่ประชาชน และใช้กระบองตีเพื่อสลายนักศึกษาประชาชนที่กำลังกลับบ้านบริเวณข้างพระราชวังสวนจิตรลดา เหตุการณ์ปะทะกันระหว่างตำรวจกับนักศึกษาประชาชนบริเวณนั้น ได้เป็นจุดเริ่มต้นที่ลุกลามบานปลายจนกลายมาเป็นการลุกขึ้นสู้ของนักศึกษาประชาชน โดยมีการปะทะกันระหว่างนักศึกษาประชาชนกับอำนาจรัฐในวงกว้าง
แม้รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ได้สั่งให้มีการปราบปรามประชาชน โดยเคลื่อนกำลังทหารออกมารักษาสถานการณ์ แต่การต่อสู้ต่อต้านของนักศึกษาประชาชนกลับยิ่งขยายตัวออกไปอีก จนในที่สุด ฝ่ายรัฐบาลไม่อาจจะควบคุมสถานการณ์ได้ และที่สำคัญที่สุด รัฐบาลไม่สามารถสั่งให้กองทัพบกเข้ามาร่วมปราบปรามจลาจลได้ เพราะพล.อ.กฤษณ์ สีวะรา ผู้บัญชาการทหารบก และพล.ท.ประเสริฐ ธรรมศิริ แม่ทัพภาคที่ 1 ไม่ยอมออกคำสั่งเคลื่อนกำลังทหารตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ดังนั้นจอมพลถนอม กิตติขจร จึงต้องยินยอมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในตอนเย็นของวันที่ 14 ตุลาคม แต่สถานการณ์การต่อสู้ก็ยังไม่ยุติ จนกระทั่งตอนเย็นของวันที่ 15 ตุลาคม เมื่อได้มีการประกาศว่า จอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และพ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ได้เดินทางหลบหนีออกจากประเทศไทยไปแล้ว เหตุการณ์จึงค่อยสงบลง
ผลจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ที่จบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายประชาชน มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ 65 คน โดยที่เหตุการณ์ 14 ตุลาคมนี้ ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ขบวนการของประชาชนที่อยู่นอกกลุ่มชนชั้นนำสามารถทำการต่อสู้จนประสบชัยชนะทางการเมืองได้ และทำให้อำนาจเผด็จการทหารของกองทัพบกที่สืบเนื่องมาตั้งแต่การรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใน พ.ศ. 2501 ต้องยุติลงเป็นการชั่วคราว เพื่อเปิดหน้าใหม่ไปสู่การเมืองที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และภาคประชาชนมีบทบาทมากขึ้น
ผลสะเทือนของเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ทำให้มีการตั้งรัฐบาลรักษาการ โดยมีนายสัญญา ธรรมศักดิ์ องคมนตรีและอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญ และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ จะเห็นได้ว่า เหตุการณ์ 14 ตุลาคม ไม่ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองที่เป็นแบบรวมศูนย์อำนาจอยู่ในมือชนชั้นนำกลุ่มน้อยสักเท่าไหร่นัก แต่มันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองจากเผด็จการทหารมาเป็นประชาธิปไตยแบบรัฐสภาผ่านผู้แทน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากชนชั้นสูงและชนชั้นกลางเป็นสำคัญ
ด้วยเหตุนี้เอง พลวัตของขบวนการนักศึกษาไทยที่ตื่นตัวขึ้นมาหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม จึงเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่เริ่มวิพากษ์โจมตีโครงสร้างของสังคม และโครงสร้างอำนาจที่ถูกครอบงำโดยกลุ่มอภิสิทธิ์ชนมากยิ่งขึ้นทุกที หรือกล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้นก็คือ ขบวนการนักศึกษาไทยได้เริ่มหันมาสนใจแนวคิดสังคมนิยมอย่างจริงจัง ทั้งๆ ที่แนวคิดสังคมนิยมนี้เคยเป็นแนวคิดต้องห้ามในสังคมไทยตั้งแต่เกิด “กบฏสันติภาพ” ใน พ.ศ. 2495 เป็นต้นมา
ภายในเวลาอันรวดเร็ว แนวคิดสังคมนิยมได้ค่อยๆ กลายมาเป็นอุดมการณ์หลักของขบวนการนักศึกษาไทยในช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม โดยที่แนวคิดแบบสังคมนิยมนี้ ได้ปลูกฝังการมองโลกแบบฝ่ายซ้าย หรือแบบลัทธิมาร์กซ์-เลนิน ให้แก่ผู้ที่อยู่ในขบวนการนักศึกษาไทยขณะนั้นว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่มีชนชั้น มีการกดขี่ขูดรีด ชนชั้นปกครองไทยได้สมคบกับจักรวรรดินิยมอเมริกาทำการกดขี่ขูดรีดประชาชนไทยอย่างหนัก เพราะฉะนั้น หนทางในการแก้ไขจึงต้อง “ปฏิวัติ” ประเทศไทยไปสู่สังคมนิยมโดยการโค่นล้มชนชั้นปกครองที่กดขี่อันได้แก่ กลุ่มนายทุน กลุ่มขุนศึก และกลุ่มศักดินา พร้อมกันนั้นก็ต้องสร้างโลกใหม่ของกรรมกรและชาวนาขึ้นในประเทศนี้แทน
ไม่ต้องเป็นที่สงสัยเลยว่า แนวโน้มที่เริ่ม “เอียงซ้าย” และ “หัวรุนแรง” ของขบวนการนักศึกษาไทยหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ที่หันมาเคลื่อนไหวสนับสนุนการต่อสู้ของกรรมกร ชาวนา และคนยากจน ต่อต้านการดำรงอยู่ของฐานทัพอเมริกาในประเทศไทย รวมทั้งการขยายตัวของอุดมการณ์สังคม และการเกิดพรรคการเมืองแนวทางสังคมนิยมที่ต่อสู้ทางรัฐสภา และการขยายตัวของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่เคลื่อนไหวใต้ดินอย่างคึกคักในการเข้าไป “จัดตั้ง” ขบวนการนักศึกษาในขณะนั้น ได้ทำให้เกิดความหวาดวิตกเป็นอย่างมากในหมู่ผู้มีอำนาจ และกลุ่มอนุรักษนิยม จนคิดหาทางใช้ความรุนแรงเข้ายุติบทบาทของขบวนการนักศึกษา อันนำไปสู่เหตุการณ์สังหารหมู่ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ในที่สุด (ยังมีต่อ)
www.suvinai-dragon.com