ASTVผู้จัดการรายวัน - ธปท.เริ่มคิดสั่งแบงก์ปล่อยสินเชื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ หลังยอดสินเชื่อ 7 เดือน ลดลง 2.12 แสนล้าน ติดลบทุกเดือน หวังไตรมาส 4 ยอดเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจ การเร่งส่งออกสินค้าและพืชผลเกษตรเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับการผลิตสินค้าใหม่เพิ่มขึ้นทดแทนสต็อกสินค้าเก่าที่หมดไป
เมื่อวานนี้ (21ก.ย.) นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดแถลงข่าวด่วนหลังหารือกับผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ 16 แห่ง เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและการเงิน โดยเฉพาะนโยบายการปล่อยสินเชื่อและการสนับสนุนธุรกิจผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในระยะต่อไป ซึ่งเป็นการหารือตามเงื่อนเวลาปกติตามรายไตรมาส ซึ่งเป็นครั้งที่ 3 ของปีนี้แล้ว
นายบัณฑิตเปิดเผยว่า หลังจากที่ธปท.ได้แลกเปลี่ยนความคิดเป็นกับธนาคารพาณิชย์มีความเห็นตรงกันว่ายอดปล่อยสินเชื่อทั้งระบบในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ นับสิ้นเดือน ธ.ค.51-ก.ค.52 ลดลง 2.12 แสนล้านบาท หรือลดลง 6.38% ซึ่งต่ำกว่าที่ ธปท.คาดการณ์ในช่วงเดือน ธ.ค.51 ถือเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องสะท้อนตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้ความต้องการสินเชื่อช่วงครึ่งแรกของปีนี้ลดลง ประกอบกับตัวธนาคารพาณิชย์เองมีความระมัดระวังในการบริหารความเสี่ยงจากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวด้วย
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าอัตราการขยายตัวสินเชื่อโดยรวมของทั้งระบบจะเป็นบวกหรือไม่ แม้ในช่วง 7 เดือนแรกยอดสินเชื่อปรับตัวลดลง เพราะต้องรอดูข้อมูลอีกสักระยะไม่ว่าจะเป็นการฟื้นตัวเศรษฐกิจเข้มแข็งแค่ไหน ส่วนธนาคารพาณิชย์หลายแห่งประเมินว่าในช่วงไตรมาส 4 จะมีความต้องการสินเชื่อเป็นพิเศษ โดยเฉพาะปัจจัยตามฤดูกาลที่จะมีการเร่งส่งออกสินค้าหรือพืชผลสินค้าเกษตรมากขึ้น การขยายการผลิต เพื่อสะสมสต็อกสินค้าใหม่ รวมทั้งการใช้จ่ายภาครัฐที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีความต้องการสินเชื่อมากขึ้นด้วย
“แม้ยอดปล่อยสินเชื่อของแบงก์พาณิชย์ทั้งระบบเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนจะลดลงอยู่ แต่หากพิจารณาเปรียบเทียบเดือนต่อเดือน คือ ในเดือนส.ค.ตัวเลขปล่อยสินเชื่อเบื้องต้นมีแนวโน้มทรงตัวขึ้น และในช่วงเดือน ส.ค.เงินทุนหมุนเวียนภายในกิจการเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น ประกอบกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้านก่อสร้างเริ่มสนใจขอสินเชื่อเพิ่มขึ้น ดังนั้น ธปท.เชื่อว่าหากเศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจนและมีเสถียรภาพมากขึ้นจะช่วยให้ความต้องการสินเชื่อในระบบปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 4”
รองผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ธปท.ยังได้ชี้แจงให้ธนาคารพาณิชย์รับทราบข้อจำกัดในการเข้าถึงสินเชื่อ หลังจากที่ได้ไปพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในส่วนภูมิภาค เพื่อให้สาขาธนาคารพาณิชย์สื่อสารแก่กลุ่มลูกค้าเอสเอ็มของของสถาบันการเงินนั้นได้ชัดเจนขึ้นไม่ว่าการปรับปรุงให้มีความยืดหยุ่นและเป็นประโยชน์ในการบริการมากขึ้นในโครงการค้ำประกันสินเชื่อผ่านบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ทั้งแนวทางลดค่าธรรมเนียมค้ำประกันในสัดส่วน 1.75%เฉพาะปีแรก จนถึงเดือน ธ.ค.52 พร้อมทั้งขยายวงเงินค้ำประกันต่อรายจาก 20 ล้านบาท เป็น 40 ล้านบาท และขยายค้ำประกันสิ้นสุดโครงการด้วย
นอกจากนี้ บทบาทศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาปล่อยสินเชื่อของ ธปท.และสำนักงานภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และสำนักงานภาคใต้ได้ประสานงานให้ลูกค้าและธนาคารพาณิชย์เจรจายืดเวลาชำระหนี้ตามลูกค้าธนาคารพาณิชย์เรียกร้องมา อีกทั้ง ธปท.มองว่าเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนอยู่ ฉะนั้นธนาคารพาณิชย์ควรมีข้อมูลตลาดและแนวโน้มอุตสาหกรรม เพื่อช่วยให้ลูกค้าใช้ประกอบการตัดสินใจในการทำธุรกิจดีขึ้นและเป็นการรองรับข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งขณะนี้ธนาคารพาณิชย์ไทยและต่างประเทศเริ่มดำเนินการไปบ้างแล้ว
“นโยบายภาครัฐที่ดำเนินการออกมาให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบมากขึ้นผ่านการปล่อยกู้สถาบันการเงินรัฐนั้นต้องดูแง่ความต้องการสินเชื่อด้วย หากความต้องการสินเชื่อไม่มาก แม้เม็ดเงินเข้าไปในระบบก็ไม่สอดคล้องกับความต้องการได้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ปริมาณสภาพคล่องในระบบไม่ได้เป็นข้อจำกัดและ ธปท.ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในการปล่อยสินเชื่อ ทำให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินของรัฐที่มีศักยภาพสามารถเดินหน้าปล่อยสินเชื่อต่อไปได้”
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน) กล่าวภายหลังจากการประชุมว่า ธปท.เชิญหาหารือครั้งนี้ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ทำงานร่วมกันในการสนับสนุนผู้บริโภคและผู้ประกอบการธุรกิจในยามที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว โดยมองว่าธนาคารพาณิชย์เป็นระบบขนาดใหญ่ที่มีสาขาอยู่ทั่วประเทศจึงจำเป็นที่ต้องมีการพัฒนากระบวนการปล่อยสินเชื่อให้ดีขึ้น เพื่อช่วยเหลือลูกค้าเอสเอ็มอีให้เข้าถึงสินเชื่อมากขึ้น
**ไม่ออกไลเซ่นส์เจ้าหนี้นอกระบบ
สำหรับกรณีที่จะให้ใบอนุญาตเจ้าหนี้นอกระบบมาทำธุกรรมปล่อยกู้ได้นั้น นายบัณฑิตกล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีหน่วยงานหรือฝ่ายไหนติดต่อเข้ามา แต่หากมีติดต่อเข้ามาจริงๆ ธปท.ก็ต้องดูรายละเอียดว่าบุคคลที่ 3 คือ บุคคลประเภทไหนบ้าง แต่ทั้งนี้ ธปท.จะให้ความสำคัญกับธนาคารพาณิชย์ เพราะธปท.มีหน้าที่ในการดูแลการทำงานของธนาคารพาณิชย์ ฉะนั้นการเพิ่มบทบาทธนาคารพาณิชย์ผ่านการให้บริการทางการเงินประชาชนระดับรากหญ้า(ไมโครไฟแนนซ์) ซึ่งธนาคารพาณิชย์ตั้งตัวแทนในการให้บริการธุรกรรมการเงินเบื้องต้นอยู่แล้ว จึงไม่สามารถแต่งตั้งใครก็ได้เข้ามาทำหน้าที่ได้และไม่เฉพาะเจ้าหนี้นอกระบบด้วย.
เมื่อวานนี้ (21ก.ย.) นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดแถลงข่าวด่วนหลังหารือกับผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ 16 แห่ง เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและการเงิน โดยเฉพาะนโยบายการปล่อยสินเชื่อและการสนับสนุนธุรกิจผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในระยะต่อไป ซึ่งเป็นการหารือตามเงื่อนเวลาปกติตามรายไตรมาส ซึ่งเป็นครั้งที่ 3 ของปีนี้แล้ว
นายบัณฑิตเปิดเผยว่า หลังจากที่ธปท.ได้แลกเปลี่ยนความคิดเป็นกับธนาคารพาณิชย์มีความเห็นตรงกันว่ายอดปล่อยสินเชื่อทั้งระบบในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ นับสิ้นเดือน ธ.ค.51-ก.ค.52 ลดลง 2.12 แสนล้านบาท หรือลดลง 6.38% ซึ่งต่ำกว่าที่ ธปท.คาดการณ์ในช่วงเดือน ธ.ค.51 ถือเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องสะท้อนตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้ความต้องการสินเชื่อช่วงครึ่งแรกของปีนี้ลดลง ประกอบกับตัวธนาคารพาณิชย์เองมีความระมัดระวังในการบริหารความเสี่ยงจากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวด้วย
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าอัตราการขยายตัวสินเชื่อโดยรวมของทั้งระบบจะเป็นบวกหรือไม่ แม้ในช่วง 7 เดือนแรกยอดสินเชื่อปรับตัวลดลง เพราะต้องรอดูข้อมูลอีกสักระยะไม่ว่าจะเป็นการฟื้นตัวเศรษฐกิจเข้มแข็งแค่ไหน ส่วนธนาคารพาณิชย์หลายแห่งประเมินว่าในช่วงไตรมาส 4 จะมีความต้องการสินเชื่อเป็นพิเศษ โดยเฉพาะปัจจัยตามฤดูกาลที่จะมีการเร่งส่งออกสินค้าหรือพืชผลสินค้าเกษตรมากขึ้น การขยายการผลิต เพื่อสะสมสต็อกสินค้าใหม่ รวมทั้งการใช้จ่ายภาครัฐที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีความต้องการสินเชื่อมากขึ้นด้วย
“แม้ยอดปล่อยสินเชื่อของแบงก์พาณิชย์ทั้งระบบเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนจะลดลงอยู่ แต่หากพิจารณาเปรียบเทียบเดือนต่อเดือน คือ ในเดือนส.ค.ตัวเลขปล่อยสินเชื่อเบื้องต้นมีแนวโน้มทรงตัวขึ้น และในช่วงเดือน ส.ค.เงินทุนหมุนเวียนภายในกิจการเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น ประกอบกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้านก่อสร้างเริ่มสนใจขอสินเชื่อเพิ่มขึ้น ดังนั้น ธปท.เชื่อว่าหากเศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจนและมีเสถียรภาพมากขึ้นจะช่วยให้ความต้องการสินเชื่อในระบบปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 4”
รองผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ธปท.ยังได้ชี้แจงให้ธนาคารพาณิชย์รับทราบข้อจำกัดในการเข้าถึงสินเชื่อ หลังจากที่ได้ไปพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในส่วนภูมิภาค เพื่อให้สาขาธนาคารพาณิชย์สื่อสารแก่กลุ่มลูกค้าเอสเอ็มของของสถาบันการเงินนั้นได้ชัดเจนขึ้นไม่ว่าการปรับปรุงให้มีความยืดหยุ่นและเป็นประโยชน์ในการบริการมากขึ้นในโครงการค้ำประกันสินเชื่อผ่านบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ทั้งแนวทางลดค่าธรรมเนียมค้ำประกันในสัดส่วน 1.75%เฉพาะปีแรก จนถึงเดือน ธ.ค.52 พร้อมทั้งขยายวงเงินค้ำประกันต่อรายจาก 20 ล้านบาท เป็น 40 ล้านบาท และขยายค้ำประกันสิ้นสุดโครงการด้วย
นอกจากนี้ บทบาทศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาปล่อยสินเชื่อของ ธปท.และสำนักงานภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และสำนักงานภาคใต้ได้ประสานงานให้ลูกค้าและธนาคารพาณิชย์เจรจายืดเวลาชำระหนี้ตามลูกค้าธนาคารพาณิชย์เรียกร้องมา อีกทั้ง ธปท.มองว่าเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนอยู่ ฉะนั้นธนาคารพาณิชย์ควรมีข้อมูลตลาดและแนวโน้มอุตสาหกรรม เพื่อช่วยให้ลูกค้าใช้ประกอบการตัดสินใจในการทำธุรกิจดีขึ้นและเป็นการรองรับข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งขณะนี้ธนาคารพาณิชย์ไทยและต่างประเทศเริ่มดำเนินการไปบ้างแล้ว
“นโยบายภาครัฐที่ดำเนินการออกมาให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบมากขึ้นผ่านการปล่อยกู้สถาบันการเงินรัฐนั้นต้องดูแง่ความต้องการสินเชื่อด้วย หากความต้องการสินเชื่อไม่มาก แม้เม็ดเงินเข้าไปในระบบก็ไม่สอดคล้องกับความต้องการได้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ปริมาณสภาพคล่องในระบบไม่ได้เป็นข้อจำกัดและ ธปท.ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในการปล่อยสินเชื่อ ทำให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินของรัฐที่มีศักยภาพสามารถเดินหน้าปล่อยสินเชื่อต่อไปได้”
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน) กล่าวภายหลังจากการประชุมว่า ธปท.เชิญหาหารือครั้งนี้ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ทำงานร่วมกันในการสนับสนุนผู้บริโภคและผู้ประกอบการธุรกิจในยามที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว โดยมองว่าธนาคารพาณิชย์เป็นระบบขนาดใหญ่ที่มีสาขาอยู่ทั่วประเทศจึงจำเป็นที่ต้องมีการพัฒนากระบวนการปล่อยสินเชื่อให้ดีขึ้น เพื่อช่วยเหลือลูกค้าเอสเอ็มอีให้เข้าถึงสินเชื่อมากขึ้น
**ไม่ออกไลเซ่นส์เจ้าหนี้นอกระบบ
สำหรับกรณีที่จะให้ใบอนุญาตเจ้าหนี้นอกระบบมาทำธุกรรมปล่อยกู้ได้นั้น นายบัณฑิตกล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีหน่วยงานหรือฝ่ายไหนติดต่อเข้ามา แต่หากมีติดต่อเข้ามาจริงๆ ธปท.ก็ต้องดูรายละเอียดว่าบุคคลที่ 3 คือ บุคคลประเภทไหนบ้าง แต่ทั้งนี้ ธปท.จะให้ความสำคัญกับธนาคารพาณิชย์ เพราะธปท.มีหน้าที่ในการดูแลการทำงานของธนาคารพาณิชย์ ฉะนั้นการเพิ่มบทบาทธนาคารพาณิชย์ผ่านการให้บริการทางการเงินประชาชนระดับรากหญ้า(ไมโครไฟแนนซ์) ซึ่งธนาคารพาณิชย์ตั้งตัวแทนในการให้บริการธุรกรรมการเงินเบื้องต้นอยู่แล้ว จึงไม่สามารถแต่งตั้งใครก็ได้เข้ามาทำหน้าที่ได้และไม่เฉพาะเจ้าหนี้นอกระบบด้วย.