แบงก์ชาติสัญญา ต่อไปแบงก์พาณิชย์จะไม่ขยับดอกเบี้ยเงินกู้ มีแต่จะขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก เพื่อแข่งขันหลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว “รองฯบัณฑิต” ส่งสัญญาณให้แบงก์ปล่อยกู้ตามความต้องการสินเชื่อภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้นในไตรมาส 4
เมื่อวานนี้ (12 ต.ค.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดงานเสวนาหัวข้อ “สินเชื่อ SMEs และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย” โดยได้เชิญผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ธนาคารพาณิชย์ พร้อมทั้งภาครัฐร่วม 250-300 คน
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ธุรกิจ SMEs มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยจากข้อมูลของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) พบว่า จำนวนธุรกิจ SMEs ในระบบมีทั้งสิ้น 2.4 ล้านราย ในปี 2550 และมีการจ้างงานมากที่สุดในประเทศ ซึ่งมีการจ้างงานในระบบ 9 ล้านคน หรือ 16%ของการจ้างงานรวมของประเทศ อีกทั้งเป็นแหล่งสินเชื่อขนาดใหญ่ โดยในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อธุรกิจ SMEs คิดเป็น 39% ขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่ 34% และอีก 27% เป็นสินเชื่อส่วนบุคคล
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท.ได้ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “สถานะด้านสินเชื่อธุรกิจ SMEs และบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย” ว่า ขณะนี้ตลาดสินเชื่อธุรกิจ SME เริ่มปรับตัวดีขึ้น พร้อมทั้งความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นนำไปสู่การแข่งขันที่ดีด้านราคาและการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (รีไฟแนนซ์) หนี้เดิมมากขึ้น จึงเป็นช่วงสำคัญในการผลักดันและเป็นประโยชน์ต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ จึงคาดว่า ในอีก 2-3 เดือนข้างหน้าหรือไตรมาส 4 ความต้องการสินเชื่อจะเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลทั้งภาคการส่งออก ท่องเทียว โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและเล็ก การค้าพืชผลเกษตร และธุรกิจก่อสร้างขนาดกลางและเล็ก และคาดว่าความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นไปถึงปีหน้าตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจ
“วิกฤตครั้งนี้เทียบกับปี 40 ไม่ใช่เกิดจากธุรกิจขนาดใหญ่ หรือสถาบันการเงิน แต่เป็นผู้ประกอบการ SME โดยภาคที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ส่งออก ท่องเที่ยว และอุตสาหกรรม ถือเป็นฐานรายได้สำคัญของผู้ประกอบการ SME ทำให้ที่ผ่านมา SME มีการปรับตัวมาก ทำให้สินเชื่อให้แก่ธุรกิจ SME ชะลอตัวเร็ว เมื่อเทียบกับสินเชื่อทั้งระบบ ล่าสุด สิ้นเดือน มิ.ย.เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนหดตัว 8% และทั้งระบบมีสินเชื่อรวมขยายตัวแค่ 1%”
**แบงก์ไม่ขึ้นดอกกู้แต่ขึ้นดอกฝาก**
อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์นั้น เชื่อว่า การแข่งขันการปล่อยสินเชื่อที่จะเพิ่มขึ้นจะทำให้ธนาคารพาณิชย์ ปรับกลยุทธ์โดยยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในระยะต่อไป แม้ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว เพื่อรับกับการแข่งขันการปล่อยสินเชื่อที่จะเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกัน หากในอนาคต อัตราการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นมาก ทำให้สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ลดลง อาจะเริ่มเห็นการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ซึ่งจะส่งผลให้สัดส่วนระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และเงินฝาก (สเปรด) จะต่ำลงกว่าในปัจจุบัน
“หากถามว่าภาวะในปัจจุบัน สเปรดดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือไม่ ในขณะนี้ถือว่าเหมาะสมตามภาวะเศรษฐกิจ และสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ที่มีเหลือจำนวนมาก ซึ่งเป็นช่วงที่ธนาคารพาณิชย์พร้อมจะปล่อยสินเชื่อ แต่หากในช่วงต่อไปมีการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ลดลง สเปรดก็จะต่ำกว่านี้ ซึ่งในขณะนี้เริ่มเห็นการระดมเงินฝากระยะสั้นๆ ของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นแล้ว แต่ในระยะต่อไปอาจจะเริ่มเห็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในภาพรวม”
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในขณะนี้เป็นช่วงเริ่มต้น แต่ก็ยังคงมีความเปาะบางอยู่ โดยแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญยังคงเป็นการใช้จ่ายภาครัฐ แต่การใช้จ่ายเอกชนและการส่งออกยังไม่ชัดเจน อีกทั้งการผลิตบางสาขาเท่านั้นที่ยังดีอยู่ โดยเฉพาะเสาหลักเศรษฐกิจ 4 ภาค คือ ภาคเกษตร ส่งออก ท่องเที่ยว และอสังหาริมทรัพย์ แต่ภาคท่องเที่ยวและส่งออกยังมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่อ่อนแออยู่ ฉะนั้น การขับเคลื่อนเศรษฐกิจต้องมาทั้งภาครัฐและเอกชน โดยภาครัฐจะต้องกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเบิกจ่ายให้ได้ตามแผน เพื่อให้การใช้จ่ายมีประสิทธิภาพต่อเศรษฐกิจ ซึ่งหากทำไม่ได้หรือทำไม่ดีสิ่งเหล่านี้อาจสูญเสียเปล่าต่อระบบเศรษฐกิจ
ขณะที่ภาคเอกชนต้องมีการฟื้นอำนาจการซื้อและการใช้จ่ายของประชาชน จึงจำเป็นต้องมีนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไปในการสนับสนุนการใช้จ่ายและการลงทุนภาคธุรกิจ พร้อมทั้งตอบสนองของผู้ผลิตภาคเอกชน คือ ผู้ประกอบการต้องมีความพร้อม ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากผู้ประกอบการ SME ที่มีสัดส่วนการผลิตถึง 40%ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) และธุรกิจ SME มีการส่งออก 30%ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
ธปท.ได้สำรวจและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผู้ประกอบการ SME ต่างจัดหวัดทุกพื้นที่ พบว่า ส่วนใหญ่ยังต้องการให้เพิ่มกำลังซื้อในประเทศทดแทนกำลังซื้อจากต่างประเทศ ต้องการความยืดหยุ่นทั้งสภาพคล่อง การยืดเวลาชำระหนี้ในกรณีที่จำเป็น การประนอมหนี้ ความต้องการสินเชื่อ และค้ำประกันสินเชื่อ รวมถึงต้องการข้อมูลใช้ประกอบการตัดสินใจทำธุรกิจ เพื่อช่วยแนะนำในการทำธุรกิจภายใต้ความไม่แน่นอน จึงต้องการความเข้าใจร่วมกันระหว่างฝ่ายปฏิบัติการด้านสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ และผู้ประกอบการ SME
เมื่อวานนี้ (12 ต.ค.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดงานเสวนาหัวข้อ “สินเชื่อ SMEs และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย” โดยได้เชิญผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ธนาคารพาณิชย์ พร้อมทั้งภาครัฐร่วม 250-300 คน
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ธุรกิจ SMEs มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยจากข้อมูลของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) พบว่า จำนวนธุรกิจ SMEs ในระบบมีทั้งสิ้น 2.4 ล้านราย ในปี 2550 และมีการจ้างงานมากที่สุดในประเทศ ซึ่งมีการจ้างงานในระบบ 9 ล้านคน หรือ 16%ของการจ้างงานรวมของประเทศ อีกทั้งเป็นแหล่งสินเชื่อขนาดใหญ่ โดยในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อธุรกิจ SMEs คิดเป็น 39% ขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่ 34% และอีก 27% เป็นสินเชื่อส่วนบุคคล
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท.ได้ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “สถานะด้านสินเชื่อธุรกิจ SMEs และบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย” ว่า ขณะนี้ตลาดสินเชื่อธุรกิจ SME เริ่มปรับตัวดีขึ้น พร้อมทั้งความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นนำไปสู่การแข่งขันที่ดีด้านราคาและการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (รีไฟแนนซ์) หนี้เดิมมากขึ้น จึงเป็นช่วงสำคัญในการผลักดันและเป็นประโยชน์ต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ จึงคาดว่า ในอีก 2-3 เดือนข้างหน้าหรือไตรมาส 4 ความต้องการสินเชื่อจะเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลทั้งภาคการส่งออก ท่องเทียว โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและเล็ก การค้าพืชผลเกษตร และธุรกิจก่อสร้างขนาดกลางและเล็ก และคาดว่าความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นไปถึงปีหน้าตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจ
“วิกฤตครั้งนี้เทียบกับปี 40 ไม่ใช่เกิดจากธุรกิจขนาดใหญ่ หรือสถาบันการเงิน แต่เป็นผู้ประกอบการ SME โดยภาคที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ส่งออก ท่องเที่ยว และอุตสาหกรรม ถือเป็นฐานรายได้สำคัญของผู้ประกอบการ SME ทำให้ที่ผ่านมา SME มีการปรับตัวมาก ทำให้สินเชื่อให้แก่ธุรกิจ SME ชะลอตัวเร็ว เมื่อเทียบกับสินเชื่อทั้งระบบ ล่าสุด สิ้นเดือน มิ.ย.เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนหดตัว 8% และทั้งระบบมีสินเชื่อรวมขยายตัวแค่ 1%”
**แบงก์ไม่ขึ้นดอกกู้แต่ขึ้นดอกฝาก**
อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์นั้น เชื่อว่า การแข่งขันการปล่อยสินเชื่อที่จะเพิ่มขึ้นจะทำให้ธนาคารพาณิชย์ ปรับกลยุทธ์โดยยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในระยะต่อไป แม้ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว เพื่อรับกับการแข่งขันการปล่อยสินเชื่อที่จะเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกัน หากในอนาคต อัตราการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นมาก ทำให้สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ลดลง อาจะเริ่มเห็นการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ซึ่งจะส่งผลให้สัดส่วนระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และเงินฝาก (สเปรด) จะต่ำลงกว่าในปัจจุบัน
“หากถามว่าภาวะในปัจจุบัน สเปรดดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือไม่ ในขณะนี้ถือว่าเหมาะสมตามภาวะเศรษฐกิจ และสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ที่มีเหลือจำนวนมาก ซึ่งเป็นช่วงที่ธนาคารพาณิชย์พร้อมจะปล่อยสินเชื่อ แต่หากในช่วงต่อไปมีการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ลดลง สเปรดก็จะต่ำกว่านี้ ซึ่งในขณะนี้เริ่มเห็นการระดมเงินฝากระยะสั้นๆ ของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นแล้ว แต่ในระยะต่อไปอาจจะเริ่มเห็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในภาพรวม”
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในขณะนี้เป็นช่วงเริ่มต้น แต่ก็ยังคงมีความเปาะบางอยู่ โดยแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญยังคงเป็นการใช้จ่ายภาครัฐ แต่การใช้จ่ายเอกชนและการส่งออกยังไม่ชัดเจน อีกทั้งการผลิตบางสาขาเท่านั้นที่ยังดีอยู่ โดยเฉพาะเสาหลักเศรษฐกิจ 4 ภาค คือ ภาคเกษตร ส่งออก ท่องเที่ยว และอสังหาริมทรัพย์ แต่ภาคท่องเที่ยวและส่งออกยังมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่อ่อนแออยู่ ฉะนั้น การขับเคลื่อนเศรษฐกิจต้องมาทั้งภาครัฐและเอกชน โดยภาครัฐจะต้องกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเบิกจ่ายให้ได้ตามแผน เพื่อให้การใช้จ่ายมีประสิทธิภาพต่อเศรษฐกิจ ซึ่งหากทำไม่ได้หรือทำไม่ดีสิ่งเหล่านี้อาจสูญเสียเปล่าต่อระบบเศรษฐกิจ
ขณะที่ภาคเอกชนต้องมีการฟื้นอำนาจการซื้อและการใช้จ่ายของประชาชน จึงจำเป็นต้องมีนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไปในการสนับสนุนการใช้จ่ายและการลงทุนภาคธุรกิจ พร้อมทั้งตอบสนองของผู้ผลิตภาคเอกชน คือ ผู้ประกอบการต้องมีความพร้อม ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากผู้ประกอบการ SME ที่มีสัดส่วนการผลิตถึง 40%ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) และธุรกิจ SME มีการส่งออก 30%ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
ธปท.ได้สำรวจและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผู้ประกอบการ SME ต่างจัดหวัดทุกพื้นที่ พบว่า ส่วนใหญ่ยังต้องการให้เพิ่มกำลังซื้อในประเทศทดแทนกำลังซื้อจากต่างประเทศ ต้องการความยืดหยุ่นทั้งสภาพคล่อง การยืดเวลาชำระหนี้ในกรณีที่จำเป็น การประนอมหนี้ ความต้องการสินเชื่อ และค้ำประกันสินเชื่อ รวมถึงต้องการข้อมูลใช้ประกอบการตัดสินใจทำธุรกิจ เพื่อช่วยแนะนำในการทำธุรกิจภายใต้ความไม่แน่นอน จึงต้องการความเข้าใจร่วมกันระหว่างฝ่ายปฏิบัติการด้านสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ และผู้ประกอบการ SME