ผู้ว่าการธปท.เผยไตรมาส2 ปีหน้าได้ข้อสรุปการขายหุ้นแบงก์นครหลวงไทย ชี้ไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงสั้นๆ ยืนยันไม่พบการเก็งกำไรค่าเงินจากเงินทุนไหลเข้า ระบุขณะนี้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นแต่ยังมีความเปาะบางอยู่ ย้ำภาครัฐควรเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป เผยไม่ปรับเกณฑ์ปล่อยกู้ แนะสถาบันการเงินรัฐเป็นแขนขาได้
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และในฐานะประธาน กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(กองทุนฟื้นฟูฯ) เปิดเผยว่า หลังจากที่คลังได้ส่งหนังสือแนวทางการขายหุ้นธนาคารนครหลวงไทย จำกัด(มหาชน) หรือ SCIB ที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถืออยู่ 47.57% และในที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ ได้มีมติจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน (FA) ต่อไป ซึ่งกองทุนฟื้นฟูฯจะแจ้งมติที่ประชุมบอร์ดกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นหนังสือตอบกลับไปยังคลัง พร้อมทั้งผู้บริหารธนาคารนครหลวงไทยให้ทราบต่อไป
“กองทุนฟื้นฟูฯจะเดินหน้าทันทีเริ่มจากจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อให้คำที่ปรึกษาแนะนำกลยุทธ์ในการขายหุ้น พร้อมทั้งให้มีขั้นตอนในการจัดการที่ชัดเจนแ ละโปร่งใส่ ซึ่งคาดว่าในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีหน้าจะได้ข้อสรุป และยอมรับว่าขณะนี้มีผู้สนใจหลายรายเข้ามาสอบถามกองทุนฟื้นฟูฯ เสมอ แต่ยังไม่ได้พิจารณาใครเป็นพิเศษ”
ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า แม้ธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่การตัดสินใจการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะติดตามตัวเลขเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันไม่มีข้อกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายโดยเร็วในช่วงสั้นๆ นี้ไม่น่าจะมีอย่างแน่นอน
นอกจากนี้ ธปท.ได้มีการติดตามดูแลการเคลื่อนไหวเงินบาทอย่างใกล้ชิดไม่ให้มีความผันผวนและเกาะกลุ่มไปกับค่าเงินในภูมิภาค ซึ่งดัชนีค่าเงินบาท(NEER) เกาะกลุ่มภูมิภาคอยู่ อย่างไรก็ตามเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งขึ้นเกิดจากช่วง 7-8 เดือนที่ผ่านมา ไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญ แต่เชื่อว่าหากเศรษฐกิจโลกแข่งแกร่งมากขึ้น การใช้จ่ายภาครัฐจะเป็นไปตามกำหนด ซึ่งจะกระตุ้นการลงทุนเอกชนด้วย ทำให้การนำเข้าสินค้าและเครื่องจักรมากขึ้นตาม จึงช่วยให้การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดน้อยลงไป รวมถึงค่าเงินบาทอ่อนค่าลงได้
"ในช่วงต่อไปค่าเงินจะมีความผันผวนมีมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้แบงก์ชาติเน้นย้ำมาตลอดให้ภาคเอกชนระมัดระวัง เพราะโลกในปัจจุบันมีขนาดเล็กลง ซึ่งหากเกิดปัญหาอะไรขึ้นกระทบถึงกันไปหมด ฉะนั้นเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นขณะนี้ตัวใหญ่เกิดจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ส่วนเงินทุนไหลเข้ามีบ้าง แต่ยังเป็นการไหลเข้ามาปกติและไม่พบการเก็งกำไรค่าเงินแต่อย่างใด"
**ระบุคนเสื้อแดงไม่ควรซ้ำเติมศก.**
สำหรับกรณีที่กลุ่มคนเสื้อแดงนัดชุมนุมในวันที่ 19 ก.ย.นี้ ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมอย่างไรนั้น นางธาริษา กล่าวว่า ขณะนี้เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยหลายตัวปรับตัวดีขึ้นและได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว แต่การฟื้นตัวยังคงมีความเสี่ยงจากความเปาะบ้างเห็นได้จากการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนที่ยังคงมีน้อยอยู่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และไตรมาสก่อนหน้า เช่นเดียวกับปัจจัยต่างประเทศ แม้สหรัฐมีการใช้จ่ายภาคเอกชนที่ดีขึ้น แต่อัตราการว่างงานเริ่มสูงอยู่ ส่วนภาคอสังหาริมทรัพย์ แม้ยอดขายบ้านมือสองดีขึ้น แต่การขายบ้านใหม่รอดูสถานการณ์อีกระยะหนึ่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังคงมีความเปาะบางอยู่และต้องติดตามดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งไทยยังต้องพึ่งตลาดโลกและการท่องเที่ยวอยู่
“ปัจจัยการเมืองเป็นปัจจัยเสี่ยงเฉพาะด้านของไทยในขณะนี้ ภาครัฐจึงควรมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายและเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจแทนภาคเอกชน โดยเฉพาะการลงทุน ซึ่งหากภาครัฐมีการดูแลให้เป็นไปตามแผนการเบิกจ่ายจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและรายได้ที่ควรจะเป็น ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวดีขึ้นและการความเสี่ยงน้อยลงได้”
**ย้ำไม่ปรับเกณฑ์ปล่อยกู้ของแบงก์**
ส่วนแนวโน้มการให้สินเชื่อขณะนี้เริ่มปรับตัวดีขึ้น หลังจากที่ธปท.ได้มีการพูดคุยกับธนาคารพาณิชย์ จากภาวะเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น ประกอบกับมีโครงการค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) รวมถึงสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นแขนขาที่ดีให้แก่ภาครัฐ ทำให้มีการปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้น และหากมีภาระหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)เพิ่มขึ้น ก็เชื่อว่าภาครัฐจะสามารถดูแลได้ ดังนั้น ธนาคารพาณิชย์ไทยขณะนี้มีความแข็งแกร่งพอ จึงไม่จำเป็นต้องออกหลักเกณฑ์กำกับดูแลให้เข้มข้นมากขึ้น หรือปรับกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคในการปล่อยสินเชื่อแต่อย่างใด
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และในฐานะประธาน กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(กองทุนฟื้นฟูฯ) เปิดเผยว่า หลังจากที่คลังได้ส่งหนังสือแนวทางการขายหุ้นธนาคารนครหลวงไทย จำกัด(มหาชน) หรือ SCIB ที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถืออยู่ 47.57% และในที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ ได้มีมติจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน (FA) ต่อไป ซึ่งกองทุนฟื้นฟูฯจะแจ้งมติที่ประชุมบอร์ดกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นหนังสือตอบกลับไปยังคลัง พร้อมทั้งผู้บริหารธนาคารนครหลวงไทยให้ทราบต่อไป
“กองทุนฟื้นฟูฯจะเดินหน้าทันทีเริ่มจากจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อให้คำที่ปรึกษาแนะนำกลยุทธ์ในการขายหุ้น พร้อมทั้งให้มีขั้นตอนในการจัดการที่ชัดเจนแ ละโปร่งใส่ ซึ่งคาดว่าในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีหน้าจะได้ข้อสรุป และยอมรับว่าขณะนี้มีผู้สนใจหลายรายเข้ามาสอบถามกองทุนฟื้นฟูฯ เสมอ แต่ยังไม่ได้พิจารณาใครเป็นพิเศษ”
ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า แม้ธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่การตัดสินใจการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะติดตามตัวเลขเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันไม่มีข้อกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายโดยเร็วในช่วงสั้นๆ นี้ไม่น่าจะมีอย่างแน่นอน
นอกจากนี้ ธปท.ได้มีการติดตามดูแลการเคลื่อนไหวเงินบาทอย่างใกล้ชิดไม่ให้มีความผันผวนและเกาะกลุ่มไปกับค่าเงินในภูมิภาค ซึ่งดัชนีค่าเงินบาท(NEER) เกาะกลุ่มภูมิภาคอยู่ อย่างไรก็ตามเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งขึ้นเกิดจากช่วง 7-8 เดือนที่ผ่านมา ไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญ แต่เชื่อว่าหากเศรษฐกิจโลกแข่งแกร่งมากขึ้น การใช้จ่ายภาครัฐจะเป็นไปตามกำหนด ซึ่งจะกระตุ้นการลงทุนเอกชนด้วย ทำให้การนำเข้าสินค้าและเครื่องจักรมากขึ้นตาม จึงช่วยให้การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดน้อยลงไป รวมถึงค่าเงินบาทอ่อนค่าลงได้
"ในช่วงต่อไปค่าเงินจะมีความผันผวนมีมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้แบงก์ชาติเน้นย้ำมาตลอดให้ภาคเอกชนระมัดระวัง เพราะโลกในปัจจุบันมีขนาดเล็กลง ซึ่งหากเกิดปัญหาอะไรขึ้นกระทบถึงกันไปหมด ฉะนั้นเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นขณะนี้ตัวใหญ่เกิดจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ส่วนเงินทุนไหลเข้ามีบ้าง แต่ยังเป็นการไหลเข้ามาปกติและไม่พบการเก็งกำไรค่าเงินแต่อย่างใด"
**ระบุคนเสื้อแดงไม่ควรซ้ำเติมศก.**
สำหรับกรณีที่กลุ่มคนเสื้อแดงนัดชุมนุมในวันที่ 19 ก.ย.นี้ ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมอย่างไรนั้น นางธาริษา กล่าวว่า ขณะนี้เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยหลายตัวปรับตัวดีขึ้นและได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว แต่การฟื้นตัวยังคงมีความเสี่ยงจากความเปาะบ้างเห็นได้จากการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนที่ยังคงมีน้อยอยู่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และไตรมาสก่อนหน้า เช่นเดียวกับปัจจัยต่างประเทศ แม้สหรัฐมีการใช้จ่ายภาคเอกชนที่ดีขึ้น แต่อัตราการว่างงานเริ่มสูงอยู่ ส่วนภาคอสังหาริมทรัพย์ แม้ยอดขายบ้านมือสองดีขึ้น แต่การขายบ้านใหม่รอดูสถานการณ์อีกระยะหนึ่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังคงมีความเปาะบางอยู่และต้องติดตามดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งไทยยังต้องพึ่งตลาดโลกและการท่องเที่ยวอยู่
“ปัจจัยการเมืองเป็นปัจจัยเสี่ยงเฉพาะด้านของไทยในขณะนี้ ภาครัฐจึงควรมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายและเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจแทนภาคเอกชน โดยเฉพาะการลงทุน ซึ่งหากภาครัฐมีการดูแลให้เป็นไปตามแผนการเบิกจ่ายจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและรายได้ที่ควรจะเป็น ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวดีขึ้นและการความเสี่ยงน้อยลงได้”
**ย้ำไม่ปรับเกณฑ์ปล่อยกู้ของแบงก์**
ส่วนแนวโน้มการให้สินเชื่อขณะนี้เริ่มปรับตัวดีขึ้น หลังจากที่ธปท.ได้มีการพูดคุยกับธนาคารพาณิชย์ จากภาวะเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น ประกอบกับมีโครงการค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) รวมถึงสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นแขนขาที่ดีให้แก่ภาครัฐ ทำให้มีการปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้น และหากมีภาระหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)เพิ่มขึ้น ก็เชื่อว่าภาครัฐจะสามารถดูแลได้ ดังนั้น ธนาคารพาณิชย์ไทยขณะนี้มีความแข็งแกร่งพอ จึงไม่จำเป็นต้องออกหลักเกณฑ์กำกับดูแลให้เข้มข้นมากขึ้น หรือปรับกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคในการปล่อยสินเชื่อแต่อย่างใด