xs
xsm
sm
md
lg

วฒิฯปัดแนวคิดมาร์คžดันตั้งกมธ.ยกร่างรธน.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลังจากตนเดินทางกลับจากการร่วมประชุมสหประชาชาติ ที่สหรัฐอเมริกา จะมาเดินหน้าเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในประเด็นที่ทุกพรรคการเมืองเห็นพ้อง โดยยึดหลัก 6 ประเด็นที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯเสนอ และที่สำคัญที่สุดคือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะมีผลบังคับได้ต้องผ่านการทำประชามติ หรือการยอมรับของประชาชน ส่วนที่วิปรัฐบาลเสนอตั้ง ส.ส.ร.3 นั้น ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะต้องคุยกันอีกรอบ
นายวัชระ กรรณิการ์ โฆษกพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่าพรรคเห็นด้วยกับข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีในการยกร่างรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็นของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ และทำประชามติ เพราะ 6 ประเด็นดังกล่าวตกผนึกมานานแล้ว และการทำประชามติเป็นสิ่งจำเป็น แต่สิ่งสำคัญพรรคยืนยันในกรอบเวลาว่าต้องทำให้เสร็จภายในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ ฉะนั้นนายกรัฐมนตรี ควรจะกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนว่าจะให้เสร็จเมื่อใด และเมื่อทำประชามติแล้วประชาชนเห็นด้วยหรือไม่พรรคก็ยอมรับ โดยเฉพาะ ม.237 เรื่องยุบพรรค หากผ่านความเห็นชอบจากประชาชน เราก็หวังว่าคงไม่มีใครกังขา
สำหรับการตั้ง ส.ส.ร.3 นั้น นายวัชระ กล่าวว่าหากแก้ไขทั้งฉบับพรรคก็เห็นด้วย หรืออาจจะตั้งส.ส.ร.ก็ควรเป็นหลักแก้ไขประเด็นในระยะสั้นนี้ก่อน เรื่องการตั้ง ส.ส.ร.3 นั้น พรรคเห็นว่าเมื่อถึงเวลาก็ต้องทำ แต่หากตั้งตอนนี้กลัวข้อครหาว่าเป็นการซื้อเวลา
อย่างไรก็ตามพรรคชาติไทยพัฒนา ห่วงข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีที่ให้ ทุกพรรคร่วมลงชื่อในญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขณะที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ว่าพรรคประชาธิปัตย์ อาจมีความเห็นต่างถ้าเป็นเช่นนี้อาจกระทบกับข้อเสนอของนายกรัฐมนตรี ซึ่งหากไม่เป็นเอกภาพ อาจต้องกลับไปสู่แนวทางการมีส.ส.ร.ในที่สุด
นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาและประธานวิปวุฒิ กล่าวว่า วุฒิสถาจะหารือกันเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่การที่นายกรัฐมนตรีให้ทางเลือก 2 ทาง อาจโดนสังคมวิจารณ์ว่าเป็นการชะลอแบบมีศิลปะ เพราะมีเงื่อนไขว่เลือกวิธีใดวิธีหนึ่ง และทุกพรรคต้องเห้นพ้องในร่างที่จัดทำขึ้น ห้ามมีร่างอื่นมาเสนอประกบอีก
นายนิคม กล่าวว่าแนวทางแรกที่นายกฯเสนอให้มี ส.ส.ร.แบบเร็ว มาทำ 6 ประเด็น สัดส่วนยังซับซ้อนอยู่ อย่างนักวิชาการนั้นคนเหล่านี้ก็เป็นส.ส.ร.40 และ 50 ทั้งนั้น ส่วนแบบที่ 2 ที่ให้รัฐสภาทำกันเองแล้วต้องไปทำประชาามติ คงจะเข้าล็อคของความต้องการบางฝ่าย นอกจากนี้ ทั้งสองแบบใช้เวลาประมาณ 9-12 เดือน ซึ่งนานมาก และสมมติว่า หากมีการยุบสภาในช่วงเวลานี้ ก็แก้ไม่ได้อีก
นายนิคม กล่าวว่า ความจริงแล้ว เมื่อรัฐสภาตั้งคณะกรรมการขึ้นมา และมีข้อเสนอให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาพิจารณาแล้ว ซึ่งเห็นชัดว่า ที่ประชุมส่วนใหญ่ 70- 80 % เห็นด้วยทุกข้อที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯเสนอ เสียงประชาชนข้างนอก ก็คัดค้านน้อย มีแต่ส.ว.บางกลุ่ม กลุ่มพันธมิตรฯ และพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น ที่ยังไม่เห็นด้วย แต่เมื่อตั้งคณะกรรมการที่มาจากทุกฝ่ายแล้ว มีมติอย่างไรก็ต้องรับ ซึ่งสมมติว่า ถ้ามีการลงมติในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาที่ผ่านมา เสียงส่วนใหญ่ให้ผ่านแน่
ผมมองว่า ที่ควรทำต่อคือ เข้าสู่กระบวนการได้เลย โดยตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญขึ้นมายกร่าง 6 ประเด็น ร่างไม่ยาก ตัดข้อความนิดเดียวเท่านั้น ตัวแบบก็มีอยู่แล้ว จากนั้นก็เข้าสภาตามปกติ และเมื่อรัฐสภาให้ผ่าน ก็ถือว่า บังคับใช้ได้ ไม่ต้องทำประชามติแล้ว เพราะผู้แทนฯ ก็มาจากประชาชนเ
นายนิคม ยอมรับว่าวิปวุฒิสถา คงไม่เอาทั้ง 2 ทางตามแนวคิดนายกฯ และถ้าวุฒิสภาโหวตก็เชื่อว่าเสียงส่วนใหญ่ก็คงไม่เอา เพราะ ส.ว.ส่วนใหญ่เห็นว่า สามารถยกร่างแล้วทำตามกระบวนการปกติได้เลย และไม่ต้องทำประชามติ และในการเข้าร่วมประชุมวิป 3 ฝ่ายเราก็จะเสนอแบบนี้
ด้านนายประสิทธิ์ โพธสุธน ส.ว.สุพรรณบุรี กล่าวว่าแนวทางของนายกฯทั้ง 2 ทาง ไม่ใช่ทางออก ทั้งที่ประเทศเรามีรัฐธรรมนูญ แต่นายกฯ กลับเลือกทำนอกรัฐธรรมนูญกำหนด เพราะในรัฐธรรมนูญ ป ี50 ม.291 ไม่ได้มีการระบุชัดว่าให้ตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นได้ อีกทั้งหากมีการเสนอให้ตั้ง ส.ส.ร.3 จริง ตนมั่นใจและเชื่อว่าในเดือน พ.ย.นี้ ก็ไม่สามารถตั้งได้ นายกฯกำลังทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก ทั้งที่มีการสรุป รายงานผล 6 ประเด็น ของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯแล้วก็ควรแก้ไขตาม 6 ประเด็นเสียก่อน ทั้งนี้ในสัปดาห์หน้าตนจะเดินหน้าในการยื่นญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ อีกครั้ง ซึ่งจะเสนอแก้ไขตาม6 ประเด็นดังกล่าวและมั่นใจว่าจะมีเสียงสนับสนุนเพียงพอในการยื่นญัตติดังกล่าวได้
กำลังโหลดความคิดเห็น