กำลังนั่งครุ่นคิดว่าจะ "คิดถึงเมืองไทย" ด้วยเรื่องอะไรดี ก็ได้รับการชี้แนะจากท่านอาจารย์ปราโมทย์ นาครทรรพ ผู้จุดประกายการเขียนบทความของผมว่า ชอบกลอนหลายบทของ ว.แหวนลงยา นะ น่าจะเอามาประกอบขยายความ อรรถาธิบายเพิ่มเติมให้เป็นบทความที่ดีได้ แล้วท่านก็ยังยกตัวอย่างบทกลอน "กำสรวลข้าราชการไทย" ว่าเข้ากันได้กับเหตุการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันเปี๊ยบเลย
ผมเองอยากจะขอสารภาพกับอาจารย์ปราโมทย์ และท่านผู้อ่านว่า ผมนั้นมีความเชื่อมาเนิ่นนานกับภาษิตหรือคำพังเพยของจีนที่ว่า "ภาพหนึ่งภาพแทนคำพันคำ" และโดยความเชื่อเช่นนี้ ผมจึงสมัครใจที่จะชอบการเขียนร้อยกรองมากกว่าร้อยแก้ว เพราะมีความรู้สึกว่า การเขียนบทกวีแต่ละครั้งเหมือนกับการวาดภาพจากอารมณ์ความรู้สึกภายในของตนเอง ซึ่งแท้ที่จริงก็ต้องอาศัยปัจจัยจากเหตุบ้านการเมือง หรือเรื่องราวร้อยแปดพันประการที่มากระทบกระตุ้นต่อมอารมณ์ที่อยากจะเขียนนั่นเอง
บทกลอน "กำสรวลข้าราชการไทย" ที่โดนใจอาจารย์ปราโมทย์อย่างแรงนั้น ว.แหวนลงยา เขาเริ่มต้นด้วยบทแรกว่า
ไม่มีเพื่อน ไม่มีพี่ ไม่มีน้อง
มีแต่การจับจ้อง เพื่อไต่เต้า
มีแต่การแก่งแย่ง แฝงบังเงา
ไม่เหลือเค้า องอาจ ข้าราชการไทย
เพียง 4 บรรทัด ซึ่งใช้คำไม่กี่คำนี้ ผมว่า มันอรรถาธิบายให้เห็นภาพข้าราชการไทยทั้งระบบเลยก็ว่าได้ ว่าในยุคปัจจุบัน ภาพจริงของบรรดาข้าราชการไทยส่วนใหญ่มันเป็นเช่นนี้จริงๆ
ผมเองในฐานะอดีตข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ที่เคยภาคภูมิใจในความยิ่งใหญ่อหังการของตราราชสีห์ และเกียรติประวัติอันสง่างามของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดี ผู้ก่อตั้งกระทรวงมหาดไทย เพื่อรับภารกิจ "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข" แก่ปวงอาณาประชาชน
แต่เดิมทุกรัฐบาล การคัดเลือกผู้มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จะต้องเลือกเฟ้นผู้ที่มีประวัติดีงาม และมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการกระทรวงใหญ่นี้เป็นกรณีพิเศษ เพราะเดิมนั้น ทั้งฝ่ายปกครอง และกรมตำรวจ กรมอัยการ กรมราชทัณฑ์ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับราษฎรทั้งประเทศ ล้วนรวมศูนย์อยู่ที่มหาดไทย
ในชีวิตรับราชการ ผมยังทันได้เห็นรัฐมนตรีที่สง่างาม สามารถเคารพกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ เช่น ท่านหลวงอรรถสิทธิ์สุนทรหุต และท่านพลเอกสิทธิ จิรโรจน์ เป็นต้น ยุคหลังๆ จากนั้นมา ก็ล้วนแต่ต้องกล้ำกลืนฝืนใจไม่มากก็น้อย
สำหรับผู้บังคับบัญชาสูงสุดในฝ่ายข้าราชการประจำ คือปลัดกระทรวงมหาดไทยในยุคก่อนๆ ผู้ที่มาดำรงตำแหน่งก็มีขั้นมีตอน, มีหลักอาวุโส หลักความเหมะสมที่คนส่วนใหญ่ยอมรับได้ ผมเองก็ยังทันได้เห็นปลัดกระทรวงที่องอาจผึ่งผายเป็นหลักของข้าราชการฝ่ายประจำได้ เช่น นายอนันต์ อนันตกูล และนายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ ยุคหลังต่อจากนั้นมา ก็อย่างที่เราๆท่านๆ เห็นกันอยู่ ล้วนแอบแฝงมาจากฝ่ายการเมือง โดยยอมตนศิโรราบหมดสิ้นความสง่างาม และหมดสิ้นเขี้ยวเล็บเสียงคำรามของพระยาราชสีห์อีกต่อไป
ผมฉายภาพให้เห็นสภาพความเป็นจริงของกระทรวงมหาดไทยที่เสื่อมสลาย เพราะถูกการเมืองปู้ยี่ปู้ยำมาโดยตลอด ขณะเดียวกันที่ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยเองก็ยอมศิโรราบ เพราะความอ่อนแอยอมพ่ายแพ้ต่ออำนาจไม่เป็นธรรม และมุ่งหวังแต่จะแสวงหาลาภยศ สรรเสริญ ทั้งเงินทองและตำแหน่งอย่างไม่ลืมหูลืมตา
ความถูกต้อง เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามขั้นตอนการบังคับบัญชา ตามหลักอาวุโส หลักความรู้ความสามารถที่เรียกรวมกันว่า หลักคุณธรรมของระบบราชการเพื่อเอื้อให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลในการบริการรับใช้ประชาชน ตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง ความเอื้ออาทรระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง และเพื่อนร่วมงาน ร่วมองค์กร ซึ่งยังพอมีให้เห็นอยู่บ้างในช่วงที่ผมรับราชการอยู่ บัดนี้แทบไม่เหลือเศษซากให้เห็นแล้ว มีแต่การแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่น ตามเกมกติกาเลวๆ ของฝ่ายการเมือง ดังบทกวีวรรคต่อๆ มาที่เขียนว่า
ไม่มีแล้ว ศักดิ์และศรี ที่เคยสง่า
มีแต่ภาพ ลีลา อันลื่นไหล
พร้อมจะเปลี่ยน พร้อมจะปรับ อย่างฉับไว
ให้รับบท แสดงใด ได้ทั้งนั้น
ไม่มีแล้ว เขี้ยวเล็บ เสียงคำราม
มีแต่กุมเป้าตาม เสียงสั่นสั่น
สยบยอม สอพลอ สารพัน
แก่งแย่ง แข่งประชัน ตามบัญชา
ในช่วงปลายของการรับราชการ ผมทันได้เห็นระบบ CEO ของทักษิณที่ใช้วิชาการตลาดบริหารประเทศชาติเยี่ยงบริษัทไม่จำกัด ระบบ CEO แต่ชื่อที่กลายเป็นการบริหารแบบลดอำนาจ ปลัดกระทรวง อธิบดี และผู้ว่าราชการจังหวัด จากผู้ที่เคยกำหนดนโยบายให้เป็นเพียงผู้รับคำสั่ง จากนายกฯ ทักษิณ ซึ่งคือ CEO ตัวจริงแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย
ในฐานะข้าราชการที่อยู่ในหัวเมืองส่วนภูมิภาค ผมจึงเห็นทุกเช้าวันเสาร์ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่กล้าขยับตัวไปไหน เพราะต้องกอดเครื่องรับวิทยุ เงี่ยหูตั้งใจฟัง Saturday Policy จากเสียงถ่ายทอดรายการ นายกฯ ทักษิณพบประชาชน เพราะมักจะมีการสั่งการทางอากาศที่ผู้ว่าราชการจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งที่ถูกระบุต้องรับไปปฏิบัติให้ทันอกทันใจ CEO ตัวจริง มิเช่นนั้นเก้าอี้อาจสะเทือนได้
ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือข้าหลวง (ต่างพระเนตรพระกรรณ) ในยุคที่ผมยังเป็นเด็กนักเรียนชั้นมัธยมต้น ผมก็ยังจำข้าหลวงที่มีบรรดาศักดิ์เป็นคุณหลวง คุณพระได้หลายท่านแม้บัดนี้จะจำชื่อไม่ได้แล้ว แต่ภาพข้าหลวงสวมหมวกกะโล่ถือไม้ตะพดมาเป็นประธานในพิธีสำคัญๆ ที่อำเภอ ก็ยังอยู่ในความทรงจำ เป็นภาพของข้าราชการที่สง่าภูมิฐาน น่าเกรงขาม ซึ่งต่างจากภาพผู้ว่าราชการจังหวัดในยุคนี้ ที่เห็นภาพยืนกุมเป้างอตัวเป็นกุ้งต่อหน้านักการเมืองทีไร แล้วรู้สึกสะอิดสะเอียน และเจ็บปวดสะเทือนใจทุกครั้ง โดยเฉพาะการสยบยอมรับคำสั่งแม้จากนักการเมืองบ้านเลขที่ 111 ซึ่งไม่มีตำแหน่งหน้าที่อันใดเลย แต่ข้าราชการกลับยอมให้เขาใช้อำนาจแฝงมาครอบงำ โดยไม่มีผู้ดิ้นรนต่อสู้คัดง้างท้วงติงเพื่อธำรงความถูกต้องเลย ไม่มีแม้แต่ผู้เดียว ซึ่งน่าวังเวงมาก
และโดยนัยของบทกวี "กำสรวลข้าราชการไทย" น่าจะมิได้หมายเฉพาะเจาะจงข้าราชการกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น กำสรวลนี้ย่อมจะส่งผลสะเทือนอันหมายรวมถึง ข้าราชการไทยทั้งระบบที่ถูกทำลายล้างอย่างรุนแรงด้วยระบอบทุนสามานย์ที่ถูกนำเข้ามาใช้โดยระบอบทักษิณ ดังบทท้ายๆ ที่เขียนไว้ว่า
ทุกกระทรวง ทบวงกรม จึงขมขื่น
คุณธรรม ยากหยัดยืน ยากฝืนต้าน
หลักชูชุบ อุปถัมภ์ ชื่นฉ่ำบาน
กลไกรัฐ จึงแตกซ่าน พิกาลพิกล!
ท่านอาจารย์ปราโมทย์ นาครทรรพ เคยปรารภถึงตัวอย่างการแต่งตั้งปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่จะมาดำรงตำแหน่งในต้นเดือนตุลาคม 2552 นี้ ซึ่งเป็นการใช้อำนาจทางการเมืองอย่างไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหม เหยียบย่ำหัวจิตหัวใจของข้าราชการกระทรวงมหาดไทยอย่างแสนสาหัส เพราะอยู่ในอาวุโสลำดับสิบสอง และผลงานดีเด่นก็คือ การสนองรับใช้นโยบายกล้ายางสมัยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ได้บำเหน็จไปนั่งผู้ว่าขอนแก่น รับใช้การเมืองเข้าตา แผล็บเดียวก็โดดข้ามหัวพี่เพื่อนมานั่งอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อบริหารจัดการงบจำนวนมหาศาลให้เป็นประโยชน์ต่อพรรคการเมืองอย่างน่าภาคภูมิใจไทย จนได้ลาภลอยชิ้นใหญ่ให้นั่งเก้าอี้สูงสุดของกระทรวงก่อนเกษียณอายุราชการในปีหน้า ท่ามกลางการไม่เป็นที่ยอมรับของข้าราชการโดยส่วนรวม
ผมสัมผัสได้ว่าอาจารย์ปราโมทย์ คันคะเยอในหัวใจมาก ผมก็เลยบอกกับอาจารย์ไปว่า บ้านเมืองมันวิบัติบัดซบอย่างนี้ ก็เห็นมีแต่ผู้เฒ่ามากอุดมการณ์อย่างอาจารย์ปราโมทย์ และผองเพื่อนร่วมอุดมการณ์ไม่กี่คนที่ออกมาโวยวายท้วงติง ในขณะที่ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยทั้งกระทรวงเขานิ่งเงียบเป็นเป่าสาก เหมือนยอมรับการย่ำยีอย่างเต็มใจ อย่างที่เห็นๆ กันอยู่ ซึ่งเท่ากับทำให้การแต่งตั้งโยกย้ายตามใจชอบของนักการเมืองเป็นสิ่งปกติที่ทำได้จนเคยชิน และวิธีคิดของข้าราชการก็คงเหลือเพียงว่า รอจังหวะทีใครทีมัน โดยเหมือนช่วยกันล้มล้างระบบที่ถูกต้องเป็นธรรมไปโดยสิ้นเชิง
แถมตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมชัดเจนอีกเรื่องก็ได้ อาจารย์ปราโมทย์และท่านผู้อ่านทราบไหมครับว่า การสอบเข้าโรงเรียนนายอำเภอ ซึ่งเป็นความหวังสูงสุดของข้าราชการฝ่ายปกครอง และเป็นปราการท้าทาย ที่แต่เดิมแม้จะมีระบบเส้นสายบ้าง ก็ยังวัดความรู้ความสามารถกันพอสมควร การฝากฝังตามระบบอุปถัมภ์ก็ยังอยู่ในเกณฑ์พอรับกันได้
แต่อาจารย์ครับ ท่านผู้อ่านครับ การสอบที่ผ่านมา มันน่ามหัศจรรย์มาก ที่ปลัดอำเภอเก่งๆ มันไปรวมตัวกระจุกอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ทำให้สอบเข้าโรงเรียนนายอำเภอได้ถึง 19 คนมากกว่าทุกจังหวัด ทุกภาคของประเทศไทย ผมก็ไม่ยักเห็นข้าราชการฝ่ายปกครองคนใดออกมาสงสัยโวยวายให้ตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลบ้าง กลายเป็นการยอมรับสภาพให้เขากระทำย่ำยีตามใจชอบ โดยดุษฎีดุจเดียวกันกับอีกร้อยแปดพันประการที่เกิดขึ้นในกระทรวงมหาดไทย และแทบจะทุกกระทรวง ทบวงกรมแล้ว ถ้าเรายังมีระบอบการเมือง และนักการเมืองเหมือนเช่นทุกวันนี้ น่าวังเวงไหมครับ
คอลัมน์ "คิดถึงเมืองไทย" ท่านอาจารย์ปราโมทย์ นาครทรรพ และผองเพื่อนช่วยกันคิดกันเขียนทักท้วง ติติง เสนอแนะแนวทางที่ถูกต้องดีงาม เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองไทยติดต่อกันมาเป็นเวลามากกว่า 40 ปี ตอนนี้ท่านคงจะเริ่มเหนื่อยล้า (แต่เชื่อว่าไม่มีวันหมดแรง ไม่มีวันหมดไฟ) เพียงแค่ส่งไม้ต่อให้ดร.ไสว บุญมา รับภาระแทน ในฐานะผู้ได้รับเกียรติให้ร่วมอยู่ในเรือลำนี้ ผมก็คงได้แต่ปวารณาว่า จะช่วยกันรับสืบทอดอุดมการณ์อาจารย์ปราโมทย์ นาครทรรพและผองเพื่อนตามกำลังความสามารถที่พอจะทำไหว และยังหวังที่จะได้เห็นภาพการเมืองไทย ระบบราชการไทยดีขึ้นบ้างตามแรงปรารถนาของคณะผู้คิดถึงเมืองไทยทุกๆ คน
สำหรับท่านที่สนใจและประสงค์จะอ่านบทกวี "กำสรวลข้าราชการไทย" ฉบับเต็ม โปรด Click เข้าไปที่ Blog www.oknation.net/blog/wachira89 ท่านจะได้อ่านบทกวีอีกหลากหลายบท ที่ผมจะได้นำมาอรรถาธิบายขยายความตามวาระโอกาสอันควรต่อไป
ผมเองอยากจะขอสารภาพกับอาจารย์ปราโมทย์ และท่านผู้อ่านว่า ผมนั้นมีความเชื่อมาเนิ่นนานกับภาษิตหรือคำพังเพยของจีนที่ว่า "ภาพหนึ่งภาพแทนคำพันคำ" และโดยความเชื่อเช่นนี้ ผมจึงสมัครใจที่จะชอบการเขียนร้อยกรองมากกว่าร้อยแก้ว เพราะมีความรู้สึกว่า การเขียนบทกวีแต่ละครั้งเหมือนกับการวาดภาพจากอารมณ์ความรู้สึกภายในของตนเอง ซึ่งแท้ที่จริงก็ต้องอาศัยปัจจัยจากเหตุบ้านการเมือง หรือเรื่องราวร้อยแปดพันประการที่มากระทบกระตุ้นต่อมอารมณ์ที่อยากจะเขียนนั่นเอง
บทกลอน "กำสรวลข้าราชการไทย" ที่โดนใจอาจารย์ปราโมทย์อย่างแรงนั้น ว.แหวนลงยา เขาเริ่มต้นด้วยบทแรกว่า
ไม่มีเพื่อน ไม่มีพี่ ไม่มีน้อง
มีแต่การจับจ้อง เพื่อไต่เต้า
มีแต่การแก่งแย่ง แฝงบังเงา
ไม่เหลือเค้า องอาจ ข้าราชการไทย
เพียง 4 บรรทัด ซึ่งใช้คำไม่กี่คำนี้ ผมว่า มันอรรถาธิบายให้เห็นภาพข้าราชการไทยทั้งระบบเลยก็ว่าได้ ว่าในยุคปัจจุบัน ภาพจริงของบรรดาข้าราชการไทยส่วนใหญ่มันเป็นเช่นนี้จริงๆ
ผมเองในฐานะอดีตข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ที่เคยภาคภูมิใจในความยิ่งใหญ่อหังการของตราราชสีห์ และเกียรติประวัติอันสง่างามของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดี ผู้ก่อตั้งกระทรวงมหาดไทย เพื่อรับภารกิจ "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข" แก่ปวงอาณาประชาชน
แต่เดิมทุกรัฐบาล การคัดเลือกผู้มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จะต้องเลือกเฟ้นผู้ที่มีประวัติดีงาม และมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการกระทรวงใหญ่นี้เป็นกรณีพิเศษ เพราะเดิมนั้น ทั้งฝ่ายปกครอง และกรมตำรวจ กรมอัยการ กรมราชทัณฑ์ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับราษฎรทั้งประเทศ ล้วนรวมศูนย์อยู่ที่มหาดไทย
ในชีวิตรับราชการ ผมยังทันได้เห็นรัฐมนตรีที่สง่างาม สามารถเคารพกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ เช่น ท่านหลวงอรรถสิทธิ์สุนทรหุต และท่านพลเอกสิทธิ จิรโรจน์ เป็นต้น ยุคหลังๆ จากนั้นมา ก็ล้วนแต่ต้องกล้ำกลืนฝืนใจไม่มากก็น้อย
สำหรับผู้บังคับบัญชาสูงสุดในฝ่ายข้าราชการประจำ คือปลัดกระทรวงมหาดไทยในยุคก่อนๆ ผู้ที่มาดำรงตำแหน่งก็มีขั้นมีตอน, มีหลักอาวุโส หลักความเหมะสมที่คนส่วนใหญ่ยอมรับได้ ผมเองก็ยังทันได้เห็นปลัดกระทรวงที่องอาจผึ่งผายเป็นหลักของข้าราชการฝ่ายประจำได้ เช่น นายอนันต์ อนันตกูล และนายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ ยุคหลังต่อจากนั้นมา ก็อย่างที่เราๆท่านๆ เห็นกันอยู่ ล้วนแอบแฝงมาจากฝ่ายการเมือง โดยยอมตนศิโรราบหมดสิ้นความสง่างาม และหมดสิ้นเขี้ยวเล็บเสียงคำรามของพระยาราชสีห์อีกต่อไป
ผมฉายภาพให้เห็นสภาพความเป็นจริงของกระทรวงมหาดไทยที่เสื่อมสลาย เพราะถูกการเมืองปู้ยี่ปู้ยำมาโดยตลอด ขณะเดียวกันที่ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยเองก็ยอมศิโรราบ เพราะความอ่อนแอยอมพ่ายแพ้ต่ออำนาจไม่เป็นธรรม และมุ่งหวังแต่จะแสวงหาลาภยศ สรรเสริญ ทั้งเงินทองและตำแหน่งอย่างไม่ลืมหูลืมตา
ความถูกต้อง เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามขั้นตอนการบังคับบัญชา ตามหลักอาวุโส หลักความรู้ความสามารถที่เรียกรวมกันว่า หลักคุณธรรมของระบบราชการเพื่อเอื้อให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลในการบริการรับใช้ประชาชน ตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง ความเอื้ออาทรระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง และเพื่อนร่วมงาน ร่วมองค์กร ซึ่งยังพอมีให้เห็นอยู่บ้างในช่วงที่ผมรับราชการอยู่ บัดนี้แทบไม่เหลือเศษซากให้เห็นแล้ว มีแต่การแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่น ตามเกมกติกาเลวๆ ของฝ่ายการเมือง ดังบทกวีวรรคต่อๆ มาที่เขียนว่า
ไม่มีแล้ว ศักดิ์และศรี ที่เคยสง่า
มีแต่ภาพ ลีลา อันลื่นไหล
พร้อมจะเปลี่ยน พร้อมจะปรับ อย่างฉับไว
ให้รับบท แสดงใด ได้ทั้งนั้น
ไม่มีแล้ว เขี้ยวเล็บ เสียงคำราม
มีแต่กุมเป้าตาม เสียงสั่นสั่น
สยบยอม สอพลอ สารพัน
แก่งแย่ง แข่งประชัน ตามบัญชา
ในช่วงปลายของการรับราชการ ผมทันได้เห็นระบบ CEO ของทักษิณที่ใช้วิชาการตลาดบริหารประเทศชาติเยี่ยงบริษัทไม่จำกัด ระบบ CEO แต่ชื่อที่กลายเป็นการบริหารแบบลดอำนาจ ปลัดกระทรวง อธิบดี และผู้ว่าราชการจังหวัด จากผู้ที่เคยกำหนดนโยบายให้เป็นเพียงผู้รับคำสั่ง จากนายกฯ ทักษิณ ซึ่งคือ CEO ตัวจริงแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย
ในฐานะข้าราชการที่อยู่ในหัวเมืองส่วนภูมิภาค ผมจึงเห็นทุกเช้าวันเสาร์ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่กล้าขยับตัวไปไหน เพราะต้องกอดเครื่องรับวิทยุ เงี่ยหูตั้งใจฟัง Saturday Policy จากเสียงถ่ายทอดรายการ นายกฯ ทักษิณพบประชาชน เพราะมักจะมีการสั่งการทางอากาศที่ผู้ว่าราชการจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งที่ถูกระบุต้องรับไปปฏิบัติให้ทันอกทันใจ CEO ตัวจริง มิเช่นนั้นเก้าอี้อาจสะเทือนได้
ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือข้าหลวง (ต่างพระเนตรพระกรรณ) ในยุคที่ผมยังเป็นเด็กนักเรียนชั้นมัธยมต้น ผมก็ยังจำข้าหลวงที่มีบรรดาศักดิ์เป็นคุณหลวง คุณพระได้หลายท่านแม้บัดนี้จะจำชื่อไม่ได้แล้ว แต่ภาพข้าหลวงสวมหมวกกะโล่ถือไม้ตะพดมาเป็นประธานในพิธีสำคัญๆ ที่อำเภอ ก็ยังอยู่ในความทรงจำ เป็นภาพของข้าราชการที่สง่าภูมิฐาน น่าเกรงขาม ซึ่งต่างจากภาพผู้ว่าราชการจังหวัดในยุคนี้ ที่เห็นภาพยืนกุมเป้างอตัวเป็นกุ้งต่อหน้านักการเมืองทีไร แล้วรู้สึกสะอิดสะเอียน และเจ็บปวดสะเทือนใจทุกครั้ง โดยเฉพาะการสยบยอมรับคำสั่งแม้จากนักการเมืองบ้านเลขที่ 111 ซึ่งไม่มีตำแหน่งหน้าที่อันใดเลย แต่ข้าราชการกลับยอมให้เขาใช้อำนาจแฝงมาครอบงำ โดยไม่มีผู้ดิ้นรนต่อสู้คัดง้างท้วงติงเพื่อธำรงความถูกต้องเลย ไม่มีแม้แต่ผู้เดียว ซึ่งน่าวังเวงมาก
และโดยนัยของบทกวี "กำสรวลข้าราชการไทย" น่าจะมิได้หมายเฉพาะเจาะจงข้าราชการกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น กำสรวลนี้ย่อมจะส่งผลสะเทือนอันหมายรวมถึง ข้าราชการไทยทั้งระบบที่ถูกทำลายล้างอย่างรุนแรงด้วยระบอบทุนสามานย์ที่ถูกนำเข้ามาใช้โดยระบอบทักษิณ ดังบทท้ายๆ ที่เขียนไว้ว่า
ทุกกระทรวง ทบวงกรม จึงขมขื่น
คุณธรรม ยากหยัดยืน ยากฝืนต้าน
หลักชูชุบ อุปถัมภ์ ชื่นฉ่ำบาน
กลไกรัฐ จึงแตกซ่าน พิกาลพิกล!
ท่านอาจารย์ปราโมทย์ นาครทรรพ เคยปรารภถึงตัวอย่างการแต่งตั้งปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่จะมาดำรงตำแหน่งในต้นเดือนตุลาคม 2552 นี้ ซึ่งเป็นการใช้อำนาจทางการเมืองอย่างไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหม เหยียบย่ำหัวจิตหัวใจของข้าราชการกระทรวงมหาดไทยอย่างแสนสาหัส เพราะอยู่ในอาวุโสลำดับสิบสอง และผลงานดีเด่นก็คือ การสนองรับใช้นโยบายกล้ายางสมัยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ได้บำเหน็จไปนั่งผู้ว่าขอนแก่น รับใช้การเมืองเข้าตา แผล็บเดียวก็โดดข้ามหัวพี่เพื่อนมานั่งอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อบริหารจัดการงบจำนวนมหาศาลให้เป็นประโยชน์ต่อพรรคการเมืองอย่างน่าภาคภูมิใจไทย จนได้ลาภลอยชิ้นใหญ่ให้นั่งเก้าอี้สูงสุดของกระทรวงก่อนเกษียณอายุราชการในปีหน้า ท่ามกลางการไม่เป็นที่ยอมรับของข้าราชการโดยส่วนรวม
ผมสัมผัสได้ว่าอาจารย์ปราโมทย์ คันคะเยอในหัวใจมาก ผมก็เลยบอกกับอาจารย์ไปว่า บ้านเมืองมันวิบัติบัดซบอย่างนี้ ก็เห็นมีแต่ผู้เฒ่ามากอุดมการณ์อย่างอาจารย์ปราโมทย์ และผองเพื่อนร่วมอุดมการณ์ไม่กี่คนที่ออกมาโวยวายท้วงติง ในขณะที่ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยทั้งกระทรวงเขานิ่งเงียบเป็นเป่าสาก เหมือนยอมรับการย่ำยีอย่างเต็มใจ อย่างที่เห็นๆ กันอยู่ ซึ่งเท่ากับทำให้การแต่งตั้งโยกย้ายตามใจชอบของนักการเมืองเป็นสิ่งปกติที่ทำได้จนเคยชิน และวิธีคิดของข้าราชการก็คงเหลือเพียงว่า รอจังหวะทีใครทีมัน โดยเหมือนช่วยกันล้มล้างระบบที่ถูกต้องเป็นธรรมไปโดยสิ้นเชิง
แถมตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมชัดเจนอีกเรื่องก็ได้ อาจารย์ปราโมทย์และท่านผู้อ่านทราบไหมครับว่า การสอบเข้าโรงเรียนนายอำเภอ ซึ่งเป็นความหวังสูงสุดของข้าราชการฝ่ายปกครอง และเป็นปราการท้าทาย ที่แต่เดิมแม้จะมีระบบเส้นสายบ้าง ก็ยังวัดความรู้ความสามารถกันพอสมควร การฝากฝังตามระบบอุปถัมภ์ก็ยังอยู่ในเกณฑ์พอรับกันได้
แต่อาจารย์ครับ ท่านผู้อ่านครับ การสอบที่ผ่านมา มันน่ามหัศจรรย์มาก ที่ปลัดอำเภอเก่งๆ มันไปรวมตัวกระจุกอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ทำให้สอบเข้าโรงเรียนนายอำเภอได้ถึง 19 คนมากกว่าทุกจังหวัด ทุกภาคของประเทศไทย ผมก็ไม่ยักเห็นข้าราชการฝ่ายปกครองคนใดออกมาสงสัยโวยวายให้ตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลบ้าง กลายเป็นการยอมรับสภาพให้เขากระทำย่ำยีตามใจชอบ โดยดุษฎีดุจเดียวกันกับอีกร้อยแปดพันประการที่เกิดขึ้นในกระทรวงมหาดไทย และแทบจะทุกกระทรวง ทบวงกรมแล้ว ถ้าเรายังมีระบอบการเมือง และนักการเมืองเหมือนเช่นทุกวันนี้ น่าวังเวงไหมครับ
คอลัมน์ "คิดถึงเมืองไทย" ท่านอาจารย์ปราโมทย์ นาครทรรพ และผองเพื่อนช่วยกันคิดกันเขียนทักท้วง ติติง เสนอแนะแนวทางที่ถูกต้องดีงาม เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองไทยติดต่อกันมาเป็นเวลามากกว่า 40 ปี ตอนนี้ท่านคงจะเริ่มเหนื่อยล้า (แต่เชื่อว่าไม่มีวันหมดแรง ไม่มีวันหมดไฟ) เพียงแค่ส่งไม้ต่อให้ดร.ไสว บุญมา รับภาระแทน ในฐานะผู้ได้รับเกียรติให้ร่วมอยู่ในเรือลำนี้ ผมก็คงได้แต่ปวารณาว่า จะช่วยกันรับสืบทอดอุดมการณ์อาจารย์ปราโมทย์ นาครทรรพและผองเพื่อนตามกำลังความสามารถที่พอจะทำไหว และยังหวังที่จะได้เห็นภาพการเมืองไทย ระบบราชการไทยดีขึ้นบ้างตามแรงปรารถนาของคณะผู้คิดถึงเมืองไทยทุกๆ คน
สำหรับท่านที่สนใจและประสงค์จะอ่านบทกวี "กำสรวลข้าราชการไทย" ฉบับเต็ม โปรด Click เข้าไปที่ Blog www.oknation.net/blog/wachira89 ท่านจะได้อ่านบทกวีอีกหลากหลายบท ที่ผมจะได้นำมาอรรถาธิบายขยายความตามวาระโอกาสอันควรต่อไป