เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (16 ก.ย.) มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณาเรื่องด่วนขอเปิดอภิปรายทั่วไป ในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ตามมาตรา179 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม
ก่อนที่สมาชิกจะอภิปรายนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงถึงสาเหตุการเปิดอภิปรายว่า การแก้ปัญหาต่างๆ รัฐบาลต้องทำพร้อมๆกัน แม้มีความขัดแย้งในข้อกฎหมายหลายคดี ซึ่งตนกำชับเสมอว่าการบังคับต้องเป็นธรรม
ทั้งนี้ การแก้ไขรธน.มีการวิพากษ์วิจารณ์มาตลอด จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อศึกษา และเมื่อได้ผลสรุปออกมา ก็ได้หารือกับประธานรัฐสภา เปิดอภิปรายทั่วไป ตามมาตรา 179 เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกรัฐสภาได้ใช้โอกาสนี้รับฟัง สอบถาม จากคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ พร้อมกับแสดงความคิดเห็น เพื่อให้เป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาต่อไป
นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี ในฐานะประธานคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ กล่าวชี้แจงว่า คณะกรรมการฯ ตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาด้านการเมืองที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศไทยช่วงเวลานั้น คือ ความแตกแยกเป็นภาค และครอบครัว สามี ภรรยาใส่เสื้อคนละสี ลูกเต้าทะเลาะกัน ซึ่งตนให้แนวคิดในการทำงานกับคณะกรรมการฯ ทั้ง 39 คนว่าต้องเปลี่ยนความคิดของแต่ละฝ่าย ว่าประเทศเป็นของเรา ให้ถอยหลังคนละ1-2 ก้าว โดยเอาประเทศเป็นตัวตั้งนอกจากนี้ยังให้หลักการทำงานกับ 3 อนุกรรมการฯ ที่ตั้งขึ้นว่า"หากความเป็นธรรมไม่มี ความสามัคคีจะเกิดขึ้นไม่ได้"
นอกจากนี้ คณะกรรมการฯได้เปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนทั้งการเปิดเว็บไซต์ การเปิดตู้ ป.ณ.789 ทำหนังสือถึงพรรคการเมืองทุกพรรค และมหาวิทยาลัยทั่วประเทศกว่า 100 แห่ง และจัดการประชุมวิชาการหลายครั้ง โดยให้แนวทาง 3 ประเด็น คือ 1. สร้างแนวทางสมานฉันท์ 2. ปฏิรูปการเมือง และ 3. ศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้ผลสรุปของแนวทางการสร้างสมานฉันท์ของคณะอนุกรรมการฯจำนวน 3 ข้อ คือ 1. ลดวิวาทะ อคติ และการตอบโต้ใส่ร้ายทางการเมือง 2. รัฐบาลและฝ่ายค้านควรลดเงื่อนไขความขัดแย้งที่มีอยู่เดิม และไม่สร้างเงื่อนไขใหม่ที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งเพิ่มขึ้น และ 3. อาศัยสื่อมวลชนในการสร้างสังคมสมานฉันท์
ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้เสนอรายงานต่อประธานรัฐสภาและนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 ก.ค. และวันนี้ ครบ 2 เดือนพอดี ที่ได้มีการประชุมรัฐสภา เปิดอภิปรายร่วมกัน ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้างความสมานฉันท์ ดังนั้น จึงอยากให้รัฐบาลรับ 3 แนวทางที่คณะอนุกรรมการฯเสนอไปปฏิบัติ เพราะเชื่อว่าจะลดความขัดแย้งได้
สำหรับการแก้ไขรธน. ในเบื้องต้น คณะกรรมการฯได้เสนอ แก้ไขใน 6 ประเด็น และระยะยาวได้เสนอให้ตั้ง สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เพื่อศึกษาแก้ไขรธน.ปี 2550 ใหม่ทั้งฉบับ
"ถ้าประเทศเราปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย รธน.ก็ต้องมาด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่มาจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นคนทำ วันนี้เราต้องเริ่มต้นสมานฉันท์ ถ้าไม่เริ่มทำ ผมทายได้เลยว่า ประเทศชาติเราจะประสบปัญหารุนแรง อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนเลย"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ ที่เห็นว่าควรแก้ไขรธน. รวม 6 ประเด็น ได้แก่ 1. มาตรา 237 ประเด็นการยุบพรรคการเมืองและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมการบริหารพรรค 2. มาตรา 93-98 ประเด็นที่มาของ ส.ส. 3. มาตรา 111-121 ประเด็นที่มาของ ส.ว. 4. มาตรา 190 ประเด็นการทำหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา 5. มาตรา 265 ประเด็นการดำรงตำแหน่งทางการเมืองของ ส.ส. และ 6. มาตรา 266 ประเด็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนของ ส.ส. และส.ว.
จากนั้นสมาชิกรัฐสภาได้เริ่มอภิปราย โดยส่วนใหญ่ แสดงความเห็นด้วยกับข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ แต่ขอให้รัฐบาลจริงใจ ที่จะทำตามอย่ายื้อเวลา ขณะที่บางส่วนเห็นว่า แม้จะมีการแก้ไขรธน.ไปแล้ว แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ ตราบใดที่ฝ่ายการเมือง ผู้บริหารประเทศยังยึดถือผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว
**อัดนายกฯ ตั้งส.ส.ร.3 หวังยื้อ
นายไชยา พรหมมา ส.ส.หนองบัวลำภู พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นอภิปรายเป็นคนแรกระบุว่า ความสมานฉันท์ ในประเทศไม่ได้อยู่ที่รายงานฉบับนี้ แต่ขึ้นอยู่ที่นายกรัฐมนตรี อย่าให้เขาว่าซื้อเวลาด้วยการตั้ง ส.ส.ร.3 แก้รธน. เพราะการแก้รธน. นำ ม. 291 มาใช้ได้เลย โดยให้สมาชิกรัฐสภาเป็นคนแก้ วันนี้รัฐบาลต้องจริงใจรับฟังความคิดเห็นและยึด 3 แนวทางไปปฎิบัติคือ ไม่ทำเพื่อตัวเอง ไม่ทำเพื่อผลประโยชน์ของพรรคการเมือง และทำให้เกิดประโยชน์กับประชาชนผู้เสียภาษีมากที่สุด ซึ่งตนพร้อมสนับสนุนให้มีการแก้ไขรธน. แต่ต้องทำให้มีประสิทธิภาพ ปราศจากอคติอย่างใดอย่างหนึ่ง
**บ้านเมืองป่วนเพราะนักการเมือง
น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว. กทม. อภิปรายว่า หากไม่แก้ไขรธน. นักการเมืองก็จะป่วนไปเรื่อย หากแก้ไขได้ผลประโยชน์การเมืองก็จะเลิกป่วน และกฎหมายอื่นๆ ที่มาจากการปฏิวัติไม่เห็นแก้ไขปัญหา ส่วนข้ออ้างที่ว่าต้องแก้ไขรธน. 50 เพราะมาจากการรัฐประหารนั้น ฟังไม่ขึ้น เพราะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีกฎหมายที่ออกโดยคณะปฏิวัติ และยังมีผลบังคับใช้อยู่จนถึงปัจจุบันประมาณ 500 กว่าฉบับ โดยไม่มีรัฐบาลไหนมาแก้ไข จึงตั้งคำถามว่า คำว่า สมานฉันท์ ปรองดอง เป็นไปเพราะนักการเมืองหรือไม่ และการแก้ไขรธน. 6 ประเด็น เกิดจากนักการเมืองเสียประโยชน์ ขณะที่หมวด 3 และหมวด 5 เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน ที่มีปัญหาอยู่ไม่เห็นรัฐบาลหรือนักการเมืองให้ความสนใจ อย่างเรื่องเงินกู้ เรื่องมาบตาพุต ไม่เห็นรัฐบาลแตะ ที่รัฐบาลไม่ต้องการแตะ เพราะเป็นผลประโยชน์ของพรรคร่วมรัฐบาล ใช่หรือไม่ เพราะนักการเมืองเห็นว่า จัดสรรงบไม่ลงตัว ทุกอย่างก็เจรจากันได้ เสถียรภาพเกิดขึ้น โดยไม่คิดว่าจะสร้างเสถียรภาพโดยประชาชน มีรองนายกฯ คนหนึ่งให้สัมภาษณ์ ในกรณีที่ดินอัลไพน์ เหมือนคิดว่าตัวเองยังเป็นฝ่ายค้านอยู่ แล้วบอกว่าให้หยุดวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้เหมือนกับเป็นการออกมาเกี้ยเซียะกัน เมื่อมาเป็นรัฐบาลแล้วก็หยุดการตรวจสอบ ไม่เห็นมีใครขึ้นมาเป็นรัฐบาลแล้วมาแก้ปัญหา แต่มาเจรจาเรื่องผลประโยชน์กัน รัฐบาลควรพิจารณาใหม่ เป็นความหวังให้กับประชาชน โดยการสร้างเสถียรภาพ โดยการดำเนินการเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนและบ้านเมือง ตนเห็นว่า 6 ประเด็นที่จะแก้ไขนั้น ทำเพื่อตัวเองทั้งสิ้น ไม่เห็นประเด็นไหนที่ประชาชนจะได้ประโยชน์
**ฝ่ายค้าน-พรรคร่วมฯสมานฉันท์แก้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการอภิปรายทั่วไปในช่วงบ่าย เป็นไปอย่างจืดชืด สมาชิกต่างอภิปรายสนับสนุนในการแก้ไขรธน. ใน 6ประเด็นของคณะกรรมการสมานฉันท์ โดย ส.ส.ฝ่ายค้านสนับสนุนให้มีการแก้ไขรธน. และกล่าวโจมตีการปฏิวัติยึดอำนาจว่า เป็นต้นเหตุทำให้เกิดวิกฤติบ้านเมือง และไม่เห็นด้วยกับรธน. 50 ที่สร้างความอ่อนแอให้กับฝ่ายการเมือง
ขณะที่ส.ส.จากพรรคร่วมรัฐบาลเองก็อภิปรายสนับสนุนการแก้ไขรธน. เช่นกัน เช่น นายรณฤทธิ์ชัย คานเขต ส.ส.ยโสธร พรรคเพื่อแผ่นดิน อภิปรายว่า เราเห็นความบกพร่องหลายมาตราก่อนการลงประชามติ แต่ได้รับการขอร้องจากหน่วยราชการ พร้อมสนับสนุนสมควรให้แก้ไข มาตรา190 การทำหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา เพราะทำให้ประเทศเสียหาย ไม่สามารถดำเนินการพัฒนาประเทศได้ทันการณ์ อีกทั้งสนับสนุนมาตรา 94 ให้แก้ไขระบบเลือกตั้ง กลับไปใช้ระบบเขตเลือกตั้ง เพราะเขตใหญ่ไม่สามารถดูแลแก้ปัญหาได้ทั่วถึง และ แก้ไขมาตรา 266 ประเด็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนของ ส.ส. และ ส.ว.
นายสมชัย ฉัตรพัฒนศิริ ส.ส.นครราชสีมา พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ได้อภิปรายสนับสนุนรายงานของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เสนอว่าอยากให้มีการนำผลการศึกษาไปดำเนินการให้เป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง และไม่อยากให้ปล่อยให้เกิดปัญหาความขัดแย้งเช่นนี้อีกต่อไป เพราะข้อเสนอขอคณะกรรมการฯ ล้วนเป็นเรื่องที่ดีๆ ทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ ส.ว. บางส่วนได้เสนอให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยเฉพาะมาตรา 190 ที่เกี่ยวโยงกับกรณีเขาพระวิหารอยู่ในขณะนี้ ที่ไม่ควรจะให้มีการแก้ไข แต่รัฐบาลควรจะแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่ให้ปฏิบัติได้
ทั้งนี้ เหตุผลส่วนใหญ่ที่สมาชิกสนับสนุนการแก้รธน. คือ ระบุว่าที่มาของรัฐธรรมนูญไม่ได้มาจากประชาธิปไตย และเห็นด้วยที่จะต้องมีการแก้ไขปรับปรุงหลายมาตราก่อนทันที โดยไม่จำเป็นต้องตั้ง ส.ส.ร.3 ขึ้นมา เพื่อยื้อเวลาอีก โดยเฉพาะมาตราที่เกี่ยวข้องกับโทษยุบพรรคการเมือง ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดความไม่เป็นธรรมทางการเมือง พร้อมทั้งเรียกร้องความจริงใจจากรัฐบาล ในการดำเนินการดังกล่าว
**"ลิ่วล้อแม้ว" ชี้แก้รธน.เรื่องเพ้อฝัน
นายประเกียรติ นาสิมมา ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การแก้รธน. เป็นเรื่องเพ้อฝัน ทั้งๆที่ไม่ทราบว่าจะแก้ไขได้หรือไม่ได้กันแน่ อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่าหากมีการแก้ไข ควรแก้ทุกมาตรา ซึ่งตนไม่ได้มองแค่ 6 ประเด็น ตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เสนอ
ทั้งนี้ตนเห็นว่ารัฐบาลพยายามยื้อดึงเกมให้มีการตั้ง ส.ส.ร.3 ขึ้นมาเพื่อต่ออายุของรัฐบาลให้นานขึ้น สุดท้ายก็จะไม่มีการแก้ไขอะไร หากรัฐบาลยอมแก้ไขฝ่ายค้านก็พร้อมจะเดินตาม เพราะเราไม่ใช่เด็กดื้ออยู่แล้ว ตนเห็นว่ารธน.ฉบับนี้ ลดทอนพระราชอำนาจ เพราะก่อนหน้านี้ ส.ว.จะต้องได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่ส.ว.ชุดนี้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้รับรอง
นายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย กล่าวเสริมว่า รธน. ฉบับนี้จะรัดคอรัฐบาลเองโดยในเร็วๆนี้ จะได้เห็นกันอย่างชัดเจนว่า รัดคอรัฐบาลอย่างไร เพราะขณะนี้ฝ่ายค้านได้มีการรวบรวมข้อมูล หลักฐานและเอกสารการทุจริตคอร์รัปชั่น ของรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งรับรองว่าสนุกและตื่นเต้นกว่าการทุจริตโครงการชุมชนพอเพียงอย่างแน่นอน เพราะเป็นโครงการที่ได้รับการอนุมัติเห็นชอบจากที่ประชุมครม. ซึ่งล้วนเป็นโครงการเมกะโปรเจกต์ จะได้รู้ว่ากฎหมายรัดคอรัฐบาลป็นอย่างไร
**"เทือก"ให้รอผลสรุปการอภิปราย
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวก่อนการประชุมว่า จากการประชุมพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่ามี 2 ประเด็นที่ต้องการให้แก้ไขคือ คือ เรื่องของมาตรา 190 และเรื่องของเขตเลือกตั้ง ที่เห็นว่าพรรคต่างๆ เห็นพ้องต้องกัน ก็สามารถแก้ไขได้ ทำไปก่อน ส่วนประเด็นที่เหลือต้องให้ประชาชนร่วมตัดสินใจ ฉะนั้นอาจมีการทำกระบวนการที่ให้ประชาชนร่วมตัดสินใจ เช่น ทำประชามติ ก็ต้องกำหนดกัน ซึ่งในการอภิปราย 2 วัน สมาชิกรัฐสภา ก็จะกำหนด และเสนอแนวทางในการปฏิบัติ
ส่วนที่นายบัญญัติ บรรทัดฐาน สมาชิกสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ มีความเห็นในทางคัดค้านการแก้ไขรธน.นั้น ไม่จริง เป็นข่าวคลาดเคลื่อน
ก่อนที่สมาชิกจะอภิปรายนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงถึงสาเหตุการเปิดอภิปรายว่า การแก้ปัญหาต่างๆ รัฐบาลต้องทำพร้อมๆกัน แม้มีความขัดแย้งในข้อกฎหมายหลายคดี ซึ่งตนกำชับเสมอว่าการบังคับต้องเป็นธรรม
ทั้งนี้ การแก้ไขรธน.มีการวิพากษ์วิจารณ์มาตลอด จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อศึกษา และเมื่อได้ผลสรุปออกมา ก็ได้หารือกับประธานรัฐสภา เปิดอภิปรายทั่วไป ตามมาตรา 179 เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกรัฐสภาได้ใช้โอกาสนี้รับฟัง สอบถาม จากคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ พร้อมกับแสดงความคิดเห็น เพื่อให้เป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาต่อไป
นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี ในฐานะประธานคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ กล่าวชี้แจงว่า คณะกรรมการฯ ตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาด้านการเมืองที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศไทยช่วงเวลานั้น คือ ความแตกแยกเป็นภาค และครอบครัว สามี ภรรยาใส่เสื้อคนละสี ลูกเต้าทะเลาะกัน ซึ่งตนให้แนวคิดในการทำงานกับคณะกรรมการฯ ทั้ง 39 คนว่าต้องเปลี่ยนความคิดของแต่ละฝ่าย ว่าประเทศเป็นของเรา ให้ถอยหลังคนละ1-2 ก้าว โดยเอาประเทศเป็นตัวตั้งนอกจากนี้ยังให้หลักการทำงานกับ 3 อนุกรรมการฯ ที่ตั้งขึ้นว่า"หากความเป็นธรรมไม่มี ความสามัคคีจะเกิดขึ้นไม่ได้"
นอกจากนี้ คณะกรรมการฯได้เปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนทั้งการเปิดเว็บไซต์ การเปิดตู้ ป.ณ.789 ทำหนังสือถึงพรรคการเมืองทุกพรรค และมหาวิทยาลัยทั่วประเทศกว่า 100 แห่ง และจัดการประชุมวิชาการหลายครั้ง โดยให้แนวทาง 3 ประเด็น คือ 1. สร้างแนวทางสมานฉันท์ 2. ปฏิรูปการเมือง และ 3. ศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้ผลสรุปของแนวทางการสร้างสมานฉันท์ของคณะอนุกรรมการฯจำนวน 3 ข้อ คือ 1. ลดวิวาทะ อคติ และการตอบโต้ใส่ร้ายทางการเมือง 2. รัฐบาลและฝ่ายค้านควรลดเงื่อนไขความขัดแย้งที่มีอยู่เดิม และไม่สร้างเงื่อนไขใหม่ที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งเพิ่มขึ้น และ 3. อาศัยสื่อมวลชนในการสร้างสังคมสมานฉันท์
ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้เสนอรายงานต่อประธานรัฐสภาและนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 ก.ค. และวันนี้ ครบ 2 เดือนพอดี ที่ได้มีการประชุมรัฐสภา เปิดอภิปรายร่วมกัน ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้างความสมานฉันท์ ดังนั้น จึงอยากให้รัฐบาลรับ 3 แนวทางที่คณะอนุกรรมการฯเสนอไปปฏิบัติ เพราะเชื่อว่าจะลดความขัดแย้งได้
สำหรับการแก้ไขรธน. ในเบื้องต้น คณะกรรมการฯได้เสนอ แก้ไขใน 6 ประเด็น และระยะยาวได้เสนอให้ตั้ง สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เพื่อศึกษาแก้ไขรธน.ปี 2550 ใหม่ทั้งฉบับ
"ถ้าประเทศเราปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย รธน.ก็ต้องมาด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่มาจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นคนทำ วันนี้เราต้องเริ่มต้นสมานฉันท์ ถ้าไม่เริ่มทำ ผมทายได้เลยว่า ประเทศชาติเราจะประสบปัญหารุนแรง อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนเลย"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ ที่เห็นว่าควรแก้ไขรธน. รวม 6 ประเด็น ได้แก่ 1. มาตรา 237 ประเด็นการยุบพรรคการเมืองและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมการบริหารพรรค 2. มาตรา 93-98 ประเด็นที่มาของ ส.ส. 3. มาตรา 111-121 ประเด็นที่มาของ ส.ว. 4. มาตรา 190 ประเด็นการทำหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา 5. มาตรา 265 ประเด็นการดำรงตำแหน่งทางการเมืองของ ส.ส. และ 6. มาตรา 266 ประเด็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนของ ส.ส. และส.ว.
จากนั้นสมาชิกรัฐสภาได้เริ่มอภิปราย โดยส่วนใหญ่ แสดงความเห็นด้วยกับข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ แต่ขอให้รัฐบาลจริงใจ ที่จะทำตามอย่ายื้อเวลา ขณะที่บางส่วนเห็นว่า แม้จะมีการแก้ไขรธน.ไปแล้ว แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ ตราบใดที่ฝ่ายการเมือง ผู้บริหารประเทศยังยึดถือผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว
**อัดนายกฯ ตั้งส.ส.ร.3 หวังยื้อ
นายไชยา พรหมมา ส.ส.หนองบัวลำภู พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นอภิปรายเป็นคนแรกระบุว่า ความสมานฉันท์ ในประเทศไม่ได้อยู่ที่รายงานฉบับนี้ แต่ขึ้นอยู่ที่นายกรัฐมนตรี อย่าให้เขาว่าซื้อเวลาด้วยการตั้ง ส.ส.ร.3 แก้รธน. เพราะการแก้รธน. นำ ม. 291 มาใช้ได้เลย โดยให้สมาชิกรัฐสภาเป็นคนแก้ วันนี้รัฐบาลต้องจริงใจรับฟังความคิดเห็นและยึด 3 แนวทางไปปฎิบัติคือ ไม่ทำเพื่อตัวเอง ไม่ทำเพื่อผลประโยชน์ของพรรคการเมือง และทำให้เกิดประโยชน์กับประชาชนผู้เสียภาษีมากที่สุด ซึ่งตนพร้อมสนับสนุนให้มีการแก้ไขรธน. แต่ต้องทำให้มีประสิทธิภาพ ปราศจากอคติอย่างใดอย่างหนึ่ง
**บ้านเมืองป่วนเพราะนักการเมือง
น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว. กทม. อภิปรายว่า หากไม่แก้ไขรธน. นักการเมืองก็จะป่วนไปเรื่อย หากแก้ไขได้ผลประโยชน์การเมืองก็จะเลิกป่วน และกฎหมายอื่นๆ ที่มาจากการปฏิวัติไม่เห็นแก้ไขปัญหา ส่วนข้ออ้างที่ว่าต้องแก้ไขรธน. 50 เพราะมาจากการรัฐประหารนั้น ฟังไม่ขึ้น เพราะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีกฎหมายที่ออกโดยคณะปฏิวัติ และยังมีผลบังคับใช้อยู่จนถึงปัจจุบันประมาณ 500 กว่าฉบับ โดยไม่มีรัฐบาลไหนมาแก้ไข จึงตั้งคำถามว่า คำว่า สมานฉันท์ ปรองดอง เป็นไปเพราะนักการเมืองหรือไม่ และการแก้ไขรธน. 6 ประเด็น เกิดจากนักการเมืองเสียประโยชน์ ขณะที่หมวด 3 และหมวด 5 เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน ที่มีปัญหาอยู่ไม่เห็นรัฐบาลหรือนักการเมืองให้ความสนใจ อย่างเรื่องเงินกู้ เรื่องมาบตาพุต ไม่เห็นรัฐบาลแตะ ที่รัฐบาลไม่ต้องการแตะ เพราะเป็นผลประโยชน์ของพรรคร่วมรัฐบาล ใช่หรือไม่ เพราะนักการเมืองเห็นว่า จัดสรรงบไม่ลงตัว ทุกอย่างก็เจรจากันได้ เสถียรภาพเกิดขึ้น โดยไม่คิดว่าจะสร้างเสถียรภาพโดยประชาชน มีรองนายกฯ คนหนึ่งให้สัมภาษณ์ ในกรณีที่ดินอัลไพน์ เหมือนคิดว่าตัวเองยังเป็นฝ่ายค้านอยู่ แล้วบอกว่าให้หยุดวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้เหมือนกับเป็นการออกมาเกี้ยเซียะกัน เมื่อมาเป็นรัฐบาลแล้วก็หยุดการตรวจสอบ ไม่เห็นมีใครขึ้นมาเป็นรัฐบาลแล้วมาแก้ปัญหา แต่มาเจรจาเรื่องผลประโยชน์กัน รัฐบาลควรพิจารณาใหม่ เป็นความหวังให้กับประชาชน โดยการสร้างเสถียรภาพ โดยการดำเนินการเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนและบ้านเมือง ตนเห็นว่า 6 ประเด็นที่จะแก้ไขนั้น ทำเพื่อตัวเองทั้งสิ้น ไม่เห็นประเด็นไหนที่ประชาชนจะได้ประโยชน์
**ฝ่ายค้าน-พรรคร่วมฯสมานฉันท์แก้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการอภิปรายทั่วไปในช่วงบ่าย เป็นไปอย่างจืดชืด สมาชิกต่างอภิปรายสนับสนุนในการแก้ไขรธน. ใน 6ประเด็นของคณะกรรมการสมานฉันท์ โดย ส.ส.ฝ่ายค้านสนับสนุนให้มีการแก้ไขรธน. และกล่าวโจมตีการปฏิวัติยึดอำนาจว่า เป็นต้นเหตุทำให้เกิดวิกฤติบ้านเมือง และไม่เห็นด้วยกับรธน. 50 ที่สร้างความอ่อนแอให้กับฝ่ายการเมือง
ขณะที่ส.ส.จากพรรคร่วมรัฐบาลเองก็อภิปรายสนับสนุนการแก้ไขรธน. เช่นกัน เช่น นายรณฤทธิ์ชัย คานเขต ส.ส.ยโสธร พรรคเพื่อแผ่นดิน อภิปรายว่า เราเห็นความบกพร่องหลายมาตราก่อนการลงประชามติ แต่ได้รับการขอร้องจากหน่วยราชการ พร้อมสนับสนุนสมควรให้แก้ไข มาตรา190 การทำหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา เพราะทำให้ประเทศเสียหาย ไม่สามารถดำเนินการพัฒนาประเทศได้ทันการณ์ อีกทั้งสนับสนุนมาตรา 94 ให้แก้ไขระบบเลือกตั้ง กลับไปใช้ระบบเขตเลือกตั้ง เพราะเขตใหญ่ไม่สามารถดูแลแก้ปัญหาได้ทั่วถึง และ แก้ไขมาตรา 266 ประเด็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนของ ส.ส. และ ส.ว.
นายสมชัย ฉัตรพัฒนศิริ ส.ส.นครราชสีมา พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ได้อภิปรายสนับสนุนรายงานของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เสนอว่าอยากให้มีการนำผลการศึกษาไปดำเนินการให้เป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง และไม่อยากให้ปล่อยให้เกิดปัญหาความขัดแย้งเช่นนี้อีกต่อไป เพราะข้อเสนอขอคณะกรรมการฯ ล้วนเป็นเรื่องที่ดีๆ ทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ ส.ว. บางส่วนได้เสนอให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยเฉพาะมาตรา 190 ที่เกี่ยวโยงกับกรณีเขาพระวิหารอยู่ในขณะนี้ ที่ไม่ควรจะให้มีการแก้ไข แต่รัฐบาลควรจะแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่ให้ปฏิบัติได้
ทั้งนี้ เหตุผลส่วนใหญ่ที่สมาชิกสนับสนุนการแก้รธน. คือ ระบุว่าที่มาของรัฐธรรมนูญไม่ได้มาจากประชาธิปไตย และเห็นด้วยที่จะต้องมีการแก้ไขปรับปรุงหลายมาตราก่อนทันที โดยไม่จำเป็นต้องตั้ง ส.ส.ร.3 ขึ้นมา เพื่อยื้อเวลาอีก โดยเฉพาะมาตราที่เกี่ยวข้องกับโทษยุบพรรคการเมือง ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดความไม่เป็นธรรมทางการเมือง พร้อมทั้งเรียกร้องความจริงใจจากรัฐบาล ในการดำเนินการดังกล่าว
**"ลิ่วล้อแม้ว" ชี้แก้รธน.เรื่องเพ้อฝัน
นายประเกียรติ นาสิมมา ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การแก้รธน. เป็นเรื่องเพ้อฝัน ทั้งๆที่ไม่ทราบว่าจะแก้ไขได้หรือไม่ได้กันแน่ อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่าหากมีการแก้ไข ควรแก้ทุกมาตรา ซึ่งตนไม่ได้มองแค่ 6 ประเด็น ตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เสนอ
ทั้งนี้ตนเห็นว่ารัฐบาลพยายามยื้อดึงเกมให้มีการตั้ง ส.ส.ร.3 ขึ้นมาเพื่อต่ออายุของรัฐบาลให้นานขึ้น สุดท้ายก็จะไม่มีการแก้ไขอะไร หากรัฐบาลยอมแก้ไขฝ่ายค้านก็พร้อมจะเดินตาม เพราะเราไม่ใช่เด็กดื้ออยู่แล้ว ตนเห็นว่ารธน.ฉบับนี้ ลดทอนพระราชอำนาจ เพราะก่อนหน้านี้ ส.ว.จะต้องได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่ส.ว.ชุดนี้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้รับรอง
นายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย กล่าวเสริมว่า รธน. ฉบับนี้จะรัดคอรัฐบาลเองโดยในเร็วๆนี้ จะได้เห็นกันอย่างชัดเจนว่า รัดคอรัฐบาลอย่างไร เพราะขณะนี้ฝ่ายค้านได้มีการรวบรวมข้อมูล หลักฐานและเอกสารการทุจริตคอร์รัปชั่น ของรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งรับรองว่าสนุกและตื่นเต้นกว่าการทุจริตโครงการชุมชนพอเพียงอย่างแน่นอน เพราะเป็นโครงการที่ได้รับการอนุมัติเห็นชอบจากที่ประชุมครม. ซึ่งล้วนเป็นโครงการเมกะโปรเจกต์ จะได้รู้ว่ากฎหมายรัดคอรัฐบาลป็นอย่างไร
**"เทือก"ให้รอผลสรุปการอภิปราย
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวก่อนการประชุมว่า จากการประชุมพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่ามี 2 ประเด็นที่ต้องการให้แก้ไขคือ คือ เรื่องของมาตรา 190 และเรื่องของเขตเลือกตั้ง ที่เห็นว่าพรรคต่างๆ เห็นพ้องต้องกัน ก็สามารถแก้ไขได้ ทำไปก่อน ส่วนประเด็นที่เหลือต้องให้ประชาชนร่วมตัดสินใจ ฉะนั้นอาจมีการทำกระบวนการที่ให้ประชาชนร่วมตัดสินใจ เช่น ทำประชามติ ก็ต้องกำหนดกัน ซึ่งในการอภิปราย 2 วัน สมาชิกรัฐสภา ก็จะกำหนด และเสนอแนวทางในการปฏิบัติ
ส่วนที่นายบัญญัติ บรรทัดฐาน สมาชิกสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ มีความเห็นในทางคัดค้านการแก้ไขรธน.นั้น ไม่จริง เป็นข่าวคลาดเคลื่อน