ASTV ผู้จัดการรายวัน - นักวิชาการ ติงหากรัฐบาลเดินหน้าออกใบอนุญาตอุ้ม 55 โครงการมาบตาพุด จะขัดรัฐธรรมนูญ 50 แน่นอน แนะให้ ครม.ใช้อำนาจออกกฎเกณฑ์ในแง่ของกฎหมายอย่างเป็นกลาง และถูกต้อง เพื่อลดปัญหาผลกระทบต่อประชาชน “มาร์ค” แทงกั๊ก แบะท่าเปิดช่องลงทุนเพิ่ม อ้างกระทบกระเทือนมาก
วานนี้ (13 ก.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “เชิ่อมั่นประเทศไทย กับนายกฯ อภิสิทธิ์” ถึงการเตรียมทำความเข้าใจเรื่องการลงทุนในพื้นที่มาบตาพุด จ.ระยอง กับภาคประชาชนว่า ถ้าพูดถึงเรื่องของการที่ใครที่มีความไม่เข้าใจอะไรอยากจะมาพูดคุย หรือความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน เกี่ยวกับเรื่องของพื้นที่บริเวณมาบตาพุด ก็สามารถเสนอมาได้ ที่ผ่านมาก็มีพี่น้องประชาชน มีความห่วงใยเกี่ยวกับการอนุญาตที่จะให้ประกอบกิจการในพื้นที่ดังกล่าว และกังวลว่า จะกระทบกับเรื่องของสุขภาพของคนในชุมชน
"เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจ เพราะว่าในอดีตที่ผ่านมาก็เป็นปัญหาในเรื่องนี้อยู่ ผมก็ขอเรียนว่า ได้นัดหมายที่จะพูดคุยกับแกนนำในเรื่องนี้ เพื่ออธิบายครับ เพราะที่จริงแล้วรัฐบาลก็ยืนอยู่บนความพอดีครับ นั่นก็คือว่าจะไปบอกว่าไม่ให้มีการลงทุนเพิ่มเติมเลย คงไม่ได้ เพราะจะกระทบกระเทือนมาก และการลงทุนบางอย่าง ก็จะเป็นการลงทุนเพื่อไปลดปัญหาในเรื่องของสิ่งแวดล้อมด้วย" นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า แต่ถ้ามีการลงทุนอะไรที่กระทบกับสุขภาพความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง ทางรัฐบาลก็ต้องดำเนินการตามกรอบของรัฐธรรมนูญ ตามกรอบของกฎหมายอย่างแน่นอน
ด้านนายบรรเจิด สิงคะเนติ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า การหารือระหว่างรัฐกับภาคประชาชน ในวันที่ 18 ก.ย. นั้น หากผลการหารือเป็นว่า รัฐยังเดินหน้าออกใบอนุญาตให้กับภาคอุตสาหกรรมขยายการลงทุน ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดทั้ง 55 โครงการ ก็ถือว่าเป็นการขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 67 แน่นอน
ทั้งนี้ นายบรรเจิด เห็นว่ารัฐจะต้องดำเนินการจำแนกโครงการในนิคมอุตสาหกรรมาบตาพุด ที่เข้ามาตรา 67 (2) หรือไม่ และจำแนกว่าโครงการใดจะกระทบกับประชาชนรุนแรงหรือไม่ก่อน เพราะถ้ากระทบอย่างรุนแรง จะเข้ามาตรา 67 (2) เพราะฝ่ายวิชาการ และภาคอุตสาหกรรมก็ประเมินไม่ตรงกัน ซึ่งฝ่ายวิชาการก็ประเมินว่า ผลกระทบด้านสุขภาพมีความรุนแรงมากกว่า 5 พันตัน ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมก็ประเมินว่ามีความรุนแรงเพียง 50 ตัน ขณะที่บางเกณฑ์ที่ประเมิน ก็ยังมีปัญหาในด้านความเป็นกลาง
"ทางออกนั้น เห็นว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ควรจะใช้อำนาจออกกฎเกณฑ์ในแง่ของกฎหมายอย่างเป็นกลาง ถูกต้อง โดยดำเนินการจำแนกผลกระทบความรุนแรงที่จะเกิดกับประชาชนให้มีความชัดเจน เพราะความรุนแรงที่เกิดกับประชาชนไม่ได้เกิดเฉพาะที่มาบตาพุด ยังมีปัญหาที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ หรือกรณีของเหมืองโปรแตช" นายบรรเจิดกล่าว
อย่างไรก็ตาม หลังจากวันที่ 18 ก.ย. ที่จะมีการหารือระหว่างรัฐกับภาคประชาชน ผลจะออกมาอย่างไร รัฐบาลก็จะตองมีความชัดเจน โดยเฉพาะหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพตาม มาตรา 25 (5) ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 เพื่อเป็นแนวทางในการประเมินผลด้านสุขภาพ ซึ่งจะต้องเอามาตกลงกันของทั้งรัฐ และภาคประชาชน เพื่อลดความรุนแรงที่จะต้องทำตามกฎหมายเป็นหลัก นอกจากนี้ ระเบียบต่างๆ ที่รัฐจะออกมานั้น ก็สามารถทำได้หากมีการลดความรุนแรงที่กระทบต่อประชาชน
รายงานข่าวแจ้งว่า ในวันที่ 18 ก.ย.นี้ นายอภิสิทธิ์ จะพูดคุยหารือในรายละเอียดของโครงการที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน โดนระบุว่าจะขอศึกษาในแต่ละโครงการ เพราะเชื่อว่าไม่ใช่ทุกโครงการจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของชาวบ้าน
วานนี้ (13 ก.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “เชิ่อมั่นประเทศไทย กับนายกฯ อภิสิทธิ์” ถึงการเตรียมทำความเข้าใจเรื่องการลงทุนในพื้นที่มาบตาพุด จ.ระยอง กับภาคประชาชนว่า ถ้าพูดถึงเรื่องของการที่ใครที่มีความไม่เข้าใจอะไรอยากจะมาพูดคุย หรือความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน เกี่ยวกับเรื่องของพื้นที่บริเวณมาบตาพุด ก็สามารถเสนอมาได้ ที่ผ่านมาก็มีพี่น้องประชาชน มีความห่วงใยเกี่ยวกับการอนุญาตที่จะให้ประกอบกิจการในพื้นที่ดังกล่าว และกังวลว่า จะกระทบกับเรื่องของสุขภาพของคนในชุมชน
"เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจ เพราะว่าในอดีตที่ผ่านมาก็เป็นปัญหาในเรื่องนี้อยู่ ผมก็ขอเรียนว่า ได้นัดหมายที่จะพูดคุยกับแกนนำในเรื่องนี้ เพื่ออธิบายครับ เพราะที่จริงแล้วรัฐบาลก็ยืนอยู่บนความพอดีครับ นั่นก็คือว่าจะไปบอกว่าไม่ให้มีการลงทุนเพิ่มเติมเลย คงไม่ได้ เพราะจะกระทบกระเทือนมาก และการลงทุนบางอย่าง ก็จะเป็นการลงทุนเพื่อไปลดปัญหาในเรื่องของสิ่งแวดล้อมด้วย" นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า แต่ถ้ามีการลงทุนอะไรที่กระทบกับสุขภาพความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง ทางรัฐบาลก็ต้องดำเนินการตามกรอบของรัฐธรรมนูญ ตามกรอบของกฎหมายอย่างแน่นอน
ด้านนายบรรเจิด สิงคะเนติ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า การหารือระหว่างรัฐกับภาคประชาชน ในวันที่ 18 ก.ย. นั้น หากผลการหารือเป็นว่า รัฐยังเดินหน้าออกใบอนุญาตให้กับภาคอุตสาหกรรมขยายการลงทุน ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดทั้ง 55 โครงการ ก็ถือว่าเป็นการขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 67 แน่นอน
ทั้งนี้ นายบรรเจิด เห็นว่ารัฐจะต้องดำเนินการจำแนกโครงการในนิคมอุตสาหกรรมาบตาพุด ที่เข้ามาตรา 67 (2) หรือไม่ และจำแนกว่าโครงการใดจะกระทบกับประชาชนรุนแรงหรือไม่ก่อน เพราะถ้ากระทบอย่างรุนแรง จะเข้ามาตรา 67 (2) เพราะฝ่ายวิชาการ และภาคอุตสาหกรรมก็ประเมินไม่ตรงกัน ซึ่งฝ่ายวิชาการก็ประเมินว่า ผลกระทบด้านสุขภาพมีความรุนแรงมากกว่า 5 พันตัน ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมก็ประเมินว่ามีความรุนแรงเพียง 50 ตัน ขณะที่บางเกณฑ์ที่ประเมิน ก็ยังมีปัญหาในด้านความเป็นกลาง
"ทางออกนั้น เห็นว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ควรจะใช้อำนาจออกกฎเกณฑ์ในแง่ของกฎหมายอย่างเป็นกลาง ถูกต้อง โดยดำเนินการจำแนกผลกระทบความรุนแรงที่จะเกิดกับประชาชนให้มีความชัดเจน เพราะความรุนแรงที่เกิดกับประชาชนไม่ได้เกิดเฉพาะที่มาบตาพุด ยังมีปัญหาที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ หรือกรณีของเหมืองโปรแตช" นายบรรเจิดกล่าว
อย่างไรก็ตาม หลังจากวันที่ 18 ก.ย. ที่จะมีการหารือระหว่างรัฐกับภาคประชาชน ผลจะออกมาอย่างไร รัฐบาลก็จะตองมีความชัดเจน โดยเฉพาะหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพตาม มาตรา 25 (5) ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 เพื่อเป็นแนวทางในการประเมินผลด้านสุขภาพ ซึ่งจะต้องเอามาตกลงกันของทั้งรัฐ และภาคประชาชน เพื่อลดความรุนแรงที่จะต้องทำตามกฎหมายเป็นหลัก นอกจากนี้ ระเบียบต่างๆ ที่รัฐจะออกมานั้น ก็สามารถทำได้หากมีการลดความรุนแรงที่กระทบต่อประชาชน
รายงานข่าวแจ้งว่า ในวันที่ 18 ก.ย.นี้ นายอภิสิทธิ์ จะพูดคุยหารือในรายละเอียดของโครงการที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน โดนระบุว่าจะขอศึกษาในแต่ละโครงการ เพราะเชื่อว่าไม่ใช่ทุกโครงการจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของชาวบ้าน