ASTVผู้จัดการรายวัน- "พัชรวาท" ชิงลาออก หลังนายกฯสั่งเด้งเข้ากรุได้ไม่กี่ชั่วโมง อ้างอยากไปพักผ่อน และให้คนอื่นมาทำหน้าที่แทน พร้อมส่งลูกน้องโต้ ป.ป.ช.อัดชี้มูลผิดวินัยร้ายแรง กระทบความเชื่อมั่นของประชาชน และขวัญกำลังใจ ตร.ทุกระดับ ด้าน “อำนวย” เคืองแทนนาย เหน็บ ป.ป.ช.ให้เขียนกติกาแผนปฏิบัติเหตุสลายม็อบ ตร.จะได้ทำถูกต้อง
หลังจากที่นายกฯได้เซ็นคำสั่งให้พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ มาปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี ปรากฏว่า ในช่วงเวลา 17.10 ของวานนี้ (9 ก.ย.) พล.ต.อ.พัชรวาท ได้เดินออกจากลิฟท์ สตช. พร้อมกับ พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ พล.ต.อ.วิโรจน์ พหลเวชช์ รอง ผบ.ตร. พล.ต.ท.สุวัฒน์ จันทร์อิทธิกุล พล.ต.ท.อดุลย์ แสงสิงห์แก้ว ผช.ผบ.ตร. และนายตำรวจประจำสำนักงาน ซึ่งลงมาส่งขึ้นรถ และทันทีที่เห็นกองทัพผู้สื่อข่าวจำนวนมากดักรออยู่ พล.ต.อ.พัชรวาท ก็ยิ้มแย้มและกล่าวทักทายอย่างเป็นกันเอง
พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวว่า ได้รับทราบคำสั่งช่วยราชการจากนายกฯแล้ว ก็ยอมรับโดยดี หากถามว่าถูกกลั่นแกล้งหรือไม่นั้น ไม่อยากให้คิดกันไปต่างๆ นาๆ อยากให้คิดกันในทางบวกมากกว่า เพราะความจริงตลอดชีวิตอายุราชการมายาวนาน จนมานั่งตำแหน่งเป็น ผบ.ตร.ปีกว่า ได้ทำงานในหน้าที่อย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ รวมถึงผู้ใต้บังคับบัญชา ในสังกัด สตช.ที่ทำหน้าที่กันมาภายใต้ ความยุ่งยากของสังคมที่มีข้อจำกัด อยากฝากไว้ว่า การทำงานต่อไปของเจ้าหน้าที่ ตำรวจที่ยังอยู่ในหน้าที่ ให้ทุกคนทำงานด้วยความตั้งใจองค์กรเราต้องอยู่เมื่อตน ไปแล้วคนใหม่ก็มา อยากให้ช่วยกันดูแลสถาบันพระมหากษัติย์ ประชาชนและบ้านเมือง
" ผมขอขอบคุณตำรวจทุกท่านที่ร่วมมือร่วมใจทำงานกันกว่าปีกว่า สำหรับตัวผมเองนั้นเห็นว่าทำงานมาพอสมควรแก่เวลาแล้ว เหลืออีกเพียง 21 วันเท่านั้น อยากพักผ่อนบ้าง เมื่อผมไปคนอื่นก็มาใหม่ สานต่องานที่ทำอยู่คงไม่มีปัญหาอะไร คิดว่า การลาออกของผมเองวันนี้ น่าจะทำให้ท่านนายกฯ ทำงานไปได้ด้วยดี เพราะเป็นความตั้งใจของผมเองไม่มีปัญหาแต่อย่างใด และผมได้ส่งหนังสือลาออกไปถึง ท่านรองนายกฯ สุเทพ เทือกสุบรรณ แล้วในฐานะประธาน กตร. เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา "อดีตผบ.ตร.กล่าว
---ยันสู้คดีตามกฎหมายทุกข้อหา
ผู้สื่อข่าวถามว่าเหตุใดจึงไม่มีการชี้แจงหรือต่อสู้ทางคดีในข้อกฎหมาย พล.ต.อ. พัชรวาท กล่าวว่า อย่าไปพูดอย่างนั้น เราเป็นข้าราชการตำรวจเป็นข้าราชการประจำมีหน้าที่รับใช้รัฐบาล ดูแลสถาบันพระมหากษัตริย์ ดูแลประชาชนและประเทศชาติ ให้มีความสงบเรียบร้อย อย่าไปคิดอะไรมาก คิดเสียว่าไปพักผ่อนก่อนเกษียณ นับว่า เป็นสิ่งดีกับตัวเอง ส่วนข้อกล่าวหาที่มีการกล่าวหาในหลายกรณีนั้น ก็ไม่เป็นไร ให้เขาสอบสวนกันไป ตามขั้นตอนกระบวนการซึ่งเป็นขั้นตอนของเขา ตนเชื่อมั่นว่า การทำงานที่ผ่านมาตรงไปตรงมาโปร่งใสไม่มีเรื่องทุจริตเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างแน่นอน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนที่ พล.ต.อ.พัชรวาท จะเดินทางขึ้นรถยนต์กลับไป ได้กล่าวทิ้งท้ายกับบรรดาสื่อมวลชนด้วยท่าทีขบขันว่า ผมเริ่มประวัติศาสตร์ใหม่ถูกไล่ซ้ำ(ช่วยราชการ) ถึง 2 ครั้งด้วยกัน
---"ป๊อด"โยนบาปพันธมิตรต้นเหตุสั่งเร่งคดี
อย่างไรก็ตามในช่วงเช้า เวลา 10.00 น. ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.สุรพล ทวนทอง รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) และพล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น. แถลงกรณีป.ป.ช. ชี้มูลความผิดต่อ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.และ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีต ผบช.น. โดย พล.ต.ต.สุรพล ได้นำประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติมาอ่าน มีข้อความระบุว่า
ตามที่ ป.ป.ช.ได้แถลงข่าวการประชุมเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2552 เรื่องกล่าวหา นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกับพวก กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีสั่งการให้มีการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 โดยมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สรุปว่า พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ เมื่อเกิดเหตุการณ์สลายการชุมนุมในช่วงเช้าทราบข่าวการบาดเจ็บ ฯลฯ หลายราย แต่กลับเพิกเฉยไม่สั่งการให้หยุดยั้งการกระทำหรือยอมให้กระทำการอันเป็นการเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายต่อประชาชน เป็นการไม่รับผิดชอบต่อตำแหน่งหน้าที่ของตนเองที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตของประชาชนโดยมิได้ยับยั้งการกระทำที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชน ตามวิสัยของข้าราชการตำรวจที่มีหน้าที่พิทักษ์สันติราษฎร์จนเกิดความเสียหาย การกระทำหรือละเว้นการกระทำของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จึงมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานกระทำการอันได้เชื่อว่า เป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง และฐานละเว้นการกระทำใดๆ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 79(5) (6) และมีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
**อ้างปชช.ขาดความเชื่อมั่นตำรวจ**
พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ เห็นว่าข่าวดังกล่าว อาจกระทบต่อความเชื่อมั่นของพี่น้องประชาชน ในอันที่จะได้รับการบริการในการรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง ตลอดจนขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ของเพื่อนข้าราชการตำรวจ ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงให้นำเรียนพี่น้องสื่อมวลชนเพื่อประกาศให้พี่น้องประชาชนตลอดจนเพื่อนข้าราชการตำรวจทุกนายได้ทราบ ดังนี้
1.พี่น้องประชาชนย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธตามรัฐธรรมนูญ 2.เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนายมีหน้าที่ต้องคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของพี่น้องประชาชนให้พ้นจากการล่วงละเมิด และต้องอำนวยความยุติธรรมแก่พี่น้องประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน 3.เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนายต้องดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรมและทั่วถึง 4.เจ้าหน้าที่ตำรวจมีหน้าที่ในการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายโดยการกระทำพอสมควรแก่เหตุ ในอันที่จะต้องดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนและสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้พ้นภยันตรายที่ใกล้จะถึงซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
5.ขอให้พี่น้องประชาชนชาวไทยทุกคนมั่นใจว่า “ข้าราชการตำรวจทุกนายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ” 6.ขอให้เพื่อนข้าราชการตำรวจทุกนายเข้าใจว่าการชี้มูลของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ตามที่ได้แถลงข่าวเป็นการดำเนินการของคณะกรรมการในองค์กรอิสระ ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ จึงขอให้เพื่อนข้าราชการตำรวจทุกนายมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายต่อไป
**แค้นพันธมิตรต้นเหตุสั่งเร่งคดี**
7.สำหรับการดำเนินคดีของกลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งกระทำผิดกฎหมายเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาตินั้น พล.ต.อ.พัชรวาท ให้นำเรียนเพิ่มเติมว่า เป็นกรณีเดียวกันกับเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.แถลงข่าวการชี้มูลกรณีการสลายการชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ดังกล่าวข้างต้น แต่ในการพิจารณาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มิได้พิจารณาเฉพาะกรณีของเหตุการณ์ในการชุมนุมที่เกิดขึ้นในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 แต่ได้สอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานที่ยืนยันพฤติการณ์การกระทำของกลุ่มผู้ชุมนุมมาตั้งแต่การเริ่มชุมนุมเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2551 ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงเป็นที่ประจักษ์ว่าการชุมนุมของกลุ่ม ผู้ชุมนุมมิได้เป็นการชุมนุมที่สงบและปราศจากอาวุธตามรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด
โดยก่อนหน้าวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ได้มีการยึดสถานที่ราชการหลายแห่ง รวมทั้งทำเนียบรัฐบาลและยังมีการกระทำในหลายประการตลอดระยะเวลาการชุมนุมที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งการกระทำที่ผิดกฎหมายต่างๆได้กระทำอย่างต่อเนื่องตลอดมาจนถึงวันที่ 7 ตุลาคม 2551 จึงมีการดำเนินคดีกับกลุ่มผู้กระทำผิดตามสำนวนการสอบสวนคดีอาญา สถานีตำรวจนครบาลดุสิตที่ 395/2551 ในความผิดฐาน “ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ (ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 มาตรา 215 และมาตรา 309 ในการสอบสวนมีการสอบสวนผู้กล่าวหาถึง 31 คนซึ่งรวมทั้ง พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ที่เป็นผู้กล่าวหาในคดี แต่ถูกชี้มูลว่ากระทำความผิดทั้งทางอาญาและทางวินัยด้วย
นอกจากนี้พนักงานสอบสวนต้องรวบรวมพยานบุคคล พยานเอกสาร และพยานทางนิติวิทยาศาสตร์อีกเป็นจำนวนมาก คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อเสนอสำนักงานตำรวจแห่งชาติในฐานะผู้สั่งตั้งคณะพนักงานสอบสวนพิจารณาสั่งคดีเสนอพนักงานอัยการพิจารณา ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะพิจารณาสำนวนการสอบสวนนี้โดยให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกรายตามหลักนิติธรรม และยืนยันว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ดำเนินคดีกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่กระทำผิดกฎหมายในมาตรฐานเดียวกันมาโดยตลอด
**เย้ย ป.ป.ช.ตั้งกติกาสลายม็อบ**
ด้าน พล.ต.ต.อำนวย กล่าวว่า ตนจะตอบคำถามเมื่อสักครู่ด้วย อีกทั้งตนและท่านรองสุรพลอยู่ในเหตุการณ์ด้วย ในวันที่ 7 ต.ค.ติดตามเหตุการณ์ตลอดเวลา รอความเห็น ป.ป.ช.จนกระทั่งวันนี้ ถ้าจะถามตนว่าเห็นด้วยกับมติของป.ป.ช.หรือไม่ตนคงไม่ตอบขอให้มันอยู่ในใจ จะไม่พูดย้อนไปถึงเรื่องที่ ป.ป.ช.ชี้มูล ผบ.ตร.และอดีต ผบช.น.มีส่วนผิด แต่จะพูดไปถึงอนาคตว่าตำรวจจะทำอะไรอย่างไร ต่อไป ป.ป.ช.คงไม่มีหน้าที่ที่ 2 คือ ให้คำแนะนำ เสนอแนะให้กรอบการปฏิบัติ แนวมาตรฐานว่าควรจะเป็นอย่างนี้แล้วจะไม่ทุจริต หน้าที่ 1 และ 2 ไม่ได้แตกต่างกันเลย มีน้ำหนักพอๆ กัน ป.ป.ช.มีหน้าที่ต้องแนะนำหน่วยงานของรัฐให้ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องด้วย หากในอนาคตจะใกล้หรือไกล มีกลุ่มผู้ชุมนุมมาชุมนุมปิดล้อมสถานที่ราชการ ปิดล้อมทำเนียบรัฐบาลหรือไปปิดล้อมป.ป.ช.เอง จะถามว่า ป.ป.ช.จะให้ตำรวจทำได้แค่ไหน เพราะขณะนี้บ้านเรายังไม่มีกฎหมายควบคุมหรือจัดระเบียบการชุมนุม จำเป็นจะต้องเขียนกรอบการปฏิบัติที่ชัดเจน ตำรวจจะได้ไม่กล้าทำ
หลังจากที่นายกฯได้เซ็นคำสั่งให้พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ มาปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี ปรากฏว่า ในช่วงเวลา 17.10 ของวานนี้ (9 ก.ย.) พล.ต.อ.พัชรวาท ได้เดินออกจากลิฟท์ สตช. พร้อมกับ พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ พล.ต.อ.วิโรจน์ พหลเวชช์ รอง ผบ.ตร. พล.ต.ท.สุวัฒน์ จันทร์อิทธิกุล พล.ต.ท.อดุลย์ แสงสิงห์แก้ว ผช.ผบ.ตร. และนายตำรวจประจำสำนักงาน ซึ่งลงมาส่งขึ้นรถ และทันทีที่เห็นกองทัพผู้สื่อข่าวจำนวนมากดักรออยู่ พล.ต.อ.พัชรวาท ก็ยิ้มแย้มและกล่าวทักทายอย่างเป็นกันเอง
พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวว่า ได้รับทราบคำสั่งช่วยราชการจากนายกฯแล้ว ก็ยอมรับโดยดี หากถามว่าถูกกลั่นแกล้งหรือไม่นั้น ไม่อยากให้คิดกันไปต่างๆ นาๆ อยากให้คิดกันในทางบวกมากกว่า เพราะความจริงตลอดชีวิตอายุราชการมายาวนาน จนมานั่งตำแหน่งเป็น ผบ.ตร.ปีกว่า ได้ทำงานในหน้าที่อย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ รวมถึงผู้ใต้บังคับบัญชา ในสังกัด สตช.ที่ทำหน้าที่กันมาภายใต้ ความยุ่งยากของสังคมที่มีข้อจำกัด อยากฝากไว้ว่า การทำงานต่อไปของเจ้าหน้าที่ ตำรวจที่ยังอยู่ในหน้าที่ ให้ทุกคนทำงานด้วยความตั้งใจองค์กรเราต้องอยู่เมื่อตน ไปแล้วคนใหม่ก็มา อยากให้ช่วยกันดูแลสถาบันพระมหากษัติย์ ประชาชนและบ้านเมือง
" ผมขอขอบคุณตำรวจทุกท่านที่ร่วมมือร่วมใจทำงานกันกว่าปีกว่า สำหรับตัวผมเองนั้นเห็นว่าทำงานมาพอสมควรแก่เวลาแล้ว เหลืออีกเพียง 21 วันเท่านั้น อยากพักผ่อนบ้าง เมื่อผมไปคนอื่นก็มาใหม่ สานต่องานที่ทำอยู่คงไม่มีปัญหาอะไร คิดว่า การลาออกของผมเองวันนี้ น่าจะทำให้ท่านนายกฯ ทำงานไปได้ด้วยดี เพราะเป็นความตั้งใจของผมเองไม่มีปัญหาแต่อย่างใด และผมได้ส่งหนังสือลาออกไปถึง ท่านรองนายกฯ สุเทพ เทือกสุบรรณ แล้วในฐานะประธาน กตร. เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา "อดีตผบ.ตร.กล่าว
---ยันสู้คดีตามกฎหมายทุกข้อหา
ผู้สื่อข่าวถามว่าเหตุใดจึงไม่มีการชี้แจงหรือต่อสู้ทางคดีในข้อกฎหมาย พล.ต.อ. พัชรวาท กล่าวว่า อย่าไปพูดอย่างนั้น เราเป็นข้าราชการตำรวจเป็นข้าราชการประจำมีหน้าที่รับใช้รัฐบาล ดูแลสถาบันพระมหากษัตริย์ ดูแลประชาชนและประเทศชาติ ให้มีความสงบเรียบร้อย อย่าไปคิดอะไรมาก คิดเสียว่าไปพักผ่อนก่อนเกษียณ นับว่า เป็นสิ่งดีกับตัวเอง ส่วนข้อกล่าวหาที่มีการกล่าวหาในหลายกรณีนั้น ก็ไม่เป็นไร ให้เขาสอบสวนกันไป ตามขั้นตอนกระบวนการซึ่งเป็นขั้นตอนของเขา ตนเชื่อมั่นว่า การทำงานที่ผ่านมาตรงไปตรงมาโปร่งใสไม่มีเรื่องทุจริตเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างแน่นอน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนที่ พล.ต.อ.พัชรวาท จะเดินทางขึ้นรถยนต์กลับไป ได้กล่าวทิ้งท้ายกับบรรดาสื่อมวลชนด้วยท่าทีขบขันว่า ผมเริ่มประวัติศาสตร์ใหม่ถูกไล่ซ้ำ(ช่วยราชการ) ถึง 2 ครั้งด้วยกัน
---"ป๊อด"โยนบาปพันธมิตรต้นเหตุสั่งเร่งคดี
อย่างไรก็ตามในช่วงเช้า เวลา 10.00 น. ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.สุรพล ทวนทอง รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) และพล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น. แถลงกรณีป.ป.ช. ชี้มูลความผิดต่อ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.และ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีต ผบช.น. โดย พล.ต.ต.สุรพล ได้นำประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติมาอ่าน มีข้อความระบุว่า
ตามที่ ป.ป.ช.ได้แถลงข่าวการประชุมเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2552 เรื่องกล่าวหา นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกับพวก กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีสั่งการให้มีการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 โดยมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สรุปว่า พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ เมื่อเกิดเหตุการณ์สลายการชุมนุมในช่วงเช้าทราบข่าวการบาดเจ็บ ฯลฯ หลายราย แต่กลับเพิกเฉยไม่สั่งการให้หยุดยั้งการกระทำหรือยอมให้กระทำการอันเป็นการเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายต่อประชาชน เป็นการไม่รับผิดชอบต่อตำแหน่งหน้าที่ของตนเองที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตของประชาชนโดยมิได้ยับยั้งการกระทำที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชน ตามวิสัยของข้าราชการตำรวจที่มีหน้าที่พิทักษ์สันติราษฎร์จนเกิดความเสียหาย การกระทำหรือละเว้นการกระทำของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จึงมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานกระทำการอันได้เชื่อว่า เป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง และฐานละเว้นการกระทำใดๆ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 79(5) (6) และมีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
**อ้างปชช.ขาดความเชื่อมั่นตำรวจ**
พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ เห็นว่าข่าวดังกล่าว อาจกระทบต่อความเชื่อมั่นของพี่น้องประชาชน ในอันที่จะได้รับการบริการในการรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง ตลอดจนขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ของเพื่อนข้าราชการตำรวจ ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงให้นำเรียนพี่น้องสื่อมวลชนเพื่อประกาศให้พี่น้องประชาชนตลอดจนเพื่อนข้าราชการตำรวจทุกนายได้ทราบ ดังนี้
1.พี่น้องประชาชนย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธตามรัฐธรรมนูญ 2.เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนายมีหน้าที่ต้องคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของพี่น้องประชาชนให้พ้นจากการล่วงละเมิด และต้องอำนวยความยุติธรรมแก่พี่น้องประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน 3.เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนายต้องดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรมและทั่วถึง 4.เจ้าหน้าที่ตำรวจมีหน้าที่ในการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายโดยการกระทำพอสมควรแก่เหตุ ในอันที่จะต้องดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนและสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้พ้นภยันตรายที่ใกล้จะถึงซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
5.ขอให้พี่น้องประชาชนชาวไทยทุกคนมั่นใจว่า “ข้าราชการตำรวจทุกนายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ” 6.ขอให้เพื่อนข้าราชการตำรวจทุกนายเข้าใจว่าการชี้มูลของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ตามที่ได้แถลงข่าวเป็นการดำเนินการของคณะกรรมการในองค์กรอิสระ ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ จึงขอให้เพื่อนข้าราชการตำรวจทุกนายมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายต่อไป
**แค้นพันธมิตรต้นเหตุสั่งเร่งคดี**
7.สำหรับการดำเนินคดีของกลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งกระทำผิดกฎหมายเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาตินั้น พล.ต.อ.พัชรวาท ให้นำเรียนเพิ่มเติมว่า เป็นกรณีเดียวกันกับเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.แถลงข่าวการชี้มูลกรณีการสลายการชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ดังกล่าวข้างต้น แต่ในการพิจารณาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มิได้พิจารณาเฉพาะกรณีของเหตุการณ์ในการชุมนุมที่เกิดขึ้นในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 แต่ได้สอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานที่ยืนยันพฤติการณ์การกระทำของกลุ่มผู้ชุมนุมมาตั้งแต่การเริ่มชุมนุมเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2551 ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงเป็นที่ประจักษ์ว่าการชุมนุมของกลุ่ม ผู้ชุมนุมมิได้เป็นการชุมนุมที่สงบและปราศจากอาวุธตามรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด
โดยก่อนหน้าวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ได้มีการยึดสถานที่ราชการหลายแห่ง รวมทั้งทำเนียบรัฐบาลและยังมีการกระทำในหลายประการตลอดระยะเวลาการชุมนุมที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งการกระทำที่ผิดกฎหมายต่างๆได้กระทำอย่างต่อเนื่องตลอดมาจนถึงวันที่ 7 ตุลาคม 2551 จึงมีการดำเนินคดีกับกลุ่มผู้กระทำผิดตามสำนวนการสอบสวนคดีอาญา สถานีตำรวจนครบาลดุสิตที่ 395/2551 ในความผิดฐาน “ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ (ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 มาตรา 215 และมาตรา 309 ในการสอบสวนมีการสอบสวนผู้กล่าวหาถึง 31 คนซึ่งรวมทั้ง พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ที่เป็นผู้กล่าวหาในคดี แต่ถูกชี้มูลว่ากระทำความผิดทั้งทางอาญาและทางวินัยด้วย
นอกจากนี้พนักงานสอบสวนต้องรวบรวมพยานบุคคล พยานเอกสาร และพยานทางนิติวิทยาศาสตร์อีกเป็นจำนวนมาก คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อเสนอสำนักงานตำรวจแห่งชาติในฐานะผู้สั่งตั้งคณะพนักงานสอบสวนพิจารณาสั่งคดีเสนอพนักงานอัยการพิจารณา ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะพิจารณาสำนวนการสอบสวนนี้โดยให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกรายตามหลักนิติธรรม และยืนยันว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ดำเนินคดีกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่กระทำผิดกฎหมายในมาตรฐานเดียวกันมาโดยตลอด
**เย้ย ป.ป.ช.ตั้งกติกาสลายม็อบ**
ด้าน พล.ต.ต.อำนวย กล่าวว่า ตนจะตอบคำถามเมื่อสักครู่ด้วย อีกทั้งตนและท่านรองสุรพลอยู่ในเหตุการณ์ด้วย ในวันที่ 7 ต.ค.ติดตามเหตุการณ์ตลอดเวลา รอความเห็น ป.ป.ช.จนกระทั่งวันนี้ ถ้าจะถามตนว่าเห็นด้วยกับมติของป.ป.ช.หรือไม่ตนคงไม่ตอบขอให้มันอยู่ในใจ จะไม่พูดย้อนไปถึงเรื่องที่ ป.ป.ช.ชี้มูล ผบ.ตร.และอดีต ผบช.น.มีส่วนผิด แต่จะพูดไปถึงอนาคตว่าตำรวจจะทำอะไรอย่างไร ต่อไป ป.ป.ช.คงไม่มีหน้าที่ที่ 2 คือ ให้คำแนะนำ เสนอแนะให้กรอบการปฏิบัติ แนวมาตรฐานว่าควรจะเป็นอย่างนี้แล้วจะไม่ทุจริต หน้าที่ 1 และ 2 ไม่ได้แตกต่างกันเลย มีน้ำหนักพอๆ กัน ป.ป.ช.มีหน้าที่ต้องแนะนำหน่วยงานของรัฐให้ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องด้วย หากในอนาคตจะใกล้หรือไกล มีกลุ่มผู้ชุมนุมมาชุมนุมปิดล้อมสถานที่ราชการ ปิดล้อมทำเนียบรัฐบาลหรือไปปิดล้อมป.ป.ช.เอง จะถามว่า ป.ป.ช.จะให้ตำรวจทำได้แค่ไหน เพราะขณะนี้บ้านเรายังไม่มีกฎหมายควบคุมหรือจัดระเบียบการชุมนุม จำเป็นจะต้องเขียนกรอบการปฏิบัติที่ชัดเจน ตำรวจจะได้ไม่กล้าทำ