สัปดาห์นี้ที่ “แสงแดด” กำลังปั่นต้นฉบับอยู่ ยังไม่ทราบว่า “การประชุมคณะรัฐมนตรี” จะมีผลและมติ ครม.ออกมาประการใด เกี่ยวกับกรณีของ “การแต่งตั้งข้าราชการระดับสูง” ของกระทรวงต่างๆ โดยเฉพาะตำแหน่ง “ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ-ปลัดกระทรวงพาณิชย์-ปลัดกระทรวงคมนาคม” ตลอดจนตำแหน่งสำคัญอื่นๆ ของกระทรวงและอธิบดีกรมต่างๆ
วันนี้วันพุธ น่าเชื่อว่า “มติ ครม.” กับการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น คงจะ “จบ!” กันเรียบร้อย “โรงเรียนนายกฯ มาร์ค” แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ก็ยังสังหรณ์ใจ และไม่มั่นใจว่าจะจบ อารมณ์มีเพียงร้อยละ 50/50 เท่านั้น “แต่ถ้าจบได้ จะเป็นเหตุการณ์ที่ดีมากๆ!”
ตลอดระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา หรืออาจจะมากกว่านั้น ที่โผการแต่งตั้ง “ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ : ผบ.ตร.” มีอันต้องเลื่อนมาโดยตลอด และยังไม่สามารถมีมติแต่งตั้ง ผบ.ตร.ได้ แม้กระทั่งจะได้มีการโหวตกันใน “คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ : กตช.” เมื่อครั้งสุดท้าย ที่ผลคะแนนออกมา 5 ต่อ 4 โดยนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้อยู่ในกลุ่มคะแนนเสียงข้างน้อย
จากผลคะแนนโหวตของ กตช.ในครั้งนั้น ทำให้การเลื่อนพิจารณาได้ถูกเลื่อนมาโดยตลอด เสมือนว่า “ตกลงกันไม่ได้!” โดยเฉพาะท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังคงปักหลักยึดมั่นที่จะเสนอ พล.ต.อ.ประทีป ตันประเสริฐ ขึ้นดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร.ให้จงได้ ส่วนอีกฝั่งหนึ่งสนับสนุน พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย
ข้อมูลได้ค่อนข้าง “ยืนยัน-นอนยัน” ว่า พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย นั้น ยังคงเป็น “ข้อมูลเดิม!” ที่ทั้งท่านเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นิพนธ์ พร้อมพันธุ์ และรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง สุเทพ เทือกสุบรรณ ยังคงยืนยันที่จะสนับสนุน พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย เป็น “ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ”
ในขณะเดียวกัน ทางซีก “พรรคภูมิใจไทย” โดยมีหัวหน้าพรรคและดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีฯ มหาดไทย ชวรัตน์ ชาญวีรกูล พร้อมปลัดกระทรวงมหาดไทยสนับสนุน พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย เช่นเดียวกัน เนื่องด้วย นายอนุทิน ชาญวีรกูล บุตรชายหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ยังคงยืนกรานกับ “ข้อมูลเดิม!”
ถามว่า ตลอดระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมาก ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยพุ่งเป้าไปที่ “นายกรัฐมนตรี” แต่เพียงฝ่ายเดียว ทั้งนี้ต้องขอเรียนอย่างตรงไปตรงมาว่า “เชิงลบทั้งสิ้น” จนคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์แบบ “เสียๆ-หายๆ!” เสมือนเป็น “หมู่บ้านกระสุนตก!”
การวิพากษ์วิจารณ์คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นไปในทำนอง หนึ่ง “แทรกแซง-ล้วงลูก” สอง เริ่มออกอาการ “บ้าอำนาจ!” สาม “เด็กดื้อ-เอาแต่ใจ” สี่ “อ่อนหัด-อ่อนด้อยประสบการณ์” ด้านข้อมูลและการประสานงาน ห้า “อ่อนด้อยด้านวุฒิภาวะ!” ซึ่งล้วนแต่เป็นไปในเชิงลบทั้งสิ้น และข้อสุดท้ายได้มีการกล่าวว่า “หูเบา!” อีกต่างหาก ที่มัวแต่ฟังคนรอบข้าง โดยเฉพาะ “วอลล์เปเปอร์ : ศิริโชค โสภา”
ยิ่งลากยาว ยิ่งก่อให้เกิดผลทางลบแก่รัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จาก “ข้อกล่าวหา” ทั้งหมดข้างต้น นอกเหนือจากนั้น ยังก่อให้เกิดผลลัพธ์ในทางลบกับการมอบหมายงานหรือ “ส่งไม้ต่อ” ให้แก่ผู้ที่จะสืบทอดมาดำรงตำแหน่งต่อไป ตลอดจนผู้ใต้บังคับบัญชาลดหลั่นกันลงไป จนน่าเชื่อว่า ขณะนี้หน่วยงานในส่วนราชการที่สำคัญๆ ยังไม่ลงตัวกับผู้บังคับบัญชาคนใหม่ เกิด “อาการเกียร์ว่าง!”
ความจริงที่หลากหลายฝ่ายต้องยอมรับว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ น่าจะยึดมั่นอยู่กับ “หลัก-ระบบคุณธรรม” ในการพิจารณาตำแหน่งสำคัญ โดยเฉพาะตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่บังเอิญคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อาจไปได้รับข้อมูลจากคนใกล้ชิดถึงกรณี “การวิ่งเต้น” กับตำแหน่งต่างๆ ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ความจริงแล้วก็เป็นเช่นนั้น!
“ฤดูวิ่งเต้น” ทีไรในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่ระดับสารวัตรไปจนถึงตำแหน่งผู้บังคับการระดับพลตำรวจตรีนั้น ล้วนมีการ “ซื้อตำแหน่ง!” ทั้งสิ้น ทั้งๆ ที่มีผู้หลักผู้ใหญ่คอยแบ็กอัพสนับสนุน “เขียนตั๋ว!” ให้ก็ตาม ก็ยังต้อง “ซื้อ-ขายกับตำแหน่งเริ่มต้นที่ 1-3 ล้านบาทไปจนถึงหลักสิบล้าน” แล้วแต่ตำแหน่งที่สูงขึ้นไป
“ระบบส่วย-ระบบรีดไถ” ถึงได้เป็น “วัฒนธรรมตำรวจ” ที่ปิดเท่าไหร่ก็ไม่มิด เพราะเป็นเรื่องจริง และมิได้เพิ่งจะมาเกิดในยุคนี้ แต่เกิดมานมนานกาเลแล้ว!
การที่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องการให้เกิด “ระบบคุณธรรม” ขึ้นใน “วงการสีกากี” จึงเป็นกรณีที่ “เข็นครกขึ้นภูเขา!” เพราะยากมาก และไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน ประกอบกับการแต่งตั้งชั้นตำรวจทั้งสำนักงานในครั้งนี้ จากข้อมูลที่ผู้คนโดยทั่วไปต่างตระหนักและรู้ซึ้งดีว่า มี “หน้าห้อง” ที่คอยรับซอง ที่น่าจะมีมูลค่าสูงถึงหลักหลายพันล้านบาท ที่มีบุคคลระดับวีไอพีหลากหลายสำนัก “เอี่ยวด้วย!” และไม่สำคัญเท่ากับเป็น “การทิ้งทวน!”
ความจริงที่ต้องยอมรับก็คือว่า “ตำรวจไทย” มีพฤติการณ์และพฤติกรรมที่ฝังรากลึกมายาวนาน ในกรณีของ “การวิ่งเต้น-การส่งส่วย” เพราะฉะนั้น ถามว่า ยุคนี้ได้มี “หลักการคุณธรรม” นำมาปรับใช้หรือยัง คำตอบก็คือว่า “ไม่!” เนื่องด้วย “อำนาจเงิน” นั้น “หอมหวาน” อย่างมาก จนผู้บังคับบัญชาสูงสุดในวงการตำรวจต่างเปลี่ยนวิธีคิดและพฤติกรรมจาก “ต้องการคุณธรรม” กลับกลายมาเป็น “ต้องการเงิน!”
“วัฒนธรรมตำรวจ” เป็นอย่างนี้มายาวนาน ยากที่จะปรับปรุง จนกระทั่งความพยายามที่จะให้มีการปรับปรุงโครงสร้างใหม่ ซึ่งในกรณีของโครงสร้างนั้นปรับปรุงได้ไม่ยาก แต่ที่ยากเย็นแสนเข็ญที่สุดคือ “ปรับปรุงวัฒนธรรม” และ “ค่านิยม”
จากข้อมูลที่ได้รับนั้น “การจัดแบ่งโควตา” ของระบบการจัดสรรในวงการตำรวจโผจัดแบ่งเป็น 3 ระดับ กล่าวคือ ระดับ “ผู้บัญชาการภูมิภาคตำรวจทุกภาค” จัดกระจายไปร้อยละ 33.33 ระดับ “ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ : ผบ.ตร.” อีกร้อยละ 33.33 ท้ายสุดคือ ระดับ “การเมือง” อีกร้อยละ 33.33 เรียกว่า “ครบสูตร-ครบ 100” พอดิบพอดี
น่าเชื่อว่า ยังไม่น่าจะจบกับการแต่งตั้งตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติสัปดาห์นี้ หรืออาจจะใช้ระยะเวลาอีกประมาณ 2 สัปดาห์ ซึ่งนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อาจจะไม่สามารถอยู่ร่วมประชุม กตช.ได้ เนื่องด้วยต้องเดินทางไปร่วมประชุม “สมัชชาทั่วไปสหประชาชาติ (United Nation Assembly)” ที่มหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ปลายเดือนกันยายนนี้
ปัญหาของการแต่งตั้งข้าราชการระดับ “ปลัดกระทรวง” อีกประมาณ 2-3 ตำแหน่ง ที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคือตำแหน่ง “ปลัดกระทรวงพาณิชย์-ปลัดกระทรวงคมนาคม” ที่ยังค้างอยู่ในวาระการประชุมของคณะรัฐมนตรี ก็หวังว่า เมื่อบทความนี้ตีพิมพ์กรณีทั้งสองปลัดกระทรวงน่าจะจบกระบวนการเรียบร้อยแล้ว มิฉะนั้น การปฏิบัติงานและการมอบหมายงานสั่งการอาจจะสะดุดบ้างไม่มากก็น้อย
ประเด็นสำคัญสำหรับ “การแต่งตั้ง” ถ้ายังไม่แล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้สัปดาห์หน้า ดังที่กล่าวไว้แล้วข้างต้นว่า “ผู้ที่จะรับภาระหนักมากที่สุดคือ นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในเชิงลบ
เท่านั้นยังไม่พอ “บรรยากาศทางการเมือง” ก็จะ “อึมครึม!” ต่อไป ซึ่งไม่เป็นผลดีทั้งต่อตัวคุณอภิสิทธิ์ เอง และเลยเถิดไปจนถึง “ความเชื่อมั่นศรัทธา” ที่มีต่อประเทศไทย
จากการวิเคราะห์ของหลากหลายสำนักด้านเศรษฐกิจทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศ ต่างกล่าวไปในทิศทางเดียวกันว่า สภาวะเศรษฐกิจของทั้งไทยและโลกดิ่งถึงก้นเหวแล้ว และส่งสัญญาณฟื้นตัวตั้งแต่ปลายปี 2552 นี้ และยืนยันว่าภายในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองของปี 2553 สภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวเป็นบวกแน่นอน
เพียงแต่ความห่วงใยที่มีต่อประเทศนั้นคือ “ปัญหาการเมือง” ที่ติดตามดูแล้ว “ยังไม่นิ่ง!” ซึ่งจะเป็นตัวถ่วงฉุดให้สภาวะเศรษฐกิจจะฟื้นตัวช้า อาจไม่ทันการณ์กับการฟื้นตัวของสภาวะเศรษฐกิจโลก
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญๆ ในหน่วยงานราชการไทยที่เกิดขึ้นอยู่ขณะนี้ ต้องยอมรับว่าเป็น “ปัญหาการเมือง” ไปเรียบร้อยแล้ว และน่าจะส่งผลกระทบต่อ ทั้ง “เสถียรภาพของนายกฯ อภิสิทธิ์” และ “เสถียรภาพรัฐบาล” ด้วยซ้ำไป!
การตั้งข้อสังเกต ตลอดจนวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงลบต่อนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มาโดยตลอดเวลานั้น ก็ต้องขอแสดงความรู้สึกว่า “กังวลใจ” และ “ไม่เป็นธรรม” ต่อตัวคุณอภิสิทธิ์ ตลอดจน “วิธีคิด-วิธีทำงาน” และ “หลักการ” ของคนที่เพียรพยายามยึดมั่นอยู่กับ “ความเป็นหลักการคุณธรรม”
อายุอานามของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพิ่งจะ 45 ปีเท่านั้น อนาคตทางการเมืองยังอีกยาวไกล น่าจะพิจารณาตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง มิควรปล่อยให้ “อึมครึม” และ “ลบ!” เช่นนี้ เนื่องด้วยจะทำให้อนาคตต้องขลุกขลัก!
วันนี้วันพุธ น่าเชื่อว่า “มติ ครม.” กับการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น คงจะ “จบ!” กันเรียบร้อย “โรงเรียนนายกฯ มาร์ค” แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ก็ยังสังหรณ์ใจ และไม่มั่นใจว่าจะจบ อารมณ์มีเพียงร้อยละ 50/50 เท่านั้น “แต่ถ้าจบได้ จะเป็นเหตุการณ์ที่ดีมากๆ!”
ตลอดระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา หรืออาจจะมากกว่านั้น ที่โผการแต่งตั้ง “ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ : ผบ.ตร.” มีอันต้องเลื่อนมาโดยตลอด และยังไม่สามารถมีมติแต่งตั้ง ผบ.ตร.ได้ แม้กระทั่งจะได้มีการโหวตกันใน “คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ : กตช.” เมื่อครั้งสุดท้าย ที่ผลคะแนนออกมา 5 ต่อ 4 โดยนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้อยู่ในกลุ่มคะแนนเสียงข้างน้อย
จากผลคะแนนโหวตของ กตช.ในครั้งนั้น ทำให้การเลื่อนพิจารณาได้ถูกเลื่อนมาโดยตลอด เสมือนว่า “ตกลงกันไม่ได้!” โดยเฉพาะท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังคงปักหลักยึดมั่นที่จะเสนอ พล.ต.อ.ประทีป ตันประเสริฐ ขึ้นดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร.ให้จงได้ ส่วนอีกฝั่งหนึ่งสนับสนุน พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย
ข้อมูลได้ค่อนข้าง “ยืนยัน-นอนยัน” ว่า พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย นั้น ยังคงเป็น “ข้อมูลเดิม!” ที่ทั้งท่านเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นิพนธ์ พร้อมพันธุ์ และรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง สุเทพ เทือกสุบรรณ ยังคงยืนยันที่จะสนับสนุน พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย เป็น “ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ”
ในขณะเดียวกัน ทางซีก “พรรคภูมิใจไทย” โดยมีหัวหน้าพรรคและดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีฯ มหาดไทย ชวรัตน์ ชาญวีรกูล พร้อมปลัดกระทรวงมหาดไทยสนับสนุน พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย เช่นเดียวกัน เนื่องด้วย นายอนุทิน ชาญวีรกูล บุตรชายหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ยังคงยืนกรานกับ “ข้อมูลเดิม!”
ถามว่า ตลอดระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมาก ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยพุ่งเป้าไปที่ “นายกรัฐมนตรี” แต่เพียงฝ่ายเดียว ทั้งนี้ต้องขอเรียนอย่างตรงไปตรงมาว่า “เชิงลบทั้งสิ้น” จนคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์แบบ “เสียๆ-หายๆ!” เสมือนเป็น “หมู่บ้านกระสุนตก!”
การวิพากษ์วิจารณ์คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นไปในทำนอง หนึ่ง “แทรกแซง-ล้วงลูก” สอง เริ่มออกอาการ “บ้าอำนาจ!” สาม “เด็กดื้อ-เอาแต่ใจ” สี่ “อ่อนหัด-อ่อนด้อยประสบการณ์” ด้านข้อมูลและการประสานงาน ห้า “อ่อนด้อยด้านวุฒิภาวะ!” ซึ่งล้วนแต่เป็นไปในเชิงลบทั้งสิ้น และข้อสุดท้ายได้มีการกล่าวว่า “หูเบา!” อีกต่างหาก ที่มัวแต่ฟังคนรอบข้าง โดยเฉพาะ “วอลล์เปเปอร์ : ศิริโชค โสภา”
ยิ่งลากยาว ยิ่งก่อให้เกิดผลทางลบแก่รัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จาก “ข้อกล่าวหา” ทั้งหมดข้างต้น นอกเหนือจากนั้น ยังก่อให้เกิดผลลัพธ์ในทางลบกับการมอบหมายงานหรือ “ส่งไม้ต่อ” ให้แก่ผู้ที่จะสืบทอดมาดำรงตำแหน่งต่อไป ตลอดจนผู้ใต้บังคับบัญชาลดหลั่นกันลงไป จนน่าเชื่อว่า ขณะนี้หน่วยงานในส่วนราชการที่สำคัญๆ ยังไม่ลงตัวกับผู้บังคับบัญชาคนใหม่ เกิด “อาการเกียร์ว่าง!”
ความจริงที่หลากหลายฝ่ายต้องยอมรับว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ น่าจะยึดมั่นอยู่กับ “หลัก-ระบบคุณธรรม” ในการพิจารณาตำแหน่งสำคัญ โดยเฉพาะตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่บังเอิญคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อาจไปได้รับข้อมูลจากคนใกล้ชิดถึงกรณี “การวิ่งเต้น” กับตำแหน่งต่างๆ ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ความจริงแล้วก็เป็นเช่นนั้น!
“ฤดูวิ่งเต้น” ทีไรในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่ระดับสารวัตรไปจนถึงตำแหน่งผู้บังคับการระดับพลตำรวจตรีนั้น ล้วนมีการ “ซื้อตำแหน่ง!” ทั้งสิ้น ทั้งๆ ที่มีผู้หลักผู้ใหญ่คอยแบ็กอัพสนับสนุน “เขียนตั๋ว!” ให้ก็ตาม ก็ยังต้อง “ซื้อ-ขายกับตำแหน่งเริ่มต้นที่ 1-3 ล้านบาทไปจนถึงหลักสิบล้าน” แล้วแต่ตำแหน่งที่สูงขึ้นไป
“ระบบส่วย-ระบบรีดไถ” ถึงได้เป็น “วัฒนธรรมตำรวจ” ที่ปิดเท่าไหร่ก็ไม่มิด เพราะเป็นเรื่องจริง และมิได้เพิ่งจะมาเกิดในยุคนี้ แต่เกิดมานมนานกาเลแล้ว!
การที่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องการให้เกิด “ระบบคุณธรรม” ขึ้นใน “วงการสีกากี” จึงเป็นกรณีที่ “เข็นครกขึ้นภูเขา!” เพราะยากมาก และไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน ประกอบกับการแต่งตั้งชั้นตำรวจทั้งสำนักงานในครั้งนี้ จากข้อมูลที่ผู้คนโดยทั่วไปต่างตระหนักและรู้ซึ้งดีว่า มี “หน้าห้อง” ที่คอยรับซอง ที่น่าจะมีมูลค่าสูงถึงหลักหลายพันล้านบาท ที่มีบุคคลระดับวีไอพีหลากหลายสำนัก “เอี่ยวด้วย!” และไม่สำคัญเท่ากับเป็น “การทิ้งทวน!”
ความจริงที่ต้องยอมรับก็คือว่า “ตำรวจไทย” มีพฤติการณ์และพฤติกรรมที่ฝังรากลึกมายาวนาน ในกรณีของ “การวิ่งเต้น-การส่งส่วย” เพราะฉะนั้น ถามว่า ยุคนี้ได้มี “หลักการคุณธรรม” นำมาปรับใช้หรือยัง คำตอบก็คือว่า “ไม่!” เนื่องด้วย “อำนาจเงิน” นั้น “หอมหวาน” อย่างมาก จนผู้บังคับบัญชาสูงสุดในวงการตำรวจต่างเปลี่ยนวิธีคิดและพฤติกรรมจาก “ต้องการคุณธรรม” กลับกลายมาเป็น “ต้องการเงิน!”
“วัฒนธรรมตำรวจ” เป็นอย่างนี้มายาวนาน ยากที่จะปรับปรุง จนกระทั่งความพยายามที่จะให้มีการปรับปรุงโครงสร้างใหม่ ซึ่งในกรณีของโครงสร้างนั้นปรับปรุงได้ไม่ยาก แต่ที่ยากเย็นแสนเข็ญที่สุดคือ “ปรับปรุงวัฒนธรรม” และ “ค่านิยม”
จากข้อมูลที่ได้รับนั้น “การจัดแบ่งโควตา” ของระบบการจัดสรรในวงการตำรวจโผจัดแบ่งเป็น 3 ระดับ กล่าวคือ ระดับ “ผู้บัญชาการภูมิภาคตำรวจทุกภาค” จัดกระจายไปร้อยละ 33.33 ระดับ “ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ : ผบ.ตร.” อีกร้อยละ 33.33 ท้ายสุดคือ ระดับ “การเมือง” อีกร้อยละ 33.33 เรียกว่า “ครบสูตร-ครบ 100” พอดิบพอดี
น่าเชื่อว่า ยังไม่น่าจะจบกับการแต่งตั้งตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติสัปดาห์นี้ หรืออาจจะใช้ระยะเวลาอีกประมาณ 2 สัปดาห์ ซึ่งนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อาจจะไม่สามารถอยู่ร่วมประชุม กตช.ได้ เนื่องด้วยต้องเดินทางไปร่วมประชุม “สมัชชาทั่วไปสหประชาชาติ (United Nation Assembly)” ที่มหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ปลายเดือนกันยายนนี้
ปัญหาของการแต่งตั้งข้าราชการระดับ “ปลัดกระทรวง” อีกประมาณ 2-3 ตำแหน่ง ที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคือตำแหน่ง “ปลัดกระทรวงพาณิชย์-ปลัดกระทรวงคมนาคม” ที่ยังค้างอยู่ในวาระการประชุมของคณะรัฐมนตรี ก็หวังว่า เมื่อบทความนี้ตีพิมพ์กรณีทั้งสองปลัดกระทรวงน่าจะจบกระบวนการเรียบร้อยแล้ว มิฉะนั้น การปฏิบัติงานและการมอบหมายงานสั่งการอาจจะสะดุดบ้างไม่มากก็น้อย
ประเด็นสำคัญสำหรับ “การแต่งตั้ง” ถ้ายังไม่แล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้สัปดาห์หน้า ดังที่กล่าวไว้แล้วข้างต้นว่า “ผู้ที่จะรับภาระหนักมากที่สุดคือ นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในเชิงลบ
เท่านั้นยังไม่พอ “บรรยากาศทางการเมือง” ก็จะ “อึมครึม!” ต่อไป ซึ่งไม่เป็นผลดีทั้งต่อตัวคุณอภิสิทธิ์ เอง และเลยเถิดไปจนถึง “ความเชื่อมั่นศรัทธา” ที่มีต่อประเทศไทย
จากการวิเคราะห์ของหลากหลายสำนักด้านเศรษฐกิจทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศ ต่างกล่าวไปในทิศทางเดียวกันว่า สภาวะเศรษฐกิจของทั้งไทยและโลกดิ่งถึงก้นเหวแล้ว และส่งสัญญาณฟื้นตัวตั้งแต่ปลายปี 2552 นี้ และยืนยันว่าภายในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองของปี 2553 สภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวเป็นบวกแน่นอน
เพียงแต่ความห่วงใยที่มีต่อประเทศนั้นคือ “ปัญหาการเมือง” ที่ติดตามดูแล้ว “ยังไม่นิ่ง!” ซึ่งจะเป็นตัวถ่วงฉุดให้สภาวะเศรษฐกิจจะฟื้นตัวช้า อาจไม่ทันการณ์กับการฟื้นตัวของสภาวะเศรษฐกิจโลก
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญๆ ในหน่วยงานราชการไทยที่เกิดขึ้นอยู่ขณะนี้ ต้องยอมรับว่าเป็น “ปัญหาการเมือง” ไปเรียบร้อยแล้ว และน่าจะส่งผลกระทบต่อ ทั้ง “เสถียรภาพของนายกฯ อภิสิทธิ์” และ “เสถียรภาพรัฐบาล” ด้วยซ้ำไป!
การตั้งข้อสังเกต ตลอดจนวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงลบต่อนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มาโดยตลอดเวลานั้น ก็ต้องขอแสดงความรู้สึกว่า “กังวลใจ” และ “ไม่เป็นธรรม” ต่อตัวคุณอภิสิทธิ์ ตลอดจน “วิธีคิด-วิธีทำงาน” และ “หลักการ” ของคนที่เพียรพยายามยึดมั่นอยู่กับ “ความเป็นหลักการคุณธรรม”
อายุอานามของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพิ่งจะ 45 ปีเท่านั้น อนาคตทางการเมืองยังอีกยาวไกล น่าจะพิจารณาตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง มิควรปล่อยให้ “อึมครึม” และ “ลบ!” เช่นนี้ เนื่องด้วยจะทำให้อนาคตต้องขลุกขลัก!