ASTV ผู้จัดการรายวัน - “เทพเทือก” หนุน “พัชรวาท” ทำโผเล็ก อ้างเพื่อให้ทันประกาศใช้โครงสร้างใหม่ 7 ก.ย.นี้ โบ้ยปลัดสำนักนายกฯ อุ้ม “ป๊อด” ทุจริตงบประชาสัมพันธ์ ปัด “มาร์ค” วางแผนเด้ง ผบ.ตร. ด้านเด็กปุระชัยเลิกขวางหากนายกฯ เสนอตั้ง “ปทีป” เป็น ผบ.ตร.คนใหม่ ส่วน กก.สอบซื้อ-ขายตำแหน่ง เล็งขอขยายเวลาอีก 15 วัน
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ให้สัมภาษณ์ถึง กรณีที่ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.จะพิจารณาแต่งตั้งนายตำรวจระดับรอง ผู้บังคับการลงมาว่า ก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว เพราะการแต่งตั้งโยกย้ายนายตำรวจ ตามโครงสร้างใหม่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ควรจะดำเนินการให้เสร็จตั้งแต่วันที่ 16 ส.ค.ที่ผ่านมา แต่เมื่อมีอุปสรรคเกิดขึ้นจึงต้องเร่งทำให้เสร็จโดยเร็ว ซึ่งการโยกย้ายนั้นแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับนายพลที่จะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ระดับพันตำรวจเอกเป็นพลตำรวจตรี จำนวน 10 นาย นอกนั้นจะเป็นการเกลี่ยตำแหน่ง ในส่วนของสำนักผู้บัญชาการตำรวจ รองผู้บัญชาการตำรวจ ตามโครงสร้างใหม่ ซึ่งมีประมาณ 142 นาย โยการพิจารณาจะต้องผ่านที่ประชุมของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ที่ตนเป็นประธาน ซึ่งจากการประชุมกันมาหลายครั้ง ที่ประชุม ก.ตร.ก็ยืนยันตามบัญชีรายชื่อที่เคยมีการเสนอมา ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
สำหรับบัญชีแต่งตั้งโยกย้ายนายตำรวจระดับล่างนั้น ตั้งแต่รองผู้บังคับการลงมาจนถึงระดับสารวัตรนั้น ก.ตร.มีมติให้ ผบ.ตร.ร่วมกับรอง ผบ.ตร.ทุกคน รวมทั้งจเรตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการพิจารณา โดยประเด็นสำคัญคือการแต่งตั้งโยกย้ายตามโครงสร้างใหม่ อาจมีนายตำรวจบางคนที่ต้องได้รับการแต่งตั้งเพื่อไปบรรจุลงในโครงสร้างใหม่ ซึ่งอาจไม่ตรงตามกฎที่ ก.ตร.ระบุ เช่น ไม่ได้สังกัดหน่วยงานนั้นๆ ในช่วงเวลาที่ระเบียบกำหนดไว้ เพราะมีการเกลี่ยตำแหน่ง มาจากที่อื่น ซึ่ง ก.ตร.เห็นว่าเพื่อให้การแต่งตั้งโยกย้ายเป็นไปด้วยความเป็นธรรม ผู้ที่จะถูกเสนอชื่อบรรจุแต่งตั้งใหม่ โดยยกเว้นกฎของ ก.ตร.จะต้องเสนอรายชื่อขึ้นมา ขออนุมัติเป็นรายๆ ไป ซึ่งตนเห็นว่าไม่มีอะไรที่น่าตื่นเต้น ถือเป็นเรื่องปกติถ้าทำตามที่ ก.ตร.กำหนด ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย
ส่วนโผดังกล่าวจะเรียบร้อยได้เมื่อใดนั้นขึ้นอยู่กับ ผบ.ตร. และคณะต้องไปประชุมหารือกันให้ลงตัว จากนั้นก็ดำเนินการได้ทันที ซึ่งจากการประชุม ก.ตร.ครั้งสุดท้าย ที่ประชุมมีมติให้ประสานงานเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 7 ก.ย.นี้ ดังนั้นบัญชีแต่งตั้งโยกย้ายทั้งหมดก็ต้องเสนอขึ้นมาก่อน โดยก่อนวันที่ 7 ก.ย.นี้ต้องสามารถบรรจุแต่งตั้งได้ในระดับนายพล เพราะไม่เช่นนั้นก็ต้องทำเป็น ตำแหน่งรักษาการ ซึ่งค่อนข้างจะยุ่งยาก ที่ต้องเร่งทำให้เสร็จก่อนวันดังกล่าว เพราะช่วงเดือน ก.ย.จะต้องมีการจัดทำบัญชีแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างลง หลังการเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 ก.ย.
โบ้ยปลัดสำนักนายกฯ อุ้ม “พัชรวาท”
ส่วนกรณีที่มีข่าวว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เตรียมตั้งคณะกรรมการสอบ พล.ต.อ.พัชรวาท เพื่อใช้เป็นข้ออ้างในการย้ายมาช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรีนั้น นายสุเทพกล่าวว่า เรื่องนี้ตนเป็นคนเสนอเอง แต่ขอชี้แจงว่า เรื่องนี้สืบเนื่องมาเป็นเวลาค่อนข้างยาว ซึ่งที่ต้องดำเนินการเพราะมีคนร้องเรียน กล่าวโทษ พล.ต.อ.พัชรวาท และเจ้าหน้าที่ตำรวจรายอื่นว่า พล.ต.อ.พัชรวาท ไม่ดำเนินการตามขั้นตอน กฎกติกา กรณีการว่าจ้างทำประชาสัมพันธ์ วงเงินประมาณ 17 ล้านบาทของ สตช. ซึ่งเรื่องนี้ถูกร้องเรียนมาตั้งแต่รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช จนมาถึงรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และจนมาถึงตอนที่นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย เป็นผู้รักษาการนายกรัฐมนตรี ซึ่งในความเห็นของรัฐบาล นายสมชายนั้น ได้สั่งการค้างเอาไว้ว่าให้ไปดำเนินการสอบสวน
นายสุเทพกล่าวว่า ในฐานะที่ตนเข้ามากำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ในรัฐบาลชุดนี้ และจะเข้าไปดำเนินการต่อ แต่ยังไม่แน่ใจ ในคำสั่งของนายสมชาย ซึ่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เสนอความเห็นว่ากรณีดังกล่าว หลังจากได้ตรวจสอบเอกสารการร้องเรียน และเอกสารต่างๆ แล้ว เห็นว่า ไม่เป็นเรื่องที่สามารถจะกล่าวหาได้จึงสมควรให้ยุติ แต่ตนได้นำเรื่องไปปรึกษา ผู้รู้ทางด้านกฎหมาย เช่น อัยการสูงสุด ก็ได้รับความเห็นว่า ควรตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ซึ่งจากความเห็นที่แตกต่างกันนี้ ตนจึงได้หารือไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา และได้รับคำตอบว่าสามารถทำได้ 2 เรื่อง คือ 1. ให้ตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง ตามมาตรา 84 ของ พ.ร.บ.ตำรวจ จากนั้นเมื่อได้ข้อสรุปแล้วจึงใช้ดุลยพินิจตัดสินว่าจะทำอย่างไรต่อไป เช่น ดำเนินการทางวินัย หรือสั่งยุติเรื่อง 2. ตนสามารถใช้ดุลยพินิจในการสั่งยุติเรื่องทันทีเลยก็ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า อำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการฯนี้ ไม่เกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีใช่หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ใช่ เรื่องนี้เป็นอำนาจของตน แต่เมื่อผู้ร้องเรียน ส่งเรื่องมาถึงนายกรัฐมนตรี ตนจึงต้องทำความเห็นชี้แจง รายงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบว่าเรื่องนี้ควรจะตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้เกิดความกระจ่าง จึงเสนอให้ นายกรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ เมื่อนายกรัฐมนตรีเห็นชอบตนจึงมอบหมาย ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีไปยกร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ ส่วนจะแต่งตั้งได้เมื่อไหร่นั้นขึ้นอยู่กับหนังสือที่ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจะส่งมาให้ตนลงนาม เพราะเรื่องนี้ต้องทำอย่างรอบคอบ เนื่องจากคนที่จะเป็นคณะกรรมการสอบบุคคลระดับ ผบ.ตร.จะต้องมีอาวุโสและตำแหน่งที่สูงกว่า
ไม่รับปากพักราชการ “ป๊อด”
ผู้สื่อข่าวถามว่าระหว่างการสอบสวนจะต้องสั่งพักราชการ ผบ.ตร.ไว้ก่อนหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับผลสอบข้อเท็จจริงว่าจะบ่งชี้ออกมาอย่างไร ถ้ามีแนวโน้ม ว่ามีการปฏิบัติไม่ถูกต้อง ก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย เมื่อถามว่าในคำสั่งสมัย นายสมชายระบุในเรื่องนี้เอาไว้อย่างไร นายสุเทพ กล่าวว่า ให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนและให้ย้ายมาช่วยราชการที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ตนไม่แน่ใจ เพราะถ้าทำเช่นนั้น พล.ต.อ.พัชรวาทจะสามารถฟ้องร้องตนได้ และที่สำคัญคือต้องให้ความ เป็นธรรม โดยทำตามกฎหมายและอย่าล้ำเส้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า การสอบบุคคลที่ยังอยู่ในตำแหน่งจะเป็นปัญหากับคณะกรรมการที่จะเข้ามาสอบสวนหรือไม่ นายสุเทพกล่าวว่า ที่สำคัญคือคณะกรรมการ ต้องไม่ใช่ผู้ใต้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหา เมื่อถามว่าในเมื่อผลสอบยังไม่ชัดเจน แล้วเหตุใดนายชวรัตน์จึงมีคำสั่งให้ พล.ต.อ.พัชรวาท กลับไปทำงานที่ สตช.ได้ นายสุเทพ กล่าวว่า ต้องไปถามนายชวรัตน์เอาเอง ตนยอมรับว่าเรื่องนี้ค่อนข้างชุลมุน ซึ่งถ้าสื่อสงสัย ตนก็พร้อมให้ดูข้อมูล
ส่วนจะชี้แจงกรณีที่หลายฝ่ายวิจารณ์ว่านายกรัฐมนตรีพยายามหาข้ออ้างจะย้ายให้ พล.ต.อ.พัชรวาทมาช่วยราชการได้อย่างไร นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่มี เพราะนายกรัฐมนตรีเป็นนักกฎหมาย และรอบรู้กฎหมายเป็นอย่างดี เชื่อว่าทำทุกอย่าง ตามกติกา ขออย่าให้ทุกฝ่ายเป็นกังวลในเรื่องนี้ เพราะนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ ต้องบริหารบ้านเมือง คงไม่มีหน้าที่ที่จะมาดูข้าราชการคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษ ผู้สื่อข่าวถามว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากความขัดแย้งของอดีต ผบ.ตร. 2 คนใช่หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ตนคิดว่าน่าจะเป็นเช่นนั้น แต่ถ้าพูดไปก็จะถูกเล่นงาน
“วิเชียร” ไม่ขอออกความเห็น
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ที่ปรึกษา (สบ 10) ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นหาก นายกรัฐมนตรี เซ็นคำสั่งให้นั่งรักษาราชการแทน ผบ.ตร.อีกรอบ หาก พล.ต.อ.พัชรวาท ถูกย้ายไปช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี กรณีถูกร้องเรียนว่า มีส่วนเกี่ยวข้องทุจริตโครงการประชาสัมพันธ์ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มูลค่า 18 ล้านบาท พร้อมทั้งเปิดทางให้ พล.ต.อ.วิเชียร โหวตเลือก ผบ.ตร.คนใหม่ ในการประชุม ก.ต.ช. โดย พล.ต.อ.วิเชียร กล่าวเพียงว่า ตนเองยังไม่ทราบ และยังไม่มีคำสั่งใดๆ จากนายกรัฐมนตรีมาถึงตน
เด็กปุระชัยเลิกขวางถ้าเสนอ “ปทีป”
นายนพดล อินนา ผู้ทรงวุฒิด้านพัฒนาองค์กร หนึ่งใน ก.ต.ช. กล่าวว่า ตนเองไม่มีปัญหา หากในการประชุม ก.ต.ช.ครั้งหน้า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะเสนอบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็น ผบ.ตร.คนใหม่ เพียงรายชื่อเดียว หรืออาจเป็นบุคคลเดิม พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจแห่งชาติ เพราะถือเป็นอำนาจตามกฎหมายที่สามารถกระทำได้ ซึ่งก็ต้องรับว่ากรรมการ ก.ต.ช. ส่วนใหญ่ยังอยากได้ข้อมูลที่รอบด้านเพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจคัดเลือกให้ได้บุคคล ที่เหมาะสมที่สุด เพราะการลงมติของ ก.ต.ช.ครั้งนี้ไม่ได้ลงมติเพื่อประโยชน์ของ ก.ต.ช. แต่เป็นการลงมติเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติ ดังนั้น ในส่วนนี้คณะกรรมการ ก.ต.ช.เองก็ต้องใช้ความรอบคอบในการตัดสินใจเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม หากจะนำไปเปรียบเทียบกับกรณีที่ใกล้เคียงกันเช่น การสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัย ก็จะเห็นได้ว่าทางกรรมการสรรหาก็มักจะเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมมากกว่า 1 ชื่อ รวมทั้งจะเปิดโอกาสให้แต่ละคนได้แสดงวิสัยทัศน์ จนเมื่อกรรมการสภามหาวิทยาลัย ได้ซักถามจนเป็นที่น่าพอใจ แล้วจึงได้มีการลงมติเลือกบุคคลที่เหมาะสมที่สุด
ปชป.จวก “ชวรัตน์” เสียมารยาท
นายประมวล เอมเปีย ส.ส.ชลบุรี พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การเสนอชื่อ ผบ.ตร.คนใหม่เข้าสู่ที่ประชุม ก.ตช. เป็นอำนาจโดยชอบของนายกรัฐมนตรี ตาม พ.ร.บ.ตำรวจ มาตรา 51 ที่ระบุว่าเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีในฐานะประธาน ก.ตช.โดยจำแหน่งที่จะเสนอชื่อ ผบ.ตร.เพียงคนเดียว แต่กลับมี กรรมการก.ตช. กลุ่มหนึ่งขอให้มีการเสนอชื่อบุคคลอื่นประกบ ซึ่งไม่สามารรถทำได้หากประธาน ก.ตช.ไม่เห็นด้วย แต่ในวันที่มีการประชุม นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทยและหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลกลับยกมือโหวตสวนค้านการเสนอของ นายกรัฐมนตรีซึ่งถือเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรง
แค่การงดออกเสียงก็ถือว่าเป็นการเสียมารยาททางการเมืองมากอยู่แล้ว สำหรับพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกัน แต่นี่กลับใช้การยกมือโหวตสวนเลยเหมือนต้องการหักหน้ากัน และการที่ผมพูดย้ำจุดนี้เพราะทั้งหมดเป็นข้อเท็จจริง ท่านชวรัตน์คิดหรือไม่ว่าการกระทำของท่านมันส่งผลกระทบอย่างไรต่อภาพลักษณ์ผู้นำประเทศ เพราะต่างชาติที่รับข่าวสารเขาจะมองถึงภาวะการเป็นผู้นำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ว่าท่านมีอำนาจในการบริหารจริงหรือไม่ และที่ผ่านมาพรรคภูมิใจไทย ก็ได้กระทรวงเกรดเอไปแล้วถึง3 กระทรวงคือ กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพาณิชย์ ขอถามว่ายังไม่พออีกหรือ แต่ยังเข้ามาแทรกแซงการทำงานของ พรรคประชาธิปัตย์ของหัวหน้ารัฐบาลอีก
เย้ย “ปู่จิ้น” แค่ทารกทางการเมือง
นายประมวลกล่าวว่า หลังจากตนแสดงความเห็นตามข้อเท็จจริง ปรากฎว่า บรรดาลิ่วล้อลูกหามที่ชอบเอาใจนายต่างออกมาเสนอหน้าตอบโต้ชนิดแบบกระทืบตน ทั้งที่พูดในข้อเท็จจริง แทนที่จะไปเสนอแนะสิ่งที่ดีกับนายชวรัตน์ แม้แต่นายชวรัตน์เองก็บอกว่าว่าตัวเองเป็นผู้ใหญ่ไม่ขอตอบโต้กับ ส.ส.หางแถว ก็อยากจะบอกว่าตนเล่นการเมืองมานานกว่า 20 ปี ผ่านการเป็น ส.จ., ส.ว.และมาเป็น ส.ส. ถ้าพรรษาการเมืองเทียบแล้วตนจบขั้นมหาวิทยาลัย ส่วนนายชวรัตน์ เองแค่เพิ่งคลอด ออกจากท้องแม่เท่านั้นดังนั้นอย่าถือว่าเป็นเศรษฐีมีเงินเป็นหมื่นล้านหรือเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองและเป็น รมว.มหาดไทย แล้วจะมาปิดปาก ส.ส.อย่างตนได้
ถ้านักการเมืองคนใดคิดแต่เรื่องผลประโยชน์ของตนเอง ของกลุ่มและพรรคตัวเองอย่างเดียวโดยไม่คิดถึงประโยชน์ของชาติและส่วนรวมก็อย่ามาคิดปิดปากผมเลย ยิ่งวันนี้ (26 ส.ค.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล และลูกหาบหลายคนต่างออกมาพาดพิงผมพูดไม่รู้เรื่อง ในระดับแกนนำพรรคเขาคุยกันแล้ว ถ้าอยากรู้ก็ให้ไปถามนายสุเทพ หรือนายนิพนธ์ พร้อมพันธ์ ผมก็อยากถาม ไปเช่นกันว่า หลังจากที่ผมออกมาพูดแล้วก็คงจะมีพวกชอบเลียออกมาตอบโต้ตนอีก ทั้งที่ผมพูดความจริง มันน่าอายนักหรือเพราะบอกแล้วว่าคนที่เลือกผมมาเป็นส.ส. คือคนชลบุรี ไม่ใช่คนที่อื่นจึงขอให้กลับไปคิดทบทวนว่า สิ่งที่ผมพูดไปเรื่องมารยาท ทางการเมืองนั้น มันเป็นจริงหรือไม่ เพราะถ้ามีมารยาทจริงเขาไม่ทำกันแบบนี้
ขอขยายสอบซื้อตำแหน่งอีก 15 วัน
วันเดียวกัน ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นายสมศักดิ์ บุญทอง ประธานคณะอนุ ก.ตร. คณะพิเศษตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีซื้อขายตำแหน่ง พร้อมคณะได้ประชุมคณะอนุกรรมการฯโดยได้เรียก พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ผบช.ภ.5 พล.ต.ท.สุรสีห์ สุนทรสารทูร ผบช.ภ.6 พล.ต.ท.ธานี ทวิชศรี ผบช.ภ.9 และ พล.ต.ท.พีระ พุ่มพิเชฎฐ์ ผบช.ศชต.เข้าสอบถามในรายละเอียดต่างๆ ของแต่ละหน่วยงานในการพิจารณาแต่งตั้งบุคลากร
นายสมศักดิ์กล่าวก่อนเข้าประชุมว่า คณะอนุ ก.ตร.เตรียมทำหนังสือเสนอ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ก.ตร. เพื่อขอขยายระยะเวลาการสอบสวน ไปอีก 15 วัน เนื่องจากการสอบสวนที่ผ่านมา มีบุคคลที่ถูกพาดพิง จำนวนมาก จึงต้องมีการเรียกมาสอบเพิ่ม ซึ่งหากการสอบสวนเสร็จสิ้นก็จะรายงานผลให้นายสุเทพทราบ หากพบว่ามีมูลเรื่องการซื้อขายตำแหน่ง ก็จะเสนอให้ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง และหากพบว่ามีบุคคลใดมีความผิดชัดเจนก็ตั้งกรรมการสอบวินัยต่อไป
อย่างไรก็ตาม แม้จะขอขยายเวลาสอบก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อการแต่งตั้งโยกย้าย เพราะหากพบว่ามีความผิด หรือมีการซื้อขายตำแหน่งจริงก็สามารถดำเนินการย้อนหลังได้ ซึ่งต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบว่าที่มีการกล่าวหาว่ามีการซื้อขายตำแหน่ง เรื่องดังกล่าวมีมูลหรือไม่
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ให้สัมภาษณ์ถึง กรณีที่ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.จะพิจารณาแต่งตั้งนายตำรวจระดับรอง ผู้บังคับการลงมาว่า ก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว เพราะการแต่งตั้งโยกย้ายนายตำรวจ ตามโครงสร้างใหม่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ควรจะดำเนินการให้เสร็จตั้งแต่วันที่ 16 ส.ค.ที่ผ่านมา แต่เมื่อมีอุปสรรคเกิดขึ้นจึงต้องเร่งทำให้เสร็จโดยเร็ว ซึ่งการโยกย้ายนั้นแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับนายพลที่จะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ระดับพันตำรวจเอกเป็นพลตำรวจตรี จำนวน 10 นาย นอกนั้นจะเป็นการเกลี่ยตำแหน่ง ในส่วนของสำนักผู้บัญชาการตำรวจ รองผู้บัญชาการตำรวจ ตามโครงสร้างใหม่ ซึ่งมีประมาณ 142 นาย โยการพิจารณาจะต้องผ่านที่ประชุมของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ที่ตนเป็นประธาน ซึ่งจากการประชุมกันมาหลายครั้ง ที่ประชุม ก.ตร.ก็ยืนยันตามบัญชีรายชื่อที่เคยมีการเสนอมา ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
สำหรับบัญชีแต่งตั้งโยกย้ายนายตำรวจระดับล่างนั้น ตั้งแต่รองผู้บังคับการลงมาจนถึงระดับสารวัตรนั้น ก.ตร.มีมติให้ ผบ.ตร.ร่วมกับรอง ผบ.ตร.ทุกคน รวมทั้งจเรตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการพิจารณา โดยประเด็นสำคัญคือการแต่งตั้งโยกย้ายตามโครงสร้างใหม่ อาจมีนายตำรวจบางคนที่ต้องได้รับการแต่งตั้งเพื่อไปบรรจุลงในโครงสร้างใหม่ ซึ่งอาจไม่ตรงตามกฎที่ ก.ตร.ระบุ เช่น ไม่ได้สังกัดหน่วยงานนั้นๆ ในช่วงเวลาที่ระเบียบกำหนดไว้ เพราะมีการเกลี่ยตำแหน่ง มาจากที่อื่น ซึ่ง ก.ตร.เห็นว่าเพื่อให้การแต่งตั้งโยกย้ายเป็นไปด้วยความเป็นธรรม ผู้ที่จะถูกเสนอชื่อบรรจุแต่งตั้งใหม่ โดยยกเว้นกฎของ ก.ตร.จะต้องเสนอรายชื่อขึ้นมา ขออนุมัติเป็นรายๆ ไป ซึ่งตนเห็นว่าไม่มีอะไรที่น่าตื่นเต้น ถือเป็นเรื่องปกติถ้าทำตามที่ ก.ตร.กำหนด ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย
ส่วนโผดังกล่าวจะเรียบร้อยได้เมื่อใดนั้นขึ้นอยู่กับ ผบ.ตร. และคณะต้องไปประชุมหารือกันให้ลงตัว จากนั้นก็ดำเนินการได้ทันที ซึ่งจากการประชุม ก.ตร.ครั้งสุดท้าย ที่ประชุมมีมติให้ประสานงานเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 7 ก.ย.นี้ ดังนั้นบัญชีแต่งตั้งโยกย้ายทั้งหมดก็ต้องเสนอขึ้นมาก่อน โดยก่อนวันที่ 7 ก.ย.นี้ต้องสามารถบรรจุแต่งตั้งได้ในระดับนายพล เพราะไม่เช่นนั้นก็ต้องทำเป็น ตำแหน่งรักษาการ ซึ่งค่อนข้างจะยุ่งยาก ที่ต้องเร่งทำให้เสร็จก่อนวันดังกล่าว เพราะช่วงเดือน ก.ย.จะต้องมีการจัดทำบัญชีแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างลง หลังการเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 ก.ย.
โบ้ยปลัดสำนักนายกฯ อุ้ม “พัชรวาท”
ส่วนกรณีที่มีข่าวว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เตรียมตั้งคณะกรรมการสอบ พล.ต.อ.พัชรวาท เพื่อใช้เป็นข้ออ้างในการย้ายมาช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรีนั้น นายสุเทพกล่าวว่า เรื่องนี้ตนเป็นคนเสนอเอง แต่ขอชี้แจงว่า เรื่องนี้สืบเนื่องมาเป็นเวลาค่อนข้างยาว ซึ่งที่ต้องดำเนินการเพราะมีคนร้องเรียน กล่าวโทษ พล.ต.อ.พัชรวาท และเจ้าหน้าที่ตำรวจรายอื่นว่า พล.ต.อ.พัชรวาท ไม่ดำเนินการตามขั้นตอน กฎกติกา กรณีการว่าจ้างทำประชาสัมพันธ์ วงเงินประมาณ 17 ล้านบาทของ สตช. ซึ่งเรื่องนี้ถูกร้องเรียนมาตั้งแต่รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช จนมาถึงรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และจนมาถึงตอนที่นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย เป็นผู้รักษาการนายกรัฐมนตรี ซึ่งในความเห็นของรัฐบาล นายสมชายนั้น ได้สั่งการค้างเอาไว้ว่าให้ไปดำเนินการสอบสวน
นายสุเทพกล่าวว่า ในฐานะที่ตนเข้ามากำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ในรัฐบาลชุดนี้ และจะเข้าไปดำเนินการต่อ แต่ยังไม่แน่ใจ ในคำสั่งของนายสมชาย ซึ่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เสนอความเห็นว่ากรณีดังกล่าว หลังจากได้ตรวจสอบเอกสารการร้องเรียน และเอกสารต่างๆ แล้ว เห็นว่า ไม่เป็นเรื่องที่สามารถจะกล่าวหาได้จึงสมควรให้ยุติ แต่ตนได้นำเรื่องไปปรึกษา ผู้รู้ทางด้านกฎหมาย เช่น อัยการสูงสุด ก็ได้รับความเห็นว่า ควรตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ซึ่งจากความเห็นที่แตกต่างกันนี้ ตนจึงได้หารือไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา และได้รับคำตอบว่าสามารถทำได้ 2 เรื่อง คือ 1. ให้ตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง ตามมาตรา 84 ของ พ.ร.บ.ตำรวจ จากนั้นเมื่อได้ข้อสรุปแล้วจึงใช้ดุลยพินิจตัดสินว่าจะทำอย่างไรต่อไป เช่น ดำเนินการทางวินัย หรือสั่งยุติเรื่อง 2. ตนสามารถใช้ดุลยพินิจในการสั่งยุติเรื่องทันทีเลยก็ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า อำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการฯนี้ ไม่เกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีใช่หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ใช่ เรื่องนี้เป็นอำนาจของตน แต่เมื่อผู้ร้องเรียน ส่งเรื่องมาถึงนายกรัฐมนตรี ตนจึงต้องทำความเห็นชี้แจง รายงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบว่าเรื่องนี้ควรจะตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้เกิดความกระจ่าง จึงเสนอให้ นายกรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ เมื่อนายกรัฐมนตรีเห็นชอบตนจึงมอบหมาย ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีไปยกร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ ส่วนจะแต่งตั้งได้เมื่อไหร่นั้นขึ้นอยู่กับหนังสือที่ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจะส่งมาให้ตนลงนาม เพราะเรื่องนี้ต้องทำอย่างรอบคอบ เนื่องจากคนที่จะเป็นคณะกรรมการสอบบุคคลระดับ ผบ.ตร.จะต้องมีอาวุโสและตำแหน่งที่สูงกว่า
ไม่รับปากพักราชการ “ป๊อด”
ผู้สื่อข่าวถามว่าระหว่างการสอบสวนจะต้องสั่งพักราชการ ผบ.ตร.ไว้ก่อนหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับผลสอบข้อเท็จจริงว่าจะบ่งชี้ออกมาอย่างไร ถ้ามีแนวโน้ม ว่ามีการปฏิบัติไม่ถูกต้อง ก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย เมื่อถามว่าในคำสั่งสมัย นายสมชายระบุในเรื่องนี้เอาไว้อย่างไร นายสุเทพ กล่าวว่า ให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนและให้ย้ายมาช่วยราชการที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ตนไม่แน่ใจ เพราะถ้าทำเช่นนั้น พล.ต.อ.พัชรวาทจะสามารถฟ้องร้องตนได้ และที่สำคัญคือต้องให้ความ เป็นธรรม โดยทำตามกฎหมายและอย่าล้ำเส้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า การสอบบุคคลที่ยังอยู่ในตำแหน่งจะเป็นปัญหากับคณะกรรมการที่จะเข้ามาสอบสวนหรือไม่ นายสุเทพกล่าวว่า ที่สำคัญคือคณะกรรมการ ต้องไม่ใช่ผู้ใต้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหา เมื่อถามว่าในเมื่อผลสอบยังไม่ชัดเจน แล้วเหตุใดนายชวรัตน์จึงมีคำสั่งให้ พล.ต.อ.พัชรวาท กลับไปทำงานที่ สตช.ได้ นายสุเทพ กล่าวว่า ต้องไปถามนายชวรัตน์เอาเอง ตนยอมรับว่าเรื่องนี้ค่อนข้างชุลมุน ซึ่งถ้าสื่อสงสัย ตนก็พร้อมให้ดูข้อมูล
ส่วนจะชี้แจงกรณีที่หลายฝ่ายวิจารณ์ว่านายกรัฐมนตรีพยายามหาข้ออ้างจะย้ายให้ พล.ต.อ.พัชรวาทมาช่วยราชการได้อย่างไร นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่มี เพราะนายกรัฐมนตรีเป็นนักกฎหมาย และรอบรู้กฎหมายเป็นอย่างดี เชื่อว่าทำทุกอย่าง ตามกติกา ขออย่าให้ทุกฝ่ายเป็นกังวลในเรื่องนี้ เพราะนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ ต้องบริหารบ้านเมือง คงไม่มีหน้าที่ที่จะมาดูข้าราชการคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษ ผู้สื่อข่าวถามว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากความขัดแย้งของอดีต ผบ.ตร. 2 คนใช่หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ตนคิดว่าน่าจะเป็นเช่นนั้น แต่ถ้าพูดไปก็จะถูกเล่นงาน
“วิเชียร” ไม่ขอออกความเห็น
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ที่ปรึกษา (สบ 10) ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นหาก นายกรัฐมนตรี เซ็นคำสั่งให้นั่งรักษาราชการแทน ผบ.ตร.อีกรอบ หาก พล.ต.อ.พัชรวาท ถูกย้ายไปช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี กรณีถูกร้องเรียนว่า มีส่วนเกี่ยวข้องทุจริตโครงการประชาสัมพันธ์ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มูลค่า 18 ล้านบาท พร้อมทั้งเปิดทางให้ พล.ต.อ.วิเชียร โหวตเลือก ผบ.ตร.คนใหม่ ในการประชุม ก.ต.ช. โดย พล.ต.อ.วิเชียร กล่าวเพียงว่า ตนเองยังไม่ทราบ และยังไม่มีคำสั่งใดๆ จากนายกรัฐมนตรีมาถึงตน
เด็กปุระชัยเลิกขวางถ้าเสนอ “ปทีป”
นายนพดล อินนา ผู้ทรงวุฒิด้านพัฒนาองค์กร หนึ่งใน ก.ต.ช. กล่าวว่า ตนเองไม่มีปัญหา หากในการประชุม ก.ต.ช.ครั้งหน้า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะเสนอบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็น ผบ.ตร.คนใหม่ เพียงรายชื่อเดียว หรืออาจเป็นบุคคลเดิม พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจแห่งชาติ เพราะถือเป็นอำนาจตามกฎหมายที่สามารถกระทำได้ ซึ่งก็ต้องรับว่ากรรมการ ก.ต.ช. ส่วนใหญ่ยังอยากได้ข้อมูลที่รอบด้านเพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจคัดเลือกให้ได้บุคคล ที่เหมาะสมที่สุด เพราะการลงมติของ ก.ต.ช.ครั้งนี้ไม่ได้ลงมติเพื่อประโยชน์ของ ก.ต.ช. แต่เป็นการลงมติเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติ ดังนั้น ในส่วนนี้คณะกรรมการ ก.ต.ช.เองก็ต้องใช้ความรอบคอบในการตัดสินใจเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม หากจะนำไปเปรียบเทียบกับกรณีที่ใกล้เคียงกันเช่น การสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัย ก็จะเห็นได้ว่าทางกรรมการสรรหาก็มักจะเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมมากกว่า 1 ชื่อ รวมทั้งจะเปิดโอกาสให้แต่ละคนได้แสดงวิสัยทัศน์ จนเมื่อกรรมการสภามหาวิทยาลัย ได้ซักถามจนเป็นที่น่าพอใจ แล้วจึงได้มีการลงมติเลือกบุคคลที่เหมาะสมที่สุด
ปชป.จวก “ชวรัตน์” เสียมารยาท
นายประมวล เอมเปีย ส.ส.ชลบุรี พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การเสนอชื่อ ผบ.ตร.คนใหม่เข้าสู่ที่ประชุม ก.ตช. เป็นอำนาจโดยชอบของนายกรัฐมนตรี ตาม พ.ร.บ.ตำรวจ มาตรา 51 ที่ระบุว่าเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีในฐานะประธาน ก.ตช.โดยจำแหน่งที่จะเสนอชื่อ ผบ.ตร.เพียงคนเดียว แต่กลับมี กรรมการก.ตช. กลุ่มหนึ่งขอให้มีการเสนอชื่อบุคคลอื่นประกบ ซึ่งไม่สามารรถทำได้หากประธาน ก.ตช.ไม่เห็นด้วย แต่ในวันที่มีการประชุม นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทยและหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลกลับยกมือโหวตสวนค้านการเสนอของ นายกรัฐมนตรีซึ่งถือเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรง
แค่การงดออกเสียงก็ถือว่าเป็นการเสียมารยาททางการเมืองมากอยู่แล้ว สำหรับพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกัน แต่นี่กลับใช้การยกมือโหวตสวนเลยเหมือนต้องการหักหน้ากัน และการที่ผมพูดย้ำจุดนี้เพราะทั้งหมดเป็นข้อเท็จจริง ท่านชวรัตน์คิดหรือไม่ว่าการกระทำของท่านมันส่งผลกระทบอย่างไรต่อภาพลักษณ์ผู้นำประเทศ เพราะต่างชาติที่รับข่าวสารเขาจะมองถึงภาวะการเป็นผู้นำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ว่าท่านมีอำนาจในการบริหารจริงหรือไม่ และที่ผ่านมาพรรคภูมิใจไทย ก็ได้กระทรวงเกรดเอไปแล้วถึง3 กระทรวงคือ กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพาณิชย์ ขอถามว่ายังไม่พออีกหรือ แต่ยังเข้ามาแทรกแซงการทำงานของ พรรคประชาธิปัตย์ของหัวหน้ารัฐบาลอีก
เย้ย “ปู่จิ้น” แค่ทารกทางการเมือง
นายประมวลกล่าวว่า หลังจากตนแสดงความเห็นตามข้อเท็จจริง ปรากฎว่า บรรดาลิ่วล้อลูกหามที่ชอบเอาใจนายต่างออกมาเสนอหน้าตอบโต้ชนิดแบบกระทืบตน ทั้งที่พูดในข้อเท็จจริง แทนที่จะไปเสนอแนะสิ่งที่ดีกับนายชวรัตน์ แม้แต่นายชวรัตน์เองก็บอกว่าว่าตัวเองเป็นผู้ใหญ่ไม่ขอตอบโต้กับ ส.ส.หางแถว ก็อยากจะบอกว่าตนเล่นการเมืองมานานกว่า 20 ปี ผ่านการเป็น ส.จ., ส.ว.และมาเป็น ส.ส. ถ้าพรรษาการเมืองเทียบแล้วตนจบขั้นมหาวิทยาลัย ส่วนนายชวรัตน์ เองแค่เพิ่งคลอด ออกจากท้องแม่เท่านั้นดังนั้นอย่าถือว่าเป็นเศรษฐีมีเงินเป็นหมื่นล้านหรือเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองและเป็น รมว.มหาดไทย แล้วจะมาปิดปาก ส.ส.อย่างตนได้
ถ้านักการเมืองคนใดคิดแต่เรื่องผลประโยชน์ของตนเอง ของกลุ่มและพรรคตัวเองอย่างเดียวโดยไม่คิดถึงประโยชน์ของชาติและส่วนรวมก็อย่ามาคิดปิดปากผมเลย ยิ่งวันนี้ (26 ส.ค.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล และลูกหาบหลายคนต่างออกมาพาดพิงผมพูดไม่รู้เรื่อง ในระดับแกนนำพรรคเขาคุยกันแล้ว ถ้าอยากรู้ก็ให้ไปถามนายสุเทพ หรือนายนิพนธ์ พร้อมพันธ์ ผมก็อยากถาม ไปเช่นกันว่า หลังจากที่ผมออกมาพูดแล้วก็คงจะมีพวกชอบเลียออกมาตอบโต้ตนอีก ทั้งที่ผมพูดความจริง มันน่าอายนักหรือเพราะบอกแล้วว่าคนที่เลือกผมมาเป็นส.ส. คือคนชลบุรี ไม่ใช่คนที่อื่นจึงขอให้กลับไปคิดทบทวนว่า สิ่งที่ผมพูดไปเรื่องมารยาท ทางการเมืองนั้น มันเป็นจริงหรือไม่ เพราะถ้ามีมารยาทจริงเขาไม่ทำกันแบบนี้
ขอขยายสอบซื้อตำแหน่งอีก 15 วัน
วันเดียวกัน ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นายสมศักดิ์ บุญทอง ประธานคณะอนุ ก.ตร. คณะพิเศษตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีซื้อขายตำแหน่ง พร้อมคณะได้ประชุมคณะอนุกรรมการฯโดยได้เรียก พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ผบช.ภ.5 พล.ต.ท.สุรสีห์ สุนทรสารทูร ผบช.ภ.6 พล.ต.ท.ธานี ทวิชศรี ผบช.ภ.9 และ พล.ต.ท.พีระ พุ่มพิเชฎฐ์ ผบช.ศชต.เข้าสอบถามในรายละเอียดต่างๆ ของแต่ละหน่วยงานในการพิจารณาแต่งตั้งบุคลากร
นายสมศักดิ์กล่าวก่อนเข้าประชุมว่า คณะอนุ ก.ตร.เตรียมทำหนังสือเสนอ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ก.ตร. เพื่อขอขยายระยะเวลาการสอบสวน ไปอีก 15 วัน เนื่องจากการสอบสวนที่ผ่านมา มีบุคคลที่ถูกพาดพิง จำนวนมาก จึงต้องมีการเรียกมาสอบเพิ่ม ซึ่งหากการสอบสวนเสร็จสิ้นก็จะรายงานผลให้นายสุเทพทราบ หากพบว่ามีมูลเรื่องการซื้อขายตำแหน่ง ก็จะเสนอให้ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง และหากพบว่ามีบุคคลใดมีความผิดชัดเจนก็ตั้งกรรมการสอบวินัยต่อไป
อย่างไรก็ตาม แม้จะขอขยายเวลาสอบก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อการแต่งตั้งโยกย้าย เพราะหากพบว่ามีความผิด หรือมีการซื้อขายตำแหน่งจริงก็สามารถดำเนินการย้อนหลังได้ ซึ่งต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบว่าที่มีการกล่าวหาว่ามีการซื้อขายตำแหน่ง เรื่องดังกล่าวมีมูลหรือไม่