น่ารับฟังน่าคิดไม่น้อยกับการวิเคราะห์การเมืองของสองนักการเมืองอาวุโส ผู้ผ่านสมรภูมิเลือกตั้งและการเมืองมาหลายสิบปี
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ส.ส.สัดส่วน และแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ ที่ยืนกรานว่า แม้รัฐบาลจะมีปัญหารุมเร้า แต่ขณะนี้สถานการณ์การเมืองนอกรัฐสภาอยู่ในสภาวะไม่ปกติ การเลือกตั้งจะยิ่งทำให้เกิดการเผชิญหน้ากันอย่างรุนแรงของฝ่ายรัฐบาล กับฝ่ายที่สนับสนุนระบอบทักษิณ การหาเสียงจะยิ่งเป็นตัวเร่งให้ต้องปะทะกัน จะทำให้บ้านเมืองแตกแยกกันหนักขึ้นไปอีก
จึงควรประคองเวลาไปให้นานที่สุด
อดีตผู้จัดการรัฐบาลสองสมัย พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ จากชาติไทยพัฒนา ที่พูดกันให้ได้ยินชัดๆ หลังหารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันศุกร์(4 ก.ย.) ที่ผ่านมาว่า การยุบสภา รัฐบาลต้องมั่นใจว่าจะชนะการเลือกตั้ง แต่ตอนนี้พรรคแกนนำยังเป็นรองอยู่มาก
ทำให้โอกาสจะยุบสภายังไม่เกิดขึ้นในตอนนี้
สองมุมมองของนักการเมืองรุ่นลายคราม สอดคล้องกับการคาดการณ์ของหลายฝ่ายว่า แม้ นายกฯอภิสิทธิ์ เริ่มประสบปัญหาการนำพารัฐบาลให้อยู่ตลอดรอดฝั่ง และต้องเสียเวลาแก้ปัญหาการเมืองมากกว่าปัญหาของประเทศชาติ
ทั้งที่บางเรื่องหากใช้ความเด็ดขาด ก็สามารถปลดล็อกเงื่อนไข ที่ทำให้การทำงานของรัฐบาลไม่เดินหน้า แต่อภิสิทธิ์ ก็ไม่กล้าทำ
เพราะติดขัดที่จะทำอะไรก็เจอแต่แรงบีบจากปัจจัยการเมืองภายในพรรคร่วมรัฐบาลและกองทัพ รวมถึง กลัวว่าตัวเองจะเกิดภาพลักษณ์
“อำนาจนิยม”
อย่างที่ ทักษิณ ชินวัตร เคยกระทำมา นั่นจึงทำให้หลายปัญหาที่ภายนอกดูว่าแก้ได้ง่ายเช่น การเด้ง พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ออกไปจากเก้าอี้ ผบ.ตร.ได้แล้ว หลังจากเกิดปัญหาการทำงานที่ไปด้วยกันไม่ได้
แต่อภิสิทธิ์ ก็เลือกที่จะไม่ใช้ความเด็ดขาดตรงนี้แก้ปัญหา
ก็ขนาดปัญหาแค่เรื่องพัชรวาท คนเดียว อภิสิทธิ์ ยังไม่เด็ดขาด การประกาศ
“ยุบสภา”
ที่ถือเป็นอำนาจเด็ดขาด และเป็นดาบอาญาสิทธิ์ในมือนายกรัฐมนตรี ที่จะมีผลกระทบกับทั้งการเมือง เศรษฐกิจของประเทศครั้งใหญ่ อีกทั้งกระแสการเมืองยามนี้ มีแนวโน้มสูงที่อภิสิทธิ์ อาจไม่ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีหลังเลือกตั้ง
อภิสิทธิ์จะกล้ายุบสภาตอนนี้ได้อย่างไร
นี่คือคำปรามาสการเมือง ที่อภิสิทธิ์ คงไม่รู้สึกยินดีนัก
เสร็จจากการเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกาในปลายเดือนกันยายน และหลังคลี่คลายปัญหาเรื่องเก้าอี้ ผบ.ตร.ได้แล้ว การบ้านข้อใหญ่ของอภิสิทธิ์ ที่ต้องแก้ไข ก็คือ
เสริมสร้างบารมีผู้นำให้เกิดขึ้นโดยด่วน ก่อนจะสายเกินไป
ทว่าสถานการณ์ตอนนี้ อภิสิทธิ์ ต้องยอมสยบให้กับแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล ระดับผู้มีอำนาจตัวจริง ทั้ง เนวิน ชิดชอบ –สมศักดิ์ เทพสุทิน จากภูมิใจไทย บรรหาร ศิลปอาชา จากชาติไทยพัฒนา สุวัจน์ ลิปตพัลลภ จากรวมใจไทยชาติพัฒนา พินิจ จารุสมบัติ และไพโรจน์ สุวรรณฉวี จากเพื่อแผ่นดิน
ที่ยืนคำขาดให้ อภิสิทธิ์ แก้ไขรัฐธรรมนูญได้แล้ว หลังจากแกนนำพรรคร่วมสุดจะทนที่อภิสิทธิ์-ปชป. เล่นเกมซื้อเวลาการแก้ไขรธน. มานานสองนาน
ทั้งที่เป็นตัวตั้งตัวตีให้มีการใช้มติรัฐสภาตั้งคณะกรรมการศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญชุด ดิเรก ถึงฝั่ง ครั้นพอศึกษาเสร็จ อภิสิทธิ์กลับทำดึงเรื่อง ทำให้แกนนำพรรคร่วมรัฐบาลเริ่มทนไม่ไหวทั้งที่ตกลงกันอย่างดิบดี โดยเฉพาะในการหารือแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล ที่บ้านพิษณุโลกก่อนช่วงการเปิดประชุมสภาฯเมื่อหลายเดือนที่ผ่านมาว่า
การแก้วิกฤตการเมืองทางที่ดีที่สุดก็คือ แก้รัฐธรรมนูญ แต่เมื่อปชป.เห็นว่าเวลายังไม่สุกงอม หวั่นกระแสต่อต้าน จึงพยายามดึงเรื่องเอาไว้
แต่เหล่าแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลที่เป็นพวกติดโทษแบนการเมือง ไม่ยอมรออีกต่อไปแล้ว จึงมีการส่งซิกให้ส.ส.หลายคนไปจับมือกับส.ว. เพื่อล่ารายชื่อเสนอเป็นญัตติให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ส่งถึงมือ ชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา เมื่อวันจันทร์ที่ 7 กันยายน ที่ผ่านมา
ขณะเดียวกัน แกนนำพรรคร่วมรัฐบาลเหล่านี้ ก็เล่นกดดัน อภิสิทธิ์ อีกทางหนึ่งด้วยการ เปิดวงหารือ โดยเรียกสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่กำลังมีปัญหากับอภิสิทธิ์ ในเรื่องการตั้ง ผบ.ตร.ไปรับข้อเสนอ โดยยื่นคำขาดว่า ทุกอย่างต้องทำให้เสร็จก่อนตุลาคมนี้
จึงเป็นที่มาของการพลิกแบบกะทันหันของ อภิสิทธิ์ ในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่หลังจากมีการนัดหารือกันที่บ้าน สุวัจน์ ลิปตพัลลภ เมื่อวันเสาร์ที่ 5 ก.ย.ในช่วงบ่าย ซึ่งเมื่อได้ข้อสรุปแล้วว่า พรรคร่วมยืนยันจะให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ
อภิสิทธิ์ ก็ประกาศในช่วงเย็นวันเดียวกันว่า จะนำเรื่องไปหารือในที่ประชุม ครม.วันที่ 8 ก.ย.นี้ เพื่อให้มีการเปิดประชุมร่วมรัฐสภา ให้ ส.ส.-ส.ว.ได้อภิปรายกันข้ามวันข้ามคืน ว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่
อันเป็นยุทธวิธียืมมือรัฐสภาสร้างความชอบธรรมในการแก้ไขรธน. ของพรรคร่วมรัฐบาล ที่มีอภิสิทธิ์ เป็นผู้อำนวยการสร้าง จะได้อ้างว่าเป็นเสียงส่วนใหญ่ของตัวแทนประชาชน เพียงแต่ไม่รู้ว่ากรอบการแก้ไขรธน. จะออกมาอย่างไร จะแก้กี่มาตรา จะแก้แค่ 2 มาตรา อย่างที่พรรคร่วมรัฐบาลต้องการ คือ มาตรา 190 ในเรื่องการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ กับเปลี่ยนระบบเลือกตั้งจากเขตใหญ่ มาเป็นวันแมนวันโหวต
หรือจะเอาแบบที่ ส.ส.-ส.ว. เข้าชื่อกันให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามผลการศึกษาของกรรมการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญชุด ดิเรก ถึงฝั่ง ซึ่งหากเอาตามแบบหลัง เชื่อได้ว่า ย่อมมีเสียงไม่เห็นด้วยเกิดขึ้นทั่วทุกสารทิศ
อย่างไรก็ตาม การแก้ไขรธน. ซึ่งดูแล้ว ยากที่อภิสิทธิ์จะซื้อเวลาออกไปได้อีก คงต้องเกิดขึ้นแน่นอน
การต้องยอมให้มีการแก้ไขรธน.ของอภิสิทธิ์ แสดงให้เห็นว่า อภิสิทธิ์ ถูกพรรคร่วมรัฐบาลกดดันขนาดหนัก จนเสียความเป็นตัวของตัวเองที่เห็นมาตลอดว่า เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ใช่ปัญหาเร่งด่วนของประเทศ
ทำให้ความเป็นพรรคอันดับหนึ่งของปชป. ในรัฐบาลแทบไม่มีความหมายใดๆ จากปัญหาเสียงส.ส.ไม่มากพอในการกุมความได้เปรียบ ทำให้ถูกอัดทั้งซ้าย ทั้งขวา ต้องยอมจำนนพรรคร่วมรัฐบาลอีกครั้งในเรื่องแก้รธน.
เพียงแต่ แรงบีบคั้นทั้งหมด ก็ใช่ว่าจะไม่มีรูระบายออก เพราะอภิสิทธิ์ ก็กำลังหาทางปลดเปลื้อง ภาพผู้นำไร้อำนาจของตัวเอง เมื่อยุบสภาแม้จะทำได้ แต่เงื่อนไขไม่อำนวย ก็ต้องหาทางไปอย่างอื่น โดยเฉพาะอภิสิทธิ์ ก็กำลัง รอฟังมติป.ป.ช.ในสองคดีสำคัญคือ
7 ตุลาฯทมิฬ เพื่อจัดการกับ พัชรวาท ซึ่ง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดทั้งวินัยร้ายแรง และอาญาไปแล้วเมื่อวานนี้ (7 ก.ย.) เพียงแค่รอดูว่า อภิสิทธิ์ จะกล้าตวัดปากกาเซ็นสั่งพักงาน บิ๊กป๊อดหรือไม่
และคดีเขาพระวิหาร ซึ่งจะเปิดช่องให้มีการปรับครม.ได้ หากว่ารัฐมนตรีในรัฐบาลถูกร่างแหเอาผิดไปด้วย จนส่งผลให้ต้องหยุดพักการปฏิบัติหน้าที่ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 55
ทั้งพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รมว.ไอซีที นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง และ สุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรฯ
เป็น 6 คนจาก 5 พรรค ที่กำลังรุมบีบหัวใจอภิสิทธิ์อยู่ในตอนนี้ ที่มีคำยืนยันจาก ป.ป.ช.ว่า สรุปผลการสอบสวนหมดแล้ว ไม่มีอะไรสอบเพิ่มเติมแล้ว เหลือแค่ลงมติเท่านั้น
เวลาปลดปล่อยความกดดัน และจัดแถวใหม่ในรัฐบาล ของอภิสิทธิ์ อาจเกิดขึ้นในไม่ช้า และคงทำให้ อภิสิทธิ์ อาจหายใจได้คล่องขึ้น ถ้าจะใช้โอกาสปรับครม. ทำให้ภาพลักษณ์รัฐบาลดีขึ้น
แต่หากมีโอกาสในมือแล้วอภิสิทธิ์ ยังทำไม่ได้ ไม่กล้าทำ ต้องถูกกดหัวอยู่ร่ำไป แบบนี้ ก็ตัวใครตัวมัน
ยุบสภาไปเสียเลย จะดีกว่า
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ส.ส.สัดส่วน และแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ ที่ยืนกรานว่า แม้รัฐบาลจะมีปัญหารุมเร้า แต่ขณะนี้สถานการณ์การเมืองนอกรัฐสภาอยู่ในสภาวะไม่ปกติ การเลือกตั้งจะยิ่งทำให้เกิดการเผชิญหน้ากันอย่างรุนแรงของฝ่ายรัฐบาล กับฝ่ายที่สนับสนุนระบอบทักษิณ การหาเสียงจะยิ่งเป็นตัวเร่งให้ต้องปะทะกัน จะทำให้บ้านเมืองแตกแยกกันหนักขึ้นไปอีก
จึงควรประคองเวลาไปให้นานที่สุด
อดีตผู้จัดการรัฐบาลสองสมัย พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ จากชาติไทยพัฒนา ที่พูดกันให้ได้ยินชัดๆ หลังหารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันศุกร์(4 ก.ย.) ที่ผ่านมาว่า การยุบสภา รัฐบาลต้องมั่นใจว่าจะชนะการเลือกตั้ง แต่ตอนนี้พรรคแกนนำยังเป็นรองอยู่มาก
ทำให้โอกาสจะยุบสภายังไม่เกิดขึ้นในตอนนี้
สองมุมมองของนักการเมืองรุ่นลายคราม สอดคล้องกับการคาดการณ์ของหลายฝ่ายว่า แม้ นายกฯอภิสิทธิ์ เริ่มประสบปัญหาการนำพารัฐบาลให้อยู่ตลอดรอดฝั่ง และต้องเสียเวลาแก้ปัญหาการเมืองมากกว่าปัญหาของประเทศชาติ
ทั้งที่บางเรื่องหากใช้ความเด็ดขาด ก็สามารถปลดล็อกเงื่อนไข ที่ทำให้การทำงานของรัฐบาลไม่เดินหน้า แต่อภิสิทธิ์ ก็ไม่กล้าทำ
เพราะติดขัดที่จะทำอะไรก็เจอแต่แรงบีบจากปัจจัยการเมืองภายในพรรคร่วมรัฐบาลและกองทัพ รวมถึง กลัวว่าตัวเองจะเกิดภาพลักษณ์
“อำนาจนิยม”
อย่างที่ ทักษิณ ชินวัตร เคยกระทำมา นั่นจึงทำให้หลายปัญหาที่ภายนอกดูว่าแก้ได้ง่ายเช่น การเด้ง พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ออกไปจากเก้าอี้ ผบ.ตร.ได้แล้ว หลังจากเกิดปัญหาการทำงานที่ไปด้วยกันไม่ได้
แต่อภิสิทธิ์ ก็เลือกที่จะไม่ใช้ความเด็ดขาดตรงนี้แก้ปัญหา
ก็ขนาดปัญหาแค่เรื่องพัชรวาท คนเดียว อภิสิทธิ์ ยังไม่เด็ดขาด การประกาศ
“ยุบสภา”
ที่ถือเป็นอำนาจเด็ดขาด และเป็นดาบอาญาสิทธิ์ในมือนายกรัฐมนตรี ที่จะมีผลกระทบกับทั้งการเมือง เศรษฐกิจของประเทศครั้งใหญ่ อีกทั้งกระแสการเมืองยามนี้ มีแนวโน้มสูงที่อภิสิทธิ์ อาจไม่ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีหลังเลือกตั้ง
อภิสิทธิ์จะกล้ายุบสภาตอนนี้ได้อย่างไร
นี่คือคำปรามาสการเมือง ที่อภิสิทธิ์ คงไม่รู้สึกยินดีนัก
เสร็จจากการเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกาในปลายเดือนกันยายน และหลังคลี่คลายปัญหาเรื่องเก้าอี้ ผบ.ตร.ได้แล้ว การบ้านข้อใหญ่ของอภิสิทธิ์ ที่ต้องแก้ไข ก็คือ
เสริมสร้างบารมีผู้นำให้เกิดขึ้นโดยด่วน ก่อนจะสายเกินไป
ทว่าสถานการณ์ตอนนี้ อภิสิทธิ์ ต้องยอมสยบให้กับแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล ระดับผู้มีอำนาจตัวจริง ทั้ง เนวิน ชิดชอบ –สมศักดิ์ เทพสุทิน จากภูมิใจไทย บรรหาร ศิลปอาชา จากชาติไทยพัฒนา สุวัจน์ ลิปตพัลลภ จากรวมใจไทยชาติพัฒนา พินิจ จารุสมบัติ และไพโรจน์ สุวรรณฉวี จากเพื่อแผ่นดิน
ที่ยืนคำขาดให้ อภิสิทธิ์ แก้ไขรัฐธรรมนูญได้แล้ว หลังจากแกนนำพรรคร่วมสุดจะทนที่อภิสิทธิ์-ปชป. เล่นเกมซื้อเวลาการแก้ไขรธน. มานานสองนาน
ทั้งที่เป็นตัวตั้งตัวตีให้มีการใช้มติรัฐสภาตั้งคณะกรรมการศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญชุด ดิเรก ถึงฝั่ง ครั้นพอศึกษาเสร็จ อภิสิทธิ์กลับทำดึงเรื่อง ทำให้แกนนำพรรคร่วมรัฐบาลเริ่มทนไม่ไหวทั้งที่ตกลงกันอย่างดิบดี โดยเฉพาะในการหารือแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล ที่บ้านพิษณุโลกก่อนช่วงการเปิดประชุมสภาฯเมื่อหลายเดือนที่ผ่านมาว่า
การแก้วิกฤตการเมืองทางที่ดีที่สุดก็คือ แก้รัฐธรรมนูญ แต่เมื่อปชป.เห็นว่าเวลายังไม่สุกงอม หวั่นกระแสต่อต้าน จึงพยายามดึงเรื่องเอาไว้
แต่เหล่าแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลที่เป็นพวกติดโทษแบนการเมือง ไม่ยอมรออีกต่อไปแล้ว จึงมีการส่งซิกให้ส.ส.หลายคนไปจับมือกับส.ว. เพื่อล่ารายชื่อเสนอเป็นญัตติให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ส่งถึงมือ ชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา เมื่อวันจันทร์ที่ 7 กันยายน ที่ผ่านมา
ขณะเดียวกัน แกนนำพรรคร่วมรัฐบาลเหล่านี้ ก็เล่นกดดัน อภิสิทธิ์ อีกทางหนึ่งด้วยการ เปิดวงหารือ โดยเรียกสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่กำลังมีปัญหากับอภิสิทธิ์ ในเรื่องการตั้ง ผบ.ตร.ไปรับข้อเสนอ โดยยื่นคำขาดว่า ทุกอย่างต้องทำให้เสร็จก่อนตุลาคมนี้
จึงเป็นที่มาของการพลิกแบบกะทันหันของ อภิสิทธิ์ ในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่หลังจากมีการนัดหารือกันที่บ้าน สุวัจน์ ลิปตพัลลภ เมื่อวันเสาร์ที่ 5 ก.ย.ในช่วงบ่าย ซึ่งเมื่อได้ข้อสรุปแล้วว่า พรรคร่วมยืนยันจะให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ
อภิสิทธิ์ ก็ประกาศในช่วงเย็นวันเดียวกันว่า จะนำเรื่องไปหารือในที่ประชุม ครม.วันที่ 8 ก.ย.นี้ เพื่อให้มีการเปิดประชุมร่วมรัฐสภา ให้ ส.ส.-ส.ว.ได้อภิปรายกันข้ามวันข้ามคืน ว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่
อันเป็นยุทธวิธียืมมือรัฐสภาสร้างความชอบธรรมในการแก้ไขรธน. ของพรรคร่วมรัฐบาล ที่มีอภิสิทธิ์ เป็นผู้อำนวยการสร้าง จะได้อ้างว่าเป็นเสียงส่วนใหญ่ของตัวแทนประชาชน เพียงแต่ไม่รู้ว่ากรอบการแก้ไขรธน. จะออกมาอย่างไร จะแก้กี่มาตรา จะแก้แค่ 2 มาตรา อย่างที่พรรคร่วมรัฐบาลต้องการ คือ มาตรา 190 ในเรื่องการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ กับเปลี่ยนระบบเลือกตั้งจากเขตใหญ่ มาเป็นวันแมนวันโหวต
หรือจะเอาแบบที่ ส.ส.-ส.ว. เข้าชื่อกันให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามผลการศึกษาของกรรมการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญชุด ดิเรก ถึงฝั่ง ซึ่งหากเอาตามแบบหลัง เชื่อได้ว่า ย่อมมีเสียงไม่เห็นด้วยเกิดขึ้นทั่วทุกสารทิศ
อย่างไรก็ตาม การแก้ไขรธน. ซึ่งดูแล้ว ยากที่อภิสิทธิ์จะซื้อเวลาออกไปได้อีก คงต้องเกิดขึ้นแน่นอน
การต้องยอมให้มีการแก้ไขรธน.ของอภิสิทธิ์ แสดงให้เห็นว่า อภิสิทธิ์ ถูกพรรคร่วมรัฐบาลกดดันขนาดหนัก จนเสียความเป็นตัวของตัวเองที่เห็นมาตลอดว่า เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ใช่ปัญหาเร่งด่วนของประเทศ
ทำให้ความเป็นพรรคอันดับหนึ่งของปชป. ในรัฐบาลแทบไม่มีความหมายใดๆ จากปัญหาเสียงส.ส.ไม่มากพอในการกุมความได้เปรียบ ทำให้ถูกอัดทั้งซ้าย ทั้งขวา ต้องยอมจำนนพรรคร่วมรัฐบาลอีกครั้งในเรื่องแก้รธน.
เพียงแต่ แรงบีบคั้นทั้งหมด ก็ใช่ว่าจะไม่มีรูระบายออก เพราะอภิสิทธิ์ ก็กำลังหาทางปลดเปลื้อง ภาพผู้นำไร้อำนาจของตัวเอง เมื่อยุบสภาแม้จะทำได้ แต่เงื่อนไขไม่อำนวย ก็ต้องหาทางไปอย่างอื่น โดยเฉพาะอภิสิทธิ์ ก็กำลัง รอฟังมติป.ป.ช.ในสองคดีสำคัญคือ
7 ตุลาฯทมิฬ เพื่อจัดการกับ พัชรวาท ซึ่ง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดทั้งวินัยร้ายแรง และอาญาไปแล้วเมื่อวานนี้ (7 ก.ย.) เพียงแค่รอดูว่า อภิสิทธิ์ จะกล้าตวัดปากกาเซ็นสั่งพักงาน บิ๊กป๊อดหรือไม่
และคดีเขาพระวิหาร ซึ่งจะเปิดช่องให้มีการปรับครม.ได้ หากว่ารัฐมนตรีในรัฐบาลถูกร่างแหเอาผิดไปด้วย จนส่งผลให้ต้องหยุดพักการปฏิบัติหน้าที่ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 55
ทั้งพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รมว.ไอซีที นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง และ สุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรฯ
เป็น 6 คนจาก 5 พรรค ที่กำลังรุมบีบหัวใจอภิสิทธิ์อยู่ในตอนนี้ ที่มีคำยืนยันจาก ป.ป.ช.ว่า สรุปผลการสอบสวนหมดแล้ว ไม่มีอะไรสอบเพิ่มเติมแล้ว เหลือแค่ลงมติเท่านั้น
เวลาปลดปล่อยความกดดัน และจัดแถวใหม่ในรัฐบาล ของอภิสิทธิ์ อาจเกิดขึ้นในไม่ช้า และคงทำให้ อภิสิทธิ์ อาจหายใจได้คล่องขึ้น ถ้าจะใช้โอกาสปรับครม. ทำให้ภาพลักษณ์รัฐบาลดีขึ้น
แต่หากมีโอกาสในมือแล้วอภิสิทธิ์ ยังทำไม่ได้ ไม่กล้าทำ ต้องถูกกดหัวอยู่ร่ำไป แบบนี้ ก็ตัวใครตัวมัน
ยุบสภาไปเสียเลย จะดีกว่า