กล่าวถึงที่สุด ความฝันอันสูงสุดร่วมกันของบุคลากรและองค์กรเกี่ยวข้องกับการจราจรและขนส่งคือการลดจำนวนอุบัติเหตุลงเหลือ ‘ศูนย์’ คือไม่เกิดอุบัติเหตุเลย ทว่าความวาดหวังเหล่านั้นยากจะเกิดขึ้นจริง ยิ่งในสังคมไทยยิ่งยากมหาศาลจนเกือบจะฟันธงได้เลยว่าเป็นความฝันอันเหลือเชื่อ (The Impossible Dream) ทีเดียว ด้วยในทุกๆ ปีมีผู้บาดเจ็บล้มตายนับหมื่นแสนราย ดังปี 2551 ที่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนถึง 11,276 คน เฉลี่ยกว่า 30 คน/วัน ยิ่งช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ตัวเลขจะสูงขึ้นเป็น 2 เท่า โดย 1 ใน 3 ของผู้เสียชีวิตเป็นผู้หารายได้หลักของครอบครัว
ด้านมูลค่าความสูญเสียก็ก้าวกระโดด จากมูลนิธิวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เคยประมาณการว่าอุบัติเหตุทางถนนสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจราว 7 หมื่นล้านบาท/ปี เมื่อปี 2536 แต่ทว่าล่าสุดกระทรวงคมนาคมกลับพบตัวเลขน่าตระหนกว่าทะยานกว่า 2 แสนล้านบาท/ปี หรือร้อยละ 2.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) เข้าไปแล้ว ทั้งๆ เกณฑ์สากลตัวเลขความสูญเสียไม่ควรเกินร้อยละ 1
ในปรากฏการณ์ความสูญเสียเหล่านี้ แม้จะมีความพยายามลดอุบัติเหตุทางถนนจนสถิติลดลง แต่ก็เป็นไปอย่างเชื่องช้า อีกทั้งยังเข้าทำนองวัวหายแล้วล้อมคอก คงเกิดโศกนาฏกรรมร้ายแรงซ้ำแล้วซ้ำเล่าเรื่อยมา แม้นว่าเหตุปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุจะซ้ำซากเสมอๆ เหมือนกันก็ตามที
ทั้งนี้ก็เพราะไม่เพียงประเทศไทยไม่มีวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนอันเนื่องมาจากจำนนต่อการเมาแล้วขับ ขับเร็วเกินอัตรากำหนด และประมาทไม่เคารพกฎจราจรเท่านั้น หากยังขาดแคลนเจตจำนงทางการเมือง (Political Will) เรื่องความปลอดภัยทางถนนในระดับนโยบายสาธารณะด้วย
เนื่องจากหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทย ไม่เคยแม้แต่จะมีพันธสัญญาทางการเมือง (Political Commitment) จากผู้นำรัฐนาวาว่าได้นำประเด็นปัญหาอุบัติเหตุจราจรเป็นวาระแห่งชาติ (National Agenda) ฉะนั้นการที่นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่องทิศทางนโยบายการแก้ปัญหาอุบัติเหตุจราจรในงานสัมมนาระดับชาติอุบัติเหตุจราจร ครั้งที่ 9 หัวข้อพลังเครือข่ายเพื่อถนนปลอดภัย เมื่อ 20 สิงหาคม 2552 ก็น่าจะนำความเปลี่ยนแปลงเชิงลึกและกว้างมาสู่สังคมไทยได้
ด้วยเมื่อถ้อยใจความปาฐกถาที่ว่าสังคมไทยได้สูญเสียไปมหาศาลแล้วกับอุบัติเหตุถนนทั้งที่ป้องกันได้ บวกรวมเข้ากับการแปรสถิติบนกระดาษมาเป็นภาคปฏิบัติการที่ทุกภาคส่วนสังคมตระหนักถึงสาเหตุและแนวทางบรรเทาปัญหาร่วมกันนั้น ท้ายสุดจึงน่าจะขับเคลื่อนปณิธานของรัฐบาลที่ปรารถนาลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุถนนลงครึ่งหนึ่งในทศวรรษหน้าได้ ไม่ต่างกันกับการบรรลุเป้าหมายขององค์การสหประชาชาติ (UN) ที่ต้องการลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนทั่วโลกแต่ละปีกว่า 1.2 ล้านคน บาดเจ็บและพิการกว่า 50 ล้านคน โดยจำนวนมากเป็นเด็กและเยาวชน
ตลอดจนยังสอดผสานกับการประชุมรัฐมนตรีทั่วโลกว่าด้วยความปลอดภัยทางถนนครั้งแรก (Global Ministerial Conference on Road Safety) โดยสหประชาชาติที่กรุงมอสโคว ประเทศรัสเซีย ระหว่าง 19-20 พฤศจิกายน 2552 เพื่อร่วมกันผลักดันให้อุบัติเหตุทางถนนเป็นวาระสำคัญที่ทุกประเทศต้องตระหนักและเร่งแก้ไขเพื่อพิชิตเป้าหมายลดผู้เสียชีวิตลงครึ่งหนึ่งในทศวรรษข้างหน้าด้วย
หลักไมล์ (Milestone) ในระดับโลกและประเทศที่กำลังลงหลักปักฐานหนักแน่นเช่นนี้จึงทำให้ความสูญเสียแสนมหาศาลจากอุบัติเหตุทางท้องถนนเรียวแคบเข้าใกล้ศูนย์ขึ้นเรื่อยๆ
กล่าวเฉพาะไทย การได้คำมั่นสัญญาการเมืองจากผู้กุมอำนาจรัฐให้ความปลอดภัยทางถนนเป็นวาระแห่งชาติ โดยดำเนินการผ่านศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ที่มุ่งยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยทางถนนผ่านโครงการโครงสร้างพื้นฐานอย่างปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง และแผนแม่บทจราจรที่กำหนดให้ทศวรรษต่อจากนี้ อัตราผู้เสียชีวิตไม่ควรเกิน 10 คนจากประชากรแสนคน ควบคู่กับขับเคลื่อนมาตรการรูปธรรมทั้งการรวบรวมฐานข้อมูลอุบัติเหตุและจุดเสี่ยง/จุดอันตราย (Black Spot) โดยการร่วมมือระหว่างภาครัฐ ท้องถิ่น และชุมชน การวางแผนขนส่งระบบรางที่ชัดเจนทั้งในภูมิภาคและกรุงเทพฯ และการขยายระบบขนส่งสาธารณะอย่างน้อยร้อยละ 30 ภายใน 5 ปีข้างหน้าเพื่อรองรับประชากรที่ทวีขึ้น รวมถึงแก้ปัญหาจุดตัดที่ไม่ได้มาตรฐานระหว่างรางรถไฟกับถนน
ตลอดทั้งยังได้ภาคีเครือข่ายหลายหลากร่วมสังสรรค์ถนนปลอดภัยอย่างเข้มแข็ง ไม่ว่าจะเป็นศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทยที่มีพันธกิจจัดเก็บข้อมูลอุบัติเหตุอย่างเป็นระบบโดยการศึกษาสืบค้นสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุเชิงลึก (Accident Investigation) และศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) ที่มีคนไทยปลอดภัยจากอุบัติภัยทางถนนเป็นวิสัยทัศน์ โดยใช้องค์ความรู้กอบกู้ความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินนั้น ก็น่าจะจุดประกายสังคมไทยให้ฝันใฝ่ในสิ่งที่เหลือเชื่อได้
ด้วยถ้าภาครัฐและประชาสังคมถักทอ ‘ความฝันอันสูงสุด’ ร่วมกัน การพลัดพรากบาดเจ็บล้มตายหมื่นแสนรายภายในแต่ละปีก็จะลดน้อยถอยลงจนเข้าใกล้ศูนย์ได้ ขอเพียงระหว่างนั้นไม่ถดถอยท้อแท้แพ้พ่ายต่อการขาดจิตสำนึกความปลอดภัยทางถนนของคนไทยที่มักตีความความเชื่อว่าทำอิสระตามใจได้คือไทยแท้อย่างผิดๆ และถึงถูกจับหลังผิดกฎจราจรก็คิดว่าติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐได้
การก้าวตามความฝันที่เปลี่ยนแปรเป็นปฏิบัติการมุ่งสู่ศูนย์ (Towards Zero) ในโลกแห่งความเป็นจริงจึงเรียกร้องการบูรณาการระหว่างภาคการเมืองและประชาสังคมเข้มข้น โดยพิเคราะห์แล้วจักพบว่าเงื่อนไขนี้มีอยู่แล้วเต็มเปี่ยมในปัจจุบัน ด้วยในระดับนโยบายนั้นอุบัติจราจรก็เป็นวาระแห่งชาติที่นายกรัฐมนตรีตระหนักความสำคัญ ขณะเดียวกันพันธมิตรภาคีเครือข่ายมากมายก็มีฉันทะ
ขณะต้นแบบที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ก็มี ดังผลรายงานเรื่อง ‘มุ่งสู่ศูนย์: การพิชิตเป้าหมายถนนปลอดภัยและแนวทางสร้างระบบปลอดภัย’ จากการร่วมกันทำงานนาน 3 ปีขององค์กรสถาบันด้านความปลอดภัย 21 ประเทศ รวมถึงธนาคารโลก (World Bank) องค์การอนามัยโลก (WHO) และมูลนิธิเอฟไอเอ (FIA Foundation) โดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) โดยเนเธอร์แลนด์และสวีเดนจะปัดปฏิเสธการเสียชีวิตหรือบาดเจ็บจากระบบขนส่งทางบกอย่างสิ้นเชิงผ่านนโยบายความปลอดภัยชื่อความปลอดภัยที่ยั่งยืน (Sustainable Safety) และวิสัยทัศน์ศูนย์ (Vision Zero) ตามลำดับ อันขยายมาสู่รูปแบบการเดินทางทางอากาศ รถไฟ และเรือ
แม้นเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน การบังคับใช้กฎหมายของไทยจะอ่อนด้อยกว่าสองประเทศข้างต้น แต่การตอกหมุดหมายลดจำนวนอุบัติเหตุเข้มขึ้นเรื่อยๆ จาก 10 คนจากประชากรแสนคน ก็อาจลดเหลือแค่ 6 คน จนถึงศูนย์ได้ในที่สุด แม้ใช้เวลาและทรัพยากรมาก หากก็คุ้มค่ากว่ามหาศาล
ทว่าระยะเฉพาะหน้าต้องเร่งสร้างจิตสำนึกรับผิดชอบต่อตนเองและผู้คนบนถนนอื่นๆ ผ่านพื้นฐานการขับขี่ปลอดภัย ทั้งสวมหมวกกันน็อก คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง หมั่นตรวจระบบเบรก ยาง และระบบส่องสว่าง มองด้านหลังและให้สัญญาณไฟทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนช่องทาง จดจำสัญญาณจราจรสำคัญ ไม่ขับขี่สวนทางหรือข้ามช่องทางวิ่ง ลดความเร็วขณะถนนขรุขระเปียกลื่น ไม่ขับเร็วกว่ากฎหมายกำหนด งดเสพของมึนเมาขณะขับขี่ และหยุดหรือชะลอความเร็วขณะผ่านสี่แยก โดยอาศัยการบริหารจัดการความท้าทายนี้บนฐานการสนับสนุนทางการเมือง ซึ่งนานๆ จะมาถึงสักครั้งหนึ่ง
เพื่อถึงฝั่งฝันอันสูงสุด นอกจากต้องทำงานร่วมกัน (Synergy) ระหว่างภาครัฐกับภาคีเครือข่ายเข้มข้นขึ้นแล้ว ยังต้องลงมือทำเพื่อคลี่คลายวิกฤตนี้เดี๋ยวนี้ด้วยเครื่องมือ ความรู้ และวิธีที่มี
ที่สำคัญสุดต้องไม่ละทิ้งความใฝ่ฝันอันเป็นคุณลักษณะของมนุษย์ผู้ไม่แพ้พ่าย เพราะการถักถ้อยร้อยเป้าหมาย ‘ลดอุบัติเหตุให้ถึงศูนย์ก่อนสิ้นสูญ’ ที่เป็นความฝันสูงสุดแสนงดงามร่วมกันของทุกภาคส่วนสังคมนั้นจะสร้างสรรค์การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ได้บนพื้นฐานความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจและการเมืองไทย
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org
ด้านมูลค่าความสูญเสียก็ก้าวกระโดด จากมูลนิธิวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เคยประมาณการว่าอุบัติเหตุทางถนนสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจราว 7 หมื่นล้านบาท/ปี เมื่อปี 2536 แต่ทว่าล่าสุดกระทรวงคมนาคมกลับพบตัวเลขน่าตระหนกว่าทะยานกว่า 2 แสนล้านบาท/ปี หรือร้อยละ 2.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) เข้าไปแล้ว ทั้งๆ เกณฑ์สากลตัวเลขความสูญเสียไม่ควรเกินร้อยละ 1
ในปรากฏการณ์ความสูญเสียเหล่านี้ แม้จะมีความพยายามลดอุบัติเหตุทางถนนจนสถิติลดลง แต่ก็เป็นไปอย่างเชื่องช้า อีกทั้งยังเข้าทำนองวัวหายแล้วล้อมคอก คงเกิดโศกนาฏกรรมร้ายแรงซ้ำแล้วซ้ำเล่าเรื่อยมา แม้นว่าเหตุปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุจะซ้ำซากเสมอๆ เหมือนกันก็ตามที
ทั้งนี้ก็เพราะไม่เพียงประเทศไทยไม่มีวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนอันเนื่องมาจากจำนนต่อการเมาแล้วขับ ขับเร็วเกินอัตรากำหนด และประมาทไม่เคารพกฎจราจรเท่านั้น หากยังขาดแคลนเจตจำนงทางการเมือง (Political Will) เรื่องความปลอดภัยทางถนนในระดับนโยบายสาธารณะด้วย
เนื่องจากหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทย ไม่เคยแม้แต่จะมีพันธสัญญาทางการเมือง (Political Commitment) จากผู้นำรัฐนาวาว่าได้นำประเด็นปัญหาอุบัติเหตุจราจรเป็นวาระแห่งชาติ (National Agenda) ฉะนั้นการที่นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่องทิศทางนโยบายการแก้ปัญหาอุบัติเหตุจราจรในงานสัมมนาระดับชาติอุบัติเหตุจราจร ครั้งที่ 9 หัวข้อพลังเครือข่ายเพื่อถนนปลอดภัย เมื่อ 20 สิงหาคม 2552 ก็น่าจะนำความเปลี่ยนแปลงเชิงลึกและกว้างมาสู่สังคมไทยได้
ด้วยเมื่อถ้อยใจความปาฐกถาที่ว่าสังคมไทยได้สูญเสียไปมหาศาลแล้วกับอุบัติเหตุถนนทั้งที่ป้องกันได้ บวกรวมเข้ากับการแปรสถิติบนกระดาษมาเป็นภาคปฏิบัติการที่ทุกภาคส่วนสังคมตระหนักถึงสาเหตุและแนวทางบรรเทาปัญหาร่วมกันนั้น ท้ายสุดจึงน่าจะขับเคลื่อนปณิธานของรัฐบาลที่ปรารถนาลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุถนนลงครึ่งหนึ่งในทศวรรษหน้าได้ ไม่ต่างกันกับการบรรลุเป้าหมายขององค์การสหประชาชาติ (UN) ที่ต้องการลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนทั่วโลกแต่ละปีกว่า 1.2 ล้านคน บาดเจ็บและพิการกว่า 50 ล้านคน โดยจำนวนมากเป็นเด็กและเยาวชน
ตลอดจนยังสอดผสานกับการประชุมรัฐมนตรีทั่วโลกว่าด้วยความปลอดภัยทางถนนครั้งแรก (Global Ministerial Conference on Road Safety) โดยสหประชาชาติที่กรุงมอสโคว ประเทศรัสเซีย ระหว่าง 19-20 พฤศจิกายน 2552 เพื่อร่วมกันผลักดันให้อุบัติเหตุทางถนนเป็นวาระสำคัญที่ทุกประเทศต้องตระหนักและเร่งแก้ไขเพื่อพิชิตเป้าหมายลดผู้เสียชีวิตลงครึ่งหนึ่งในทศวรรษข้างหน้าด้วย
หลักไมล์ (Milestone) ในระดับโลกและประเทศที่กำลังลงหลักปักฐานหนักแน่นเช่นนี้จึงทำให้ความสูญเสียแสนมหาศาลจากอุบัติเหตุทางท้องถนนเรียวแคบเข้าใกล้ศูนย์ขึ้นเรื่อยๆ
กล่าวเฉพาะไทย การได้คำมั่นสัญญาการเมืองจากผู้กุมอำนาจรัฐให้ความปลอดภัยทางถนนเป็นวาระแห่งชาติ โดยดำเนินการผ่านศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ที่มุ่งยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยทางถนนผ่านโครงการโครงสร้างพื้นฐานอย่างปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง และแผนแม่บทจราจรที่กำหนดให้ทศวรรษต่อจากนี้ อัตราผู้เสียชีวิตไม่ควรเกิน 10 คนจากประชากรแสนคน ควบคู่กับขับเคลื่อนมาตรการรูปธรรมทั้งการรวบรวมฐานข้อมูลอุบัติเหตุและจุดเสี่ยง/จุดอันตราย (Black Spot) โดยการร่วมมือระหว่างภาครัฐ ท้องถิ่น และชุมชน การวางแผนขนส่งระบบรางที่ชัดเจนทั้งในภูมิภาคและกรุงเทพฯ และการขยายระบบขนส่งสาธารณะอย่างน้อยร้อยละ 30 ภายใน 5 ปีข้างหน้าเพื่อรองรับประชากรที่ทวีขึ้น รวมถึงแก้ปัญหาจุดตัดที่ไม่ได้มาตรฐานระหว่างรางรถไฟกับถนน
ตลอดทั้งยังได้ภาคีเครือข่ายหลายหลากร่วมสังสรรค์ถนนปลอดภัยอย่างเข้มแข็ง ไม่ว่าจะเป็นศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทยที่มีพันธกิจจัดเก็บข้อมูลอุบัติเหตุอย่างเป็นระบบโดยการศึกษาสืบค้นสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุเชิงลึก (Accident Investigation) และศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) ที่มีคนไทยปลอดภัยจากอุบัติภัยทางถนนเป็นวิสัยทัศน์ โดยใช้องค์ความรู้กอบกู้ความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินนั้น ก็น่าจะจุดประกายสังคมไทยให้ฝันใฝ่ในสิ่งที่เหลือเชื่อได้
ด้วยถ้าภาครัฐและประชาสังคมถักทอ ‘ความฝันอันสูงสุด’ ร่วมกัน การพลัดพรากบาดเจ็บล้มตายหมื่นแสนรายภายในแต่ละปีก็จะลดน้อยถอยลงจนเข้าใกล้ศูนย์ได้ ขอเพียงระหว่างนั้นไม่ถดถอยท้อแท้แพ้พ่ายต่อการขาดจิตสำนึกความปลอดภัยทางถนนของคนไทยที่มักตีความความเชื่อว่าทำอิสระตามใจได้คือไทยแท้อย่างผิดๆ และถึงถูกจับหลังผิดกฎจราจรก็คิดว่าติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐได้
การก้าวตามความฝันที่เปลี่ยนแปรเป็นปฏิบัติการมุ่งสู่ศูนย์ (Towards Zero) ในโลกแห่งความเป็นจริงจึงเรียกร้องการบูรณาการระหว่างภาคการเมืองและประชาสังคมเข้มข้น โดยพิเคราะห์แล้วจักพบว่าเงื่อนไขนี้มีอยู่แล้วเต็มเปี่ยมในปัจจุบัน ด้วยในระดับนโยบายนั้นอุบัติจราจรก็เป็นวาระแห่งชาติที่นายกรัฐมนตรีตระหนักความสำคัญ ขณะเดียวกันพันธมิตรภาคีเครือข่ายมากมายก็มีฉันทะ
ขณะต้นแบบที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ก็มี ดังผลรายงานเรื่อง ‘มุ่งสู่ศูนย์: การพิชิตเป้าหมายถนนปลอดภัยและแนวทางสร้างระบบปลอดภัย’ จากการร่วมกันทำงานนาน 3 ปีขององค์กรสถาบันด้านความปลอดภัย 21 ประเทศ รวมถึงธนาคารโลก (World Bank) องค์การอนามัยโลก (WHO) และมูลนิธิเอฟไอเอ (FIA Foundation) โดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) โดยเนเธอร์แลนด์และสวีเดนจะปัดปฏิเสธการเสียชีวิตหรือบาดเจ็บจากระบบขนส่งทางบกอย่างสิ้นเชิงผ่านนโยบายความปลอดภัยชื่อความปลอดภัยที่ยั่งยืน (Sustainable Safety) และวิสัยทัศน์ศูนย์ (Vision Zero) ตามลำดับ อันขยายมาสู่รูปแบบการเดินทางทางอากาศ รถไฟ และเรือ
แม้นเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน การบังคับใช้กฎหมายของไทยจะอ่อนด้อยกว่าสองประเทศข้างต้น แต่การตอกหมุดหมายลดจำนวนอุบัติเหตุเข้มขึ้นเรื่อยๆ จาก 10 คนจากประชากรแสนคน ก็อาจลดเหลือแค่ 6 คน จนถึงศูนย์ได้ในที่สุด แม้ใช้เวลาและทรัพยากรมาก หากก็คุ้มค่ากว่ามหาศาล
ทว่าระยะเฉพาะหน้าต้องเร่งสร้างจิตสำนึกรับผิดชอบต่อตนเองและผู้คนบนถนนอื่นๆ ผ่านพื้นฐานการขับขี่ปลอดภัย ทั้งสวมหมวกกันน็อก คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง หมั่นตรวจระบบเบรก ยาง และระบบส่องสว่าง มองด้านหลังและให้สัญญาณไฟทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนช่องทาง จดจำสัญญาณจราจรสำคัญ ไม่ขับขี่สวนทางหรือข้ามช่องทางวิ่ง ลดความเร็วขณะถนนขรุขระเปียกลื่น ไม่ขับเร็วกว่ากฎหมายกำหนด งดเสพของมึนเมาขณะขับขี่ และหยุดหรือชะลอความเร็วขณะผ่านสี่แยก โดยอาศัยการบริหารจัดการความท้าทายนี้บนฐานการสนับสนุนทางการเมือง ซึ่งนานๆ จะมาถึงสักครั้งหนึ่ง
เพื่อถึงฝั่งฝันอันสูงสุด นอกจากต้องทำงานร่วมกัน (Synergy) ระหว่างภาครัฐกับภาคีเครือข่ายเข้มข้นขึ้นแล้ว ยังต้องลงมือทำเพื่อคลี่คลายวิกฤตนี้เดี๋ยวนี้ด้วยเครื่องมือ ความรู้ และวิธีที่มี
ที่สำคัญสุดต้องไม่ละทิ้งความใฝ่ฝันอันเป็นคุณลักษณะของมนุษย์ผู้ไม่แพ้พ่าย เพราะการถักถ้อยร้อยเป้าหมาย ‘ลดอุบัติเหตุให้ถึงศูนย์ก่อนสิ้นสูญ’ ที่เป็นความฝันสูงสุดแสนงดงามร่วมกันของทุกภาคส่วนสังคมนั้นจะสร้างสรรค์การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ได้บนพื้นฐานความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจและการเมืองไทย
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org