xs
xsm
sm
md
lg

ส่วนต่างราคาน้ำตาลเปิดช่องฟันกำไรชี้โอกาสซ้ำรอยปี’48หากใส่เกียร์ว่าง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน- หลายฝ่ายมองปัญหาน้ำตาลในประเทศขาดแคลนซ้ำรอยปี’48 ไม่ใช่ว่าจะไม่เกิดหากบริหารจัดการไม่ดีพอหลังราคาโลกพุ่งสูงทำให้เกิดช่องว่างฟันกำไรส่วนต่างราคา ชี้ช่องทางน้ำตาลหายย ทั้งผู้ส่งออกหันมาซื้อในประเทศเพิ่ม รง.เรียกเงินใต้โต๊ะเพราะราคาส่งออกสูงกว่าหากไม่จ่ายก็ไม่ยอมปล่อยออก และลักลอบส่งออกตามชายแดน ด้าน”สอน.”กางน้ำตาลค้างกระดานโชว์ยันมีอื้อ จวกจะขาดก็เพราะสร้างกระแสคนแห่กักตุนย้อนถามพาณิชย์ปั่นราคาเพื่อใคร

นายกำธร กิตติโชติทรัพย์ เลขาธิการสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงกรณีมีกระแสข่าวถึงปริมาณน้ำตาลทรายในประเทศเริ่มตึงตัวว่า มีความกังวลกับปัญหาดังกล่าวซึ่งจำเป็นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องไปพิจารณาเร่งด่วนเนื่องจากยอมรับว่าราคาน้ำตาลทรายขาวตลาดต่างประเทศเริ่มกลับมาสูงกว่าในประเทศโดยตลาดโลกอยู่ที่กว่า 600 เหรียญสหรัฐต่อตันทำให้เป็นไปได้ที่จะเกิดปัญหาซ้ำรอยปี 2548 ที่น้ำตาลขาดตลาดดหากไม่มีระบบจัดการที่ดีพอ

“ ปัญหาส่วนหนึ่งคืออาจเป็นไปได้ที่ผู้ผลิตเพื่อการส่งออกเริ่มหันมาซื้อน้ำตาลบริโภคในประเทศหรืออโควต้าก.แทนน้ำตาลทรายขาวเพื่อส่งออกหรือโควต้าค.เพราะราคาส่งออกเริ่มสูงกว่าราคาในประเทศ และหากราคาน้ำตาลตลาดโลกยังสูงขึ้นอีกถ้าแก้ไขไม่ได้ก็จะวุ่นแน่รัฐต้องเข้ามาดูแลเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน”นายกำธรกล่าว

กางตัวเลขค้างกระดานโชว์

นายประเสริฐ ตปนียางกูร เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.)กล่าวว่า จากการตรวจสอบปริมาณน้ำตาลทรายบริโภคในประเทศค้างกระดาน ณ วันที่ 30 ส.ค.อยู่ที่ 9.5 แสนกระสอบ และวันนี้(7ก.ย.)จะขึ้นงวดประมาณ 3.6 แสนกระสอบและยังค้างงจากปีก่อนอีก 1 ล้านกระสอบทำให้น้ำตาลบริโภคเพียงพอแน่นอนเว้นแต่ข่าวที่ออกไปสร้างกระแสทำให้ประชาชาแตกตื่นกักตุนซื้อน้ำตาลไว้ก็จะทำให้ขาดได้

“ข่าวที่ทางกระทรวงพาณิชย์ออกมาว่าน้ำตาลทรายจะเกิดการตรึงตัวนั้น เป็นเพียงการตื่นเต้นเกินจริงไปเองเท่านั้น เพราะดูจากตัวเลขปริมาณน้ำตาลที่มีอยู่แล้วเพียงพอต่อปริมาณความต้องการใช้ภายในประเทศแน่นอน และการที่มีข่าวแบบนี้ออกมาก็ไม่รู้ว่าใครต้องการให้เกิดขึ้น เพราะจะทำให้กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งได้รับประโยชน์ในการปั่นราคาน้ำตาลทราย ซึ่งถือว่าเป็นการไม่ประสงค์ดี”นายประเสริฐ กล่าว

แหล่งข่าวจากวงการอุตสาหกรรมน้ำตาล กล่าวว่า ใน 1-2 เดือนนี้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.)จะต้องเข้ามาบริหารจัดการปริมาณน้ำตาลทรายบริโภคในประเทศ(โควต้าก.)อย่างเร่งด่วนหากไม่เช่นนั้นโอกาสจะเกิดปัญหาจะมีสูงแม้ว่าปริมาณน้ำตาลจะเพียงพอแต่ต้องตรวจสต๊อกของโรงงานว่ามีการปล่อยน้ำตาลออกไปสู่ผู้บริโภคจริงหรือไม่และมากน้อยเพียงใด รวมไปถึงผู้ซื้อในตลาดเป็นใครและมีการลักลอบส่งออกหรือไม่

“เป็นไปได้ที่โรงงานน้ำตาลจะไม่อยากขายน้ำตาลออกไปเพราะราคาในประเทศหน้าโรงงานเฉลี่ยที่ 19 บาทต่อกิโลกรัมแต่จะต้องหักส่งเข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย(กท.) 5 บาทต่อก.ก.เพื่อชำระหนี้ตามนโยบายรัฐขณะที่ราคาน้ำตาลทรายขาวที่ส่งออกจะอยู่ที่ 22 บาทต่อก.ก.ทำให้ราคาต่างกันถึง 8 บาทต่อก.ก.ซึ่งหากใครอยากซื้อต้องจ่ายเพิ่มและปริมาณในประเทศเหลือยังยกไปโควต้าค.ได้อีก”แหล่งข่าวกล่าว

ทั้งนี้ปริมาณน้ำตาลทรายบริโภคในประเทศที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.)จัดสรรไว้ที่ระดับ 19 ล้านกระสอบพบว่าน้ำตาลทรายค้างกระดาน ณ วันที่ 3 ก.ย. 52 มีจำนวน 7.55 แสนกระสอบ ขณะที่วันนี้(7ก.ย.) จะขึ้นงวดอีก 3.7 แสนกระสอบรวมจะมีปริมาณน้ำตาลที่จะขายมากกว่า 1 ล้านกระสอบและยังคงมีเหลือจำหน่ายปลายปีรวมแล้วกว่า 5.7 ล้านกระสอบดังนั้นปริมาณน้ำตาลจึงเพียงพอกับการบริโภค

“ น้ำตาลที่จัดสรรไว้ 19 ล้านกระสอบเมื่อสิ้นก.ย.จะมีการสรุปตัวเลขว่าขายจริงไปเท่าใดและจะจัดสรรการขายที่เหลืออีก 3 เดือนเท่าใดก็จะเห็นถึงการขายจริงและจะทราบว่าปริมาณน้ำตาลโควตาก.ที่กำหนดนั้นเป็นอย่างไรแน่แต่ที่ดูแล้ว 8 เดือนก็ใช้ไปเพียง 13 ล้านกระสอบเท่านั้นจึงเพียงพอ ”แหล่งข่าวกล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น