ASTV-ผู้จัดการรายวัน - บิ๊กใบโพธิ์ยันคงเป้าสินเชื่อปีนี้โต 5% คิดเป็นสินเชื่อใหม่แสนล้าน ยันยอดหนี้เอ็นพีแอลอยู่ในระดับ 5% พร้อมคุมความเสี่ยงการปล่อยกู้ของบ.ลูกอยู่แล้ว ไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวม
นายวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) กล่าวว่า ธนาคารยังคงเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อในปีนี้ไว้ที่ 5% หรือคิดเป็นมูลค่าการปล่อยสินเชื่อใหม่ประมาณ 300,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่าสิทธิที่ 100,000 ล้านบาท โดยธนาคารจะควบคุมดูแลในการปล่อยกู้ทั้งในส่วนของธนาคารเอง และบริษัทลูก เนื่องจากเป็นบริษัทที่ธนาคารถือหุ้นอยู่เต็ม 100% หากไม่บริหารจัดการให้ดีก็จะส่งผลเสียต่อธนาคารเอง
"ที่ว่ามีสถาบันจัดอันดับเครดิตประเมินว่าธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)อยู่ในอัตราค่อนข้างสูงถึง 10% นั้น ในส่วนของธนาคารไทยพาณิชย์เองขณะนี้ยังไม่ทราบข้อมูลดังกล่าว แต่ยืนยันว่าตัวเลขเอ็นพีแอลของธนาคารในปัจจุบันอยู่ที่ 5% และถือว่าไม่ได้สูงมากเมื่อเทียบกับระบบ"
นอกจากนี้ ในส่วนของสภาพคล่องธนาคารทั้งระบบในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่สูงพอสมควร ถึงแม้ว่าทางรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะมีการออกพันธบัตรมาทำให้มีการดูดสภาพคล่องออกไป ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่จะมีการย้ายสภาพคล่องจากธนาคารพาณิชย์ไปไว้ที่พันธบัตรเท่านั้น
ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบาย(อาร์พี)นั้น คาดว่าจะยังคงทรงตัวอยู่อีกระยะหนึ่ง โดยจะต้องพิจารณาถึงทิศทางเศรษฐกิจด้วย ซึ่งขณะนี้สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันยังมีความเปราะบางอยู่ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์นั้นก็คงจะต้องดูที่สภาพคล่องเป็นหลัก และหากมีการปรับขึ้นก็คงจะต้องปรับขึ้นทั้ง 2 ด้านคือดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้
"กรณีที่มีข่าวว่าธนาคารอินเดียกำลังมีการเจรจาเพื่อซื้อธนาคารที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียนั้น ธนาคารเองมองว่าไม่มีผลกระทบอะไร เพราะเป็นเรื่องของบุคคลภายนอกซึ่งไม่เกี่ยวกับเรา"
นายวิชิตกล่าวในงานสัมมนาใหญ่ประจำปี SCB Annual Conference on the Economy : SCB ACE หัวข้อ “กลยุทธ์หลังวิกฤติ ทิศทางปี 2553” ว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยนับแต่ครึ่งหลังปีนี้จนถึงปี 2553 น่าจะปรับตัวมาเป็นบวกมากขึ้น จากราคาพืชผลการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำตาลและยางพาราเริ่มสูงขึ้น และหากปัจจัยทางการเมืองไม่มีอะไรที่รุนแรงเกิด ก็เชื่อว่าทิศทางเศรษฐกิจไทยจะค่อยๆฟื้นจนกระทั่งมีความชัดเจนมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม จากภาวะต่างๆในปัจจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเทคโนโลยี หรือการไหลเวียนของธุรกิจและเงินทุน ทำให้ธนาคารเล็งเห็นความสำคัญในการเป็นแหล่งความรู้ที่ลูกค้าและภาคธุรกิจสามารถใช้เป็นประโยชน์ในการวางแผนธุรกิจและการตอบสนองต่อปัจจัยต่างๆที่เปลี่ยนไป โดยอาศัยทุกช่องทางของธนาคารในการให้ความรู้และให้บริการออกไปในวงกว้างให้มากขึ้น
“ธนาคารได้ตระหนักแล้วว่าจะเป็นเพียงแหล่งเงินทุนอย่างเดียวคงไม่พอ แต่ต้องมีสมรรถภาพในการให้ข้อมูลและความรู้แก่ลูกค้าของธนาคารด้วย เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารไปยังลูกค้าและนักธุรกิจมากขึ้น ซึ่งจากข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจโลกเริ่มมีการฟื้นตัวมากขึ้น แต่การฟื้นตัวดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าจะกลับไปเหมือน 2 ปีที่ผ่านมาที่การบริโภคขยายตัวมาก ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ การบริอุปโภคบริโภคอยู่ในระดับสูง และเกิดปัญหาตามมากได้ ฉะนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ภาคธุรกิจต่างๆจะต้องเข้าใจทิศทางหลังจากที่เศรษฐกิจได้ผ่านยุควิกฤต”
พร้อมเปิดทางขาย SICCO
ส่วนกรณีการขายหุ้น บริษัท เงินทุนสินอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) (SICCO) ที่่ธนาคารถือหุ้นอยู่ประมาณ 40% นั้น นายวิชิตกล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน (CFO) ของธนาคารที่ดูแลด้านการลงทุนและการขายสินทรัพย์ โดยยอมรับว่ามีผู้ที่ให้ความสนใจติดต่อขอซื้อหุ้นบริษัทดังกล่าวหลายราย ซึ่งธนาคารต้องการที่จะดำเนินการทุกอย่างให้เรียบร้อย เพื่อจะเป็นผลดีต่อผู้ถือหุ้นรายย่อยและธปท. ด้วย
"การจัดการให้เรียบร้อยเป็นผลดีต่อผู้ถือหุ้นและธปท. ซึ่งเรื่องก็เดินหน้าไปแล้ว แต่ใช้เวลานานเท่าไหร่ไม่แน่ใจ ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้อยู่เราได้ให้นโยบายไปนานแล้ว มีคนมาขอซื้อ SICCO หลายราย แต่หน้าที่ดูแลอยู่ที่ CFO".
นายวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) กล่าวว่า ธนาคารยังคงเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อในปีนี้ไว้ที่ 5% หรือคิดเป็นมูลค่าการปล่อยสินเชื่อใหม่ประมาณ 300,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่าสิทธิที่ 100,000 ล้านบาท โดยธนาคารจะควบคุมดูแลในการปล่อยกู้ทั้งในส่วนของธนาคารเอง และบริษัทลูก เนื่องจากเป็นบริษัทที่ธนาคารถือหุ้นอยู่เต็ม 100% หากไม่บริหารจัดการให้ดีก็จะส่งผลเสียต่อธนาคารเอง
"ที่ว่ามีสถาบันจัดอันดับเครดิตประเมินว่าธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)อยู่ในอัตราค่อนข้างสูงถึง 10% นั้น ในส่วนของธนาคารไทยพาณิชย์เองขณะนี้ยังไม่ทราบข้อมูลดังกล่าว แต่ยืนยันว่าตัวเลขเอ็นพีแอลของธนาคารในปัจจุบันอยู่ที่ 5% และถือว่าไม่ได้สูงมากเมื่อเทียบกับระบบ"
นอกจากนี้ ในส่วนของสภาพคล่องธนาคารทั้งระบบในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่สูงพอสมควร ถึงแม้ว่าทางรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะมีการออกพันธบัตรมาทำให้มีการดูดสภาพคล่องออกไป ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่จะมีการย้ายสภาพคล่องจากธนาคารพาณิชย์ไปไว้ที่พันธบัตรเท่านั้น
ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบาย(อาร์พี)นั้น คาดว่าจะยังคงทรงตัวอยู่อีกระยะหนึ่ง โดยจะต้องพิจารณาถึงทิศทางเศรษฐกิจด้วย ซึ่งขณะนี้สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันยังมีความเปราะบางอยู่ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์นั้นก็คงจะต้องดูที่สภาพคล่องเป็นหลัก และหากมีการปรับขึ้นก็คงจะต้องปรับขึ้นทั้ง 2 ด้านคือดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้
"กรณีที่มีข่าวว่าธนาคารอินเดียกำลังมีการเจรจาเพื่อซื้อธนาคารที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียนั้น ธนาคารเองมองว่าไม่มีผลกระทบอะไร เพราะเป็นเรื่องของบุคคลภายนอกซึ่งไม่เกี่ยวกับเรา"
นายวิชิตกล่าวในงานสัมมนาใหญ่ประจำปี SCB Annual Conference on the Economy : SCB ACE หัวข้อ “กลยุทธ์หลังวิกฤติ ทิศทางปี 2553” ว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยนับแต่ครึ่งหลังปีนี้จนถึงปี 2553 น่าจะปรับตัวมาเป็นบวกมากขึ้น จากราคาพืชผลการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำตาลและยางพาราเริ่มสูงขึ้น และหากปัจจัยทางการเมืองไม่มีอะไรที่รุนแรงเกิด ก็เชื่อว่าทิศทางเศรษฐกิจไทยจะค่อยๆฟื้นจนกระทั่งมีความชัดเจนมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม จากภาวะต่างๆในปัจจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเทคโนโลยี หรือการไหลเวียนของธุรกิจและเงินทุน ทำให้ธนาคารเล็งเห็นความสำคัญในการเป็นแหล่งความรู้ที่ลูกค้าและภาคธุรกิจสามารถใช้เป็นประโยชน์ในการวางแผนธุรกิจและการตอบสนองต่อปัจจัยต่างๆที่เปลี่ยนไป โดยอาศัยทุกช่องทางของธนาคารในการให้ความรู้และให้บริการออกไปในวงกว้างให้มากขึ้น
“ธนาคารได้ตระหนักแล้วว่าจะเป็นเพียงแหล่งเงินทุนอย่างเดียวคงไม่พอ แต่ต้องมีสมรรถภาพในการให้ข้อมูลและความรู้แก่ลูกค้าของธนาคารด้วย เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารไปยังลูกค้าและนักธุรกิจมากขึ้น ซึ่งจากข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจโลกเริ่มมีการฟื้นตัวมากขึ้น แต่การฟื้นตัวดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าจะกลับไปเหมือน 2 ปีที่ผ่านมาที่การบริโภคขยายตัวมาก ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ การบริอุปโภคบริโภคอยู่ในระดับสูง และเกิดปัญหาตามมากได้ ฉะนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ภาคธุรกิจต่างๆจะต้องเข้าใจทิศทางหลังจากที่เศรษฐกิจได้ผ่านยุควิกฤต”
พร้อมเปิดทางขาย SICCO
ส่วนกรณีการขายหุ้น บริษัท เงินทุนสินอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) (SICCO) ที่่ธนาคารถือหุ้นอยู่ประมาณ 40% นั้น นายวิชิตกล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน (CFO) ของธนาคารที่ดูแลด้านการลงทุนและการขายสินทรัพย์ โดยยอมรับว่ามีผู้ที่ให้ความสนใจติดต่อขอซื้อหุ้นบริษัทดังกล่าวหลายราย ซึ่งธนาคารต้องการที่จะดำเนินการทุกอย่างให้เรียบร้อย เพื่อจะเป็นผลดีต่อผู้ถือหุ้นรายย่อยและธปท. ด้วย
"การจัดการให้เรียบร้อยเป็นผลดีต่อผู้ถือหุ้นและธปท. ซึ่งเรื่องก็เดินหน้าไปแล้ว แต่ใช้เวลานานเท่าไหร่ไม่แน่ใจ ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้อยู่เราได้ให้นโยบายไปนานแล้ว มีคนมาขอซื้อ SICCO หลายราย แต่หน้าที่ดูแลอยู่ที่ CFO".