แบงก์ชาติออกพันธบัตรออมทรัพย์อย่างน้อย 5 หมื่นล้าน ดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่า 4% ยกเว้นภาษี ออกขายเดือนหน้า ดึงแบงก์ร่วมแถลงวันนี้
แหล่งข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ข้อสรุปเรื่องการออกพันธบัตรออมทรัพย์แล้ววงเงินไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วยพันธบัตรอายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่า 4% ได้รับการยกเว้นภาษี และพันธบัตรอายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ยลอยตัว อ้างอิงดอกเบี้ยพันธบัตรในตลาด เปิดจำหน่ายให้ประชาชนทั่วไป
"เราไม่ได้เจาะจงว่าประเภทละกี่หมื่นล้าน เพราะ 5 หมื่นล้านเป็นวงเงินขั้นต่ำ ต้องดูความต้องการจองว่า ประชาชนต้องการแบบไหนมากกว่า หากจองล้นก็จะเพิ่มให้เพียงพอ" แหล่งข่าวกล่าวและว่า ภายในเดือนหน้า (ก.ย.) จะมีการจำหน่ายได้อย่างแน่นอน การออกพันธบัตรครั้งนี้เป็นการปรับสภาพคล่องในระบบและปรับวิธีการบริหารสภาพคล่องของ ธปท. ซึ่ง ธปท.ได้มีการหารือกับคลังก่อนหน้านี้แล้ว จึงไม่ใช่แย่งกันออกและมั่นใจว่าจะไม่กระทบสภาพคล่องหรืออัตราดอกเบี้ยโดยรวมในตลาด
ทั้งนี้ ธปท.จะเปิดแถลงข่าวถึงรายละเอียดในวันนี้ (20 ส.ค.) เป็นการแถลงร่วมกับธนาคารพาณิชย์ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายพันธบัตร ล่าสุดสถาบันการเงินที่สนใจตอบรับการร่วมงานมากกว่า 10 รายแล้ว
***ปรับแผนบอนด์กองทุนฟื้นฟู
นางทองอุไร ลิ้มปิติ กล่าวในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยความคืบหน้าพันธบัตรกองทุนฟื้นฟูฯ ว่า อยู่ระหว่างทบทวนแผนการออกพันธบัตรล็อตใหม่ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ (รีไฟแนนซ์) ล็อตเก่าที่จะหมดอายุในเดือน พ.ย.52 นี้
เดิมที่จะออกพันธบัตรออมทรัพย์ที่ขายให้แก่ประชาชนทั่วไป แต่หลังจากมีพันธบัตรออมทรัพย์ของ ธปท.ออกมา พันธบัตรกองทุนฟื้นฟูฯ จะขายแบบเฉพาะเจาะจงให้ ธปท.หรือสถาบันการเงินแทน เพื่อไม่ให้แย่งตลาดกันเอง เพราะสภาพคล่องของ ธปท.และสถาบันการเงินเพียงพอที่จะรองรับพันธบัตรกองทุนฟื้นฟูฯ ได้
“สถานการณ์ในช่วงนี้เปลี่ยนแปลงไป กระทรวงการคลังก็มีการออกพันธบัตรแล้ว ยังมีแผนจะออกเพิ่มเติมในช่วงปลายปี จึงต้องทบทวนแผนใหม่ว่าแนวทางไหนดีที่สุดในสถานการณ์ปัจจุบัน” ผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯกล่าว
**รอคลังตอบกลับขาย SCIB
สำหรับแนวทางการบริหารจัดการหุ้นที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถืออยู่ทั้งในส่วนของธนาคารนครหลวงไทย (SCIB) ธนาคารกรุงไทย (KTB) และบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) ซึ่งเสนอให้นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พิจารณานั้น นางทองอุไร กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับหนังสือตอบกลับอย่างเป็นทางการจาก รมว.คลัง โดยหากได้รับหนังสือมาแล้วจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือกันในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ ทันที ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการประชุมในช่วงปลายเดือนของทุกเดือน แต่หากไม่ทันจะนำเข้าที่ประชุมครั้งถัดไป ซึ่งคาดว่าจะไม่มีปัญหาอะไร เพราะไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่จะต้องเร่งขาย แต่จะต้องดูราคา และเวลาที่เหมาะสม
นางทองอุไรยังกล่าวถึงความคืบหน้าในการจำหน่ายที่ดินขนาดใหญ่จำนวน 3 แปลงในจังหวัด เชียงราย ภูเก็ต และสงขลาว่า ขณะนี้มีผู้สนใจสอบถามและซื้อซองประมูลจำนวนมาก จึงคาดว่าจะได้ราคาที่น่าพอใจ แต่ต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ประมูลที่ต้องมีความชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง
**ศก.ไทยกำลังตะกายผ่านจุดต่ำสุด**
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวว่า ขณะนี้เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจต่างๆ ของประเทศไทยถึงจุดต่ำสุดแล้ว และต่อไปเครื่องชี้แสดงถึงด้านดีมานด์และซัพพลายไม่ทรุดตัวกว่านี้แล้ว ส่วนเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวแค่ไหนขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกันภาคการคลังควรมีการเร่งเบิกจ่ายให้รวดเร็วกว่านี้ เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจระดับหนึ่ง
“เศรษฐกิจไทยชะลอการไหลแล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงท้องกระทะ คงไม่มีปัจจัยอะไรที่แย่กว่าเดิมอีกแล้ว อย่างไรก็ตาม แม้เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างๆ เริ่มดีขึ้นแล้ว แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่านโยบายอัตราดอกเบี้ยช่วงต่อไปจะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจในขณะนี้ด้วย” นายไพบูย์กล่าว
แหล่งข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ข้อสรุปเรื่องการออกพันธบัตรออมทรัพย์แล้ววงเงินไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วยพันธบัตรอายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่า 4% ได้รับการยกเว้นภาษี และพันธบัตรอายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ยลอยตัว อ้างอิงดอกเบี้ยพันธบัตรในตลาด เปิดจำหน่ายให้ประชาชนทั่วไป
"เราไม่ได้เจาะจงว่าประเภทละกี่หมื่นล้าน เพราะ 5 หมื่นล้านเป็นวงเงินขั้นต่ำ ต้องดูความต้องการจองว่า ประชาชนต้องการแบบไหนมากกว่า หากจองล้นก็จะเพิ่มให้เพียงพอ" แหล่งข่าวกล่าวและว่า ภายในเดือนหน้า (ก.ย.) จะมีการจำหน่ายได้อย่างแน่นอน การออกพันธบัตรครั้งนี้เป็นการปรับสภาพคล่องในระบบและปรับวิธีการบริหารสภาพคล่องของ ธปท. ซึ่ง ธปท.ได้มีการหารือกับคลังก่อนหน้านี้แล้ว จึงไม่ใช่แย่งกันออกและมั่นใจว่าจะไม่กระทบสภาพคล่องหรืออัตราดอกเบี้ยโดยรวมในตลาด
ทั้งนี้ ธปท.จะเปิดแถลงข่าวถึงรายละเอียดในวันนี้ (20 ส.ค.) เป็นการแถลงร่วมกับธนาคารพาณิชย์ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายพันธบัตร ล่าสุดสถาบันการเงินที่สนใจตอบรับการร่วมงานมากกว่า 10 รายแล้ว
***ปรับแผนบอนด์กองทุนฟื้นฟู
นางทองอุไร ลิ้มปิติ กล่าวในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยความคืบหน้าพันธบัตรกองทุนฟื้นฟูฯ ว่า อยู่ระหว่างทบทวนแผนการออกพันธบัตรล็อตใหม่ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ (รีไฟแนนซ์) ล็อตเก่าที่จะหมดอายุในเดือน พ.ย.52 นี้
เดิมที่จะออกพันธบัตรออมทรัพย์ที่ขายให้แก่ประชาชนทั่วไป แต่หลังจากมีพันธบัตรออมทรัพย์ของ ธปท.ออกมา พันธบัตรกองทุนฟื้นฟูฯ จะขายแบบเฉพาะเจาะจงให้ ธปท.หรือสถาบันการเงินแทน เพื่อไม่ให้แย่งตลาดกันเอง เพราะสภาพคล่องของ ธปท.และสถาบันการเงินเพียงพอที่จะรองรับพันธบัตรกองทุนฟื้นฟูฯ ได้
“สถานการณ์ในช่วงนี้เปลี่ยนแปลงไป กระทรวงการคลังก็มีการออกพันธบัตรแล้ว ยังมีแผนจะออกเพิ่มเติมในช่วงปลายปี จึงต้องทบทวนแผนใหม่ว่าแนวทางไหนดีที่สุดในสถานการณ์ปัจจุบัน” ผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯกล่าว
**รอคลังตอบกลับขาย SCIB
สำหรับแนวทางการบริหารจัดการหุ้นที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถืออยู่ทั้งในส่วนของธนาคารนครหลวงไทย (SCIB) ธนาคารกรุงไทย (KTB) และบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) ซึ่งเสนอให้นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พิจารณานั้น นางทองอุไร กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับหนังสือตอบกลับอย่างเป็นทางการจาก รมว.คลัง โดยหากได้รับหนังสือมาแล้วจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือกันในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ ทันที ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการประชุมในช่วงปลายเดือนของทุกเดือน แต่หากไม่ทันจะนำเข้าที่ประชุมครั้งถัดไป ซึ่งคาดว่าจะไม่มีปัญหาอะไร เพราะไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่จะต้องเร่งขาย แต่จะต้องดูราคา และเวลาที่เหมาะสม
นางทองอุไรยังกล่าวถึงความคืบหน้าในการจำหน่ายที่ดินขนาดใหญ่จำนวน 3 แปลงในจังหวัด เชียงราย ภูเก็ต และสงขลาว่า ขณะนี้มีผู้สนใจสอบถามและซื้อซองประมูลจำนวนมาก จึงคาดว่าจะได้ราคาที่น่าพอใจ แต่ต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ประมูลที่ต้องมีความชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง
**ศก.ไทยกำลังตะกายผ่านจุดต่ำสุด**
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวว่า ขณะนี้เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจต่างๆ ของประเทศไทยถึงจุดต่ำสุดแล้ว และต่อไปเครื่องชี้แสดงถึงด้านดีมานด์และซัพพลายไม่ทรุดตัวกว่านี้แล้ว ส่วนเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวแค่ไหนขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกันภาคการคลังควรมีการเร่งเบิกจ่ายให้รวดเร็วกว่านี้ เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจระดับหนึ่ง
“เศรษฐกิจไทยชะลอการไหลแล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงท้องกระทะ คงไม่มีปัจจัยอะไรที่แย่กว่าเดิมอีกแล้ว อย่างไรก็ตาม แม้เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างๆ เริ่มดีขึ้นแล้ว แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่านโยบายอัตราดอกเบี้ยช่วงต่อไปจะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจในขณะนี้ด้วย” นายไพบูย์กล่าว