ASTVผู้จัดการรายวัน - ชงขุนคลังเลือกแนวทางจัดการหุ้นกองทุนฟื้นฟูในสถาบันการเงิน เผย "นครหลวงไทย-กรุงไทย-บสก." มีทั้ง 3 ทางเลือก ขายหุ้นทั้งหมด ควบกิจการหรือถือต่อ พร้อมเปิดทางต่างชาติ
นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายจัดการกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยว่า คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูได้ส่งรายละเอียดแนวทางการจัดการหุ้นที่กองทุนฟื้นฟูถืออยู่ทั้งธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) (SCB) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) และบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด หรือ บสก.รวมถึงแนวทางการจัดการสินทรัพย์และหนี้สินที่เหลืออยู่ให้แก่นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พิจารณาเรียบร้อยแล้ว
นางทองอุไรกล่าวว่า มีทั้งหมด 3 แนวทาง คือ 1.การขายหุ้นทั้งหมดออกไป 2.การควบรวมกิจการ และ 3.กองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นต่อไป
เป็นการเสนอหลากหลายแนวทางในการจัดการหุ้นที่ถืออยู่ โดยทางเลือกใหญ่ๆ ทั้ง 3 แนวทางจะมีเหตุผลของแต่ละส่วนประกอบการพิจารณาไปด้วย และไม่ได้ห้ามให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามามีส่วนร่วม
"หัวใจสำคัญต้องเข้าหลักเกณฑ์คุณสมบัติและความสามารถของผู้บริหาร (Fit and Proper) ของแบงก์ชาติด้วย” ผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯกล่าวและว่า ไม่ได้ส่งรายละเอียดถึงราคาขายหุ้นสถาบันการเงินที่ถืออยู่ให้แก่ รมว.คลังพิจารณา
อย่างไรก็ตาม การสรุปแนวทางการจัดการหุ้นที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถืออยู่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งสุดท้ายไม่ว่าเห็นชอบแนวทางใด กองทุนฟื้นฟูฯ จะจัดจ้างที่ปรึกษาทางการเงินต่อไป โดยจะคัดเลือกด้วยความโปร่งใสไม่ว่าจะผลงานที่จะนำมาเสนอให้กองทุนฟื้นฟูฯ พิจารณา การนำเสนอเงื่อนไขทางเทคนิค การเจรจาต่อรองราคาค่าจ้าง เป็นต้น
กองทุนฟื้นฟูฯ จะปิดตัวภายในปี 2556 ทำให้กองทุนฟื้นฟูฯ ต้องจัดการสินทรัพย์และหนี้สินที่เหลืออยู่ ซึ่งในปัจจุบันกองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นในธนาคารพาณิชย์ 2 แห่ง คือ ธนาคารนครหลวงไทยในสัดส่วน 47.58% หรือ 1,005 ล้านหุ้น และธนาคารกรุงไทย 55.31% หรือ 6,184 ล้านหุ้น
ผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯ กล่าวถึงการจัดการสินทรัพย์และหนี้สินอื่นๆ นั้น กองทุนฟื้นฟูฯ เตรียมเปิดประมูลสินทรัพย์ประเภทที่ดิน โดยเฉพาะที่ดิน 4 แปลงใหญ่ ซึ่งรายละเอียดต่างๆ ชี้แจงภายในสัปดาห์หน้า.
นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายจัดการกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยว่า คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูได้ส่งรายละเอียดแนวทางการจัดการหุ้นที่กองทุนฟื้นฟูถืออยู่ทั้งธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) (SCB) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) และบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด หรือ บสก.รวมถึงแนวทางการจัดการสินทรัพย์และหนี้สินที่เหลืออยู่ให้แก่นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พิจารณาเรียบร้อยแล้ว
นางทองอุไรกล่าวว่า มีทั้งหมด 3 แนวทาง คือ 1.การขายหุ้นทั้งหมดออกไป 2.การควบรวมกิจการ และ 3.กองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นต่อไป
เป็นการเสนอหลากหลายแนวทางในการจัดการหุ้นที่ถืออยู่ โดยทางเลือกใหญ่ๆ ทั้ง 3 แนวทางจะมีเหตุผลของแต่ละส่วนประกอบการพิจารณาไปด้วย และไม่ได้ห้ามให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามามีส่วนร่วม
"หัวใจสำคัญต้องเข้าหลักเกณฑ์คุณสมบัติและความสามารถของผู้บริหาร (Fit and Proper) ของแบงก์ชาติด้วย” ผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯกล่าวและว่า ไม่ได้ส่งรายละเอียดถึงราคาขายหุ้นสถาบันการเงินที่ถืออยู่ให้แก่ รมว.คลังพิจารณา
อย่างไรก็ตาม การสรุปแนวทางการจัดการหุ้นที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถืออยู่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งสุดท้ายไม่ว่าเห็นชอบแนวทางใด กองทุนฟื้นฟูฯ จะจัดจ้างที่ปรึกษาทางการเงินต่อไป โดยจะคัดเลือกด้วยความโปร่งใสไม่ว่าจะผลงานที่จะนำมาเสนอให้กองทุนฟื้นฟูฯ พิจารณา การนำเสนอเงื่อนไขทางเทคนิค การเจรจาต่อรองราคาค่าจ้าง เป็นต้น
กองทุนฟื้นฟูฯ จะปิดตัวภายในปี 2556 ทำให้กองทุนฟื้นฟูฯ ต้องจัดการสินทรัพย์และหนี้สินที่เหลืออยู่ ซึ่งในปัจจุบันกองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นในธนาคารพาณิชย์ 2 แห่ง คือ ธนาคารนครหลวงไทยในสัดส่วน 47.58% หรือ 1,005 ล้านหุ้น และธนาคารกรุงไทย 55.31% หรือ 6,184 ล้านหุ้น
ผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯ กล่าวถึงการจัดการสินทรัพย์และหนี้สินอื่นๆ นั้น กองทุนฟื้นฟูฯ เตรียมเปิดประมูลสินทรัพย์ประเภทที่ดิน โดยเฉพาะที่ดิน 4 แปลงใหญ่ ซึ่งรายละเอียดต่างๆ ชี้แจงภายในสัปดาห์หน้า.