ASTVผู้จัดการรายวัน - ธปท.อ้าแขนรับธนชาตผนึกSCIB ลั่นเตรียมผ่อนผันการควบรวมกิจการ อยากให้ถึงวันจ่ายเงินค่าหุ้นกองทุนฟื้นฟู 9 เม.ย.ไวๆ "รองฯ เกริก" เปิดทางต่างชาติทำธุรกิจแบงก์พาณิชย์เต็มรูปแบบในไทยปี 56
นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการขายหุ้นกองทุนฟื้นฟูฯ ในธนาคารนครหลวงไทยให้ธนาคารธนชาต ว่า ธนชาตต้องเสนอเรื่องขอผ่อนผันต่างๆ มายัง ธปท. หลังจ่ายเงินให้แก่กองทุนฟื้นฟูฯ ในวันที่ 9 เม.ย.นี้ ซึ่งตามสัญญาการซื้อขายหุ้น ถือมีความชัดเจนในการควบรวมแล้ว
แผนการผ่อนผันเรื่องต่างๆ ที่จะยื่นมา เน้นนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ (One Presence) อาทิ ในเรื่องเทคนิค โดยเฉพาะการควบรวมกิจการแล้วจะได้เป็นใบอนุญาตใหม่ รวมถึงแง่ของบุคลากร คือ ผู้บริหารธนาคารนครหลวงไทยย้ายไปทำงานธนาคารธนชาต แต่หากเป็นการเตรียมการเบื้องต้นในแง่ของสัญญา กฎหมาย รวมถึงทางบัญชีธนาคารธนชาตสามารถดำเนินการได้ทันทีโดยไม่ต้องขอ ธปท.
นายเกริกล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีสถาบันการเงินในประเทศหรือนักลงทุนต่างชาติรายใดขอควบรวมหรือเพิ่มทุนกับสถาบันการเงินในประเทศ เพราะปัจจุบันปริมาณสถาบันการเงินมีจำนวนน้อยลงแล้ว แต่ในระยะยาวในช่วงปี 53-54 เป็นช่วงเตรียมตัวเปิดเสรีทางการเงิน ทำให้ธนาคารต่างชาติจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยที่เห็นได้ชัดในปีนี้บริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ (Subsidiary)สามารถเปิดสำนักงานสาขาในกรุงเทพและปริมณฑลได้ 2 แห่ง ควบรวมกิจการ บริการสินเชื่อเพื่อรากหญ้า (Micro Finance) ก่อนที่ ธปท.จะเปิดให้ใบอนุญาตการตั้งธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบใหม่ในปลายปี 2556 ซึ่งต้องมีการขอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต่อไป
ปัจจุบันกองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นในธนาคารกรุงไทย 53% บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพฯ พาณิชย์ (บสก.) 100% บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท (แซม) ถือหุ้น 100% นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายจัดการกองทุน ธปท. ในฐานะผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯ กล่าวว่า ยังไม่มีแผนขายหุ้น บสก.ออกไปในขณะนี้.
นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการขายหุ้นกองทุนฟื้นฟูฯ ในธนาคารนครหลวงไทยให้ธนาคารธนชาต ว่า ธนชาตต้องเสนอเรื่องขอผ่อนผันต่างๆ มายัง ธปท. หลังจ่ายเงินให้แก่กองทุนฟื้นฟูฯ ในวันที่ 9 เม.ย.นี้ ซึ่งตามสัญญาการซื้อขายหุ้น ถือมีความชัดเจนในการควบรวมแล้ว
แผนการผ่อนผันเรื่องต่างๆ ที่จะยื่นมา เน้นนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ (One Presence) อาทิ ในเรื่องเทคนิค โดยเฉพาะการควบรวมกิจการแล้วจะได้เป็นใบอนุญาตใหม่ รวมถึงแง่ของบุคลากร คือ ผู้บริหารธนาคารนครหลวงไทยย้ายไปทำงานธนาคารธนชาต แต่หากเป็นการเตรียมการเบื้องต้นในแง่ของสัญญา กฎหมาย รวมถึงทางบัญชีธนาคารธนชาตสามารถดำเนินการได้ทันทีโดยไม่ต้องขอ ธปท.
นายเกริกล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีสถาบันการเงินในประเทศหรือนักลงทุนต่างชาติรายใดขอควบรวมหรือเพิ่มทุนกับสถาบันการเงินในประเทศ เพราะปัจจุบันปริมาณสถาบันการเงินมีจำนวนน้อยลงแล้ว แต่ในระยะยาวในช่วงปี 53-54 เป็นช่วงเตรียมตัวเปิดเสรีทางการเงิน ทำให้ธนาคารต่างชาติจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยที่เห็นได้ชัดในปีนี้บริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ (Subsidiary)สามารถเปิดสำนักงานสาขาในกรุงเทพและปริมณฑลได้ 2 แห่ง ควบรวมกิจการ บริการสินเชื่อเพื่อรากหญ้า (Micro Finance) ก่อนที่ ธปท.จะเปิดให้ใบอนุญาตการตั้งธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบใหม่ในปลายปี 2556 ซึ่งต้องมีการขอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต่อไป
ปัจจุบันกองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นในธนาคารกรุงไทย 53% บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพฯ พาณิชย์ (บสก.) 100% บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท (แซม) ถือหุ้น 100% นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายจัดการกองทุน ธปท. ในฐานะผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯ กล่าวว่า ยังไม่มีแผนขายหุ้น บสก.ออกไปในขณะนี้.