เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ผู้เขียนได้มีโอกาสร่วมเดินทางไปกับคณะสำรวจภาวะการผลิตและการค้ามันสำปะหลัง ฤดูกาลผลิต 2552/53 ซึ่งประกอบไปด้วย สมาคมที่เกี่ยวข้องกับมันสำปะหลังสี่สมาคม หน่วยงานราชการ และภาคเอกชน ซึ่งการเดินทางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการสำรวจภาวะการผลิต เพื่อคาดการณ์พื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตมันสำปะหลังในปีนี้ พื้นที่สำรวจประกอบไปด้วย ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกมันสำปะหลัง รวม 42 จังหวัด ผลจากการสำรวจสรุปได้ดังนี้ พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังคาดว่าจะลดลงจาก 8.2 ล้านไร่ในฤดูกาลผลิต 2551/52 เป็น 7.7 ล้านไร่ในฤดูกาลผลิตปี 2552//53 ในส่วนของผลผลิตมันสำปะหลังทางคณะสำรวจได้คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณลดลงจาก 30 ล้านตัน ในฤดูกาลผลิตปี 2551/52 เหลือประมาณ 27 ล้านตัน ในฤดูกาลผลิต 2552/53 สาเหตุสำคัญที่ทำให้พื้นที่เพาะปลูก และผลผลิตมีแนวโน้มลดลง เนื่องจาก เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังในปีที่แล้วบางรายหันไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน เช่น อ้อย ข้าวโพด และยางพารา เนื่องจากได้ผลตอบแทนสูงกว่าการปลูกมันสำปะหลัง และเพื่อตัดวงจรของเพลี้ยแป้งที่กำลังระบาดในหลายพื้นที่
นอกจากนี้ทางคณะสำรวจยังได้วิเคราะห์ถึงปัญหา และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับผลผลิตมันสำปะหลังในฤดูกาลผลิตปี 2552/53 ไว้ดังนี้ 1. การระบาดของเพลี้ยแป้งที่เกิดขึ้น อาจจะส่งผลให้เกิดการขาดแคลนมันสำปะหลังในอนาคต ดังนั้นทางรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะเร่งแก้ปัญหาการระบาดของเพลี้ยแป้ง เพื่อให้ปริมาณมันสำปะหลังมีเพียงพอต่อความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ
2. การแทรกแซงราคาสินค้ามันสำปะหลังของรัฐบาลที่สูงเกินราคาตลาดในอดีตที่ผ่านมานั้น ทำให้ผู้ประกอบการขาดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง ดังนั้น ราคาที่รัฐบาลจะใช้แทรกแซงตลาดมันสำปะหลังจึงไม่ควรเป็นราคาที่ทำให้ราคาตลาดบิดเบือนจากสภาพความเป็นจริงมากนัก
3. ปัจจุบันยังพบว่ามีผลผลิตมันสำปะหลังจากประเทศเพื่อนบ้านส่งเข้ามาขายในประเทศ ทำให้ราคามันสำปะหลังในประเทศต่ำลง ดังนั้นรัฐบาลควรจะเข้ามาควบคุมปริมาณมันสำปะหลังที่นำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย 4. เกษตรกรยังขาดความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับโครงการประกันราคาของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลควรจะเร่งทำความเข้าใจถึงขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการ และประโยชน์ที่เกษตรกรผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับ เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรได้รับประโยชน์จากโครงการประกันราคาของรัฐบาลได้อย่างทั่วถึง
จากข้อมูลต่างๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คาดว่า ปริมาณมันสำปะหลังในฤดูกาลผลิต 2552/53 นั้นจะมีปริมาณลดลง และอาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งอาจจะส่งผลให้ราคาของมันสำปะหลังมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ผลผลิตสินค้าเกษตรทุกชนิดล้วนขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ ซึ่งถ้าหากว่าสามารถจัดการกับปัญหาเรื่องเพลี้ยแป้งได้ และดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง ก็อาจจะทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดมากขึ้น และราคาของมันสำปะหลังอาจไม่ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างที่กล่าวมาข้างต้น จึงเห็นได้ว่าผู้ที่เกี่ยวข้องยังคงมีความเสี่ยงในด้านของราคาอยู่นั่นเองซึ่งในการลดความเสี่ยงของราคาในอนาคตที่มีความไม่แน่นอนนี้ AFET ได้ทำการปรับปรุงข้อกำหนดการซื้อขายล่วงหน้ามันสำปะหลังเส้น (TC) เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับมันสำปะหลังใช้เป็นเครื่องมือกำหนดราคาซื้อ หรือราคาขายที่พอใจไว้ล่วงหน้า หรือเรียกว่าเป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคานั่นเอง (อ่านรายละเอียดข้อกำหนดการซื้อขายล่วงหน้ามันสำปะหลังเส้น (TC) เพิ่มเติมได้ใน www.afet.or.th)
นอกจากนี้ทางคณะสำรวจยังได้วิเคราะห์ถึงปัญหา และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับผลผลิตมันสำปะหลังในฤดูกาลผลิตปี 2552/53 ไว้ดังนี้ 1. การระบาดของเพลี้ยแป้งที่เกิดขึ้น อาจจะส่งผลให้เกิดการขาดแคลนมันสำปะหลังในอนาคต ดังนั้นทางรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะเร่งแก้ปัญหาการระบาดของเพลี้ยแป้ง เพื่อให้ปริมาณมันสำปะหลังมีเพียงพอต่อความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ
2. การแทรกแซงราคาสินค้ามันสำปะหลังของรัฐบาลที่สูงเกินราคาตลาดในอดีตที่ผ่านมานั้น ทำให้ผู้ประกอบการขาดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง ดังนั้น ราคาที่รัฐบาลจะใช้แทรกแซงตลาดมันสำปะหลังจึงไม่ควรเป็นราคาที่ทำให้ราคาตลาดบิดเบือนจากสภาพความเป็นจริงมากนัก
3. ปัจจุบันยังพบว่ามีผลผลิตมันสำปะหลังจากประเทศเพื่อนบ้านส่งเข้ามาขายในประเทศ ทำให้ราคามันสำปะหลังในประเทศต่ำลง ดังนั้นรัฐบาลควรจะเข้ามาควบคุมปริมาณมันสำปะหลังที่นำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย 4. เกษตรกรยังขาดความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับโครงการประกันราคาของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลควรจะเร่งทำความเข้าใจถึงขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการ และประโยชน์ที่เกษตรกรผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับ เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรได้รับประโยชน์จากโครงการประกันราคาของรัฐบาลได้อย่างทั่วถึง
จากข้อมูลต่างๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คาดว่า ปริมาณมันสำปะหลังในฤดูกาลผลิต 2552/53 นั้นจะมีปริมาณลดลง และอาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งอาจจะส่งผลให้ราคาของมันสำปะหลังมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ผลผลิตสินค้าเกษตรทุกชนิดล้วนขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ ซึ่งถ้าหากว่าสามารถจัดการกับปัญหาเรื่องเพลี้ยแป้งได้ และดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง ก็อาจจะทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดมากขึ้น และราคาของมันสำปะหลังอาจไม่ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างที่กล่าวมาข้างต้น จึงเห็นได้ว่าผู้ที่เกี่ยวข้องยังคงมีความเสี่ยงในด้านของราคาอยู่นั่นเองซึ่งในการลดความเสี่ยงของราคาในอนาคตที่มีความไม่แน่นอนนี้ AFET ได้ทำการปรับปรุงข้อกำหนดการซื้อขายล่วงหน้ามันสำปะหลังเส้น (TC) เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับมันสำปะหลังใช้เป็นเครื่องมือกำหนดราคาซื้อ หรือราคาขายที่พอใจไว้ล่วงหน้า หรือเรียกว่าเป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคานั่นเอง (อ่านรายละเอียดข้อกำหนดการซื้อขายล่วงหน้ามันสำปะหลังเส้น (TC) เพิ่มเติมได้ใน www.afet.or.th)